การศึกษาด้านคุณภาพน้ำ ปี 2565

          คณะนักวิจัยได้ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลปฐมภูมิด้านคุณภาพน้ำ อาทิ ดัชนี ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจนละลาย การนำไฟฟ้า ความขุ่น สารแขวนลอย แอมโมเนีย-ไนโตรเจน ไนไตรท์-ไนโตรเจน ไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสเฟต และฟอสฟอรัสทั้งหมด สารอาหารในน้ำของพื้นที่แหล่งผลผลิตประมงในฤดูน้ำมากและน้ำน้อย การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน ที่ปรึกษาจะดำเนินการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวนทั้งหมด 15 สถานี เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพน้ำและประเมินความสัมพันธ์กับปริมาณตะกอนสะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้พิจารณาวิเคราะห์ดัชนีในการติดตามคุณภาพน้ำ ทั้งหมด 22 ดัชนี เพื่อให้ครอบคลุมดัชนีที่ใช้ในการคำนวณค่า WQI สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทีมที่ปรึกษาได้กำหนดแผนและช่วงเวลาการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำใน 15 สถานีที่กำหนด ทั้ง 2 ช่วงเวลา ครอบคลุมช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูน้ำแล้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2565
  • ครั้งที่ 2 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำแล้ง (ฤดูแล้ง) และเป็นตัวแทนช่วงที่ระดับน้ำลดลงตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2566

ภาพตัวอย่าง การออกพื้นที่เก็บข้อมูลด้านคุณภาพน้ำจากแม่น้ำโขงทั้ง 8 จังหวัด ระหว่างวันที่ 20-29 พฤศจิกายน 2565 และระหว่างวันที่ 20-28 กุมภาพันธ์ 2566