ด้านเศรษฐกิจและสังคม ปี 2563

ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ด้านเศรษฐกิจ สังคม >> ปี 2563

การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม

การเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม ในปีงบประมาณ 2563 ให้ความสำคัญในการสำรวจด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเปราะบางต่อการสูญเสียระบบนิเวศของแม่น้ำโขง และการปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผลกระทบข้ามพรมแดน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการประกอบการสัมภาษณ์ และประเมินผลกระทบต่อความเปราะบาง และการปรับตัวด้านเศรษฐกิจสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเสี่ยงในพื้นที่

วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมข้อมูลการศึกษาเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเปราะบาง และการปรับตัวในปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ

แนวทางและวิธีการศึกษา
1 แนวทางการศึกษา

การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความเปราะบางโดยรวบรวม จากเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และโครงการ และการทบทวนผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2562

การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

การสำรวจระดับหมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบเก็บข้อมูลหมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน

การสำรวจระดับครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม ทั้งจากการสำรวจหมู่บ้านและการสำรวจครัวเรือน ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมของหมู่บ้านและครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ด้านวิถีชีวิต การพึ่งพิงทรัพยากรจากแม่น้ำโขง อาชีพ ความเป็นอยู่ ความเปราะบางของหมู่บ้าน/ครัวเรือน การปรับตัวและข้อเสนอแนะ

2 พื้นที่ศึกษาและการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
พื้นที่ศึกษา

การศึกษาครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขงและจุดบรรจบของลำน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จำนวน 28 อำเภอ

กลุ่มตัวอย่าง

พื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2562 มีประชากรจำนวน 1,302,249 คน จำนวนบ้าน 407,151 หลังคาเรือน (สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2563) การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2563 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่มาก และอยู่อาศัยกระจัดกระจาย เมื่อแทนค่าสูตรคำนวณจึงใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 ครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด คำนึงถึงตัวแปรต้น คือ จังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดและเป็นตัวแทนในภาพรวมของทั้ง 8 จังหวัดได้ ดังนั้นจึงใช้เกณฑ์จำนวนครัวเรือนใน แต่ละจังหวัดที่กระจายในแต่ละอำเภอเป็นตัวระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัดมีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 30 ชุด จะถูกปรับขึ้นให้เป็น 30 ตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้

3 เครื่องมือในการสำรวจ

เครื่องมือในการสำรวจประกอบด้วย 1) แบบสอบถามผู้นำชุมชน และ 2) แบบสอบถามหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งได้ถูกปรับปรุงจากเครื่องมือ SIMVA ในคู่มือ Guideline for Social Impact Monitoring and Vulnerability Assessment (SIMVA) 2561 ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาและบริบทของพื้นที่สำหรับการศึกษาในปีนี้ โดยเนื้อหาประกอบด้วย

  • 1) ข้อมูลด้านประชากรของผู้ให้สัมภาษณ์
  • 2) ข้อมูลด้านความเปราะบาง
  • 3) ข้อมูลด้านการพึ่งพิง
  • 4) ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
  • 5) การปรับตัวและการสนับสนุน

4 การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม โดยผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรับผิดชอบ ซึ่งสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ จำนวน (N) ความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามากที่สุด (Max) และค่าน้อยที่สุด (Min) และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของประเด็นความคิดเห็นที่สำคัญด้านผลกระทบและความเปราะบางในภาพรวม 8 จังหวัด ด้วยวิธีการทดสอบไคสแควร์ Chi-square (p  0.05) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย

  • 1) พัฒนาแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาและบริบทของพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อเสนอแนะของกรรมการ การประเมินและทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้เวลา 5 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 ตุลาคม 2563
  • 2) พัฒนาระบบการกรอกข้อมูลแบบออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน ใช้เวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2563 – 31 ตุลาคม 2563
  • 3) จัดอบรมการใช้เครื่องมือกับตัวแทนเครือข่ายของแต่ละจังหวัด เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือและสามารถลงเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2563
  • 4) ตัวแทนเครือข่ายของแต่ละจังหวัดลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามพร้อมกับนักวิจัย โดยแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบแบบสอบถาม โดยมีตัวแทนเครือข่ายพร้อมทั้งนักวิจัยคอยให้ความช่วยเหลือในการตอบแบบสอบถาม ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2563
  • 5) แบบสอบถามของแต่ละจังหวัดจะถูกส่งมายังคณะนักวิจัย ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบออนไลน์ ข้อมูลส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์จะถูกดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564
  • 6) การประเมินตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม นักวิจัยประมวลและวิเคราะห์ผลเพื่อนำเสนอผลการศึกษา และจัดทำข้อเสนอแนะในด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2564

