ผลการศึกษาการหายไปของพื้นที่ตลิ่ง ปี 2565

ด้านกายภาพ >> การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่ง >> ปี 2565 >> ผลการศึกษาการหายไปของพื้นที่ตลิ่ง

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา วิธีการศึกษา และผลการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอนของแม่น้ำโขงสายประธาน มีรายละเอียด ดังนี้

1. พื้นที่ศึกษา

          พื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงสายประธาน ในเขตพรมแดนประเทศไทย ตลอดความยาว 958 กิโลเมตร  อยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รายละเอียดแสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 พื้นที่ 8 จังหวัดที่ศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงตลิ่งและการพัดพาตะกอนของแม่น้ำโขงสายประธาน

          ที่ปรึกษากำลังเริ่มดำเนินการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งริมแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย โดยเลือกใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) จากภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการศึกษา ร่วมกับการประมวลผลและจัดทำแผนที่ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสัณฐานของตลิ่งริมน้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทยทั้ง 8 จังหวัด เลือกช่วงเวลาในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรายปี ระหว่างช่วงฤดูแล้งในอดีตและในปีปัจจุบัน เพื่อประเมินผลกระทบจากการกัดเซาะของกระแสน้ำโขงต่อพื้นที่ริมตลิ่งบริเวณริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าว มีคุณลักษณะของพื้นที่ระวางกว้าง
183 กิโลเมตร ยาว 170 กิโลเมตร และมีความละเอียดของจุดภาพที่ 30×30 เมตร มาทำการวิเคราะห์ประเมินตำแหน่ง พิกัดและขนาดของพื้นที่ริมตลิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ชุดข้อมูลอนุกรมเวลาของภาพถ่ายปีต่าง ๆ เปรียบเทียบกัน (Time Series) รวมทั้งลงสำรวจภาคสนามอีกครั้ง และเก็บข้อมูลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (drone) ในพื้นที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงในจังหวัดต่าง ๆ

          สำหรับการศึกษาปี พ.ศ. 2565 ที่ปรึกษาได้นำผลจากการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 มาศึกษาการกัดเซาะตลิ่งและการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของลำน้ำ ซึ่งมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและพื้นที่ชุมชนริมน้ำ โดยการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาและในปีปัจจุบัน ร่วมกับข้อมูลหรือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง เพื่อนำมากำหนดพื้นที่เป้าหมายในการสำรวจหรือตรวจสอบ และนำมากำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการกัดเซาะตลิ่งและการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของลำน้ำ สำหรับวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.  วิธีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอน 

          ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาเพื่อจัดทำฐานข้อมูลการพังทลายและการทับถมของตลิ่งในประเทศไทย  โดยการนำเอาเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) จากภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการศึกษาเพียงปัจจัยเดียว ร่วมกับการประมวลผลและจัดทำแผนที่ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสภาพลำน้ำโขง ของช่วงฤดูแล้งในปีปัจจุบันระหว่างปี พ.ศ. 2564 และ  ปี พ.ศ. 2565 ทำให้ได้ทราบถึงแนวกัดเซาะของตลิ่งของพื้นที่ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงในภาพรวม โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) โดยมีขนาดพื้นที่ระวางกว้าง 183 กิโลเมตร ยาว 170 กิโลเมตร และมีความละเอียดของจุดภาพที่ 30×30 เมตร มาทำการวิเคราะห์พื้นที่การเปลี่ยนแปลง ด้วยการวิเคราะห์แบบชุดข้อมูลย้อนหลัง (Time Series) มีวิธีการดังนี้

รูปที่ 2 แผนผังการศึกษาการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขงสายประธาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

     

     1) การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ
                 –  ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านสัณฐานตลิ่งริมน้ำโขง ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และเอกสารงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               – ข้อมูลพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ เช่น ขอบเขตจังหวัด/อำเภอ/ตำบล ในพื้นที่ศึกษา
               -. ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ในพื้นที่ศึกษาและช่วงเวลาเหมาะสม

          2) การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม
              – วิเคราะห์ภาพถ่ายข้อมูลดาวเทียมในแต่ละปี เพิ่มเติมจากการศึกษาก่อนหน้าและปรับปรุงจนถึงภาพถ่ายปี พ.ศ. 2565
              – ข้อมูลดาวเทียม Landsat Level 1A ที่มีการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (Radiometric Correction) และการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction) ซึ่งจะใช้ข้อมูลดาวเทียมในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานมาเป็นเส้นฐานหลัก (Baseline) ของตลิ่งแม่น้ำโขง เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีที่เป็นข้อมูลปีปัจจุบันที่สุด ดังตาราง

