การบริการของระบบนิเวศ ปี 2562

ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ด้านการบริการระบบนิเวศ>> ปี 2562

บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem service) คือ แนวคิดในการผสมผสานระหว่างประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ และทำให้มนุษย์มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากรายงาน IUCN (2008) สรุปได้ว่าบริการของระบบนิเวศสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ด้านการเป็นแหล่งผลิต (Provisioning) ด้านการควบคุม (Regulation) ด้านวัฒนธรรม (Cultural)และด้านการสนับสนุน (Supporting)

1. พื้นที่ศึกษา
พื้นที่ศึกษาที่เป็นตัวแทนการให้บริการระบบนิเวศด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษาเดิมที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง
2. ขั้นตอนการศึกษา

พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ศึกษาการบริการระบบนิเวศเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ศึกษาต้นแบบด้านการบริการระบบนิเวศ ก่อนที่จะขยายไปยังพื้นที่ที่มีความสำคัญอื่นๆ ต่อไปในอนาคต และพัฒนาเครื่องมือการศึกษาการให้บริการระบบนิเวศให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ดังนี้

  1. พื้นที่ซึ่งอยู่ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ใกล้กับการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน และคาดว่าเป็นพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงจากผลกระทบข้ามพรมแดน
  2. พื้นที่ซึ่งมีประชาชน ชุมชนหนาแน่นและพื่งพาการใช้ประโยชน์จากการให้บริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขงโดยตรงและมีนัยสำคัญ
  3. พื้นที่ที่มีความสำคัญด้านการบริการของระบบนิเวศที่ซ้ำกันหลายๆ ด้าน และเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับเขื่อนไซยะบุรีมากที่สุดก่อน

รูปที่ 1 แนวทางการศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศในปี พ.ศ. 2562

3. ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 ผลการประเมินพื้นที่ศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศในปี พ.ศ. 2562

พื้นที่ศึกษา ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) ด้านการสนับสนุน (Supporting) ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) พื้นที่ท้ายน้ำและอยู่ใกล้เขื่อนไซยะบุรี
พื้นที่ประมง พื้นที่เกษตร ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม แหล่งวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ระบบนิเวศที่สำคัญ
อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
อ.เชียงของ จ.เชียงราย
อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
อ.เชียงคาน จ.เลย
อ.ปากชม จ.เลย
อ.สังคม จ.หนองคาย
อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
อ.อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
อ.เมือง จ.หนองคาย
อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
อ.บ้านแพง จ.นครพนม
อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
อ.เมือง จ.นครพนม
อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
อ.โพธิ์ไทรจ.อุบลราชธานี
อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

สรุปตัวแทนพื้นที่ศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศ โดยทำการสำรวจด้านบริการระบบนิเวศในทุกๆ ด้านใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) อ.เชียงคาน จ.เลย 2) อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม และ 3) อ.สังคม จ.หนองคาย ทั้งนี้ ได้กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละพื้นที่ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์ข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศ (Ecosystem Service) ปี พ.ศ. 2562

ลำดับ พื้นที่ตัวแทน จำนวนตัวอย่าง (n)
จังหวัด อำเภอ ตำบล(จำนวน) หมู่บ้าน(จำนวน) การสุ่มตัวอย่าง(จำนวน) การสัมภาษณ์เชิงลึก (จำนวน)
1 เลย เชียงคาน 3 14 134 16
2 หนองคาย สังคม 4 12 133 14
3 นครพนม ท่าอุเทน 7 40 133 18
 รวม 3 3 14 66 400 48

หมายเหตุ : จำนวนตัวอย่างอาจเปลี่ยนแปลงตามกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาที่คัดเลือก

   
ประธานเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวัง
การเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงจังหวัดเลย
เกษตรอำเภอเชียงคาน
   
ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน
การสัมภาษณ์เชิงลึก
   
   
การสัมภาษณ์ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มครัวเรือน

รูปที่ 2 บรรยากาศการสำรวจข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศในพื้นที่จังหวัดเลย

3.1. การวิเคราะห์เชิงพื้นที่

สมมุติฐานจากการประเมินเบื้องต้นที่กำหนดให้อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นพื้นที่ตัวแทนความเสี่ยงด้านการสนับสนุน (Supporting) มีความคลาดเคลื่อน เพราะเนื่องจากผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่าค่าร้อยละความสำคัญระดับสูงของการบริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุนต่ำกว่าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แต่ก็ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย และหากพิจารณาร้อยละความสำคัญระดับสูงร่วมกับระดับกลาง (12.8% + 78.9%) ของอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ก็จะพบว่ามีค่าสูงกว่าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จึงนับว่าผลการศึกษามีความสอดคล้องกับสมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา และการกำหนดพื้นที่ตัวแทน ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบสมมติฐานการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาแต่ละด้านกับความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่

การบริการระบบนิเวศ (Ecosystem Services) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ความสอดคล้องระหว่างสมมติฐานและผลการศึกษา
สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ) สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ) สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ)
ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : ด้านประมง 3.7 8.3 23.3 ไม่สอดคล้องต่อผลการศึกษาเดิม
ด้านแหล่งอาหาร Provisioning) : ด้านเกษตรกรรมและพื้นที่เพาะปลูก 18.7 21.1 20.3 สอดคล้อง
ด้านคุณค่าของวัฒนธรรม (Cultural) 18.6 15.1 11.3 สอดคล้อง
ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) 13.5 14.3 13.5 สอดคล้อง
ด้านการสนับสนุน (Supporting) 15.0 12.8 11.3 ไม่สอดคล้องต่อผลการศึกษาเดิม

ประเด็นความสำคัญที่มีความสำคัญระดับสูง และระดับกลางส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐานที่เคยมีการศึกษาในประเด็นต่างๆ ไว้ก่อนหน้านี้ หรืออยู่ในระดับสูงถึงปานกลางในบางประเด็น แต่จากผลการศึกษาในบางพื้นที่ พบว่า ประชาชนยังให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านความเป็นอยู่ การทำมาหากินในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : เกษตรกรรมและพื้นที่เพาะปลูก มากกว่าอีก 3 ด้านที่เหลือ คือ ด้านคุณค่าของวัฒนธรรม (Cultural) ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) และด้านการสนับสนุน (Supporting) จึงทำให้เกิดความไม่สอดคล้องในบางประเด็น ทั้งนี้การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : ด้านประมง ประชาชนอำเภอเชียงคาน และอำเภอสังคมยังให้ความคิดเห็นคิดเห็นต่อความสำคัญในด้านนี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับทรัพยากรประมงที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปอาจเพิ่มข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และบริการระบบนิเวศด้านประมงให้มากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

3.2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านภัยคุกคาม

ภัยคุกคามแต่ละด้าน ลำดับประเด็นภัยคุกคามตามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ อำเภอที่มีภัยคุกคามมากที่สุด
1. ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning)
1.1. ภัยคุกคามต่อการทำประมง (แหล่งน้ำธรรมชาติ) 1. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล
2. การเปลี่ยนแปลงของความเร็วของกระแสน้ำ
3. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง
อำเภอเชียงคาน
1.2. ภัยคุกคามต่อการทำประมง (เพาะเลี้ยง) 1. คุณภาพน้ำ
2. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล
3. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง
อำเภอเชียงคาน
1.3. ภัยคุกคามต่อการทำเกษตรและพื้นที่เพาะปลูก (เกษตรบนฝั่ง) 1. น้ำท่วม
2. ภัยแล้ง
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อำเภอสังคม
1.4. ภัยคุกคามต่อการทำเกษตรและพื้นที่เพาะปลูก (เกษตรริมฝั่งโขง) 1. การปล่อยน้ำจากเขื่อน
2. น้ำท่วม
3. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ
อำเภอสังคม
2. ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) 1. การฉวยโอกาสแสวงหาผลกำไร
2. การบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน
3. ปัญหาอาชญากรรม ฉกชิง วิ่งราว
อำเภอเชียงคาน
3. ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) 1. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง
2. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล
3. กิจกรรมการดูดทราย
อำเภอท่าอุเทน
4. ด้านการสนับสนุน (Supporting) 1. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง
2. คุณภาพน้ำ
3. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ
อำเภอเชียงคาน