การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา ปี 2563

ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> เครือข่ายความร่วมมือ>> ปี 2563 >> การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา
จุดประสงค์

  • – นำเสนอผลการดำเนินการศึกษา
  • – เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐในการติดตามตรวจสอบฯ
  • – การให้ความรู้ข้อมูลจากการศึกษาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความเห็น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบโจทย์คำถาม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การติดตามและเฝ้าระวัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
  • – นำไปสู่การพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขงสายประธาน
  1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 (ช่วงเริ่มงาน)
  2. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)
  3. การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการพัฒนา/การใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 (ช่วงเริ่มงาน)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน กรมทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
1) การรายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนฯ ปีที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2562)
2) แผนงานการดำเนินงาน โครงการฯ ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วยข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติม
3) นำเสนอแนวทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย กิจกรรมการเก็บข้อมูลด้านประมง การศึกษาการให้บริการระบบนิเวศ การสำรวจตลิ่งริมฝั่ง และแนวทางการวิจัยชุมชนในพื้นที่เสี่ยง
4) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับและนำเสนอแนวทางการทำงานระหว่างคณะที่ปรึกษาและภาคประชาสังคมในพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่ 1

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
ข้อกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะฝั่งประเทศไทย ผลของการศึกษาของโครงการนี้จะนำไปสู่การสร้างกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นการหารือร่วมกันระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง ผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ไปยังการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำโขง
ข้อเสนอด้านการศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ ทางคณะผู้ดำเนินงานโครงการได้เพิ่มเติมการสำรวจ/เก็บข้อมูลในด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนิเวศทางน้ำ ปัจจุบันมี กลุ่มประมงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใน 8 จังหวัด เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประมง
ข้อเสนอแนะด้านความร่วมมือ-ความช่วยเหลือ ข้อมูลต่างๆ ผู้ดำเนินงานโครงการ และนักวิชาการทุกท่าน มีความประสงค์ที่จะดำเนินการและศึกษาข้อมูลร่วมกับภาคประชาชน และศึกษาข้อมูลจากภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องการความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ และการประสานงานเพื่อลงพื้นที่ในการสำรวจ/เก็บข้อมูล
อเสนอด้านการขยายเครือข่ายภาคประชาชนและการเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสถานการณ์ โครงการนี้ มีเจตนารมณ์ในการขยายการรับรู้ไปสู่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมาได้มีโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงขึ้นมาอีกครั้ง

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น. จังหวัดนครพนม
รายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินการดังนี้

  • – ผลการศึกษาทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคม
  • – ผลการวิเคราะห์ สรุปพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน
  • – สรุปการกำหนดมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และการปรับตัว
  • – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  • – การดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2) กลุ่มเป้าหมายการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย แกนนำและเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมจากโครงการสร้างความเข็มแข็งกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการพัฒนา/การใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

จุดประสงค์
การดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนให้แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน มีประเด็นการดำเนินการดังนี้
1) เกณฑ์การประเมิน
2) ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์
3) สมมติฐานพื้นฐาน
4) ขั้นตอนการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนสะสม
5) การแบ่งระดับความรุนแรง และการแบ่งระดับโอกาส
6) การกำหนดเกณฑ์การประเมินระดับแนวโน้มความเสี่ยงในแต่ละด้าน