ระดับน้ำและอัตราการไหล ปี 2564

ด้านกายภาพ >> ระดับน้ำและอัตราการไหล >> ปี 2564

1. ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม และสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane

รวมทั้ง สถานีน้ำท่าบนแม่น้ำที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน ประกอบด้วย สถานีน้ำท่าของกรมชลประทาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา และสถานีน้ำท่าของกรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานและแม่น้ำสาขา ที่นำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาในปี พ.ศ. 2564

2. วิธีการศึกษา

กลุ่มที่ปรึกษามีขั้นตอนการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปนี้

1) ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านปริมาณการไหลของน้ำและระดับน้ำที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น รายงาน Weekly wet season situation report in the Lower Mekong River Basin รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: November 2020-May 2021 รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: January-July 2020 เป็นต้น

2) รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วย :

  • กรมทรัพยากรน้ำ : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม (ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา) และจากสถานีในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศไทยเพิ่มเติมจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)
  • กรมชลประทาน : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากสถานีน้ำท่าจากสถานีน้ำท่าบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา
  • สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง : โดยการจัดซื้อข้อมูลจากสถานีน้ำท่าและสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane

3) คำนวณหาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูน้ำหลาก และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูน้ำหลาก และจากฤดูน้ำหลากไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล และหาค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของปริมาณการไหลและระดับน้ำรายเดือนของแต่ละช่วงเวลา แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามธรรมชาติของอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล

ฤดูกาล ช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ) ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ)
ฤดูแล้ง ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
ฤดูน้ำหลาก เดือนมิถุนายน ต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน

ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009

4) เปรียบเทียบและปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล และระดับน้ำเฉลี่ย โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็นช่วงเวลา เพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน โดย ณ สถานีเชียงแสน แบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ช่วงปี พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 2

สถานี Luang Prabang แบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561 ตัวอย่างดังรูปที่ 2 เนื่องจากข้อมูลหลังปี พ.ศ. 2561 เป็นข้อมูลที่มีความผิดพลาด ซึ่งได้รับผลกระทบของน้ำเท้อจากเขื่อนไซยะบุรี โดยข้อมูลจะสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกครั้ง เมื่อมีการติดตั้งสถานีอุทกวิทยาเพื่อปรับแก้ค่าปริมาณการไหลและระดับน้ำ

สำหรับ ณ ตำแหน่งพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สถานีเชียงคาน จนถึงสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)ซึ่งเป็นสถานีทั้งในแม่น้ำโขงสายประธานและในแม่น้ำสาขาแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  3. ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ปริมาณการไหลเฉลี่ยรายวันของแม่น้ำโขง เปรียบเทียบช่วงปีก่อนมีเขื่อน (1985-1991) และหลังมีเขื่อน (2014-2015) ในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ สถานีอุทกวิทยาเชียงแสน

ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน (2561)

5) ประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาของการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำเปรียบเทียบในช่วงเวลาการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

ระดับแนวโน้ม ระดับการเปลี่ยนแปลง
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก 0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย 21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง 41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง 61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมาก มากกว่า 80%

2. การทบทวนข้อมูลการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหลและระดับน้ำ

ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจะพิจารณาตามช่วงของแม่น้ำโขงสายประธานที่ไหลผ่านประเทศไทย โดยแบ่งตามลักษณะการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง อัตราการไหลเฉลี่ย 7 วัน (7-days moving-averaged data series) ซึ่งเป็นการปรับปรุงการประเมินข้อมูลอนุกรมเวลาให้สามารถประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายวัน ของสถานีเชียงแสน สถานี Luang Prabang สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานี Paksane สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม ซึ่งพบว่าช่วงระยะบนแม่น้ำโขงที่มีลักษณะอัตราการไหลแตกต่างกันสามารถแบ่งได้ 5 ช่วง ตามระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำ

ตารางแสดงปริมาณการไหลของ 8 สถานี ในปี พ.ศ. 2564 (แม่น้ำโขงสายประธาน)

ปี พ.ศ. 2564

เชียงแสน (ลบ.ม./วินาที)1/

Luang Prabang (ลบ.ม./วินาที)2/

เชียงคาน (ลบ.ม./วินาที)

หนองคาย (ลบ.ม./วินาที)

Paksane (ลบ.ม./วินาที)

นครพนม (ลบ.ม./วินาที)

มุกดาหาร (ลบ.ม./วินาที)

โขงเจียม (ลบ.ม./วินาที)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1,383±262

1,678+526

2,006±571

1,515±414

ไม่มีข้อมูล

2,532±661

3,031±644

2,940±475

Min

1,081

1,191

1,184

939

1,788

1,941

2,350

Max

2,064

3,083

3,237

2,482

4,136

4,569

4,454

ช่วง T1

เฉลี่ย

1,970±366

2,304+564

4,106±1,011

3,311±1,003

5,778±2,274

6,186±2.237

5,860±2,299

Min

1,340

1,428

3,020

2,342

3,869

4,228

4,037

Max

2,794

3,579

7,690

6,563

11,862

11,882

11,340

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

4,253±863

7,065+1,937

4,492±1,219

3,916±1,140

8,555±2,666

9,412±2,698

12,163±3,181

Min

2,882

3,684

2,403

2,133

3,945

4,440

6,660

Max

5,579

10,337

8,140

7,224

15,647

17,083

19,907

ช่วง T2

เฉลี่ย

2,515±312

3,801+412

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

หมายเหตุ: 1/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2564

2/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

ตารางแสดงระดับน้ำของ 8 สถานี ในปี พ.ศ. 2564 (แม่น้ำโขงสายประธาน)

ปี พ.ศ. 2564

เชียงแสน (ม.)1/

Luang Prabang (ม.)2/

เชียงคาน (ม.)

หนองคาย (ม.)

Paksane (ม.)

นครพนม (ม.)

มุกดาหาร (ม.)

โขงเจียม (ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

2.3±0.3

4.5+0.9

4.4±0.7

1.6±0.5

2.1±0.9

1.5±0.5

1.9±0.3

2.3±0.3

Min

1.9

3.7

3.5

0.9

1.1

0.8

1.5

1.9

Max

3.1

6.8

5.9

2.9

3.9

2.6

2.8

3.2

ช่วง T1

เฉลี่ย

3.0±0.4

5.5+0.8

4.4±0.8

3.7±0.9

4.7±1.0

3.4±1.1

3.5±1.0

3.9±1.1

Min

2.3

4.1

3.5

2.7

3.7

2.4

2.6

3.0

Max

3.8

7.2

6.3

6.6

7.5

6.3

6.0

6.5

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

5.0±0.7

10.6+1.6

7.6±1.1

4.7±1.2

5.8±1.2

5.1±1.2

5.2±1.1

6.7±1.3

Min

3.9

7.4

5.6

2.7

4.0

3.0

3.2

4.4

Max

6.0

13.1

10.5

7.6

8.3

7.9

8.0

9.6

ช่วง T2

เฉลี่ย

3.5±0.3

7.6+0.5

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

หมายเหตุ: 1/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2564

2/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

ตารางแสดงปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำสาขาในเขตประเทศไทย
สถานีบ้านวังเลา

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2540-2561)

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

พ.ศ. 2564

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ3/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.6±0.6

 0.7±0.2

 0.2±0.1

 0.1±0.03

 0.1±0.1

Min

0.9

 0.5

 0.1

 0.0

 0.1

Max

4.0

 1.1

 0.3

 0.2

 0.3

ช่วง T1

เฉลี่ย

16.6±7.5

 1.7±0.4

 0.5±0.4

 0.8±0.8

ยังไม่มีข้อมูล

Min

2.6

 0.8

 0.1

 0.1

Max

29.6

 2.2

 1.6

 3.0

ฤดูน้ำ

เฉลี่ย

28.1±14.9

 3.0±0.9

 1.1±0.8

 1.1±0.9

หลาก

Min

7.5

 1.6

 0.2

 0.2

Max

58.3

 4.7

 2.4

 4.0

ช่วง T2

เฉลี่ย

5.4±1.6

 1.3±0.1

 0.2±0.04

 0.2±0.05

Min

4.0

 1.2

 0.1

 0.1

Max

8.5

 1.5

 0.2

 0.2

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540-31 มีนาคม 2550

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540-31 ธันวาคม 2561

3/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2564

ที่มา กรมชลประทาน, 2564

สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

7.1±3.4

 1.5±0.3

2.8±2.3

 1.5±0.2

 1.6±0.2

 1.6±0.04

Min

5.4

 1.3

1.2

 1.3

 1.3

 1.5

Max

19.0

 2.5

14.6

 2.3

 2.7

 1.7

ช่วง T1

เฉลี่ย

96.9±82.0

 4.3±2.5

95.9±83.3

 4.3±2.2

 3.7±2.4

 2.7±1.4

Min

5.5

 1.3

3.1

 1.5

 1.3

 1.5

Max

210.4

 7.7

251.7

 8.1

 8.8

 5.4

ฤดูน้ำหลาก

 

เฉลี่ย

260.5±97.1

 8.7±2.0

400.2±142.1

 10.1±2.2

 6.2±3.9

 7.1±3.3

Min

76.3

 4.6

49.5

 3.8

 1.7

 2.9

Max

402.9

 11.5

552.8

 12.2

 12.4

 12.5

ช่วง T2

เฉลี่ย

36.4±13.0

 3.3±0.5

30.8±9.6

 3.1±0.4

 1.6±0.1

ยังไม่มีข้อมูล

Min

20.3

 2.5

15.7

 2.4

 1.5

Max

66.9

 4.3

46.8

 3.7

 1.9

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2529-2534

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 สิงหาคม 2563

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีน้ำก่ำที่นาแก

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534)

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561)

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ1/
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.89±3.78

 1.1±0.2

25.63±4.13

 3.4±0.1

 4.9±0.4

 4.7±0.4

Min

0.33

 0.9

16.92

 3.2

 4.0

 3.7

Max

16.45

 1.8

34.94

 3.8

 5.4

 5.3

ช่วง T1

เฉลี่ย

14.41±15.38

 1.6±0.6

37.90±17.44

 3.6±0.2

 4.4±0.2

 3.4±1.2

Min

0.48

 0.9

18.75

 3.3

 4.0

 2.0

Max

51.24

 2.9

72.93

 3.9

 4.8

 5.0

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

80.29±38.26

 3.6±0.9

92.18±29.21

 4.3±0.3

 5.2±0.5

 4.8±0.3

Min

25.37

 2.2

29.21

 3.7

 4.2

 3.6

Max

190.01

 5.0

139.16

 4.9

 6.4

 5.3

ช่วง T2

เฉลี่ย

18.25±3.89

 1.9±0.1

38.42±3.62

 3.7±0.04

 5.2±0.1

 4.8±0.1

Min

14.18

 1.7

32.44

 3.7

 5.0

 4.6

Max

24.77

 2.1

43.90

 3.8

 5.3

 5.0

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2535-2542 พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2561

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2539-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

พ.ศ. 2564

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

0.4±0.1

 1.1±0.1

0.5±0.2

 1.4±0.2

0.2±0.2

 1.1±0.1

 1.0±0.01

Min

0.2

 0.9

0.1

 1.1

0.0

 0.9

 1.0

Max

0.6

 1.2

1.6

 1.7

0.5

 1.5

 1.0

ช่วง T1

เฉลี่ย

1.3±0.7

 1.3±0.2

1.7±1.3

 1.7±0.2

ยังไม่มีข้อมูล

 1.1±0.2

ยังไม่มีข้อมูล

Min

0.2

 0.9

0.3

 1.5

 0.8

Max

3.2

 1.7

8.5

 2.3

 1.4

ฤดูน้ำหลาก

 

เฉลี่ย

6.0±2.9

 2.2±0.4

10.5±12.6

 2.2±0.4

 1.6±0.5

Min

1.1

 1.4

0.9

 1.6

 1.1

Max

15.1

 3.0

70.2

 3.6

 3.1

ช่วง T2

เฉลี่ย

1.0±0.3

 1.3±0.1

0.8±0.1

 1.5±0.3

 1.5±0.3

Min

0.6

 1.2

0.5

 1.2

 1.2

Max

1.6

 1.4

1.0

 2.2

 2.2

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2563

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2564

ที่มา กรมชลประทาน, 2564

สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534)

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.3±0.9

1.1±0.1

2.1±0.9

1.1±0.1

1.0±0.04

2.2±1.6

Min

0.4

0.9

1.1

0.9

0.9

0.9

Max

3.7

1.3

5.0

1.3

1.1

5.4

ช่วง T1

เฉลี่ย

6.7±5.2

1.4±0.2

9.2±4.8

1.3±0.2

1.1±0.1

3.5±1.3

Min

0.9

1.0

1.7

1.1

0.9

1.1

Max

28.9

1.8

22.9

1.6

1.5

6.0

ฤดูน้ำหลาก

 

เฉลี่ย

63.9±64.4

2.4±0.9

68.3±44.5

2.9±0.9

1.8±1.3

4.4±1.1

Min

6.5

1.4

7.7

1.5

1.0

2.3

Max

230.4

4.4

145.0

4.2

6.6

7.1

ช่วง T2

เฉลี่ย

4.9±0.8

1.4±0.04

7.0±1.3

1.4±0.1

1.1±0.03

3.7±1.0

Min

3.7

1.3

5.1

1.3

1.1

2.2

Max

6.4

1.4

9.2

1.5

1.2

5.5

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539 พ.ศ. 2541-2542 พ.ศ. 2546-2549 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2553-2556 และ พ.ศ. 2561

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2560

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

 156±152

 2.0±0.8

 151±107

 2.4±0.6

Min

 66

 1.3

 81

 1.9

Max

 600

 4.1

 509

 4.4

ช่วง T1

เฉลี่ย

 400±302

 3.5±1.7

 284±177

 3.6±1.2

Min

 79

 1.4

 94

 2.0

Max

 937

 6.4

 764

 6.0

ฤดูน้ำหลาก

 

เฉลี่ย

 1,604±535

 8.7±1.7

 1,657±520

 9.3±1.8

Min

 676

 6.1

 674

 5.7

Max

 2,490

 11.5

 2,379

 11.3

ช่วง T2

เฉลี่ย

 836±169

 4.9±0.6

 635±54

 5.2±0.4

Min

 625

 4.2

 521

 4.5

Max

 1,170

 5.9

 723

 5.6

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

จากผลการศึกษาด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขง สามารถสรุปได้ดังนี้
1) สภาพการไหลของแม่น้ำโขงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ สปป.ลาว (2) ช่วงเขตพื้นที่ของแม่น้ำโขงจากพรมแดนของประเทศไทยเข้าสู่ สปป.ลาว ก่อนเขื่อนไซยะบุรี (3) ช่วงตั้งแต่สถานี Luang Prabang ลงมาถึงสถานีเชียงคาน จนถึงสถานีหนองคาย (4) ช่วงตั้งแต่สถานี Paksane ลงมาถึงสถานีนครพนม จนถึงสถานีมุกดาหาร และ(5) ช่วงตั้งแต่สถานีมุกดาหาร จนถึงสถานีโขงเจียม รวมทั้งสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)
2) ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ สปป.ลาว ปริมาณการไหลและระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยสภาพการไหลที่ไม่เป็นไปตามลักษณะการไหลโดยธรรมชาติของแม่น้ำโขงในบริเวณสถานีเชียงแสนมีสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและสภาพการไหลของน้ำโขงตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ก็มีความผันผวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีระยะทางที่ห่างจากเขื่อน Lancang cascade ของประเทศจีน ประมาณ 330 กิโลเมตร
3) ช่วงเขตพื้นที่ของแม่น้ำโขงจากพรมแดนของประเทศไทยเข้าสู่ สปป.ลาว ก่อนเขื่อนไซยะบุรี ปริมาณการไหลและระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฤดูกาลได้รับอิทธิพลมาจากปริมาณน้ำฝนจากพื้นที่รับน้ำระหว่างสถานีเชียงแสน ถึงสถานี Luang Prabang ทางฝั่ง สปป.ลาว และปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขา รวมทั้งอิทธิพลจากการบริหารจัดการเขื่อนในแม่น้ำสาขา
4) ช่วงตั้งแต่สถานี Luang Prabang ลงมาถึงสถานีเชียงคาน จนถึงสถานีหนองคาย และช่วงตั้งแต่สถานี Paksane ลงมาถึงสถานีนครพนม จนถึงสถานีมุกดาหาร และช่วงตั้งแต่สถานีมุกดาหาร จนถึงสถานีโขงเจียม ปริมาณการไหลและระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยสภาพที่พบนี้คาดการณ์ว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ก็เป็นได้ ประกอบด้วยการดำเนินการของเขื่อนแรกในแม่น้ำโขงสายประธานใน สปป.ลาว หรือการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำสาขา หรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปว่ามาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเป็นหลักดังกล่าว นอกจากนี้ มีข้อมูลสนับสนุนจากรายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: November 2020-May 2021 ซึ่งได้รายงานว่าในช่วงฤดูแล้งปี พ.ศ 2563-2564 ระดับน้ำในแม่น้ำโขงของทุกสถานีวัดระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำเฉลี่ย โดยทั้ง 2 ช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำสาขา และการดำเนินงานของเขื่อนในแม่น้ำสาขา ในส่วนของระดับน้ำที่ผันผวนในช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมริมฝั่งแม่น้ำโดยความผันผวนของระดับน้ำที่เกิดขึ้นทำให้เห็นได้ชัดว่าเกิดจากการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบริเวณต้นน้ำที่กักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและปล่อยในฤดูแล้งเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีระดับที่ผันผวนมากในเดือนธันวาคมและมกราคมซึ่งแปรผันตรงกับความต้องการพลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ยังไม่มีข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำสาขาของ สปป.ลาว มาประกอบการวิเคราะห์สาเหตุร่วมของการเปลี่ยนแปลง
5) แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงสายประธานฝั่งประเทศไทย ได้แก่ สถานีบ้านวังเลา สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก และสถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแต่ละสถานีในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 (ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ) ลดลงจากในช่วงปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก รวมทั้งช่วงของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลหายไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริเวณภูมิภาคนี้ โดยปริมาณน้ำฝนในพื้นที่รับน้ำสองฝั่งของแต่ละแม่น้ำสาขาลดลง เป็นผลให้ปริมาณน้ำท่าในแต่ละแม่น้ำสาขาลดน้อยลงและไหลลงสู่แม่น้ำโขงสายประธานน้อยลง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความผันผวนของปริมาณการไหลและระดับน้ำที่ลดลง รวมทั้งปริมาณการไหลและระดับน้ำที่สูงที่สุดลดลงจากในช่วงปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ หากพิจารณาช่วงเดือนที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำสูงของปี พบว่า ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแต่ละแม่น้ำสาขาจะสูงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานที่อยู่ใกล้เคียงสูง โดยเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในภูมิภาคในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) ปริมาณการไหลและระดับน้ำในช่วงปี พ.ศ. 2535-2560 (ช่วงปีก่อนที่เขื่อนไซยะบุรีจะเปิดดำเนินการ) และในช่วงนี้เป็นช่วงหลังจากที่เขื่อนปากมูลเปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2537) มีความผันผวนน้อยกว่าในช่วงปี พ.ศ. 2528-2534แต่ในช่วงเดือนมกราคมและธันวาคม มีปริมาณการไหลและระดับน้ำมีความผันผวนค่อนข้างมากซึ่งแปรผันตรงกับความต้องการพลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อน นอกจากนี้ หากพิจารณาช่วงเดือนที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำสูงของปี พบว่า ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำมูลจะสูงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานที่อยู่ใกล้เคียงสูง โดยเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในภูมิภาคในช่วงฤดูฝน
6) จากผลการเปรียบเทียบปริมาณน้ำและระยะเวลาที่มวลน้ำเดินทางในแต่ละสถานี พบว่า ปริมาณน้ำในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2564 มีค่าน้อยกว่าปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2563 แต่จุดสูงสุดของระดับน้ำและปริมาณการไหลที่เกิดในช่วงเดือนมกราคม 2564 นั้น พบเร็วขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2563 และระยะเวลาการเดินทางของปริมาณน้ำในแต่ละสถานีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากปัจจัยร่วมดังที่อธิบายข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ระยะเวลาการเดินทางของมวลน้ำจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลรายชั่วโมง เพื่อให้สามารถประเมินเวลาได้ละเอียดยิ่งขึ้น
2.2 การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงจากสถานีวัดระดับน้ำเชียงแสนถึงสถานีวัดระดับน้ำโขงเจียม

ข้อมูลทางกายภาพของหน้าตัดการไหล และความลาดชันของแม่น้ำในบริเวณแต่ละสถานีได้มีการรายงานไว้ในเว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามสถานการณ์ของแม่น้ำโขงในปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2564 หลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ โดยภาพหน้าตัดการไหลที่สถานีวัดระดับน้ำทั้ง 8 สถานีบนแม่น้ำโขงสายประธานแสดงดังนี้

   
สถานีเชียงแสน (Zero Gauge 357.11 ม.รทก.) สถานี Luang Prabang (Zero Gauge 267.20 ม.รทก.)
   
สถานีเชียงคาน (Zero Gauge 194.12 ม.รทก.) สถานีหนองคาย (Zero Gauge 153.65 ม.รทก.)
   
สถานี Paksane (Zero Gauge 142.13 ม.รทก.) สถานีนครพนม (Zero Gauge 130.96 ม.รทก.)
   
สถานีมุกดาหาร (Zero Gauge 124.22 ม.รทก.) สถานีโขงเจียม (Zero Gauge 89.03 ม.รทก.)
ที่มา: http://ffw.mrcmekong.org/reportflood.php

2.3 การเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2564

เมื่อพิจารณาปริมาณการไหลในฤดูแล้งในปี พ.ศ. 2564 (มกราคม – เมษายน 2564) โดยเลือกใช้ข้อมูลปริมาณการไหลระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2564 เป็นตัวแทนของข้อมูล ซึ่งในระหว่างนั้นเขื่อนไซยะบุรีได้เปิดดำเนินการครบทุกหน่วยผลิตแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 พบว่าระยะเวลาการเดินทางของน้ำจากสถานีเชียงแสนไปยังสถานีเชียงคานใช้เวลา 5 วัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2563 แต่ยาวนานกว่าในช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2562 (3 วัน (หัวข้อ 3.4.1)) และเดินทางต่อไปจนถึงสถานีมุกดาหาร ใช้เวลาสะสมรวม 8-9 วัน และปริมาณน้ำจะเดินทางถึงสถานีโขงเจียมซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายใช้เวลาสะสมรวม ≥8 วัน (หากประเมินจากระดับน้ำและปริมาณการไหลเฉลี่ยคาดว่าใช้เวลาสะสมรวมประมาณ 10 วัน) ดังนี้


รูปแสดงการเปรียบเทียบปริมาณการไหลเฉลี่ยฤดูแล้งระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2564

ระยะทาง

353 กม.

293 กม.

167 กม.

150 กม.

183 กม.

89 กม.

308 กม.

เวลาเดินทาง

2 วัน

3 วัน

2 วัน

2 วัน

1 วัน

เวลาสะสม 0 ———————-> 2 วัน ————————> 4-5 วัน ———————————————————> 6-7 วัน ——————————————————–>8-9 วัน ————>10 วัน

รูปแสดงสถานการณ์ของแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2564

เมื่อพิจารณาปริมาณการไหลในฤดูน้ำหลากในปี พ.ศ. 2564 (มิถุนายน – สิงหาคม 2564) โดยเลือกใช้ข้อมูลปริมาณการไหลระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2564 เป็นตัวแทนของข้อมูล พบว่าระยะเวลาการเดินทางของน้ำจากสถานีเชียงแสนไปยังสถานีโขงเจียมซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายใช้เวลาสะสมรวม 8-9 วัน


รูปแสดงการเปรียบเทียบปริมาณการไหลเฉลี่ยฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564

ระยะทาง

353 กม.

293 กม.

167 กม.

150 กม.

183 กม.

89 กม.

308 กม.

เวลาเดินทาง

3 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

เวลาสะสม 0 ———————–> 3 วัน ————————> 4 วัน —————————> 5 วัน ————————-> 6 วัน ——————————————————->7 วัน ———–>  9 วัน

รูปแสดงสถานการณ์ของแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2564