คุณภาพน้ำ ปี 2564

ด้านกายภาพ >> คุณภาพน้ำ >> ปี 2564

การศึกษาด้านคุณภาพน้ำ
1. แนวทางการศึกษา

  • 1.1. ทบทวนข้อมูลการศึกษาด้านคุณภาพน้ำ
  • 1.2. สำรวจพื้นที่ศึกษา จำนวน 8 จังหวัด
  • 1.3. เตรียมอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างน้ำ จำนวน 15 สถานี แสดงดังรูปที่ 1
  • 1.4. วิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในห้องปฏิบัติการ

รูปที่ 1 แผนที่จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดินในแม่น้ำโขงสายประธาน ในเขตประเทศไทย

2. วิธีการศึกษา
2.1. การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน

กลุ่มที่ปรึกษาได้ทบทวนวิธีการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำในภาคสนาม ใช้วิธีการเก็บแบบจ้วง (Grab Sampling) ณ จุดกึ่งกลางลำน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน เพื่อเป็นตัวแทนของคุณภาพน้ำของแม่น้ำ ณ ภาคตัดขวาง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม่น้ำโขงสายประธานมีความกว้างของลำน้ำมากและปริมาณการไหลสูงในฤดูน้ำหลาก จึงพิจารณาตำแหน่งของการเก็บตัวอย่างน้ำที่เหมาะสมตามสภาพการณ์จริงที่ระยะห่างจากตลิ่งทางฝั่งประเทศไทยให้มากที่สุด (อย่างน้อยที่มีความลึกของน้ำระหว่าง 3-5 เมตร) นอกจากนี้ ในบางสถานีที่ริมตลิ่งฝั่งประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากน้ำของแม่น้ำโขง เช่น การประมง ท่าเรือ การเกษตรริมฝั่งการสูบน้ำไปใช้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การท่องเที่ยว เป็นต้น จะพิจารณาตำแหน่งการเก็บคุณภาพน้ำเพื่อเป็นตัวแทนของพื้นที่กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ หรือหากพบปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงกับคุณภาพน้ำ เช่น น้ำโขงใสสีคราม เป็นต้น จะพิจารณาการเก็บตัวอย่างน้ำ ณ ตำแหน่งนั้น ร่วมด้วย

ดัชนีในการติดตามคุณภาพน้ำ ประกอบด้วย 11 ดัชนี เพื่อให้ครอบคลุมดัชนีที่ใช้ในการคำนวณค่า WQI สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ รายละเอียดของดัชนี ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่างและวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน แสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่าง และวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน

ดัชนี หน่วย ภาชนะบรรจุ วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง ระยะเวลาเก็บรักษา วิธีการตรวจสอบ ขีดจำกัดต่ำสุดของการวัด
1. อุณหภูมิ องศาเซลเซียส ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 0.25  ชั่วโมง Thermometer
2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 0.25  ชั่วโมง Electrometric Method
3. ออกซิเจนละลาย มก./ล. ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 8  ชั่วโมง Azide Modification Method 0.5
4. การนำไฟฟ้า(Electrical Conductivity) ไมโคร
ซีเมนส์/ซม.
ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 28 วัน Electrical Conductivity Method 0.1
5. ความขุ่น(Turbidity) เอ็นทียู P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Nephelometric Method 0.1
6. สารแขวนลอย(TSS) มก./ล. P แช่เย็น 7 วัน Total Suspended Solids Dried at 103-105 °C 5.0
7. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) มก./ล. P,G เติมกรด H2SO4
จน pH< 2,แช่เย็น
28 วัน Distillation Nesslerization Method 0.5
8. ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2- -N) มก./ล. P แช่เย็น 48  ชั่วโมง NED Colourimetric Method 0.02
9. ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3–N) มก./ล. P แช่เย็น 48  ชั่วโมง Cadmium Reduction Method 0.02
10. ฟอสเฟต (PO43–P) มก./ล. G(A) แช่เย็น 48 วัน Ascorbic Acid Method 0.01
11. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P) มก./ล. P เติมกรด H2SO4จน pH< 2, แช่เย็น 28 วัน Persulphate Digestion and Ascorbic Acid Method 0.01

หมายเหตุ: P หมายถึง Plastic (Polyethylene หรือ Equivalent). G หมายถึง Glass, G(A) หมายถึง Glass rinsed with 1+1 Nitric Acid
แช่เย็น หมายถึง แช่เย็น ที่อุณหภูมิ >0 องศาเซลเซียส < 6 องศาเซลเซียส
ที่มา Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA, WEF, 23rd Edition, 2017.

ผู้สำรวจจะตรวจวัดดัชนีบางตัวทันที และบันทึกค่าการตรวจวัดความเป็นกรดและด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (Conductivity) และออกซิเจนละลาย (DO) ทันทีในภาคสนาม พร้อมกับบันทึกสภาพตัวอย่างน้ำที่สังเกต เช่น สี และกลิ่น ตลอดจนบันทึกสภาพแวดล้อมทางกายภาพและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ริมตลิ่ง และถ่ายภาพประกอบของการเก็บตัวอย่าง และภาพสภาพแวดล้อมโดยรอบจุดเก็บตัวอย่างไว้ด้วย และนำตัวอย่างน้ำใส่ภาชนะบรรจุที่เหมาะสม ดำเนินการรักษาสภาพตัวอย่าง ขนส่งตัวอย่างในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่งถึงห้องปฏิบัติการให้ทันกำหนดเวลา เพื่อนำไปวิเคราะห์ค่าดัชนีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในห้องปฏิบัติการต่อไป

2.2. การวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำ
2.2.1 นำข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2
2.2.2 การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำ ตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Water Quality Index for Aquatic life; WQIal) โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQIal ประกอบด้วย DO, pH, NH3, Conductivity, NO3- และ total-P สามารถคำนวณได้ดังสมการ

โดย
pi  คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0
n   คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น
M คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้น

และหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตามตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำสำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ

ค่าคะแนน ระดับคุณภาพน้ำ
9.5 ≤ WQI ≤ 10.0 A: คุณภาพดีมาก
8.0 ≤ WQI ≤ 9.5 B: คุณภาพดี
6.5 ≤ WQI ≤ 8.0 C: คุณภาพปานกลาง
4.5 ≤ WQI ≤ 6.5 D : คุณภาพไม่ดี
WQI ‹ 4.0 E: คุณภาพไม่ดีมาก

ที่มา MRC Technical Paper No.60, 2016

2.3. การรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

นอกจากการเก็บข้อมูลปฐมภูมิเองของโครงการ กลุ่มที่ปรึกษาจะรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาอื่นประกอบด้วย ข้อมูลจากโปรแกรมงานสิ่งแวดล้อม (Environment Programme) ของสำนักงานเลขาธิการกรรมาธิการแม่น้ำโขงในส่วนของประเทศไทยจากกรมทรัพยากรน้ำ ณ ข้อมูลสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานในเขตพื้นที่ประเทศไทย 3 สถานี คือ สถานีเชียงแสน สถานีนครพนม และสถานีโขงเจียม และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกันของประเทศสมาชิกในโปรแกรมJoint Environmental Monitoring ซึ่งกำลังเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ด้วย อีกทั้งข้อมูลทุติยภูมิเชิงคุณภาพจากการรายงานของเครือข่ายประชาชนและองค์กรอื่นในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงด้วย

3. ผลการศึกษา
3.1. ผลการศึกษาในระยะเวลาศึกษาปี พ.ศ. 2564

โดยภาพรวม ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำเกือบทุกดัชนีมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

3.2. ผลการเปรียบเทียบแนวโน้มผลการศึกษาจากครั้งที่ผ่านมา
3.2.1. คุณสมบัติทางกายภาพ

ลำดับ

สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ

จังหวัด

คุณสมบัติทางกายภาพ

อุณหภูมิ
(องศาเซลเซียส)

การนำไฟฟ้า
(ไมโครซีเมนส์/ซม.)

สารแขวนลอย (มิลลิกรัม/ลิตร)

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1 อ.เชียงแสน4/ เชียงราย

20

26

26

256

229

267

40.6

306

76.6

2 อ.เวียงแก่น3/ เชียงราย

20

22

26

252

216

280

12.8

457

42.6

3 อ.เชียงคาน3/ เลย

23

30

27

271

210

238

<5.0

94.2

19.7

4 อ.เชียงคาน24/ เลย

23

30

29

458

213

354

8.7

74.1

24.4

5 อ.เชียงคาน34/ เลย

23

30

27

262

210

244

<5.0

65.8

22.2

6 อ.ปากชม3/ เลย

26

30

28

292

227

249

<5.0

102

19.3

7 อ.เมืองหนองคาย4/ หนองคาย

24

29

26

273

242

242

6.3

100

27.8

8 อ.โพนพิสัย4/ หนองคาย

25

27

27

286

217

262

<5.0

134

32.6

9 อ.เมืองบึงกาฬ4/ บึงกาฬ

25

28

27

249

180

248

<5.0

110

29.5

10 อ.บุ่งคล้า3/ บึงกาฬ

26

28

28

327

183

234

10.4

54.8

13.4

11 อ.เมืองนครพนม4/ นครพนม

26

28

26

229

187

283

<5.0

77.6

29.5

12 อ.ธาตุพนม3/ นครพนม

26

29

25

236

158

228

<5.0

70.9

20.2

13 อ.เมืองมุกดาหาร4/ มุกดาหาร

24

28

26

229

154

267

<5.0

78.2

34.8

14 อ.ชานุมาน3/ อำนาจเจริญ

25

29

25

239

165

284

<5.0

75.9

656

15 อ.โขงเจียม4/ อุบลราชธานี

26

28

25

255

176

360

<5.0

77.3

18.5

ค่ามาตรฐาน

1/

2/

1,500

หมายเหตุ :
1/มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนการอนุรักษ์สัตว์น้ำการประมง และการว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ

2/ มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
3/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
4/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่เพิ่มเติมสถานีใหม่ ในปี พ.ศ. 2563
ธ* หมายถึง อุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
หมายถึง เป็นไปตามธรรมชาติ
* มีค่าไม่อยู่ในมาตรฐานฯ
ครั้งที่ 1 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงน้ำลงต่ำสุด
ครั้งที่ 2 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 11-30 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงฤดูฝน หรือช่วงน้ำขึ้นสูงสุด
ครั้งที่ 3 ช่วงการเก็บตัวอย่างนที่ 22-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 หรือช่วงน้ำเริ่มลด

3.2.2. คุณสมบัติด้านเคมี

ลำดับ

สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ

จังหวัด

คุณสมบัติทางเคมี

ความเป็นกรดและด่าง

ออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร)

สารอาหาร
ไนเตรท-ไนโตรเจน (มิลลิกรัม/ลิตร)

สารฟอสฟอรัสทั้งหมด (มิลลิกรัม/ลิตร)

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

1 อ.เชียงแสน4/ เชียงราย

8.1

7.8

8.1

7.2

5.6

5.3

0.57

0.14

0.19

0.03

0.06

0.16

2 อ.เวียงแก่น3/ เชียงราย

8.2

7.9

8.3

7.1

5.6

5.9

0.4

0.17

0.17

0.05

0.1

0.12

3 อ.เชียงคาน3/ เลย

8.2

7.5

8.2

7.8

6.1

8.3

0.52

0.46

0.09

<0.01

0.05

0.07

4 อ.เชียงคาน24/ เลย

8.3

7.6

8.4

7.6

6.4

6

<0.02

0.59

0.07

<0.01

0.06

0.1

5 อ.เชียงคาน34/ เลย

8.3

7.6

8.6

7.3

6.4

6.6

0.46

0.48

0.08

<0.01

0.05

0.07

6 อ.ปากชม3/ เลย

8.4

7.7

8.5

7.2

6.3

5.7

<0.02

0.62

0.08

0.02

0.05

0.04

7 อ.เมืองหนองคาย4/ หนองคาย

8.3

8.1

7.5

7

6.1

5.5

0.38

0.32

0.11

0.02

0.06

0.08

8 อ.โพนพิสัย4/ หนองคาย

8.3

7.6

8.3

7.1

6.1

5.7

0.34

0.39

0.12

<0.01

0.05

0.07

9 อ.เมืองบึงกาฬ4/ บึงกาฬ

8.3

7.9

8.5

6.9

5

6.2

0.55

0.42

0.1

<0.01

0.06

0.07

10 อ.บุ่งคล้า3/ บึงกาฬ

8.0

7.8

8.4

7.8

4.8

6.6

0.2

0.36

0.15

<0.01

0.05

0.03

11 อ.เมืองนครพนม4/ นครพนม

8.2

7.7

8.3

6.8

5.8

6.1

0.46

0.23

0.14

<0.01

0.05

0.11

12 อ.ธาตุพนม3/ นครพนม

8.2

7.0

7.6

6.3

5.5

7.9

0.41

0.23

0.11

<0.01

0.04

0.08

13 อ.เมืองมุกดาหาร4/ มุกดาหาร

8.3

7.3

8.2

6.7

4.9

5.5

0.31

0.19

0.13

<0.01

0.04

0.02

14 อ.ชานุมาน3/ อำนาจเจริญ

8.4

7.6

8.1

6.6

4.8

6

0.25

0.2

0.14

<0.01

0.03

0.06

15 อ.โขงเจียม4/ อุบลราชธานี

8.5

8.1

8.2

6.2

4.8

5.4

0.31

0.32

0.11

<0.01

0.05

0.07

ค่ามาตรฐาน

1/

5-9

>6.0

≤5.0

2/

6-9

>5

≤0.13

หมายเหตุ :
1/ มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนการอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมง และการว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
2/   มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
3/   สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
4/   สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่เพิ่มเติมสถานีใหม่ ในปี พ.ศ. 2563
ธ*   หมายถึง อุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
     หมายถึง เป็นไปตามธรรมชาติ
*     มีค่าไม่อยู่ในมาตรฐานฯ
ครั้งที่ 1 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงน้ำลงต่ำสุด
ครั้งที่ 2 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 11-30 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงฤดูฝน หรือช่วงน้ำขึ้นสูงสุด
ครั้งที่ 3 ช่วงการเก็บตัวอย่างนที่ 22-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 หรือช่วงน้ำเริ่มลด