คุณภาพน้ำ ปี 2565

ด้านกายภาพ >> คุณภาพน้ำ >> ปี 2565

1. พื้นที่ศึกษา

          จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดินในแม่น้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทย กำหนดไว้จำนวน 15 สถานี ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กลุ่มที่ปรึกษาจะคงตำแหน่งพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำ ณ จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำซึ่งได้ดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไว้ เพื่อให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่มีการเปิดดำเนินการแล้วในปัจจุบัน ดังตารางที่ 1 อย่างไรก็ตาม   การพิจารณาทบทวนตำแหน่งการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำจะนำเสนอคณะกรรมการกำกับด้านวิชาการและเทคนิคก่อนการดำเนินงาน

          นอกจากนี้ การศึกษาคุณภาพน้ำจะรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือ การรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ข้อมูลจากโครงการศึกษาอื่นจากหน่วยงานราชการส่วนกลาง ภูมิภาคและจังหวัด ตลอดจนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการรายงานและเฝ้าระวังของเครือข่ายประชาชน จากสื่อมวลชนและองค์กรอิสระ ทั้งนี้ จะนำมาพิจารณาประกอบเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาของการศึกษาด้วย

          สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานทั้ง 3 สถานี ขอข้อมูลคุณภาพน้ำจากสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธาน 3 สถานี ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี 2564 ที่ผ่านมาจากสำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยากรมทรัพยากรน้ำ ประเมินแนวโน้มความแตกต่างของปริมาณสารอาหาร และความขุ่นของน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงไปที่โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 3 สถานี คือ สถานีเชียงแสน (ต้นน้ำ) สถานีนครพนม (กลางน้ำ) และสถานีโขงเจียม (ปลายน้ำ)

ตารางที่ 1 จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน

ลำดับ

สถานีตรวจวัด
คุณภาพน้ำ
จังหวัด พิกัดทางภูมิศาสตร์

หมายเหตุ

Latitude

Longitude

1 อ.เชียงแสน บริเวณสถานี     วัดระดับน้ำเชียงแสน เชียงราย 20.266966 100.089584 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำและเป็นจุดต้นน้ำจุดแรกบนแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทย
2 อ.เวียงแก่น
บริเวณผาได
เชียงราย 20.168291 100.572336 จุดก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสปป.ลาว
3 อ.เชียงคาน 1
บริเวณผานางคอย
เลย 17.866 101.576005 จุดแรกหลังจากที่แม่น้ำโขงไหลออกจากสปป.ลาวและเป็นจุดก่อนแม่น้ำเลยไหลลงแม่น้ำโขง
4 อ.เชียงคาน 2 บริเวณแม่น้ำเลย เลย 17.879521 101.615889 จุดหลังจากที่แม่น้ำเลยไหลลงแม่น้ำโขง
5 อ.เชียงคาน 3 บริเวณ    สถานีวัดระดับน้ำเชียงคาน เลย 17.898495 101.663208 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ
6 อ.ปากชม
บริเวณบ้านห้วยเหียม
เลย 18.211638 102.073977 จุดก่อนเข้าจังหวัดหนองคาย มีแผนก่อสร้างเขื่อนปากชม ในอนาคต
7 อ.เมืองหนองคาย                  บริเวณสถานีวัดระดับน้ำหนองคาย หนองคาย 17.887243 102.752216 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ  และเป็นจุดก่อนจุดที่น้ำงึมไหลลงแม่น้ำโขง
8 อ.โพนพิสัย
บริเวณน้ำงึม
หนองคาย 18.142628 103.111487 จุดหลังจากจุดที่น้ำงึมไหลลง       แม่น้ำโขง (และอยู่ก่อนที่น้ำเงียบไหลลงแม่น้ำโขง)
9 อ.เมืองบึงกาฬ                    บริเวณน้ำเงียบ บึงกาฬ 18.397579 103.612767 จุดหลังจากจุดที่น้ำเงียบไหลลงแม่น้ำโขง (และอยู่ก่อนที่แม่น้ำ กะดิ่งไหลลงแม่น้ำโขง)
10 อ.บุ่งคล้า                            บริเวณบ้านบุ่งคล้าเหนือ บึงกาฬ 18.299458 103.995814 จุดหลังจากจุดที่แม่น้ำกะดิ่งไหลลงแม่น้ำโขง
11 อ.เมืองนครพนมบริเวณสถานีวัดระดับน้ำนครพนม นครพนม 17.42511 104.773655 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ และเป็นจุดก่อนแม่น้ำสงครามไหลลง แม่น้ำโขง
12 อ.ธาตุพนม
บริเวณบ้านคับพวง
นครพนม 17.653043 104.463533 จุดหลังจากที่แม่น้ำสงครามไหลลงแม่น้ำโขง
13 อ.เมืองมุกดาหาร บริเวณสถานีวัดระดับน้ำมุกดาหาร มุกดาหาร 16.582933 104.732518 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ
14 อ.ชานุมาน บริเวณบ้านศรีสมบูรณ์ อำนาจเจริญ 16.24592 105.006887
15 อ.โขงเจียม บริเวณสถานีวัดระดับน้ำโขงเจียม อุบลราชธานี 15.318348 105.499954 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ

หมายเหตุ: พิกัดอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่และสภาพภูมิอากาศของแต่ละสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ

2. วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ และการกำหนดพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ

               วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ มี 2 วิธี ดังนี้

          (1) การเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (Grab Sampling) เป็นการเก็บตัวอย่างครั้งเดียวที่จุดเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วนำมาวิเคราะห์ซึ่งจะเป็นผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ณ จุดนั้นและในเวลานั้นเท่านั้น การเก็บตัวอย่างแบบนี้จะทำให้ทราบถึงลักษณะสมบัติของแหล่งน้ำเฉพาะจุด และทำให้เห็นความผันแปรของลักษณะสมบัติและคุณภาพน้ำในจุดต่างๆ ได้อย่างชัดเจน การเก็บตัวอย่างแบบจ้วงในแม่น้ำลำธารให้เก็บที่กึ่งกลางความกว้างและความลึกของลำน้ำ ส่วนในแหล่งน้ำนิ่งให้เก็บกึ่งกลางความลึกของจุดเก็บน้ำนั้น ๆ

รูปที่ 1 การเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง

          (2) การเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (Composite Sampling) เป็นการเก็บตัวอย่างแบบผสม โดยการเก็บตัวอย่าง ณ จุดเดียวกัน แต่ต่างเวลากัน เช่น เก็บทุกชั่วโมงในเวลา 2 ชั่วโมง หรือทุก 3 ชั่วโมงในเวลา 1 วัน แล้วนำมารวมกัน การเก็บตัวอย่างน้ำแบบนี้ เพื่อทราบค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของตัวอย่างน้ำ ในกรณีที่แหล่งน้ำนั้น    มีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือเป็นการเก็บตัวอย่าง ณ เวลาเดียวกัน แต่หลายจุด และนำมาผสมกัน ซึ่งจะใช้ในกรณีของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำที่มีความแตกต่างในแนวหน้าตัด ทั้งตามความยาวและความลึกของแหล่งน้ำ ส่วนมากจะใช้วิธีนี้ในกรณีการเก็บน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำทิ้ง หรือ กรณีของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำนั้นมีคุณสมบัติ ไม่สม่ำเสมอและการเก็บตัวอย่าง แบบนี้นิยมใช้กับการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทต่าง ๆ ที่มีปริมาณและลักษณะของน้ำเสียแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา

รูปที่ 2 การเก็บตัวอย่างน้ำแบบผสมรวม

          การกำหนดพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ พารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ได้แก่ ดัชนีหรือตัวชี้วัดคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

                  (1) ดัชนีวัดคุณภาพน้ำทางกายภาพ (Physical parameter) เช่น ความขุ่น อุณหภูมิ สี เป็นต้น

                  (2) ดัชนีวัดคุณภาพน้ำทางเคมี (Chemical parameter) เช่น ออกซิเจนละลาย (DO) ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) โลหะหนักต่าง ๆ และสารเป็นพิษ อื่นๆ เป็นต้น

                 (3) ดัชนีวัดคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพ (Biological parameter) เช่น ปริมาณแบคทีเรีย กลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด หรือชนิด ปริมาณ สัดส่วนของสัตว์หรือพืชที่อาศัยในแหล่งน้ำ เป็นต้น

          การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยทั่วไป พารามิเตอร์พื้นฐานที่ควรใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

                  กลุ่มที่ 1 พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจสอบในภาคสนามหรือตรวจสอบทันทีพร้อมกับการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (Conductivity) ความเค็ม (Salinity) ออกซิเจนละลาย (DO) และความขุ่น (Turbidity)

                  กลุ่มที่ 2 พารามิเตอร์ที่ไม่สามารถตรวจวัดในภาคสนามได้ จะต้องเก็บรักษาตัวอย่างไว้ก่อน และนำมาตรวจสอบหรือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พารามิเตอร์ที่ควรตรวจวัด เช่น ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ของแข็งแขวนลอย (SS) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB) ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP)แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) และโลหะหนักต่างๆ เป็นต้น