ตารางที่ 1 ข้อมูลดาวเทียมต่าง ๆ และช่วงปีและเดือนที่นำภาพมาใช้ในการศึกษานี้

ดาวเทียม

ปี พ.ศ. ที่นำภาพมาใช้ ช่วงเดือน

หมายเหตุ

Landsat 5

พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2544 มกราคม – เมษายน

Landsat 7

พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546

มกราคม – เมษายน

Landsat 5

พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2554

มกราคม – เมษายน Landsat 7 Sensor เสียหาย

พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2556

มกราคม – เมษายน

ไม่มีข้อมูล

Landsat 8

พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2563

มกราคม – เมษายน

Landsat 8

พ.ศ. 2564

มกราคม – เมษายน

Landsat 8

พ.ศ. 2565

มกราคม – ธันวาคม

Sentinel-2 พ.ศ. 2565 มกราคม – ธันวาคม

               –  การจำแนกด้วยดัชนีผลต่างความชื้น (The Normalize Difference Water Index : NDWI) เป็นการนำภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีมาแยกระหว่างพื้นดินกับพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยการคำนวณค่าการสะท้อนแสงในรูปตัวเลข (Digital Number) มีค่าอยู่ที่ -1 ถึง 1 ในที่นี้ คือ การเข้าสัดส่วนซึ่งกันและกันแล้วให้ผลลัพธ์ในการจำแนกในบริเวณที่เป็นน้ำ และพื้นที่ที่ไม่ใช่น้ำได้อย่างชัดเจน ด้วยสมการ

เมื่อ      Green   =  ช่วงคลื่นสีเขียว
                                NIR       =  ช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้

                 – จำแนกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมจุดภาพ(Supervised Classification) แบบความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood)

3. ช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่ง

          ที่ปรึกษาจะดำเนินการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงด้วยเทคนิค Overlays Analysis จากข้อมูลแนวเส้นแม่น้ำโขงที่ได้ จากการใช้สมการ Normalize Difference Water Index : NDWI ภายใต้แนวคิดที่จะอ้างอิงแนวแม่น้ำโขงเส้นหลัก ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดที่มีการเผยแพร่  ในเว็บไซต์ที่เป็นทางการของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด และปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงรายปีจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยแบ่งช่วงเวลา             ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามช่วงเวลาของการดำเนินการการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้

  • ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  • ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประมาณตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปีพ.ศ. 2535-2561
  • ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของสปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2562-2565)

ภายหลังจากดำเนินการหาการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขงเรียบร้อยแล้ว ที่ปรึกษาได้นำ ผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มาวิเคราะห์ปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขง  ให้เป็นปัจจุบัน และปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์ประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด

4.   การตรวจสอบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและทับถมตะกอนในภาคสนาม

          ที่ปรึกษากำหนดแผนงานการลงสำรวจในภาคสนาม (Ground-truth Survey) ณ บางพื้นที่ ซึ่งได้ประเมินด้วยภาพถ่ายดาวเทียมว่ามีความเสี่ยงสูง (ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งสูง) เพื่อยืนยันผลการศึกษาโดยวิธีการประเมินจากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในด้านความละเอียด โดยลงสำรวจพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่งริมตลิ่งแม่น้ำโขงสายประธาน โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ตามความจำเป็นและเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงพื้นที่ซึ่งละเอียดทวนสอบความถูกต้องกับข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งที่เกิดขึ้นและใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่นั้น ๆ โดยขั้นตอนการวิเคราห์หาพื้นที่ในการลงสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับในการศึกษาของปีนี้ มีดังนี้

  • วิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการซ้อนทับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Overlays Analysis) เพื่อหาพื้นที่การกัดเซาะและทับถมของพื้นที่แม่น้ำโขงฝั่งไทยในปี พ.ศ. 2565 และพิจารณาความสอดคล้องของสภาพพื้นที่กับผลจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม
  • กำหนดตัวแทนตำแหน่งของพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงสูงด้านการกัดเซาะ/ทับถม เพื่อทำการลงสำรวจพื้นที่จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลล่าสุดของปี พ.ศ. 2565
  • จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมข้อมูลปี พ.ศ. 2565 จะใช้ข้อมูลการวิเคราะห์มาช่วยในการกำหนดตำแหน่งการลงพื้นที่สำรวจจุดกัดเซาะเขื่อนกั้นตลิ่งตามแนวแม่น้ำโขงของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 8 จังหวัด ระยะทาง 330 กิโลเมตร การกำหนดตำแหน่งการลงพื้นที่สำรวจจะมุ่งเน้น ในพื้นที่โดยรอบของสถานีตรวจวัดน้ำของประเทศไทยทั้ง 6 สถานี พื้นที่ที่มีกลุ่มของการกัดเซาะและทับถมที่อยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยและชุมชน และพื้นที่ที่มีแนวเขื่อนกั้นตลิ่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมาเป็นตัวช่วยเพื่อให้ข้อมูลตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขงมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยการคัดเลือกจุดสำรวจนั้น เพื่อดูว่าพื้นที่บนฝั่ง ณ จุดที่มีการกัดเซาะและทับถมมีกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทใด
  • การกำหนดเกณฑ์คัดเลือกพื้นที่ในการลงสำรวจ ได้แก่

