ประมง ปี 2562

ด้านชีวภาพ >> ด้านประมง >> ปี 2562

การศึกษาด้านประมง
1. วิธีการศึกษาและวัตถุประสงค์
การดำเนินศึกษาด้านประมงในพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงภายใต้โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานในปี พ.ศ. 2562 ได้ออกแบบและกำหนดวิธีการศึกษาและเก็บสำรวจข้อมูลออกเป็น 4 วิธี ได้แก่

1.1. การสำรวจตลาด (Market approach)

  • วิธีการศึกษา
  • อ้างอิงตามวิธีในเอกสาร Rapid Fishery Assessment by Market Survey (RFAMS) An Improved Rapid Assessment Approach to Characterizing Fish Landing in Developing Countries (White et al. 2014)เพื่อดูชนิดและปริมาณปลาที่จับมาจากการประมงในแม่น้ำและพื้นที่ศึกษา
  • วัตถุประสงค์
  • 1) เพื่อสำรวจชนิด (Species) ของสัตว์น้ำที่วางขายในตลาดในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นชนิดสัตว์น้ำที่จับมาจากแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขาเป็นหลัก
    2) เพื่อศึกษาชนิดของสัตว์น้ำที่เป็นที่นิยมในการนำมาบริโภคของชุมชนในพื้นที่
    3) เพื่อศึกษาขนาดของสัตว์น้ำ และรวมทั้งศึกษาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ (ถ้ามี)

1.2. การเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ จากกลุ่มประมงที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขงสายประธาน (Fish Landing Approach)

  • วิธีการศึกษา
  • ลงพื้นที่เพื่อสำรวจกลุ่มประมงใน 28 อำเภอ ที่ติดแม่น้ำโขงสายประธาน ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยการสอบถามชาวประมง เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การทำประมง จำนวนชาวประมง จำนวนเรือที่ใช้ในการทำประมง เครื่องมือประมงที่ใช้ ชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำที่จับได้
  • วัตถุประสงค์
  • 1) เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำ ที่ถูกจับได้โดยเครื่องมือประมงประเภทต่าง ๆ จากแม่น้ำโขงสายประธานและลำน้ำสาขา ในแต่ละช่วงฤดูกาล
    2) เพื่อเปรียบเทียบชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำที่ได้ กับการสำรวจตลาดในท้องถิ่น
    3) เพื่อสำรวจจำนวนกลุ่มชาวประมงในท้องถิ่นที่รวมตัวกัน ประกอบอาชีพประมง ในบริเวณแม่น้ำโขงสายประธานและลำน้ำสาขา
    4) เพื่อสำรวจจำนวนชาวประมง และจำนวนเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมง และเครื่องมือประมงที่นิยมใช้ในการจับสัตว์น้ำ ของกลุ่มประมงในแต่ละพื้นที่
    5) เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบอาชีพประมง วิธีการศึกษา

1.3. การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (Seinning Net)

  • วิธีการศึกษา
  • พิจารณาความเหมาะสมของเครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ ตามสภาพแวดล้อม และลักษณะของแหล่งน้ำ รวมถึงขนาดชนิดสัตว์น้ำที่ต้องการศึกษา ซึ่งเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (Beach Seine) เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสม มากที่สุด โดยโครงการฯ ใช้ อวนที่มีความยาว 25 เมตร ขนาดตาอวน 0.5 เซนติเมตร ความลึกประมาณ 3.5 เมตร และกำหนดให้เก็บตัวอย่างพื้นที่ละ 3-5 ครั้ง (แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละฤดูกาล)
  • วัตถุประสงค์
  • 1) เพื่อศึกษาชนิดและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่สำรวจพบในแต่ละฤดูกาล
    2) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำ
    3) เพื่อหาค่าความชุกชุมของสัตว์น้ำที่ได้จากการใช้เครื่องมือประมง (อวนทับตลิ่ง) ในหน่วยต่อพื้นที่
    4) เพื่อหาค่าผลผลิตของสัตว์น้ำที่ได้จากการใช้เครื่องมือประมง (อวนทับตลิ่ง) ในหน่วยน้ำหนักต่อพื้นที่
    5) เพื่อศึกษาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำบางชนิด ที่จับได้โดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง
    6) เพื่อสำรวจแหล่งวางไข่ และแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำ (หากพบลูกปลาขนาดเล็ก บ่งชี้ได้ว่า บริเวณดังกล่าวอาจเป็นแหล่งวางไข่ หรือเลี้ยงตัวอ่อนของปลาชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการอพยพระยะสั้น)

รูปที่ 1 แผนที่จุดเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำหรับโครงการฯ ปี พ.ศ. 2562

1.4. การเก็บบันทึกข้อมูลเครื่องมือประมง และผลผลิตประมง ในแต่ละพื้นที่โดยกลุ่มประมงท้องถิ่น
วิธีการศึกษา

ดำเนินการประสานงานผ่านทางแกนนำในแต่ละพื้นที่ เพื่อคัดเลือกตัวแทนชาวประมงท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอละ 1 คน จำนวน 28 อำเภอ โดยต้องเป็นกลุ่มประมงอยู่ติดริมแม่น้ำโขง และมีอาชีพทำการประมงในแม่น้ำโขงสายประธาน หรือลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เท่านั้น เพื่อทำการบันทึก เครื่องมือประมงที่ใช้ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ขนาดสัตว์น้ำที่จับได้ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ เวลาที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำ โดยการเก็บข้อมูลในช่วงแรก จะทำการเก็บเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เพื่อให้ครอบคลุมช่วงเวลาตามระดับการขึ้น-ลง ของระดับน้ำ ได้แก่ ช่วงน้ำเริ่มขึ้น และช่วงน้ำลง

วัตถุประสงค์

  • 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลของชนิดพันธุ์ปลา หรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่จับได้จากกลุ่มประมงท้องถิ่นในพื้นที่
    2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมือแต่ละประเภทที่ใช้ในแม่น้ำโขงต่อหน่วยลงแรงประมง หรือ CPUE และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือในการทำประมงของแต่ละพื้นที่
    3) เพื่อรวบรวมข้อมูลการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา จากการบันทึกของชาวประมง ในแต่ละอำเภอ

จากรายละเอียดการเก็บและสำรวจข้อมูลทั้ง 4 วิธี โครงการฯ ได้สรุปวิธีและความถี่ในการเก็บข้อมูลด้านประมงในแต่ละอำเภอดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 สรุปวิธีการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ศึกษา ความถี่ในการเก็บตัวอย่าง1/ การสำรวจตลาด สำรวจกลุ่มประมงที่พบบริเวณแม่น้ำโขงสายประธาน การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง การเก็บบันทึกโดยกลุ่มประมงท้องถิ่น2/
จ. เชียงราย อ.เชียงแสน 1 ครั้ง
อ.เชียงของ 1 ครั้ง
อ.เวียงแก่น 1 ครั้ง
จ.เลย อ.เชียงคาน 1 ครั้ง
อ.ปากชม 1 ครั้ง
จ.หนองคาย อ.ท่าบ่อ 1 ครั้ง
อ.เมือง 1 ครั้ง
อ.รัตนวาปี 1 ครั้ง
อ.โพนพิสัย 1 ครั้ง
อ.ศรีเชียงใหม่ 1 ครั้ง
อ.สังคม 1 ครั้ง
จ.บึงกาฬ อ.บึงโขงหลง 1 ครั้ง
อ.บุ่งคล้า 1 ครั้ง
อ.ปากคาด 1 ครั้ง
อ.เมืองบึงกาฬ 1 ครั้ง
จ.นครพนม อ.บ้านแพง 1 ครั้ง
อ.ท่าอุเทน(บริเวณปากแม่น้ำสงคราม) 1 ครั้ง
อ.เมืองนครพนม 1 ครั้ง
อ.ธาตุพนม 1 ครั้ง
จ.มุกดาหาร อ.หว้านใหญ่ 1 ครั้ง
อ.เมืองมุกดาหาร 1 ครั้ง
อ.ดอนตาล 1 ครั้ง
จ.อำนาจเจริญ อ.ชานุมาน 1 ครั้ง
จ.อุบลราชธานี อ.เขมราฐ 1 ครั้ง
อ.นาตาล 1 ครั้ง
อ.โพธิ์ไทร 1 ครั้ง
อ.ศรีเมืองใหม่ 1 ครั้ง
อ.โขงเจียม (บริเวณแม่น้ำมูล) 1 ครั้ง

หมายเหตุ: 1/ กำหนดช่วงระยะเวลาการสำรวจที่ระดับน้ำเริ่มขึ้น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562

2/ บันทึกข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2562

2. การวิเคราะห์ข้อมูล
2.1. หลังจากเก็บตัวอย่างปลาในแต่ละพื้นที่ โครงการฯ จะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ วัดความยาว และชั่งน้ำหนักปลาโดยความยาวของปลาจะวัดเป็นความยาวมาตรฐาน (Standard Length, SL) โดยวัดจากปลายสุดทางด้านหัว
ไปจนถึงคอดหาง แสดงดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 การวัดความยาวและชั่งน้ำหนักปลา

2.2. จำแนกวิเคราะห์ชนิดปลาที่พบใช้เอกสารคู่มือปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและเอกสารด้านอนุกรมวิธานอื่นๆ เช่น Rainboth, Vidthayanon& Mai, 2012; Rainboth, 1996; Kottelat, 2001.
2.3. การประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index) จะใช้สูตรการคำนวณของ Shannon and Weaver (1963) ดังนี้

2.4. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ โดยใช้หน่วยน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้ คิดต่อพื้นที่ที่จับสัตว์น้ำ โดยรายงานเป็น หน่วย กิโลกรัมต่อไร่
2.5. การประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ โดยใช้จำนวนสัตว์น้ำ (ตัว) ที่จับได้ คิดต่อพื้นที่จับสัตว์น้ำ โดยรายงานเป็นตัวต่อไร่
2.6. การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น พื้นที่ หรือค่า CPUE โดยคำนวณจากสูตร
 2.7. การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา

2.7.1. การประเมินระยะเจริญพันธุ์ในแต่ละฤดู ของปลาชนิดที่สำคัญที่เก็บได้ทั้งจากการสำรวจการจับโดยตรงในภาคสนามและจากตลาด-การขึ้นปลาโดยเลือกประเมินชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ รวมถึงชนิดที่มีการย้ายถิ่น (อิงจากชนิดในรายงานของ MRC Fisheries Programme) ในการประเมินระยะเจริญพันธุ์ปลาประยุกต์จากแนวทางของ Nikolsky (1963) โดยผ่าดูระยะของรังไข่-อัณฑะของปลาในภาคสนาม และจะพิจารณาแบ่งระยะเจริญพันธุ์ออกเป็น 4 ระยะ โดยใช้กล้องสำหรับระยะเจริญพันธุ์ แบ่งได้ดังนี้

  • V: Virgin เป็นระยะที่ยังไม่มีการพัฒนารังไข่-อัณฑะ
  • E: Early-mid developing เป็นระยะที่พัฒนารังไข่-อัณฑะ ไปราวๆ ในครึ่งระยะ
  • F: Full develop เป็นระยะที่พัฒนารังไข่-อัณฑะเต็มที่
  • S: Spent เป็นระยะที่เพิ่งมีการวางไข่ และน้ำเชื้อแล้ว
Virgin เป็นระยะที่ยังไม่มีการพัฒนารังไข่-หรืออัณฑะ Early-mid developing เป็นระยะที่มีการพัฒนาของรังไข่ หรืออัณฑะไปราวๆ ครึ่งระยะ
Full develop เป็นระยะที่มีการพัฒนารังไข่-หรืออัณฑะเต็มที่ Spent เป็นระยะที่เพิ่งมีการปล่อยหรือวางไข่

รูปแสดงการพัฒนาของรังไข่ในระยะต่างๆ แสดงดังรูปที่ 3

2.7.2. การประเมินค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ของปลา ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศจะทำให้รู้ได้ว่าปลาที่เจริญพันธุ์ แต่ละชนิดจะมีช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงใดของปี โดยนำตัวอย่างปลาที่เก็บตัวอย่างได้นำมาทำความสะอาด ชั่งน้ำหนักบันทึกผลการผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดออกแล้วตัดเนื้อเยื่อ ต่างๆ ออกให้เหลือแต่อวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้นแล้วนำมาชังน้ำหนัก และนำมาหาค่าดัชนีความสมบูรณ์ของอวัยวะสืบพันธุ์ตามวิธีของ Benfey and Sutterlin (1984) โดยใช้สูตร

GSI = (นํ้าหนักอวัยวะเพศปลา x 100)/นํ้าหนักตัวปลา

จากวิธีการเก็บสำรวจข้อมูล และข้อมูลด้านประมงที่โครงการฯ จะดำเนินการวิเคราะห์ทั้งหมด สามารถสรุปความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นในการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการเก็บข้อมูลสรุปดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 สรุปวิธีการวิเคราะห์ และข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจาก
การสำรวจตลาด(Market approach) กลุ่มประมงท้องถิ่น บริเวณท่าขึ้นปลา(Fish Landing Approach) เก็บตัวอย่างด้วยอวนทับตลิ่ง (Seining Net) ข้อมูลผลผลิตประมงในแต่ละพื้นที่
การศึกษาจำนวนชนิดของสัตว์น้ำ
การประเมินดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Fishes Species Diversity Index)
การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ
กาประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ
การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมง (Catch per Unit of Effort)
การศึกษาอวัยวะสืบพันธ์ของปลา
– การศึกษาระยะพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาในแต่ละฤดูกาล
– การศึกษาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา โดยใช้ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI)

2.8. การประเมินพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง

รวบรวมข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ฤดูกาล ในปี พ.ศ. 2563 มาทำการประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ แสดงดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อประเมินการพิจารณาพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง

เกณฑ์การประเมิน ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์
การขาดความเชื่อมต่อ แยกส่วน และขัดขวางการอพยพย้ายถิ่น (Connectivity, Fragmentation and Migratory System) – ชนิดปลาที่เป็นปลาอพยพในระยะไกล (Long Migratory) และระยะสั้น (Short Migratory)
การถ่วงเวลาการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ
(Delay in Migration)
– ระยะเวลาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา ของปลาชนิดเดียวกัน เปรียบเทียบกันในแต่ละปี
– ระยะเวลาที่สำรวจพบลูกปลาของปลาอพยพชนิดต่างๆ
– การเข้าถึงและมีอยู่ของแหล่งที่อยู่อาศัย (Accessibility and Availability of Habitats) – การยังพบชนิดปลาที่อพยพในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ อย่างปกติ ตัวอย่าง เช่น ในช่วงฤดูน้ำเริ่มลง ชาวประมง จะจับได้ ปลาหมู ปลารากกล้วย และปลาชะอี ปริมาณมากหรือการพบปลาเดือนมกราคมของทุกปี ในอนาคต ในช่วงฤดูกาลเดียวกันหากไม่พบปลาชนิดดังกล่าว อาจบ่งชี้ได้ว่า ผลกระทบจากเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ต่อระบบนิเวศทำให้ปลาที่สำคัญชนิดดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยได้ ตามฤดูกาลที่ควรจะเป็น
การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายและความอุดมชนิดพันธุ์ (Species Diversity and Abundance) – เปรียบเทียบชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่พบตามช่วงฤดูกาล ทั้งจาก การสำรวจตลาดท้องถิ่น กลุ่มประมงท้องถิ่น การสำรวจโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง และการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำโดยตัวแทนชาวประมงในแต่ละพื้นที่ กับข้อมูลการศึกษาในอดีต
– เปรียบเทียบโดยใช้ค่าดัชนีความหลากพันธุ์ของสัตว์น้ำ เปรียบเทียบกับข้อมูลการศึกษาในปีก่อนๆ
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตประมง (Fisheries Yield per Unit area change) – เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ในหน่วยน้ำหนักต่อพื้นที่ เปรียบเทียบกับข้อมูลการศึกษาในอดีต
– ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตประมง จากการทำแบบบันทึกประมงโดยตัวแทนกลุ่มประมงในพื้นที่
– ศึกษาผลผลิตประมง โดยการใช้ค่า CPUE ของเครื่องมือประมงแต่ละประเภท และแต่ละพื้นที่
การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหารของปลา (Change of Fish Food Cycle) – ชนิดปลาที่เป็นปลาอพยพในระยะไกล (Long Migratory) และระยะสั้น (Short Migratory)
– ระยะเวลาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา ของปลาชนิดเดียวกัน เปรียบเทียบกันในแต่ละปี
– ระยะเวลาที่สำรวจพบลูกปลาของปลาอพยพชนิดต่างๆ
– การยังพบชนิดปลาที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของระบบนิเวศ (คุณภาพน้ำ การไหลตามฤดูกาล สภาพพื้นท้องน้ำและชายฝั่ง) ที่ดี เช่น ปลาหมู ปลารากกล้วย ปลายี่สกไทยและปลาชะอี
การสูญหายของแหล่งที่อยู่ปลา และสัตว์ พืชอื่นๆ (Loss of auna and Flora Habitats) – ความหลากหลากหลายของชนิดพันธุ์ จากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ เพื่อศึกษาแหล่งวางไข่ และแหล่งอนุบาลตัวอ่อน
– ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัยทางกายภาพ และการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มชาวประมงในพื้นที่
– ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ที่ไม่ตรงกับสภาพธรรมชาติที่เคยเป็นในอดีต อาจส่งให้สัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดั้งเดิม หากไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ อาจส่งผลต่อการสูญหายของชนิดนั้น ๆ ในบริเวณที่พบในอดีต

3. ผลการศึกษา
3.1. ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่พบ

การวิเคราะห์ชนิดพันธุ์ปลาที่พบในเขตประเทศไทยภายใต้โครงการฯ นี้ จะพิจารณาและแบ่งชนิดพันธุ์ปลาออกเป็น
4 ประเภท คือ (1) พันธุ์ปลาที่กินได้ และมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (2) พันธุ์ปลาอพยพย้ายถิ่น (3) พันธุ์ปลาที่อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ และ (4) พันธุ์ปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจท้องถิ่น จากการเก็บตัวอย่างที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ในช่วงน้ำเริ่มขึ้น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 สามารถสรุปจำนวนชนิดของปลาแต่ละกลุ่มเบื้องต้นได้ดังนี้

  • ชนิดปลาที่พบทั้งหมด มีจำนวน 132 ชนิด
  • ประเภทการอพยพ
    – กลุ่มปลาขาว (White Fish) มีจำนวน 26 ชนิด
    – กลุ่มปลาเทา (Grey Fish) มีจำนวน 23 ชนิด
    – กลุ่มปลาดำ (Black Fish) มีจำนวน 13 ชนิด
    – ยังไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ เนื่องจากอยู่นอกเหนือรายการตามเอกสาร MRC Technical No.8 มีจำนวน 70 ชนิด
  • สถานภาพตาม IUCN redlist
    – ขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered: CR) มีจำนวน 2 ชนิด
    – ใกล้สูญพันธุ์ (Endangerd: EN) มีจำนวน 2 ชนิด
    – เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) มีจำนวน 9 ชนิด
    – เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened: NT) มีจำนวน 6 ชนิด
    – มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern: LC) มีจำนวน 96 ชนิด
    – ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) มีจำนวน 10 ชนิด
    – ยังไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE) มีจำนวน 4 ชนิด
    – ไม่มีในฐานข้อมูล จาก www.fishbase.de มีจำนวน 3 ชนิด
    – จำนวนปลาต่างถิ่น (รวมจากการเพาะเลี้ยง) มีจำนวน 5 ชนิด
  • จำนวนปลาที่กินได้ และหรือมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีจำนวน 99 ชนิด
  • จำนวนปลาอพยพ ระยะสั้น ในลำน้ำโขงและลำน้ำสาขา มีจำนวน 27 ชนิด

3.2. การประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index)

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่งใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปลา โดยใช้สูตรการคำนวณของ Shannon and Weaver พบว่าค่าดัชนีความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ในแต่ละช่วงมีค่าใกล้เคียงกัน แต่มี 2 พื้นที่ในช่วงน้ำเริ่มขึ้นที่มีค่าดัชนีความหลากหลายน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ คือ บริเวณแก่งคุ้ดคู้ อำเภอเชียงคาน และปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน โดยพบว่ามีค่าเท่ากับ 0.99 และ 0.58 ตามลำดับ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ จังหวัด ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562)
บ้านสบกก อ.เชียงแสน เชียงราย 2.08*
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ 1.66*
แก่งผาได อ.เวียงแก่น 1.99**
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน

เลย

0.99**
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม 1.84**
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย หนองคาย 2.22**
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ 1.93**
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า บึงกาฬ 2.26*
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ 1.98*
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน นครพนม 0.58**
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม 1.63**
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล มุกดาหาร 2.44**
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน อำนาจเจริญ 1.31**
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร อุบลราชธานี 1.85**
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม 2.49**

หมายเหตุ: *พื้นที่ในการเก็บตัวอย่างคิดเป็น 300 ตารางเมตร (ลากอวน 3 ครั้ง)

**พื้นที่ในการเก็บตัวอย่างคิดเป็น 400 ตารางเมตร (ลากอวน 4 ครั้ง)

3.3. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง ใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ พบว่าในช่วงน้ำเริ่มขึ้น ค่าความอุดมสมบูรณ์บริเวณตอนกลางตั้งแต่บ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ ถึง บริเวณปากแม่น้ำสงคราม อำเภอท่าอุเทนมีปริมาณความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยบริเวณบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และบ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงที่สุด คิดเป็น 23.06 และ 10.93 กิโลกรัม/ไร่ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ค่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ (กิโลกรัม/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ จังหวัด ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562)
บ้านสบกก อ.เชียงแสน เชียงราย 0.65
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ 5.36
แก่งผาได อ.เวียงแก่น 1.39
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน

เลย

0.69
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม 4.46
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย หนองคาย 5.47
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ 23.06
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า บึงกาฬ 8.19
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ 9.21
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน นครพนม 3.71
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม 7.69
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล มุกดาหาร 1.53
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน อำนาจเจริญ 3.23
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร อุบลราชธานี 10.93
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม 8.38

3.4. การประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง ใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาปริมาณความชุกชุมของสัตว์น้ำ พบว่าในช่วงน้ำเริ่มขึ้น บริเวณบ้านหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ, บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร และบ้านบุ้งคล้าเหนือ อำเภอบุ้งคล้า มีค่าความชุกชุมสูงที่สุด คิดเป็น 4,850, 4,335 และ 2,544 ตัวต่อไร่ ตามลำดับ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6

ตารางที่ 6 ค่าความชุกชุมของสัตว์น้ำ (ตัว/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ จังหวัด ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562)
บ้านสบกก อ.เชียงแสน เชียงราย 256
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ 1,447
แก่งผาได อ.เวียงแก่น 345
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน

เลย

486
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม 632
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย หนองคาย 1,558
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ 1,220
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า บึงกาฬ 2,544
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ 4,850
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน นครพนม 1,940
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม 1,763
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล มุกดาหาร 400
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน อำนาจเจริญ 396
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร อุบลราชธานี 4,335
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม 742

3.5. การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น

จากการเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มประมงท้องถิ่น ทั้ง 28 อำเภอ พบว่า มีการใช้เครื่องมือทั้งหมด 7 ประเภท คือ ตาข่าย (มอง) ยอ แห ไซ เบ็ด ลอบ และช้อน ส่วนใหญ่มีการใช้ตาข่าย (มอง) เป็นเครื่องมือหลักในการทำประมง ทั้งนี้การดำเนินการ
เพื่อศึกษาค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น (CPUE) พบว่าเครื่องมือมีความหลากหลายและแตกต่างกัน
ในแต่ละพื้นที่

ขณะที่ค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของอวนทับตลิ่ง ทั้ง 15 พื้นที่ จะคำนวณจากอัตราของน้ำหนักของปลาที่จับได้ในแต่ละสถานี (กิโลกรัม) ต่อพื้นที่ที่ใช้ในการลากอวน (ไร่) (CPUA) ซึ่งมีค่าเท่ากับค่าความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละสถานี พบว่าบริเวณ
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ (ตอนกลางของแม่น้ำโขง) เป็นพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำด้วยอวนทับตลิ่งที่สูงที่สุด คิดเป็น 24.97 กิโลกรัม/ไร่ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 7

ตารางที่ 7 ค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (CPUA) (กิโลกรัม/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ จังหวัด ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562)
บ้านสบกก อ.เชียงแสน เชียงราย 0.65
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ 5.36
แก่งผาได อ.เวียงแก่น 1.39
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน

เลย

0.69
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม 4.46
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย หนองคาย 5.47
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ 23.06
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า บึงกาฬ 8.19
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ 9.21
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน นครพนม 3.71
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม 7.69
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล มุกดาหาร 1.53
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน อำนาจเจริญ 3.23
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร อุบลราชธานี 10.93
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม 8.38

3.6. การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ

จากการศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ของสัตว์น้ำ พบว่าชนิดของสัตว์น้ำมีความหลากหลายของชนิด และขนาดค่อนข้างแตกต่างกันมาก ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลกันได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศต่อไปในอนาคต

ตารางที่ 8 การศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ช่วงน้ำเริ่มขึ้น ระหว่างวันที่ 14-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

พื้นที่ ชนิดปลา จำนวนปลาที่พบทั้งหมดในจุดที่ศึกษา (ตัว) น้ำหนักตัวปลา(กรัม) น้ำหนัก ของไข่, น้ำเชื้อ (กรัม) ระยะเจริญพันธุ์ ค่า GSI* ค่า GSI เฉลี่ยสูงสุด ภาพประกอบ
ปากแม่น้ำมูล ตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) 2 780 17.42 E 2.23 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม)1/  
ปากแม่น้ำมูล กาดำ (Labeo chrysophekadian) 15 2,800 6 (น้ำเชื้อ) 0.21 1.68 ± 0.32% (เดือนกรกฎาคม)1/  
ปากแม่น้ำมูล กาแดง (Epalzeorhynchos frenatus) 1 69.3 15.35 S 22.15 3/  
กองทุนปลาบ้านผาชัน เผาะ (Pangasius conchophilu) 1 700 37 F 5.29 4.82 ± 1.25% (เดือนสิงหาคม) 1/  
กองทุนปลาบ้านผาชัน เผาะ (Pangasius conchophilu) 1 800 น้ำเชื้อไหล 1.98 ± 0.68% (เดือนสิงหาคม) 1/  
ตลาดสดพรเพชร กาดำ (Labeo chrysophekadian) 2 3,080 41.3 F 1.34 10.04 ± 0.76% (เดือนกรกฎาคม) 1/  
ตลาดสดเทศบาลนครพนม กาดำ (Labeo chrysophekadian) 4 3,000 411.4 S 13.71 10.04 ± 0.76% (เดือนกรกฎาคม) 1/  
ตลาดสดบึงกาฬ เค้าขาว (Wallago attu) 2 7,000 980 S 14.00 3/  
บ้านหอคำ รากกล้วยด่าง (Acantopsis rungthipae) 194 23.5 1.2 S 5.11 3/  
ตลาดสดวัดธาตุ ยาง (Pangasius bocourti) 2 10,000 700 F 7.00 2.11 ± 3.78% (เดือนมีนาคม-กัยายน)2/  
บ้านจุมพล สร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus siamensis) 2 34.8 6.1 F 17.53 3/  
บ้านหม้อ ตะเพียนขาว (Barbonymys gonionotus) 10 1,830 236.6 S 12.93 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม) 1/  
2,100 257 F 12.24 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม)1/  
บ้านหม้อ กะทุงเหว (Xenentodon cf. canciloides) 6 47.2 1.80 F 3.81 3/  
1 655 1.80 (น้ำเชื้อ) 0.27 3/  
บ้านห้วยเหียม สร้อย (Gymnostomus lobatus) 15 24.3 1.90 S 7.28 3/  
บ้านผาได กะทุงเหว (Xenentodon cf. canciloides) 2 43.8 1.8 F 4.11 3/  

หมายเหตุ V= Virgin, E=Early-mid Development, F=Full Development, S=Spent

* ในการศึกษาจะสุ่มเลือกปลาชนิดละ 1 ตัวมาศึกษาระยะเจริญพันธุ์

1/ รายงานการศึกษาดรรชนีความสมบูรณ์เพศของปลาบางชนิดในแม่น้ำโขง (ธงชัย จำปาศรี และคณะ, 2545)

2/ รายงานการศึกษาการเลี้ยงปลา Pangasius bocourti เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดิน (ณัฐพงศ์ วรรณพัฒน์ และคณะ, 2545)

3/ ยังไม่พบข้อมูลอ้างอิง