          ทั้งนี้ ในการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำในภาคสนาม ทีมเก็บตัวอย่างฯ จะยึดหลักการเก็บแบบจ้วง (Grab Sampling) คือ ตัวอย่างน้ำที่ได้จากการเก็บเป็น ครั้งๆ จุดละ 1 ตัวอย่างในเวลาที่กำหนด โดยอาจใช้คนเก็บจากแหล่งน้ำด้วยภาชนะต่างๆ หรืออาจใช้ เครื่องจักรกลเก็บตัวอย่างแบบอัตโนมัติก็ได้ การเก็บแบบนี้ ตัวอย่างน้ำที่ได้จะเป็นตัวแทนของแหล่งน้ำ เฉพาะเวลา และเฉพาะจุดที่เก็บเท่านั้น ซึ่งการเก็บแบบจ้วงนี้เหมาะสำหรับการเก็บ ตัวอย่างของ น้ำประปา น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน แหล่งน้ำเสียที่ไม่ได้มีการไหลอย่างต่อเนื่อง หรือแหล่งน้ำเสีย   ที่มีคุณลักษณะคงที่ เป็นต้น ปัจจัยที่จะมีผลต่อการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วง คือ หากเป็นตัวอย่างน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำลำธาร หนอง บึง สระน้ำ ฯลฯ ปกติแล้วต้องพิจารณาถึงความลึกของลำน้ำ อัตราการไหลของน้ำและระยะห่างจากฝั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่จะแสดงว่า ตัวอย่างนั้นๆ เป็น ตัวแทนที่ถูกต้องของแหล่งน้ำหรือไม่    ซึ่งตามปกติการเก็บตัวอย่างแบบจ้วงนี้จะเลือกจุดเก็บตรง กึ่งกลางของลำน้ำ และจุดกึ่งกลางของความลึก   ส่วนความถี่ของการเก็บจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม รอบๆ ของแหล่งน้ำ และวัตถุประสงค์ของแต่ละโครงการ  โดยโครงการนี้จะทำการเก็บตัวอย่างการทดลองห่างออกจากริมตลิ่งประมาณ 1 กิโลเมตร ในกรณีที่จุดเก็บตัวอย่างมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น มีกระแสน้ำที่ค่อนข้างเชี่ยว หรือมีช่วงที่เป็นเกาะแก่ง เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเก็บตัวอย่างตามหลักการข้างต้นได้ ทีมเก็บตัวอย่างจะพิจารณาหาจุดเก็บตัวอย่างแทน ที่มีระยะห่างออกจากริมตลิ่งได้มากที่สุด (2-3 เมตร โดยประมาณ) โดยแผนที่จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดินในแม่น้ำโขงสายประธาน ในเขตประเทศไทยแสดงดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 แผนที่จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดินในแม่น้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทย

3. วิธีการศึกษา

          การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน การรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และการติดตามตรวจสอบปรากฏการณ์โขงสีคราม รายละเอียดแต่ละวิธีแสดงดังนี้

          3.1 ดัชนีที่ศึกษา

             การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน กลุ่มที่ปรึกษาจะดำเนินการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวนทั้งหมด 15 สถานี เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพน้ำและประเมินความสัมพันธ์กับปริมาณตะกอนสะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้พิจารณาวิเคราะห์ดัชนีในการติดตามคุณภาพน้ำ ทั้งหมด 22 ดัชนี เพื่อให้ครอบคลุมดัชนีที่ใช้ในการคำนวณค่า WQI สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ สำหรับดัชนี ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่าง และวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-9

ตารางที่ 2 ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่าง และวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน

ดัชนี

หน่วย ภาชนะบรรจุ วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง ระยะเวลาเก็บรักษา วิธีการตรวจสอบ ขีดจำกัดต่ำสุดของการวัด

1. อุณหภูมิ

°C

ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
0.25  ชั่วโมง HACH Temp

2. ความเป็น
กรด-ด่าง (pH)

ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
0.25  ชั่วโมง HACH pH

3. ออกซิเจนละลาย (DO)

mg/L

ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
8 ชั่วโมง HACH DO

0.5

4. การนำไฟฟ้า(Electrical Conductivity)

µS/cm

ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
28 วัน HACH Conductivity
5. ความขุ่น(Turbidity)

NTU

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Nephelometric Method

0.1

6. สารแขวนลอย(TSS)

mg/L

P แช่เย็น 7 วัน Total Suspended Solids Dried at 103-105 °C

5.0

7. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน
(NH3-N)

mg/LNH3-N

P, G เติมกรด H2SO4จน pH< 2,
แช่เย็น
28 วัน Distillation Nesslerization Method

0.2

8. ไนไตรท์-ไนโตรเจน

(NO2—N)

mg/L NO2—N

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง NED Colourimetric Method

0.02

9.ไนเตรท-ไนโตรเจน

(NO3—N)

mg/L NO3—N

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Cadmium Reduction Method

0.02

10. ฟอสเฟต

mg/L
PO43-

G(A) แช่เย็น 48 ชั่วโมง Ascorbic Acid Method

0.03

11. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P)

mg/L P

P เติมกรด H2SO4

จน pH< 2, แช่เย็น

28 วัน Persulphate Digestion and Ascorbic Acid Method

0.01

12. สี/ลักษณะของน้ำ

HDMI

P ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
48 ชั่วโมง ASTM D1209

13. TDS (Total dissolved solids)

mg/L

ตรวจวัดทันที
ในภาคสนาม
HACH TDS

14. ความต้านทาน(Resistivity)

kW/cm

ตรวจวัดทันที

ในภาคสนาม

28 วัน HACH Resistivity

15. ค่าความเค็มของน้ำ (Salinity)

ppt

ตรวจวัดทันที

ในภาคสนาม

7 วัน HACH (Salinity)

0-100%(0-10%)

16. ฟีคอลโคลิฟอร์ม (Feacal Coliform)

mpn

แช่เย็น 48 ชั่วโมง Standard Multiple –

Tube (MPN) Test

17. โคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria)

mpn

แช่เย็น 48 ชั่วโมง Standard Multiple –

18. ทองแดง (Cu)

mg/L

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง AWWA 2017:3030 E

19. โครเมียม (Cr)

mg/L

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง AWWA 2017:3030 E

20. แมงกานีส (Mn)

mg/L

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง AWWA 2017:3030 E

21. เหล็ก (Fe)

mg/L

P แช่เย็น 48 ชั่วโมง

AWWA 2017:3030 E

22.แคดเมียม (Cd)

mg/L P แช่เย็น 48 ชั่วโมง AWWA 2017:3030 E

23. ตะกั่ว (Pb)

mg/L P แช่เย็น 48 ชั่วโมง AWWA 2017:3030 E

          การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยทั่วไป พารามิเตอร์พื้นฐานที่ควรใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

          กลุ่มที่ 1 พารามิเตอร์ที่ต้องตรวจสอบในภาคสนามหรือตรวจสอบทันทีพร้อมกับการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) ความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (Conductivity) ความเค็ม (Salinity) ออกซิเจนละลาย (DO) และความขุ่น (Turbidity)

          กลุ่มที่ 2 พารามิเตอร์ที่ไม่สามารถตรวจวัดในภาคสนามได้ จะต้องเก็บรักษาตัวอย่างไว้ก่อน และนำมาตรวจสอบหรือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พารามิเตอร์ที่ควรตรวจวัด เช่น ปริมาณความ สกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ของแข็งแขวนลอย (SS) แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (TCB) แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (FCB)ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP)แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) และโลหะหนักต่างๆ เป็นต้น

          กลุ่มที่ 3 กลุ่มโลหะหนักเป็นพารามิเตอร์ที่ไม่สามารถตรวจวัดในภาคสนามได้ จะต้องเก็บรักษาตัวอย่างไว้ก่อน และนำมาตรวจสอบหรือวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ พารามิเตอร์ที่ควรตรวจวัด เช่นทองแดง (Cu) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร  นิคเกิล (Ni) มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร  แมงกานีส (Mn) มีค่าไม่เกินกว่า 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร  สังกะสี (Zn) มีค่าไม่เกินกว่า 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร  แคดเมียม (Cd) ในน้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 ไม่เกินกว่า 100 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่า   ไม่เกินกว่า 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร และในน้ำที่มีความกระด้างในรูปของ CaCO3 เกินกว่า 100 มิลลิกรัม/ลิตร มีค่าไม่เกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร  ตะกั่ว (Pb) มีค่าไม่เกินกว่า 0.05 มิลลิกรัม/ลิตร

          โดยจะทำการบันทึกค่าการตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า (Conductivity) และออกซิเจนละลาย (DO) ทันทีในภาคสนาม พร้อมกับบันทึกสภาพตัวอย่างน้ำที่สังเกต เช่น สีและกลิ่น ก่อนจะแยกตัวอย่างน้ำ ใส่ภาชนะบรรจุเพื่อนำไปวิเคราะห์ค่าดัชนีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในห้องปฏิบัติการต่อไป

          3.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

            นำข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภท    ที่ 2 แหล่งน้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภค บริโภค โดยจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนการอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมง และการว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ

          การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Water Quality Index for Aquatic life; WQIal) [1] โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQIal ประกอบด้วย DO, pH, NH3, Conductivity, NO3- และ total-P สามารถคำนวณได้ดังสมการ

          โดย         pi  คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์
มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0

                          n            คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น

                          M           คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้น

          การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) ตามมาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ หลักการในการพิจารณาหาสูตร  คือ ค่าคะแนนรวมที่ได้เมื่อแปรผลแล้วตรงหรือใกล้เคียงกับประเภทแหล่งน้ำผิวดิน ในแต่ละจุดตรวจวัดที่ตรวจวัดจริง โดยทําการทดลองหาสูตรที่เหมาะสมได้ผลดังนี้

          หลังจากประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำเรียบร้อยแล้ว กลุ่มที่ปรึกษาจะเปรียบเทียบวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพน้ำ (WQI) สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ และกรณีที่เป็นจุดเก็บตัวอย่างเดิมจะเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยและค่าต่ำสุด-สูงสุด (min-max) ของผลการตรวจวัดที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2559 -2564 อีกทั้งศึกษาและทบทวนข้อมูลการศึกษาอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดเกณฑ์คุณภาพน้ำสำหรับใช้ในการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านคุณภาพน้ำร่วมกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงนอกเหนือ จากคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ และวิเคราะห์สภาพพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน เช่น เป็นพื้นที่ชุมชนหรือไม่ มีท่อระบายน้ำทิ้งของชุมชนหรือไม่ เพื่อชี้ให้เห็นสาเหตุของปริมาณสารอาหารในน้ำผิวดิน (ไนเตรทและฟอสเฟต) การลดลงของปริมาณสารแขวนลอยในน้ำ เป็นสาเหตุ ให้สารอาหาร เช่น ธาตุอาหาร (COD, TOC, BOD, NO3-; NO2-; NH4+; PO43-) ในน้ำ และแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ในน้ำลดลง ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินระหว่างปรากฏการณ์แม่น้ำโขงสีครามในช่วงที่ระดับต่ำที่สุด (ช่วงระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำ รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์แม่น้ำโขงสีครามต่อการดำรงชีวิตของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง

          3.3 สำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องท่อระบายน้ำตรงสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ

                      1) พื้นที่ศึกษา

            สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธานทั้ง 3 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน นครพนม และ                  โขงเจียม ในประเทศไทย

                      2) วิธีการศึกษา

          กลุ่มที่ปรึกษา มีการประสานขอข้อมูลคุณภาพน้ำจากสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธาน 3 สถานี (สถานีเชียงแสน สถานีนครพนม สถานีโขงเจียม) ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการ ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาจากสำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำประเมินแนวโน้มความแตกต่างของปริมาณสารอาหาร และความขุ่นของน้ำแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงไป

          3.4 การติดตามตรวจสอบสถานการณ์คุณภาพน้ำที่พบปรากฏการณ์โขงสีคราม

             กลุ่มที่ปรึกษาจะดำเนินการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายประชาชนในพื้นที่เพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์โขงสีคราม โดยจะมีการบันทึกภาพถ่ายปรากฏการณ์โขงสีครามและแสดงช่วงระยะเวลาที่เกิดปรากฏการณ์น้ำโขงสีคราม และนำข้อมูลเหตุการณ์ดังกล่าว (หากพบและได้รับรายงาน) มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการศึกษาคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับปริมาณสารแขวนลอยและสารอาหารในน้ำ และลักษณะบ่งชี้คุณภาพน้ำอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องรวมทั้ง กลุ่มที่ปรึกษาจะพิจารณานำข้อมูลของโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบในการศึกษาและวิเคราะห์ปรากฏการณ์โขงสีคราม นอกจากนั้น ที่ปรึกษาจะดำเนินการนำข้อมูลระดับน้ำแบบ Real-time ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงมาใช้ในการตรวจสอบปรากฏการณ์น้ำโขงสีครามของสถานีในประเทศไทย ประกอบด้วย สถานีเชียงแสน (020102) สถานีเชียงคาน (020105) สถานีหนองคาย (020114) สถานีนครพนม (020122) สถานีมุกดาหาร (020129) และสถานีโขงเจียม (020139) และสถานีใน สปป.ลาว ประกอบด้วย สถานี Luang Prabang (011201) สถานี Ban Pakhoung (011501) สถานี Vientiane KM4 (011901) สถานี Thakhet (013102) สถานี Paksane (012703) และสถานี Ban Mai Singsamphan (013806) โดยปรากฏการณ์นี้แปรผันตรงกับอัตราการไหลของน้ำ ระดับน้ำ และปริมาณตะกอนแขวนลอย รวมทั้งตรวจสอบปรากฏการณ์น้ำโขงสีครามผ่านกล้อง CCTV โดยมี 1 สถานีที่มีกล้อง CCTV ที่สามารถใช้ในการตรวจสอบได้ คือ สถานีเชียงคาน รวมไปถึงติดตามตรวจสอบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่ออธิบายสถานภาพการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพได้อย่างชัดเจนและต่อเนื่องที่เกิดขึ้นตามมา

          3.5 การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านคุณภาพน้ำ

          ในการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านคุณภาพน้ำ ในการศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้                    จะอ้างอิงเกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงในแต่ละด้าน ตามการศึกษาประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 ซึ่งแบ่งเกณฑ์ออกเป็น 4 ระดับ ตามระดับคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ โดยประเมินตามเกณฑ์ WQIal ที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ดังนี้

                  ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก : มีระดับ WQI อยู่ระหว่าง 9.5-10 หรือ High quality

                  ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย : มีระดับ WQI อยู่ระหว่าง 9-<9.5 หรือ Good quality

                  ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง : มีระดับ WQI อยู่ระหว่าง 7-<9 หรือ Moderate quality

                  ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง : มีระดับ WQI อยู่ระหว่าง <7 หรือ Poor quality

 

4. ผลการศึกษาคุณภาพน้ำ

          จากการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำพื้นฐาน จำนวนทั้งหมด 15 จุด ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 20-29  พฤษจิกายน 2565 ในการประเมินคุณภาพน้ำ โครงการฯ ได้นำผลคุณภาพน้ำที่ตรวจวัด ในแต่ละสถานี มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 และค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รวมไปถึงค่ามาตรฐานกรมอนามัย การประปาส่วนภูมิภาค องค์การอนามัยโลก กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงมหาดไทย   เพื่อชี้ชัดบางดัชนี ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำในห้องปฏิบัติการ มีรายละเอียดดังนี้

          4.1 จังหวัดเชียงราย

          จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 2 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเวียงแก่น โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่าคุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6)   ค่าความเค็มของน้ำ (7) ทั้งสองสถานี (อ.เชียงแสน และ อ.เวียงแก่น) จะมีสภาพใกล้เคียงกัน ส่วนความขุ่น (8)   สารแขวนลอย(9) ที่ อ.เวียงแก่น มีค่าลดลงเป็นสัดส่วน 29 เปอร์เซ็นต์ และ 21  เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอล    โคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16) ทั้งสองสถานี (อ.เชียงแสน และ อ.เวียงแก่น) จะมีสภาพใกล้เคียงกันสี/ลักษณะของน้ำ (17) ที่สถานี อ.เชียงแสน มีค่าสีสูงสุดที่ 15 Pt-Co unit ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังสำหรับการอุปโภคบริโภคตามเกณฑ์มาตรฐานกรมอนามัย การประปาส่วนภูมิภาค องค์การอนามัยโลก กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงมหาดไทย

          ในส่วนของโลหะหนักที่ทำการศึกษาคือ ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม(22) และ ตะกั่ว (23) จากการศึกษาที่ อ. เชียงแสน (จุดที่ 1) พบว่าเหล็ก (0.589 มิลลิกรัมต่อลิตร) ยังคงเป็นดัชนี  ที่ต้องเฝ้าระวังถึงแม้มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินจะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำใต้ดินยังคงเกินมาตรฐาน ดังนั้น เหล็ก จึงเป็นโลหะที่ต้องเฝ้าระหวังในเขตพื้นที่ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย ในส่วนโลหะหนักชนิดอื่น ๆ เช่น ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) แคดเมียม(22) และ ตะกั่ว (23) ยังอยู่ในเกณฑ์มาตราฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ในส่วน อ.เวียงแก่นไม่ได้ทำการวิเคราะห์ และเมื่อเปรียบเทียบค่าคุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2

          4.2 จังหวัดเลย

          จังหวัดเลย มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 2 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเชียงคาน 1 (บริเวณ             ผานางคอย) อำเภอเชียงคาน 2 (บริเวณแม่น้ำเลย) อำเภอเชียงคาน 3 (บริเวณสถานีวัดระดับน้ำเชียงคาน) และอำเภอปากชม โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6) ความขุ่น(8) สารแขวนลอย (9) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16) สี/ลักษณะของน้ำ (17) ของแต่ละสถานีจะมีสภาพใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตาม อำเภอเชียงคาน 2 (บริเวณแม่น้ำเลย) แสดงค่าดัชนีสูงกว่าอำเภอเชียงคาน 1 (บริเวณผานางคอย) อำเภอเชียงคาน 3 (บริเวณสถานีวัดระดับน้ำเชียงคาน) และอำเภอปากชม และเมื่อเปรียบเทียบค่าคุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ทุกดัชนีมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน อย่างไรก็ตามค่าความเค็มของน้ำ (7) ที่อำเภอปากชมมีค่าเท่ากับ 0.23 ppt แสดงค่าดัชนีสูงสุด ค่าปริมาณความเข้มข้นของเกลือแร่ที่ละลายในน้ำโดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์ หน่วยที่ใช้ในการวัดค่าความเค็มมักนิยมใช้หน่วย ppt (Part per thousand) โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งระดับความเค็มของน้ำไว้ดังนี้ น้ำจืด 0~0.5ppt, น้ำกร่อย 0.5~30ppt และน้ำเค็ม >30ppt ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ที่ 0.23 ppt อำเภอปากชม ยังแสดงถึงค่าความเป็นน้ำจืดผิวดิน

          ในส่วนของโลหะหนักทั้ง 5 ดัชนี ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ที่ทั้งสามสถานี คือ อำเภอเชียงคาน 1 (บริเวณผานางคอย) อำเภอเชียงคาน 2 (บริเวณแม่น้ำเลย) อำเภอเชียงคาน 3 (บริเวณสถานีวัดระดับน้ำเชียงคาน) และอำเภอปากชม

          4.3 จังหวัดหนองคาย

          จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 2 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองหนองคาย และอำเภอโพนพิสัย โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดิน แสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง   ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6) ค่าความเค็มของน้ำ (7) ความขุ่น (8) สารแขวนลอย (9) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต(13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16) สี/ลักษณะของน้ำ (17)  ของทั้งสองสถานีจะมีสภาพใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ค่าการนำไฟฟ้า (4) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับ 51 เปอร์เซ็นแตกต่างโดยที่อำเภอเมืองหนองคาย มีค่าเท่ากับ 495 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ในขณะที่ อำเภอโพนพิสัย มีค่าเท่ากับ 240 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร นั่นแสดงว่าน้ำที่อำเภอเมืองหนองคาย มีความสามารถ  ในการนำกระแสไฟฟ้า แสดงว่ามีเกลือหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ละลายในน้ำสามารถแตกตัวเป็นไอออนที่มีประจุบวกและลบ ได้ไอออนอิสระเหล่านี้ในน้ำจึงนำไฟฟ้าได้และเมื่อเปรียบเทียบค่าคุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ทุกดัชนีมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักทั้ง 5 ดัชนี ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ที่ทั้งสองสถานี คือ ประกอบด้วย อำเภอเมืองหนองคาย และอำเภอโพนพิสัย

          4.4 จังหวัดบึงกาฬ

          จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 2 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองบึงกาฬและอำเภอบุ่งคล้า โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6) ค่าความเค็มของน้ำ (7) ความขุ่น (8) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) สี/ลักษณะของน้ำ (17) ของทั้งสองสถานีจะมีสภาพใกล้เคียงกัน  อย่างไรก็ตาม ค่าการนำไฟฟ้า (4) สารแขวนลอย (9) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) และโคลิฟอร์มทั้งหมด (16)  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับ 38 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ 25 เปอร์เซ็นต์ และ 31เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยที่อำเภออำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอบุ่งคล้า โดยที่สารแขวนลอยอำเภอเมืองบึงกาฬมีค่าเท่ากับ 10.67 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนที่อำเภอบุ่งคล้ามีค่าเท่ากับ 5.33 มิลลิกรัมต่อลิตร โคลิฟอร์มทั้งหมด ที่อำเภอเมือง      บึงกาฬ มีค่าเท่ากับ 2415 เอ็มพีเอ็น ส่วนที่อำเภอบุ่งคล้ามีค่าเท่ากับ 1633 เอ็มพีเอ็น ค่าการนำไฟฟ้า อำเภอเมืองบึงกาฬ มีค่าเท่ากับ 370 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ส่วนที่อำเภอบุ่งคล้ามีค่าเท่ากับ 226 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ค่าฟีคอลโคลิฟอร์ม อำเภอเมืองบึงกาฬมีค่าเท่ากับ 416 เอ็มพีเอ็น ส่วนที่อำเภอบุ่งคล้ามีค่าเท่ากับ 310 เอ็มพีเอ็น นั้นแสดงว่าน้ำที่อำเภออำเภอเมืองบึงกาฬมีค่าการนำไฟฟ้า (4) สารแขวนลอย (9) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) และโคลิฟอร์มทั้งหมด (16) สูงกว่าอำเภอบุ่งคล้า และเมื่อเปรียบเทียบค่าคุณภาพน้ำกับค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ทุกดัชนีมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักทั้ง 5 ดัชนี ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ที่ทั้งสองสถานี คือ ประกอบด้วย อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอบุ่งคล้า

