ข้อมูลด้านสัณฐานของตลิ่งริมน้ำ ปี 2563

ในการศึกษา ได้ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของปี พ.ศ. 2534  พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563  โดยช่วงปี พ.ศ. 2534 เป็นช่วงปีที่ยังไม่มีการเปิดดำเนินการของเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานซึ่งใช้เป็นเส้นฐานหลักมาเปรียบเทียบกับช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของสปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2562-2563) เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและพัดพาตะกอนของพื้นที่ริมฝั่งโขง โดยผลการศึกษาของพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด มีดังนี้

1. จังหวัดเชียงราย (อยู่เหนือเขื่อนไซยะบุรีของ สปป.ลาว)

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดเชียงราย ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น2 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2562 กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกัน พบว่า ในจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 1.219 ตารางกิโลเมตร (761.86 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 1.63 ตารางกิโลเมตร (1,018.848 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.เชียงแสน
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 0.96 ตารางกิโลเมตร (600.93 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.38 ตารางกิโลเมตร (235.71 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.เชียงแสน

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563   โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขง และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัด

2. จังหวัดเลย

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดเลย ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น3 ช่วงเวลา โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดเลยมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 8.60 ตารางกิโลเมตร (5,374.26 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นทั้งหมด 0.30 ตารางกิโลเมตร (190.10 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คืออ.ปากชม และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.เชียงคาน แสดงดัง
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด9.29 ตารางกิโลเมตร (5,806.80 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.26 ตารางกิโลเมตร (164.62 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.ปากชม
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด85 ตารางกิโลเมตร (11,154.91 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.10 ตารางกิโลเมตร (63.98 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.ปากชม

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วง พบว่า พื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัด

3. จังหวัดหนองคาย

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดหนองคาย ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดหนองคายมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 7.32 ตารางกิโลเมตร (4,576.27 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 2.98 ตารางกิโลเมตร (1,862.74 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คืออ.เมืองหนองคาย และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.ท่าบ่อ
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด4.23 ตารางกิโลเมตร (2,641.96 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 1.62 ตารางกิโลเมตร (1,012.39 ไร่) โดยอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.สังคม และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.ท่าบ่อ
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 7.65 ตารางกิโลเมตร (4,780.23 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.35 ตารางกิโลเมตร (218.41 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.สังคม

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และพบเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

4. จังหวัดบึงกาฬ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดบึงกาฬ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 5.07 ตารางกิโลเมตร (3,171.67 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด1.815 ตารางกิโลเมตร (1,134.15 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คืออ.เมืองบึงกาฬ
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด.79 ตารางกิโลเมตร (493.38 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.53 ตารางกิโลเมตร (333.43 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.เมืองบึงกาฬ และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.บึงโขงหลง
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด3.48 ตารางกิโลเมตร (2,174.43 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.62 ตารางกิโลเมตร (389.22 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.เมืองบึงกาฬ และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.บุ้งคล้า

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

5. จังหวัดนครพนม

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดนครพนม ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดนครพนมมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 5.62 ตารางกิโลเมตร (3,509.96 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 5.53 ตารางกิโลเมตร (3,458.95 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คืออ.ท่าอุเทน และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.ธาตุพนม
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด0.45 ตารางกิโลเมตร (280.35 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 2.47 ตารางกิโลเมตร (1,541.78 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.ธาตุพนม และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.บ้านแพง
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขง พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด1.89 ตารางกิโลเมตร (1,180.19 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.41 ตารางกิโลเมตร (255.49 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.บ้านแพง และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.บ้านแพง

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และพบเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

6. จังหวัดมุกดาหาร

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดมุกดาหาร ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิด กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดมุกดาหารมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 0.67 ตารางกิโลเมตร (415.91 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 2.65 ตารางกิโลเมตร (1,655.62 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.ว่านใหญ่ และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.เมืองมุกดาหาร
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด0.80 ตารางกิโลเมตร (502.26 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.03 ตารางกิโลเมตร( 15.65 ไร่) โดยอำเภอที่มีพบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.เมืองมุกดาหาร และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.ดอนตาล
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด0.67 ตารางกิโลเมตร (415.78 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.01 ตารางกิโลเมตร (3.38 ไร่) โดยอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.ว่านใหญ่ ส่วนของพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นที่พบแต่ละอำเภอมีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และพบเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2561–2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

7. จังหวัดอำนาจเจริญ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดอำนาจเจริญมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 0.25 ตารางกิโลเมตร (158.79 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.18 ตารางกิโลเมตร (113.52 ไร่)
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด0.16 ตารางกิโลเมตร (102.62 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.01 ตารางกิโลเมตร(10 ไร่)
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด0.13 ตารางกิโลเมตร (78.80 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 001 ตารางกิโลเมตร(1.13 ไร่)

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และพบเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ.2561–2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

8. จังหวัดอุบลราชธานี

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งของแม่น้ำโขงในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลปี พ.ศ. 2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงก่อนปีที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ กับแนวแม่น้ำโขงของปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน (เป็นเส้นหลักฐาน (Baseline)) เปรียบเทียบกับ พบว่า ในจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด 3.26 ตารางกิโลเมตร (2,035.68 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 1.33 ตารางกิโลเมตร (832.47 ไร่) โดยอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งหายไปมากที่สุด คือ อ.นาตาล และอำเภอที่พบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ อ.เขมราฐ
  2. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2562 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีแรกหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2561 (Baseline) พบว่าพื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด2.83 ตารางกิโลเมตร (1,767.36 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.06 ตารางกิโลเมตร (39.94 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.โขงเจียม
  3. เมื่อเปรียบเทียบช่วงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ โดยเปรียบเทียบกับแนวเส้นแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2562 (Baseline) พบว่า พื้นที่ตลิ่งหายไปรวมทั้งหมด3.96 ตารางกิโลเมตร (2,474.53 ไร่) และพบพื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 0.05 ตารางกิโลเมตร (32.62 ไร่) โดยอำเภอที่พบการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งมากที่สุด คือ อ.โขงเจียม

ทั้งนี้ จากการศึกษาแต่ละช่วงพบว่าพื้นที่ที่ตลิ่งหายไปมีสภาพปริมาณที่พบน้อยลงในปี พ.ศ. 2562 และพบเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นพบน้อยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561–2563 โดยสรุปผลการเปลี่ยนแปลงตลิ่งแม่น้ำโขงก่อนเปิดเขื่อนไซยะบุรี และแยกพื้นที่เกาะแก่งของแต่ละจังหวัดในช่วงปี พ.ศ. 2561

9. สรุปภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอนของประเทศไทย

 

รูปที่ 1 ขนาดพื้นที่การเปลี่ยนแปลงของตลิ่งแม่น้ำโขงของประเทศไทย