             1) ความปลอดภัย การเลือกจุดพื้นที่กัดเซาะและทับถม จะคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้าสำรวจในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากผู้เข้าสำรวจต้องเข้าพื้นที่ทำการศึกษาเฉพาะจุด (Hotspot) เพื่อทำการบันทึกภาพจากระบบหุ่นยนต์อากาศยาน ดังนั้น พื้นที่สำรวจจึงต้องเป็นจุดที่ปลอดภัย และได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและชาวบ้านในพื้นที่ จึงเลือกเป็นจุดพื้นที่ศึกษา

            2) ความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ หลังจากได้พื้นที่การกัดเซาะและทับถม แล้วจึงนำมาพิจารณาสภาพแวดล้อมว่ามีลักษณะของพื้นที่เป็นอย่างไร สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายหรือไม่ เพื่อใช้สำหรับคัดเลือกพื้นที่ในการสำรวจ

  • หลังจากได้พื้นที่ที่ผ่านการคัดกรองเรียบร้อยแล้ว จะนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในการเก็บข้อมูลทำแผนที่เฉพาะจุด (Hotspot Area) ในตำแหน่งที่ได้ทำการวิเคราะห์ไว้ เพื่อให้ได้ภาพที่มีความละเอียดสูงที่จะนำมาเปรียบเทียบหาความสอดคล้องกับข้อมูลจากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม และเป็นฐานข้อมูลต่อไปในอนาคต

5. การสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับ (UAV) 

           จากการประมวลผลด้วยการซ้อนทับ (Overlays Analysis) ของข้อมูลแนวแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นปีล่าสุดในการคำนวณหาพื้นที่การเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง มาทำการคำนวณหาพื้นที่ที่มีการกัดเซาะมากที่สุด โดยนำข้อมูลตลิ่งที่ทำการก่อสร้างด้วยมนุษย์มีระยะทางประมาณ 330 กิโลเมตร มาตัดพื้นที่ออกเพื่อให้เหลือแต่พื้นที่ตลิ่งตามธรรมชาติเท่านั้น

           ในขั้นต้นนี้เป็นการนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ มาทำการสำรวจ และบันทึกภาพถ่ายทางอากาศที่มีรายละเอียดสูงเข้ามาใช้ในการสำรวจเฉพาะพื้นที่ เพื่อตรวจสอบผลการศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมในข้างต้น ว่ามีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริงมากน้อยเพียงใด รวมทั้งลดข้อจำกัดและความเสี่ยงที่เกิดจากการสำรวจโดยมนุษย์ ภาพที่ได้นั้นเมื่อนำไประมวลผลแล้วสามารถรังวัดขนาดพื้นที่ และระยะของแนวกัดเซาะตลิ่ง โดยข้อมูลที่ได้จากระบบหุ่นยนต์อากาศยานสามารถนำไปจัดทำฐานข้อมูลทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบในการบริหารจัดการพื้นที่ได้ละเอียดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          การประมวลผลภำพถ่ำยทำงอากาศ น าข้อมูลภาพถ่ายจากหุ่นยนต์อากาศยาน (Still Image) ของพื้นที่มาประมวลผลเพื่อที่จะสร้างแผนที่รายละเอียดสูง จากการทำภาพ ออโธร์ (Orthophoto) โดยใช้โปรแกรมทาง (Computer Vision) ดิจิทัลโฟโตแกรมเมทรี (Digital Photogrammetry) และการประมวลผลภาพดิจิทัล (Digital Image Processing) โดยอาศัยข้อมูลจาก Image Geotagging หรือ Geolocation เพื่อบ่งบอกถึงการมีพิกัดของภาพ โดยบันทึกพิกัดไปที่ EXIF. File ของภาพ ซึ่งท าได้โดยหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็กถ่ายภาพขณะที ่เปิดรับสัญญาณ GPS ไปในเวลาเดียวกัน จะท าให้ได้ภาพแผนที ่รายละเอียดสูงของพื้นที ่ศึกษา (Orth mosaic Mapping)

6. ผลการศึกษาด้ำนการเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง

          การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมข้อมูลปี พ.ศ. 2565 จะใช้ข้อมูลการวิเคราะห์มาช่วยในการกำหนดตำแหน่งการลงพื้นที่สำรวจจุดกัดเซาะเขื่อนกั้นตลิ่งตามแนวแม่น้ำโขงของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 8 จังหวัด ระยะทาง 330 กิโลเมตร การกำหนดตำแหน่งการลงพื้นที่สำรวจจะมุ่งเน้นในพื้นที่โดยรอบของสถานีตรวจวัดน้ำของประเทศไทยทั้ง 6 สถานี พื้นที่ที่มีกลุ่มของการกัดเซาะและทับถมที่อยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยและชุมชน และพื้นที่ที่มีแนวเขื่อนกั้นตลิ่ง โดยที่ปรึกษาได้กำหนดจุดสำรวจของพื้นที่จำนวน 12 จุด เพื่อดูว่าพื้นที่บนฝั่ง ณ จุดที่มีการกัดเซาะและทับถมมีกิจกรรมหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทใด แสดงดัง รูปที่ 3 และรายละเอียในตารางที่ 2

รูปที่ 3 แผนที่แสดงตำแหน่งการลงพื้นที่สำรวจภาคสนามโดยอากาศยานไร้คนขับ (UAV)