          4.5 จังหวัดนครพนม

          จังหวัดนครพนม มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 2 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอธาตุพนม โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือนพฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6)   ค่าความเค็มของน้ำ (7) ความขุ่น (8) สารแขวนลอย (9) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16)  สี/ลักษณะของน้ำ (17) มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักที่ทำการศึกษาคือ ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม(22) และตะกั่ว (23) จากการศึกษาที่อำเภอโขงเจียม (จุดที่ 11) พบว่าเหล็ก (0.632 มิลลิกรัมต่อลิตร) ยังคงเป็นดัชนีที่ต้องเฝ้าระวังถึงแม่มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินจะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำใต้ดินยังคงเกินมาตรฐาน ดังนั้น เหล็ก จึงเป็นโลหะที่ต้องเฝ้าระหวังในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ในส่วนโลหะหนักชนิดอื่น ๆ เช่น ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน

          4.6 จังหวัดมุกดาหาร

          จังหวัดมุกดาหาร มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6)  ค่าความเค็มของน้ำ (7) ความขุ่น (8) สารแขวนลอย (9) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16)  สี/ลักษณะของน้ำ (17) มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักทั้ง 5 ดัชนี ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร

          4.7 จังหวัดอำนาจเจริญ

          จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอชานุมาน โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือนพฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ความต้านทาน (6) ค่าความเค็มของน้ำ (7) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11) ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ในขณะที่ค่าปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความขุ่น (8) สารแขวนลอย (9) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16) สี/ลักษณะของน้ำ (17) มีความสอดคล้องกันตามปริมาณค่าดัชนีที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักทั้ง 5 ดัชนี ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ที่อำเภอชานุมาน

          4.8 จังหวัดอุบลราชธานี

          จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ศึกษาบริเวณริมแม่น้ำโขง จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอโขงเจียม โดยมีผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำผิวดินแสดงดังตารางที่ 6-10 ซึ่งการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 เป็นตัวแทนในฤดูน้ำหลาก (ฤดูฝน) และเป็นตัวแทนช่วง ที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุดตามข้อมูลการไหลและอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงเดิม จะดำเนินการประมาณระหว่างเดือน พฤษจิกายน – ธันวาคม 2565) จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิ (1) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (2) ออกซิเจนละลาย (3) การนำไฟฟ้า (4) ปริมาณของแข็งสารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ (5) ความต้านทาน (6) ค่าความเค็มของน้ำ (7) ความขุ่น (8) สารแขวนลอย (9) แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (10) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (11)  ไนเตรท-ไนโตรเจน (12) ฟอสเฟต (13) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (14) ฟีคอลโคลิฟอร์ม (15) โคลิฟอร์มทั้งหมด (16) สี/ลักษณะของน้ำ (17) มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) สำหรับน้ำผิวดินประเภทที่ 2 และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ทั้งสองมาตรฐาน

          ในส่วนของโลหะหนักที่ทำการศึกษาคือ ทองแดง (18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) เหล็ก (21) แคดเมียม (22) และตะกั่ว(23) จากการศึกษาที่อำเภอโขงเจียม (จุดที่ 15) พบว่าเหล็ก (0.733 มิลลิกรัมต่อลิตร) ยังคงเป็นดัชนีที่ต้องเฝ้าระวังถึงแม้มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินจะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน  แต่ถ้าทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานน้ำใต้ดินยังคงเกินมาตรฐาน ดังนั้น เหล็ก จึงเป็นโลหะที่ต้องเฝ้าระวังในเขตพื้นที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในส่วนโลหะหนักชนิดอื่น ๆ เช่น ทองแดง(18) โครเมียม (19) แมงกานีส (20) แคดเมียม (22) และตะกั่ว (23) ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน