เกษตรริมฝั่ง ปี 2562

ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ด้านเกษตรริมฝั่ง >> ปี 2562

          ลักษณะการทำเกษตรริมฝั่งแม่น้ำโขงของชุมชนส่วนใหญ่ คือ การปลูกแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชสวนครัว ผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี เป็นต้น ในแปลงเดียวกัน จำนวน 27 ชุมชน (ร้อยละ 62.8)

          ในขณะที่มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ เป็นต้น จำนวน 8 ชุมชน (ร้อยละ 18.6)  พืชที่ปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ถั่วลิสง มะเขือ มะเขือเทศ มันเทศ มันแกว ฟักทอง ข้าวโพด ผักบุ้ง กะหล่ำปลี มันแกว คะน้า ยาสูบ พริก มะเขือราย ถั่วฟักยาว ต้นหอม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี มะละกอ ถั่ว ผัดกาด ถั่วลิสง ผักชี หอม แตงกวา ถั่วฝักยาว ยาสูบ ผักสลัด ผักกวางตุ้ง มะม่วง ยางพารา มะขามหวาน กล้วย สัปปะรด ข้าว กะหล่ำดอก หอมแบ่ง และผักกาดขาว

ผู้นำชุมชนเห็นว่าการพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานมีผลกระทบต่อด้านเกษตรกรรมในพื้นที่ใน 4 กลุ่มประเด็น ได้แก่

1) น้ำขึ้นลงผิดฤดูกาล ปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาน้ำท่วม

2) ความอุดมสมบูรณ์ลดลง

3) ผลผลิตลดลง และ

4) รายได้ลดลงในขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น

รูปที่ 1 ลักษณะการเกษตรริมฝั่งแม่น้ำโขง