ตารางที่  2 ตรวจสอบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและทับถมตะกอนในภาคสนาม

จุดที่ พื้นที่ พิกัด (ระบบพิกัด UTM) หมายเหตุ
Zone E N
1 ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน

จังหวัดเชียงราย

47Q 613672 2242218 เก็บข้อมูลวันที่

22 สิงหาคม 2565

2 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน

จังหวัดเลย

47Q 782909 1981133 เก็บข้อมูลวันที่

17 พฤศจิกายน 2565

3 ตำบลปากชม อำเภอปากชมจังหวัดเลย 47Q 803452 1920564 เก็บข้อมูลวันที่

17 พฤศจิกายน 2565

4 ตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 48Q 255190 1976645 เก็บข้อมูลวันที่

16 พฤศจิกายน 2565

5 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 48Q 259661 1978542 เก็บข้อมูลวันที่

16 พฤศจิกายน 2565

6 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬจังหวัดบึงกาฬ 48Q 357079 2032094 เก็บข้อมูลวันที่

23 กันยายน 2565

7 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 47Q 803056 1996115 เก็บข้อมูลวันที่

12 มีนาคม 2566

8 ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม 48Q 478240 1921151 เก็บข้อมูลวันที่

13 มีนาคม 2566

9 ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 48Q 471538 1833372 เก็บข้อมูลวันที่

25 พฤศจิกายน 2565

10 ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน

จังหวัดอำนาจเจริญ

48Q 505215 1780070 เก็บข้อมูลวันที่

3 มีนาคม 2566

11 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม

จังหวัดอุบลราชธานี

48Q 552985 1693996 เก็บข้อมูลวันที่

3 มิถุนายน 2566

12 ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น

จังหวัดเชียงราย

47Q 653948 2218716 เก็บข้อมูลวันที่

29 ธันวาคม 2565

 

6.1 เกณฑ์การประเมินพื้นที่สภาพการเปลี่ยนแปลงด้านการลดลงของตลิ่ง  

          ในการประเมินระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านการลดลงของตลิ่งในการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2565 นี้ จะอ้างอิงเกณฑ์การประเมินแต่ละด้านตามการศึกษาประจำปี พ.ศ. 2561 แบ่งเป็น 5 ระดับ ตามขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่ง (พื้นที่ที่หายไป) เทียบกับช่วงก่อนมีการพัฒนาเขื่อนซึ่งแบ่งระดับตามการกระจายของข้อมูลจริงโดยอ้างอิงจากวิธีทางสถิติ โดยการพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 20, 40, 60 และ 80 ของข้อมูลดังนี้

  1. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่ง อยู่ระหว่าง 0-0.34 ตร.กม.
  2. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >0.34-0.85 ตร.กม.
  3. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง :ขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่งอยู่ระหว่าง >0.85-1.06 ตร.กม.
  4. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >1.06-3.17 ตร.กม.
  5. ระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก : ขนาดพื้นที่ที่เกิดการลดลงของตลิ่ง อยู่ระหว่าง >3.17 ตร.กม.

6.2 การเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอนของ 8 จังหวัด

          จากผลการศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอนในพื้นที่ระดับอำเภอและจังหวัดริมแม่น้ำโขงสายประธาน ระหว่างปี พ.ศ. 2534 และปี พ.ศ. 2561-2565 สามารถสรุปได้ดังนี้

 

ตารางที่ 3 การเปลี่ยนแปลงตลิ่งและการพัดพาตะกอนในพื้นที่ระดับอำเภอและจังหวัดริมแม่น้ำโขง ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนมีการพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธาน (พ.ศ. 2534)

จังหวัด อำเภอ ปี พ.ศ 2561 ปี พ.ศ 2562 ปี พ.ศ 2563 ปี พ.ศ 2564 ปี พ.ศ 2565
พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น
ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่
จ.เชียงราย อ.เชียงของ 0.530 331.00 0.57 355.06 0.37 231.68 0.61 384.08 0.31 195.77 0.83 516.18 0.26 159.89 0.84 522.62 0.33 206.37 0.68 426.80
อ.เชียงแสน 0.686 428.56 0.85 530.24 0.70 437.20 0.83 521.02 0.66 414.73 0.92 574.80 0.76 475.80 1.11 694.60 0.63 393.92 0.89 555.58
อ.เวียงแก่น 0.186 116.26 0.21 131.02 0.15 92.99 0.18 113.75 0.05 28.89 0.27 166.66 0.04 25.03 0.40 250.11 0.10 59.80 0.25 158.74
รวมจังหวัดเชียงราย 1.401 875.821 1.626 1,016.327 1.219 761.863 1.630 1,018.848 1.023 639.393 2.012 1,257.637 1.06 660.72 2.35 1,467.33 1.06 660.10 1.83 1,141.12
จ.เลย อ.เชียงคาน 3.521 2,200.65 0.17 104.20 5.50 3,436.34 0.13 82.29 0.56 347.81 0.61 383.93 1.25 779.12 0.45 279.57 2.27 1,419.54 0.69 432.59
อ.ปากชม 5.078 3,173.61 0.14 85.90 12.10 7,561.80 0.02 14.92 0.46 288.28 0.74 462.44 3.86 2,410.33 0.44 275.76 4.51 2,817.59 0.68 426.23
รวมจังหวัดเลย 8.599 5,374.265 0.304 190.100 17.597 10,998.136 0.156 97.207 1.018 636.084 1.354 846.373 5.11 3,189.45 0.89 555.33 6.78 4237.14 1.37 858.81
จ.หนองคาย อ.ท่าบ่อ 1.242 776.42 0.93 578.21 0.88 549.52 1.08 677.11 0.61 378.27 1.43 895.48 0.21 133.28 1.16 722.67 0.78 486.68 0.99 620.68
อ.โพนพิสัย 0.410 256.45 0.19 118.74 0.46 289.77 0.08 49.38 0.16 100.77 0.18 114.40 0.55 344.55 0.41 258.69 0.42 261.37 0.19 116.04
อ.เมือง หนองคาย 2.736 1,710.23 0.78 486.74 2.92 1,822.01 0.58 359.59 1.93 1,206.78 1.01 628.61 1.90 1,189.73 0.95 595.36 2.51 1,569.21 0.72 447.97
อ.รัตนวาปี 0.190 118.87 0.23 142.96 0.35 217.53 0.07 44.37 0.27 166.57 0.13 84.15 0.24 152.72 0.16 102.85 0.28 173.70 0.13 79.61
อ.ศรีเชียงใหม่ 0.722 451.16 0.20 127.92 0.51 317.26 0.34 215.44 0.33 205.52 0.59 369.44 0.45 283.75 0.40 251.07 0.53 332.83 0.33 206.44
อ.สังคม 2.021 1,263.14 0.65 408.17 5.25 3,279.13 0.60 375.50 1.44 902.52 1.45 903.92 1.07 666.31 0.65 409.27 2.59 1,618.01 0.72 452.02
รวมจังหวัดหนองคาย 7.322 4,576.267 2.980 1,862.743 10.360 6,475.213 2.754 1,721.387 4.737 2,960.433 4.794 2,996.000 2,339.91 2,770.34 3.73 2,339.91 7.11 4441.80 3.08 1922.76
จ.บึงกาฬ อ.บึงโขงหลง 0.122 76.29 0.34 213.17 0.08 51.01 0.70 435.62 0.02 10.62 1.74 1,085.37 0.00 4.07 0.34 215.52 0.05 33.82 0.79 493.25
อ.บุ่งคล้า 1.534 958.63 0.39 243.57 1.31 820.03 0.41 255.97 1.59 996.66 0.88 551.57 0.77 480.74 0.55 345.1 1.27 792.86 0.56 352.55
อ.ปากคาด 0.774 483.44 0.28 175.12 0.87 544.55 0.14 88.36 0.42 263.27 0.22 136.95 0.57 354.16 0.22 136.97 0.64 401.30 0.22 135.96
อ.เมืองบึงกาฬ 2.645 1,653.30 0.80 502.28 3.08 1,923.42 0.32 201.10 2.31 1,444.94 0.87 540.76 2.55 1,597.29 0.58 362.54 2.58 1,612.68 0.65 406.30
รวมจังหวัดบึงกาฬ 5.075 3,171.669 1.815 1,134.145 5.342 3,338.998 1.570 981.041 4.345 2,715.486 3.703 2,314.654 3.89 2,436.26 1.69 1,060.13 4.55 2840.66 2.22 1388.05
จ.นครพนม อ.ท่าอุเทน 1.866 1,166.49 0.44 275.88 1.71 1,070.56 0.54 340.17 1.40 877.23 0.87 541.84 1.36 849.35 0.32 200.07 1.68 1,049.87 0.55 342.72
อ.ธาตุพนม 1.632 1,020.29 2.12 1,323.84 1.22 764.70 2.26 1,410.70 1.02 639.87 2.25 1,408.12 2.41 1,505.38 2.58 1,616.13 1.67 1,040.92 2.33 1,454.59
อ.บ้านแพง 0.683 426.82 1.96 1,227.16 0.70 438.27 2.68 1,672.54 0.70 440.43 3.06 1,915.60 0.76 473.54 2.29 1,430.88 0.75 471.08 2.52 1,577.78
อ.เมืองนครพนม 1.434 896.36 1.01 632.07 0.89 555.83 1.04 648.88 0.67 419.21 1.15 716.41 0.82 513.57 1.77 1,107.15 1.01 631.97 1.26 784.94
รวมจังวหวัดนครพนม 5.616 3,509.958 5.534 3,458.952 4.527 2,829.351 6.516 4,072.281 3.803 2,376.739 7.331 4,581.971 5.35 3,341.84 6.96 4,354.23 5.11 3193.84 6.66 4160.04
จ.มุกดาหาร อ.ดอนตาล 0.039 24.18 0.19 121.29 0.03 17.49 0.25 155.28 0.02 10.72 0.39 246.65 0.008 5.06 0.57 355.38 0.02 9.43 0.25 157.29
อ.เมืองมุกดาหาร 0.005 2.85 1.86 1,165.59 0.01 7.73 1.26 786.60 0.00 1.91 1.47 919.86 0.005 3.39 1.43 895.58 0.00 1.94 1.08 676.34
อ.หว้านใหญ่ 0.622 388.88 0.59 368.73 0.75 467.69 0.41 256.75 0.36 225.39 0.55 341.19 0.38 237.29 0.54 336.86 0.33 205.25 0.38 234.81
รวมจังหวัดมุกดาหาร 0.665 415.910 2.649 1,655.618 0.789 492.911 1.918 1,198.631 0.381 238.018 2.412 1,507.711 0.39 245.74 2.54 1,587.82 0.35 216.62 1.71 1068.44
จ.อำนาจเจริญ อ.ชานุมาน 0.254 158.79 0.18 113.52 0.32 197.92 0.24 147.69 0.21 129.61 0.32 199.27 0.10 64.76 1.63 1,021.79 0.22 137.87 0.64 402.39
รวมจังหวัดอำนาเจริญ 0.254 158.787 0.182 113.519 0.317 197.919 0.236 147.692 0.207 129.611 0.319 199.269   0.10 64.76 1.63 0.22 137.87 0.64 402.39
จ.อุบลราชธานี อ.เขมราฐ 0.627 392.13 0.66 414.06 0.85 531.85 0.47 293.60 0.45 278.67 0.76 477.93 0.11 72.13 1.40 877.94 0.51 320.63 0.74 462.73
อ.โขงเจียม 0.977 610.60 0.52 326.50 2.80 1,750.73 0.34 212.46 1.33 830.92 0.67 415.95 0.25 156.35 1.45 905.00 1.35 843.21 0.67 419.13
อ.นาตาล 1.135 709.43 0.02 14.10 1.51 941.46 0.01 6.23 0.79 491.10 0.04 24.40 0.23 145.09 0.22 137.15 0.92 576.88 0.07 40.79
อ.โพธิ์ไทร 0.416 259.99 0.11 71.08 1.18 738.89 0.10 64.45 0.26 164.68 0.15 94.84 0.05 34.03 0.50 311.92 0.48 300.01 0.19 120.96
อ.ศรีเมืองใหม่ 0.102 63.53 0.01 6.73 0.12 74.26 0.01 7.00 0.09 57.27 0.02 15.61 0.01 6.86 0.16 97.78 0.08 50.68 0.05 28.13
รวมจังหวัดอุบลราชธานี 3.257 2,035.677 1.332 832.468 6.459 4,037.180 0.934 583.745 2.916 1,822.639 1.646 1,028.735 0.75 479.22 5.36 3,351.58 3.35 2091.41 1.71 1071.74
รวมทั้งหมด 32.19 20,118.35 16.42 10,263.87 46.61 29,131.57 15.71 9,820.83 18.43 11,518.40 23.57 14,732.35 21.07 13,188.33 25.15 15,905.46 28.51 17819.43 19.22 12013.34

ตารางที่ 4 การเปลี่ยนแปลงตลิ่งและการพัดพาตะกอนในพื้นที่ระดับอำเภอและจังหวัดริมแม่น้ำโขง ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

จังหวัด อำเภอ ปี พ.ศ 2562 เทียบจากปี พ.ศ. 2561 ปี พ.ศ 2563 เทียบจากปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ 2564 เทียบจากปี พ.ศ. 2563 ปี พ.ศ 2565 เทียบจากปี พ.ศ. 2564
พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น พื้นที่ตลิ่งหายไป พื้นทีตลิ่งเพิ่มขึ้น
ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ตร.กม. ตร.กม. ตร.กม. ตร.กม. ตร.กม. ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่ ตร.กม. ไร่
จ.เชียงราย อ.เชียงของ 0.25 153.12 0.45 283.86 0.40 252.58 0.14 84.55 0.19 124.96 0.57 355.63 0.29 178.71 0.39 245.55
อ.เชียงแสน 0.28 176.80 0.25 158.94 0.36 223.77 0.23 142.37 0.32 245.15 0.38 236.24 0.33 204.24 0.29 182.04
อ.เวียงแก่น 0.08 49.02 0.09 56.74 0.20 124.57 0.01 8.78 0.06 37.10 0.20 127.50 0.12 72.33 0.10 63.50
รวมจังหวัดเชียงราย 0.61 378.94 0.80 499.54 0.96 600.93 0.38 235.71 0.57 407.21 1.15 719.37 0.73 455.28 0.79 491.09
จ.เลย อ.เชียงคาน 2.08 1,299.95 0.12 71.92 5.50 3,439.95 0.10 63.98 0.30 184.89 0.29 184.89 2.40 1,498.42 0.17 109.00
อ.ปากชม 7.21 4,506.85 0.15 92.70 12.34 7,714.96 0.00 0.00 1.39 872.24 0.10 60.42 6.37 3,981.84 0.09 53.43
รวมจังหวัดเลย 9.29 5,806.80 0.26 164.62 17.85 11,154.91 0.10 63.98 1.69 1057.13 0.39 245.31 8.77 5,480.26 0.26 162.44
จ.หนองคาย อ.ท่าบ่อ 0.05 31.44 0.67 417.10 0.64 401.13 0.04 22.09 0.17 104.80 0.30 187.93 0.26 162.35 0.48 302.05
อ.โพนพิสัย 0.04 25.24 0.05 28.95 0.35 218.15 0.00 1.58 0.04 27.21 0.13 82.86 0.13 81.17 0.09 53.83
อ.เมืองหนองคาย 0.20 126.57 0.08 52.78 1.32 824.73 0.01 5.01 0.21 131.64 0.42 259.95 0.52 326.58 0.24 152.52
อ.รัตนวาปี 0.18 111.66 0.01 7.88 0.04 28.10 0.00 0.00 0.02 14.57 0.07 47.71 0.07 45.31 0.04 23.92
อ.ศรีเชียงใหม่ 0.12 77.44 0.39 243.05 0.44 277.27 0.04 22.87 0.15 91.45 0.22 136.74 0.21 134.03 0.31 194.39
อ.สังคม 3.63 2,269.61 0.42 262.64 4.85 3,030.84 0.27 166.86 0.73 456.51 0.23 145.64 2.78 1,738.62 0.44 275.13
รวมจังหวัดหนองคาย 4.23 2,641.96 1.62 1,012.39 7.65 4,780.23 0.35 218.41 1.32 826.54 1.37 860.83 3.98 2,488.06 1.60 1,001.84
จ.บึงกาฬ อ.บึงโขงหลง 0.03 17.29 0.25 158.55 1.13 706.61 0.02 10.22 0.55 344.74 0.004 3.04 0.38 235.68 0.09 56.99
อ.บุ่งคล้า 0.06 37.64 0.20 122.64 0.63 396.42 0.55 346.54 0.29 181.30 0.09 56.17 0.22 135.07 0.28 174.72
อ.ปากคาด 0.12 72.17 0.02 12.77 0.53 329.81 0.04 26.01 0.02 10.47 0.08 48.60 0.15 92.34 0.05 29.12
อ.เมืองบึงกาฬ 0.59 366.29 0.06 39.46 1.19 741.59 0.01 6.45 0.72 448.20 0.25 157.35 0.55 344.57 0.11 66.56
รวมจังหวัดบึงกาฬ 0.79 493.38 0.53 333.43 3.48 2,174.43 0.62 389.22 1.58 984.71 0.42 265.16 1.29 807.66 0.52 327.40
จ.นครพนม อ.ท่าอุเทน 0.13 79.10 0.31 190.69 0.57 356.65 0.01 6.54 0.51 320.82 0.05 28.88 0.32 197.10 0.13 84.32
อ.ธาตุพนม 0.17 105.04 0.74 463.06 0.38 235.92 0.14 87.74 0.12 76.36 0.11 72.47 0.17 109.14 0.36 225.62
อ.บ้านแพง 0.11 69.02 0.81 505.12 0.59 366.39 0.23 142.02 0.35 221.80 0.03 17.63 0.27 171.04 0.39 243.85
อ.เมืองนครพนม 0.04 27.19 0.61 382.91 0.35 221.24 0.03 19.19 0.37 229.75 0.05 29.93 0.20 123.80 0.25 157.25
รวมจังวหวัดนครพนม 0.45 280.35 2.47 1,541.78 1.89 1,180.19 0.41 255.49 1.35 848.73 0.24 148.91 0.96 601.08 1.14 711.05
จ.มุกดาหาร อ.ดอนตาล 0.10 65.33 0.02 12.70 0.08 52.06 0.001 1.13 0.03 16.74 0.19 121.35 0.11 66.93 0.82 511.11
อ.เมืองมุกดาหาร 0.44 272.99 0.00 1.13 0.10 60.50 0.001 1.13 0.04 23.89 0.07 42.08 0.30 184.87 0.28 171.98
อ.หว้านใหญ่ 0.26 163.94 0.00 1.82 0.49 303.22 0.001 1.13 0.12 72.63 0.06 40.28 0.44 277.30 0.24 147.76
รวมจังหวัดมุกดาหาร 0.80 502.26 0.03 15.65 0.67 415.78 0.01 3.38 0.19 113.26 0.32 203.71 0.85 529.10 1.33 830.86
จ.อำนาจเจริญ อ.ชานุมาน 0.16 102.62 0.01 4.10 0.13 78.80 0.001 1.13 0.001 1.02 0.38 238.59 0.17 103.41 0.11 67.12
รวมจังหวัดอำนาเจริญ 0.16 102.62 0.01 4.10 0.13 78.80 0.001 1.13 0.001 1.02 0.38 238.59 0.17 103.41 0.11 67.12
จ.อุบลราชธานี อ.เขมราฐ 0.39 242.86 0.01 9.11 0.60 374.96 0.01 3.96 0.001 4.31 0.93 581.85 0.29 183.90 0.17 107.49
อ.โขงเจียม 1.31 821.02 0.04 24.07 1.72 1,072.92 0.03 19.07 0.03 22.11 1.32 824.05 0.91 567.85 0.25 157.28
อ.นาตาล 0.35 218.30 0.00 2.90 0.66 415.32 0.00 1.50 0.005 3.37 0.75 470.56 0.30 188.35 0.14 84.86
อ.โพธิ์ไทร 0.77 483.15 0.01 3.86 0.95 596.58 0.01 8.09 0.005 3.64 0.53 331.97 0.51 320.11 0.10 62.23
อ.ศรีเมืองใหม่ 0.00 2.03 0.00 0.00 0.02 14.76 0.00 0.00 0.002 0.12 0.22 137.84 0.01 4.08 0.04 24.89
รวมจังหวัดอุบลราชธานี 2.83 1,767.36 0.06 39.94 3.96 2,474.53 0.05 32.62 0.04 33.55 3.75 2,346.27 2.02 1,264.29 0.70 436.77
รวมทั้งหมด 19.16 11,973.67 5.78 3,611.44 36.58 22,859.81 1.92 1,199.93 6.74 5,256.86 8.02 6,154.14 18.77 11,729.15 6.45 4,028.55

6.3 การลดลงของตลิ่ง

          จากข้อมูลการลดลงของพื้นที่ริมตลิ่งในช่วงปี พ.ศ. 2565 พบว่า พื้นที่ริมฝั่งที่ตั้งอยู่ใน 28 อำเภอ        เกิดพื้นที่หายไปรวมตั้งแต่ 0.01-8.77 ตร.กม. และเมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาการกระจายของข้อมูล และอ้างอิงการแบ่งระดับข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติสามารถสรุปข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดในรายอำเภอได้ดังนี้

          1.     พื้นที่จังหวัดเชียงรายเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 0.73 ตารางกิโลเมตร (455.28 ไร่) คิดเป็น 2.56% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอเชียงแสน มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.33 ตร.กม. (204.24 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเชียงของ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.29 ตร.กม. (178.71 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเวียงแก่น มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.12 ตร.กม. (72.33 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

          2.     พื้นที่จังหวัดเลยเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 8.77 ตารางกิโลเมตร (5480.26 ไร่) คิดเป็น 30.77% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอเชียงคาน มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 2.27 ตร.กม. (1,419.54 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง
  • อำเภอเชียงปากชม มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 4.51 ตร.กม. (2,817.59 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก

3.     พื้นที่จังหวัดหนองคายเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 3.98 ตารางกิโลเมตร (2488.06 ไร่) คิดเป็น 13.9% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูงมาก โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอสังคม มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 2.78 ตร.กม. (1,738.62 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง
  • อำเภอศรีเชียงใหม่ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.21 ตร.กม. (134.03 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอท่าบ่อ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.26 ตร.กม. (162.35 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเมืองหนองคาย มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.52 ตร.กม. (326.58 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอโพนพิสัย มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.13 ตร.กม. (81.17 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอรัตนวาปี มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.07 ตร.กม. (45.31 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

4.     พื้นที่จังหวัดบึงกาฬเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 1.29 ตารางกิโลเมตร (807.66 ไร่) คิดเป็น 4.52% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอปากคาด มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.15 ตร.กม. (92.34 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเมืองบึงกาฬ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.55 ตร.กม. (344.57 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอบุ่งคล้า มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.22 ตร.กม. (135.07 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอบึงโขงหลง มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.38 ตร.กม. (235.68 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย

5.     พื้นที่จังหวัดนครพนมเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 0.96 ตารางกิโลเมตร (601.08 ไร่) คิดเป็น 3.37% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอบ้านแพง มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.27 ตร.กม. (171.04 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพ
    การเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอท่าอุเทน มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.32 ตร.กม. (197.10 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอเมืองนครพนม มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.20 ตร.กม. (123.80 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอธาตุพนม มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.17 ตร.กม. (109.14 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

6.     พื้นที่จังหวัดมุกดาหารเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 0.85 ตารางกิโลเมตร (529.10 ไร่) คิดเป็น 2.98% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอหว้านใหญ่ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.44 ตร.กม. (277.30 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอเมืองมุกดาหาร มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.30 ตร.กม. (184.87 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอดอนตาล มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.11 ตร.กม. (66.93 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

7.     พื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ในอำเภอชานุมานเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 0.17 ตารางกิโลเมตร (103.41 ไร่) คิดเป็น 0.6% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่)  ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

8.     พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเกิดพื้นที่ที่หายไปรวมประมาณ 2.02 ตารางกิโลเมตร (1264.29 ไร่) คิดเป็น 7.09% ของพื้นที่ที่หายไปรวมตามแนวแม่น้ำโขงของประเทศไทย (28.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 17,819.43 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงสูง โดยแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ลดลงดังนี้

  • อำเภอเขมราฐ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.29 ตร.กม. (183.9 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอนาตาล มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.30 ตร.กม. (188.35 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอโพธิ์ไทร มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.51 ตร.กม. (320.11 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อย
  • อำเภอศรีเมืองใหม่ มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.01 ตร.กม. (4.08 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • อำเภอโขงเจียม มีขนาดพื้นที่ลดลงรวม 0.91 ตร.กม. (567.85 ไร่) ซึ่งอยู่ในระดับสภาพการเปลี่ยนแปลงปานกลาง