ผลการศึกษา

ตารางที่ 7-2 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูล

ลำดับ จังหวัด อำเภอ จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามแผน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บ (วันที่ 19 ก.พ. 64)
ครัวเรือน หมู่บ้าน ครัวเรือน ชุมชน
1 เชียงราย อ.เชียงแสน 21 2 21 2
อ.เชียงของ 10 1 10 1
อ.เวียงแก่น 12 1 12 1
รวม 43 4 43 4
2 เลย อ.เชียงคาน 19 2 11
อ.ปากชม 11 1 11 2
รวม 30 3 22 2
3 หนองคาย อ.ท่าบ่อ 18 2 17 2
อ.เมือง 23 2 23 2
อ.รัตนวาปี 12 1 12 1
อ.โพนพิสัย 30 3 29 3
อ.ศรีเชียงใหม่ 7 1 6
อ.สังคม 7 1 7
รวม 98 10 94 8
4 บึงกาฬ อ.บึงโขงหลง 8 1 8 2
อ.บุ่งคล้า 4 0 4
อ.ปากคาด 9 1 5
อ.เมือง 22 2 27 3
รวม 44 4 44 5
5 นครพนม อ.บ้านแพง 8 1 9 1
อ.ท่าอุเทน 15 2 21 2
อ.เมือง 34 3 10 3
อ.ธาตุพนม 21 2 0
รวม 79 8 40 6
6 มุกดาหาร อ.หว้านใหญ่ 6 1 6
อ.เมือง 26 3 27 2
อ.ดอนตาล 11 1 11 1
รวม 43 4 44 3
7 อำนาจเจริญ อ.ชานุมาน 30 3 31 3
รวม 30 3 31 3
8 อุบลราชธานี อ.เขมราฐ 9 1 10 1
อ.นาตาล 11 1 10 1
อ.โพธิ์ไทร 11 1 19 2
อ.ศรีเมืองใหม่ 19 2 10 1
อ.โขงเจียม 10 1 10 1
รวม 59 6 59 6
รวมทั้งหมด 424 43 377 37

1 ข้อมูลระดับชุมชน (The Village Profile)

รูปที่ 7-1 ลักษณะทางภูมิประเทศของหมู่บ้าน

รูปที่ 7-2 ประเภทของหมู่บ้าน

2 ประชากร (Population)

เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี รวม
2.5 จำนวนประชากรในหมู่บ้านโดยเฉลี่ย (คน) 840 1039 1025 468 700 635 537 783 765
2.10 จำนวนหลังคาเรือนในหมู่บ้านโดยเฉลี่ย (หลังคาเรือน) 269 273 308 162 139 179 156 190 210
2.6 การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
1) ลดลง 2 3 5
2) เท่าเดิม 3 2 5
3) เพิ่มขึ้น 4 2 6 2 3 1 3 4 25

รูปที่ 7-3 การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

3 แหล่งรายได้หลัก (Main livelihood activities in the sampling villages)

4 โครงสร้างพื้นฐานของระบบบริหารจัดการน้ำ (Water related infrastructure)


รูปที่ 7-5 โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำ
การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและการปรับตัว

รูปที่ 7-6 จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

ข้อมูลระดับครัวเรือน (The Household Profile)
การหาเลี้ยงชีพของครัวเรือน (Household livelihood activities)
2.2.1 แหล่งรายได้หลัก (The most activity for livelihood)

รูปที่ 7-7 แหล่งรายได้หลัก (ร้อยละ)

2.2.2 แหล่งรายได้รอง (The second most activity for livelihood)


รูปที่ 7-8 แหล่งรายได้รอง (ร้อยละ)

ข้อมูลด้านอาชีพ
การเกษตรกรรมบนฝั่ง

ครัวเรือนส่วนใหญ่ทำการเกษตรบนฝั่ง (ร้อยละ 63) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรบนฝั่งสูงที่สุด (ร้อยละ 94) ในขณะที่จังหวัดเชียงรายมีสัดส่วนต่ำที่สุด (ร้อยละ 37) เกษตรกรมีที่ดินสำหรับเกษตรบนฝั่งเฉลี่ย 9.56 ไร่ โดยจังหวัดบึงกาฬมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 23.62 ไร่ ในขณะที่จังหวัดหนองคายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 2.59 ไร่ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในการทำเกษตรกรรมริมฝั่งคือ 56,875 บาท/ปี โดยจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือบึงกาฬ (173,095 บาท/ปี) ซึ่งสอดคล้องกับการมีที่ดินทำการเกษตรกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตรบนฝั่งต่ำสุดคืออุบลราชธานี (17,345 บาท/ปี)

ชนิดของพืชที่มีการเพาะปลูกบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว (ร้อยละ 75) พริก (ร้อยละ 65) มะเขือ (ร้อยละ 59) ผักชี (ร้อยละ 56) และ ต้นหอม (ร้อยละ 52)

จังหวัดเชียงรายนิยมปลูกข้าว มะเขือ พริก และข้าวโพด (ร้อยละ 100) จังหวัดเลยนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 76) จังหวัดหนองคายนิยมปลูกพริก (ร้อยละ 100) จังหวัดบึงกาฬนิยมปลูกยางพารา (ร้อยละ 97) จังหวัดนครพนมนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 100) จังหวัดมุกดาหารนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 100) จังหวัดอำนาจเจริญนิยมปลูกข้าวและยางพารา (ร้อยละ 100) และจังหวัดอุบลราชธานีนิยมปลูกถั่ว (ร้อยละ 72)

ในด้านแหล่งน้ำหลักเพื่อทำการเกษตร พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้การสูบน้ำจากแม่น้ำโขง (ร้อยละ 52) จังหวัดที่มีการพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรบนฝั่งสูงสุดคือจังหวัดหนองคาย (ร้อยละ 100) รองลงมาคือจังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 97) และจังหวัดนครพนม (ร้อยละ 80) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของทั้ง 3 จังหวัดหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

การประมง

ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ มีจำนวนร้อยละ 52 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 93 ในขณะที่มีครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีจำนวน ร้อยละ 14 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 85

พันธุ์ปลาที่จับได้ส่วนใหญ่คือปลาขาว (ร้อยละ 100) ปลาแข้ (ร้อยละ 96) ปลาเนื้ออ่อน (ร้อยละ 94) ปลาตะเพียน (ร้อยละ 92) และปลาเพี้ย (ร้อยละ 92) โดยปลาบึกมีครัวเรือนที่จับได้เพียงร้อยละ 23 แหล่งน้ำสำหรับการประมงจับสัตว์น้ำส่วนใหญ่คือแม่น้ำโขง (ร้อยละ 98)

การปศุสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์

ครัวเรือนที่มีประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์มีจำนวนร้อยละ 31 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้มีการปรับตัวได้ร้อย 85

ชนิดของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่คือไก่ (ร้อยละ 76) รองลงมาคือโค (ร้อยละ 53) รูปแบบของการปศุสัตว์ส่วนใหญ่คือการเลี้ยงภายในเขตบ้าน (ร้อยละ 91) โดยใช้แหล่งน้ำจากประปาในการทำปศุสัตว์ (ร้อยละ 84) ในขณะที่น้ำจากแม่น้ำใช้เพียงร้อยละ 36 ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงจึงไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำปศุสัตว์

การท่องเที่ยวหรือบริการ

ครัวเรือนที่มีการประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวหรือบริการมีจำนวนร้อยละ 11 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 84

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปี พ.ศ. 2563

จากข้อมูลจะพบว่ากลุ่มอาชีพที่ครัวเรือนส่วนใหญ่คืออาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 63) รองลงมาคืออาชีพการประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 52) อาชีพการเกษตรริมฝั่งโขง (ร้อยละ 32) โดยทั้ง 3 อาชีพนี้มีครัวเรือนที่มีการปรับตัวสูงสุดคือการประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 93) รองลงมาคือการเกษตรริมฝั่ง (ร้อยละ 85) และการเกษตรกรรมบนฝั่ง (ร้อยละ 73)

ผลกระทบทางธรรมชาติที่ครัวเรือนประสบปัญหาสูงสุดคือภัยแล้ง (ร้อยละ 62) และเป็นปัญหาที่ครัวเรือนมีการปรับสูงเช่นกัน (ร้อยละ 84)


รูปที่ 7-10 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพ (ร้อยละของครัวเรือนทั้งหมด)


รูปที่ 7-11 ครัวเรือนที่มีการปรับตัวตามอาชีพ (ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ)

รูปที่ 7-12 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ (ร้อยละของครัวเรือนทั้งหมด)


รูปที่ 7-13 ครัวเรือนที่มีการปรับตัว (ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ)