ด้านเศรษฐกิจและสังคม ปี 2565

ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ปี 2565

1. แนวทางและวิธีการศึกษา

          การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถาม ที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

          การสำรวจครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

          ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม และบริการระบบนิเวศ การสำรวจครัวเรือน และข้อมูลจาก จปฐ. TPMAP และกชช. 2ค ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ด้านวิถีชีวิต การพึ่งพิงทรัพยากรจากแม่น้ำโขง อาชีพ การปรับตัวและข้อเสนอแนะ และบริการระบบนิเวศ เพื่อนำมาจัดทำตัวชี้วัดที่สำคัญ (ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019) แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตัวบ่งชี้แสดงผลกระทบโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

หมวด

ดัชนี ตัวชี้วัด

แหล่งที่มา

ด้านสังคม 1. ความมั่งคงด้านอาหาร รายได้ แบบสอบถาม
ครัวเรือนที่ทำนา กชช.2ค
2. ความมั่งคงด้านน้ำ ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาตลอดปี กชช.2ค
การใช้น้ำเพื่อการเกษตร กชช.2ค
3. การเข้าถึงไฟฟ้า ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ กชช.2ค
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน กชช.2ค
4. ความมั่งคงทางเศรษฐกิจ รายได้หลักโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน แบบสอบถาม
รายได้รองโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน แบบสอบถาม
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน แบบสอบถาม
ครัวเรือนท่านมีหนี้สินในระดับใด แบบสอบถาม
ครัวเรือนท่านมีการออมในระดับใด แบบสอบถาม
ด้านเศรษฐกิจ 1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตร พื้นที่ทำเกษตรกรรม แบบสอบถาม
รายได้จากการเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยต่อปี แบบสอบถาม
ปริมาณผลผลิต แบบสอบถาม
การเจริญเติบโตของพืช แบบสอบถาม
จำนวนเกษตรกร แบบสอบถาม
ขนาดพื้นที่การเกษตร แบบสอบถาม
การใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช แบบสอบถาม
การใช้ปุ๋ยชีวภาพ แบบสอบถาม
2. มูลค่าทางเศรษฐกิจการประมง จำนวนปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปี แบบสอบถาม
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยต่อปี แบบสอบถาม
จำนวนสัตว์น้ำ แบบสอบถาม
จำนวนชาวประมง แบบสอบถาม
3. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวนปลา/สัตว์น้ำ ต่อปี แบบสอบถาม
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อปี แบบสอบถาม
จำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง แบบสอบถาม
จำนวนผู้่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แบบสอบถาม
ด้านสิ่งแวดล้อม 1. คุณภาพดิน มีปัญหาคุณภาพดิน กชช.2ค
2. คุณภาพน้ำ มีปัญหาคุณภาพน้ำ กชช.2ค
3. คุณภาพอากาศ มีปัญหาคุณภาพอากาศ กชช.2ค
4. ภัยพิบัติ มีปัญหาน้ำท่วม/ดินถล่ม/พายุ กชช.2ค
มีปัญหาไฟป่า/หมอกควัน/ควันพิษ กชช.2ค
มีปัญหาภัยแล้ง กชช.2ค

ที่มา : ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019)

 

2. พื้นที่ศึกษา

          การศึกษาครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขงและจุดบรรจบของลำน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

 

3. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

          การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างรูปแบบเดียวกันกับโครงการศึกษาผลกระทบฯ ปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำมาเปรียบเทียบและเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

          กลุ่มตัวอย่าง

          พื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2565 มีประชากรเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 จำนวน 1,294,317 คน จำนวนบ้าน 418,144 หลังคาเรือน (สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2565)

          การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน      (Multi Stage Random Sampling) เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่ และอยู่อาศัยกระจัดกระจาย

          จำนวนครัวเรือนที่ต้องการศึกษามีทั้งหมด 418,144 ครัวเรือน กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ .05 โดยการคำนึงถึงความพร้อมด้านเวลา แรงงาน และงบประมาณที่ทำวิจัย เมื่อแทนค่าในสูตรสำหรับกรณีที่ครัวเรือนมีจำนวนแน่นอน จะได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

                                N          =          418,144

                                e          =          .05

        แทนค่าสูตร

                                n          =          N / (1 + Ne2)

                                            =          418,144/ (1 + 418,144 (0.05)2)

                                            =          399.62

          ฉะนั้น จะใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 ครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด คำนึงถึงตัวแปรต้น คือ จังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดและเป็นตัวแทนในภาพรวมของทั้ง 8 จังหวัดได้ ดังนั้น จึงใช้เกณฑ์จำนวนครัวเรือนในแต่ละจังหวัดที่กระจายในแต่ละอำเภอเป็นตัวระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัด มีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 30 ชุด จะถูกปรับขึ้นให้เป็น 30 ตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ รายละเอียดการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

ลำดับ

จังหวัด อำเภอ จำนวนประชากร จำนวนบ้าน (หลังคาเรือน)

จำนวนกลุ่มตัวอย่างครัวเรือน

1 เชียงราย อ.เชียงแสน

49,181

21,673

20

อ.เชียงของ

25,184

10,607

10

อ.เวียงแก่น

37,281

13,418

12

รวม

111,646

45,698

42

2 เลย อ.เชียงคาน

38,195

14,168

18

อ.ปากชม

33,643

11,343

12

รวม

71,838

25,511

30

3 หนองคาย อ.ท่าบ่อ

61,250

18,735

17

อ.เมือง

75,000

24,580

23

อ.รัตนวาปี

38,057

13,118

12

อ.โพนพิสัย

95,641

31,934

30

อ.ศรีเชียงใหม่

23,478

7,449

7

อ.สังคม

22,318

7,274

6

รวม

315,744

103,090

95

4 บึงกาฬ อ.บึงโขงหลง

27,943

8,992

8

อ.บุ่งคล้า

14,054

4,265

4

อ.ปากคาด

28,209

9,691

9

อ.เมือง

58,664

18,867

18

รวม

128,870

41,815

39

5 นครพนม อ.บ้านแพง

26,588

8,193

7

อ.ท่าอุเทน

54,770

15,925

15

อ.เมือง

117,946

36,560

34

อ.ธาตุพนม

72,008

22,165

21

รวม

271,312

82,843

77

6 มุกดาหาร อ.หว้านใหญ่

19,845

6,354

6

อ.เมือง

80,009

27,054

25

อ.ดอนตาล

38,880

11,726

11

รวม

138,734

45,134

42

7 อำนาจเจริญ อ.ชานุมาน

38,772

11,726

30

รวม

38,772

11,726

30

8 อุบลราชธานี อ.เขมราฐ

31,724

9,139

8

อ.นาตาล

38,415

11,428

10

อ.โพธิ์ไทร

44,524

12,033

11

อ.ศรีเมืองใหม่

66,903

19,482

18

อ.โขงเจียม

35,835

10,245

9

รวม

217,401

62,327

56

รวมทั้งหมด

1,294,317

418,144

411

 

4. ผลการศึกษาตัวชี้วัดการศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม

           ตัวชี้วัดการศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ได้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย โดยเป็นข้อมูลในส่วนของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ในปี 2562-2565 และข้อมูลระดับหมู่บ้านแสดงสภาพเศรษฐกิจและสังคม (กชช. 2ค) ในปี 2560-2564 ร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิในพื้นที่ 8 จังหวัด 28 อำเภอ โดยแบ่งเป็น 3 หมวดที่สำคัญ คือ หมวดด้านสังคม หมวดที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ และหมวดที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อม โดยแสดงข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงเป็นแผนที่สำหรับการเปลี่ยนแปลงแสดงดัง (link: https://lookerstudio.google.com/reporting/213e7fe0-900b-4409-a143-b303978d31c6) และตัวชี้วัดการศึกษาด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 3 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 ด้านสังคม

  1. ความมั่นคงด้านอาหาร

                     1.1 รายได้หลักของคนในครัวเรือนต่อเดือน (บาท) ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี 2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 3) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ในส่วนของภาพรวมเฉลี่ยของทุกอำเภอเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564

                     1.2 ครัวเรือนที่ทำนา แสดงถึงจำนวนครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำนาเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอปากชม จังหวัดเลย ร้อยละ 16.42 2) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 22.70 3) อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 23.65

  1. ความมั่นคงด้านน้ำ

                     2.1 ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาตลอดปี แสดงถึงจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาตลอดปีเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 74.96 2) อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 80.12 3) อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 81.26

                     2.2 การใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปี แสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่ใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปีเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอปากชม จังหวัดเลย ร้อยละ 6.25 2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 38.03 3) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ร้อยละ 38.21

  1. การเข้าถึงไฟฟ้า

                     3.1 ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ แสดงถึงจำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ เทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 80.42 2) อำเภอ      บึงโขงโหลง จังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 88.23 3) อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 91.70

                     3.2 ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แสดงถึงจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 2.23 2) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 1.55 3) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ร้อยละ 0.72

  1. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

                     4.1 รายได้หลักโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน (บาท) โดยรายได้หลักโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เท่ากับ 2,000 บาท   2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เท่ากับ 3,950 บาท 3) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เท่ากับ 3,750 บาท

                     4.2 รายได้รองโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน (บาท) โดยรายได้รองโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เท่ากับ 1,625 บาท 2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เท่ากับ 2,417 บาท 3) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เท่ากับ 3,026 บาท

                    4.3 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน (รวมท่าน) คิดจากค่าเฉลี่ยของครัวเรือนผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมากที่สุดเท่ากับ 6 คน ได้แก่ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

                    4.4 ครัวเรือนท่านมีหนี้สินในระดับใด โดยครัวเรือนท่านมีหนี้สินในระดับใดคิดจากระดับหนี้สิน ในปี 2565 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 2.71 2) อำเภอปากชม จังหวัดเลย ร้อยละ 2.59 3) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 2.31

                    4.5 ครัวเรือนท่านมีการออมในระดับใด โดยครัวเรือนมีการออมในระดับใดคิดจากระดับการออม ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 0.57 2) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 0.57 3) อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 0.56

 

หมวดที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ

  1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตร

                    1.1 พื้นที่ทำเกษตรกรรมมีที่ดินขนาดที่ดินเท่าไร (ไร่) โดยพื้นที่ทำเกษตรกรรมมีที่ดินขนาดที่ดินเท่าไรคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เท่ากับ 1 ไร่ 2) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เท่ากับ 2 ไร่ 3) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 2 ไร่

                    1.2 รายได้จากการเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยต่อปี (บาท) โดยรายได้จากการเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยต่อปีคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับที่ต่ำที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เท่ากับ 7,400 บาท 2) อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 10,000 บาท 3) อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม เท่ากับ 14,333 บาท

                    1.3 ปริมาณผลผลิต โดยปริมาณผลผลิตทางการเกษตรคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณผลผลิตมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

                    1.4 การเจริญเติบโตของพืช โดยการเจริญเติบโตของพืชคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา  การเจริญเติบโตของพืชมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 คืออำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

                   1.5 จำนวนเกษตรกร โดยจำนวนเกษตรกรคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ 1) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

                    1.6 ขนาดพื้นที่การเกษตร โดยขนาดพื้นที่การเกษตรคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ขนาดพื้นที่การเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่  อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

                    1.7 การใช้ปุ๋ยชีวภาพ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การใช้ปุ๋ยชีวภาพมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี และ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

                    1.8 การใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช โดยการใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืชคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืชมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ 1) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย 2) อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ 3) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

  1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการประมง

                    2.1 จำนวนปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปี (กิโลกรัม) โดยจำนวนปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปี                 คิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอ                  ปากคาด จังหวัดบึงกาฬ เท่ากับ 1,350 กิโลกรัม 2) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เท่ากับ 1,250 กิโลกรัม                    3) อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เท่ากับ 900 กิโลกรัม

                    2.2 รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยต่อปี (บาท) โดยรายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยต่อปีคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม เท่ากับ 42,000 บาท 2) อำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬ เท่ากับ 30,000 บาท 3) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เท่ากับ 25,556 บาท

                    2.3 จำนวนสัตว์น้ำ โดยจำนวนสัตว์น้ำคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนสัตว์น้ำมีการเปลี่ยนแปลง ในปี 2565 ที่พบจำนวนโดยเฉลี่ยเท่าเดิม ได้แก่ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อำเภอท่าบ่อ อำเภอรัตนวาปี และอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอที่เหลือลดลงทั้งหมด

                   2.4 จำนวนชาวประมง โดยจำนวนชาวประมงคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนชาวประมงมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ในปี 2565 ได้แก่ 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย 2) อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ อำเภอที่เหลือลดลงทั้งหมด

  1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

                    3.1 จำนวนปลาและสัตว์น้ำต่อปี (กิโลกรัม) โดยจำนวนปลาและสัตว์น้ำต่อปีคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 10,000 กิโลกรัม 2) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 6,000 กิโลกรัม 3) อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ เท่ากับ 1,500 กิโลกรัม

                    3.2 รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อปี (บาท) โดยรายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อปีคิดจากค่าเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามในแต่ละอำเภอ ในปี 2565 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 1,000,000 บาท 2) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เท่ากับ 460,000 บาท 3) อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เท่ากับ 69,000 บาท

                    3.3 จำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง โดยจำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา จำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

                    3.4 จำนวนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยจำนวนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคิดจาก ในระยะเวลา 5 ปี    ที่ผ่านมา จำนวนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด ในปี 2565 ได้แก่ อำเภอเชียงคาน  จังหวัดเลย

หมวดที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. คุณภาพดิน ปัญหาคุณภาพดินโดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาคุณภาพดินเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 ลำดับที่ต่ำที่สุดคือร้อยละ 0 ได้แก่ 1) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ 3) อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 4) อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี 5) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
  2. คุณภาพน้ำ ปัญหาคุณภาพน้ำโดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาคุณภาพน้ำเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 7.04 2) อำเภอ ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 6.82 3) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 6.52
  3. คุณภาพอากาศ ปัญหาคุณภาพอากาศโดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาคุณภาพอากาศเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 100 2) อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 58.54 3) อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 13.08
  4. ภัยพิบัติ

                     4.1 ปัญหาน้ำท่วม/ดินถล่ม/พายุ โดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาน้ำท่วม/ดินถล่ม/พายุ เทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย  ร้อยละ 1.46 2) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 0.64 3) อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย  ร้อยละ 0.31

                     4.2 ปัญหาไฟป่า/หมอกควัน/ควันพิษ โดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาไฟป่า/หมอกควัน/ควันพิษ เทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 0.14 2) อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 0.04 3) อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 0.02

                     4.3 ปัญหาภัยแล้ง โดยแสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่มีปัญหาภัยแล้งเทียบกับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ในปี 2564 สามลำดับแรกที่สูงที่สุด ได้แก่ 1) อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 1.13 2) อำเภอปากชม จังหวัดเลย ร้อยละ 0.10 3) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร้อยละ 0.07

          จากผลการศึกษาตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งเป็น 3 หมวดที่สำคัญ คือ หมวดที่ 1 ด้านสังคม หมวดที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ และหมวดหมวดที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 33 ตัวชี้วัด และ นำตัวชี้วัดมาปรับให้แสดงถึงความเข้มแข็งในแต่ละหมวดในทิศทางเดียวกัน หมวดที่ 1 ด้านสังคม มีตัวชี้วัดที่ลดลงมากที่สุดจำนวน 8 ตัวชี้วัดจาก 11 ตัวชี้วัดคิดเป็นร้อยละ 72.73 นั้นคือ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ   ซึ่งแสดงถึงความอ่อนแอทางด้านสังคมเพิ่มขึ้นมากที่สุดจาก 28 อำเภอ หมวดที่ 2 ด้านเศรษฐกิจ มีตัวบ่งชี้ที่ลดลงมากที่สุดจำนวน 11 ตัวชี้วัดจาก 16 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 68.75 นั้นคือ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม     ซึ่งแสดงถึงความอ่อนแอทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุดจาก 28 อำเภอ และหมวดที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อม  มีตัวชี้วัดที่ลดลงมากที่สุดจำนวน 5 ตัวชี้วัดจาก 6 ตัวชี้วัดคิดเป็นร้อยละ 83.33 นั้นคือ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งแสดงถึงความอ่อนแอทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมากที่สุดจาก 28 อำเภอ (ตัวชี้วัดทั้ง 33 ตัวได้ปรับให้แสดงถึงความเข้มแข็งในแต่ละหมวดในทิศทางเดียวกัน)