ผลการศึกษาการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ตลิ่ง ปี 2565

ด้านกายภาพ >> การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่ง >> ปี 2565 >> ผลการศึกษาการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ตลิ่ง

เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง

          ในการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มที่มีระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งด้านการทับถมตะกอนในการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2565 นี้ จะอ้างอิงเกณฑ์การประเมินในแต่ละด้านตามการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2561 แบ่งเป็น 5 ระดับ ตามขนาดพื้นที่ที่เกิดการทับถมตะกอนที่เปลี่ยนแปลงไป เทียบกับช่วงก่อนมีการพัฒนาเขื่อน ซึ่งแบ่งระดับตามการกระจายของข้อมูลจริงโดยอ้างอิงจากวิธีทางสถิติ โดยการพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นไทล์ ที่ 20, 40, 60 และ 80 ของข้อมูลดังนี้

  1. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง อยู่ระหว่าง 0-0.22 ตร.กม.
  2. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >0.22-0.46 ตร.กม.
  3. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >0.46-1.00 ตร.กม.
  4. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >1.00-1.38 ตร.กม.
  5. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >1.38 ตร.กม.

ผลการศึกษาการเพิ่มขึ้นของตลิ่ง

          จากข้อมูลการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ริมตลิ่งในช่วงปี พ.ศ. 2565 พบว่าพื้นที่ริมฝั่งที่ตั้งอยู่ใน 28 อำเภอ เกิดการเพิ่มขึ้นรวมตั้งแต่ 0.11–1.60 ตร.กม. และเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาการกระจายของข้อมูล และอ้างอิงการแบ่งระดับข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ สามารถสรุปข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในแต่ละจังหวัด
ในรายอำเภอได้ดังนี้

          1. พื้นที่จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 0.79 ตารางกิโลเมตร (491.09 ไร่) คิดเป็น 4.11% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย  (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอเชียงแสน มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.29 ตร.กม. (182.04 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอเชียงของ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.39 ตร.กม. (245.55 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง
  • อำเภอเวียงแก่น มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.10 ตร.กม. (63.50 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          2.  พื้นที่จังหวัดเลย พื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 0.26 ตารางกิโลเมตร (162.44 ไร่) คิดเป็น 1.35% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอเชียงคาน มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.17 ตร.กม. (109.00 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเชียงปากชม มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.09 ตร.กม. (53.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          3.  พื้นที่จังหวัดหนองคาย เกิดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 1.60 ตารางกิโลเมตร (1001.84 ไร่) คิดเป็น 8.32% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอสังคม มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.44 ตร.กม. (275.13 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอศรีเชียงใหม่ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.31 ตร.กม. (194.39 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอท่าบ่อ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.48 ตร.กม. (302.05 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง
  • อำเภอเมืองหนองคาย มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.24 ตร.กม. (152.52 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอโพนพิสัย มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.09 ตร.กม. (53.83 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอรัตนวาปี มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.04 ตร.กม. (23.92 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          4.  พื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เกิดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 0.52 ตารางกิโลเมตร (327.40 ไร่) คิดเป็น 2.71% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอปากคาด มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.05 ตร.กม. (29.12 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเมืองบึงกาฬ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.11 ตร.กม. (66.56 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอบุ่งคล้า มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.28 ตร.กม. (174.72 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอบึงโขงหลง มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.09 ตร.กม. (56.99 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          5.  พื้นที่จังหวัดนครพนม เกิดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 1.14 ตารางกิโลเมตร (711.05 ไร่) คิดเป็น 5.93% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอบ้านแพง มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.39 ตร.กม. (243.85 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอท่าอุเทน มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.13 ตร.กม. (84.32 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเมืองนครพนม มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.25 ตร.กม. (157.25 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอธาตุพนม มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.36 ตร.กม. (225.62 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย

6.  พื้นที่จังหวัดมุกดาหาร เกิดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 1.33 ตารางกิโลเมตร (830.86 ไร่) คิดเป็น 6.92% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอหว้านใหญ่ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.24 ตร.กม. (76 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอเมืองมุกดาหาร มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.28 ตร.กม. (98 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอดอนตาล มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.82 ตร.กม. (11 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง

          7.  พื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอชานุมานมีพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 0.11 ตารางกิโลเมตร (67.12 ไร่) คิดเป็น 0.57 % ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่)  ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          8.  พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เกิดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 0.70 ตารางกิโลเมตร (436.77 ไร่)  คิดเป็น 3.64% ของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (19.22 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,013.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นดังนี้

  • อำเภอเขมราฐ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.17 ตร.กม. (49 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอนาตาล มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.14 ตร.กม. (86 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอโพธิ์ไทร มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.10 ตร.กม. (23 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอศรีเมืองใหม่ มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม 0.04 ตร.กม. (24.89 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอโขงเจียม มีขนาดพื้นที่เพิ่มขึ้นรวม25 ตร.กม. (157.28 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย