ข้อมูลด้านสัณฐานของตลิ่งริมน้ำ ปี 2564

ด้านกายภาพ >> ข้อมูลด้านสัณฐานของตลิ่งริมน้ำ >> ปี 2564

ผลการศึกษา

          ผลการศึกษาแม่น้ำโขงสายประธาน พบว่า บริเวณเกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของพื้นที่ตลิ่งเป็นช่วงที่ลำน้ำมีลักษณะโค้ง ซึ่งบริเวณลำน้ำที่มีลักษณะโค้งนั้น กระแสน้ำที่ปะทะกับตลิ่งด้านหนึ่งจะทำให้เกิดการกัดเซาะ และเกิดการตกสะสมในตลิ่งฝั่งตรงข้ามแทน ซึ่งการลดลงของพื้นที่ตลิ่ง พบว่า บริเวณจังหวัดเลยเกิดการลดลงของพื้นที่ตลิ่งมากที่สุดโดยจุดที่เกิดการลดลงของตลิ่งมากที่สุด คือ บริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย ซึ่งลำน้ำบริเวณดังกล่าวมีลักษณะโค้งเข้ามาทางฝั่งประเทศไทยทำให้กระแสน้ำปะทะกับตลิ่งฝั่งประเทศไทย เนื่องด้วยร่องน้ำลึกอยู่ใกล้กับตลิ่งฝั่งประเทศไทย โดยความเร็วและความแรงของกระแสน้ำของลำน้ำจะสัมพันธ์กับความลึก และความเร็วและความแรงนี้จะลดลงไปตามตลิ่งด้านข้าง ดังนั้น จึงเป็นผลให้กระแสน้ำที่ปะทะตลิ่งฝั่งประเทศไทยมีความเชี่ยว รวมทั้งตลิ่งบริเวณส่วนดังกล่าวเป็นตะกอนดิน กรวด และทราย อยู่บนท้องน้ำที่เป็นหิน จึงเป็นผลให้เกิดการกัดเซาะขึ้น นอกจากนั้น กิจกรรมการดูดทรายในแม่น้ำโขงสายประธานก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการลดลงของพื้นที่ตลิ่ง โดยจากข้อมูลในรายงาน MRC Information & Knowledge Information Program (IKMP) & World Widelife Fund for Nature (WWF): Summary report of decision support for generating sustainable hydropower in the Mekong basin ได้สรุปผลการศึกษาว่าการดูดทรายทำให้ลำน้ำมีความลึกมากขึ้น โดยความลึกที่มากขึ้นทำให้ระดับน้ำเปลี่ยนแปลง เพิ่มความเร็วของกระแสน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะตลิ่ง

          ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ตลิ่ง พบว่า บริเวณจังหวัดอุบลราชธานีเกิดการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ตลิ่งมากที่สุด โดยแม่น้ำโขงสายประธานในช่วงของจังหวัดอุบลราชธานี มีความกว้างของลำน้ำ 400-2,000 เมตร และมีเกาะแก่งหินจำนวนมาก ทำให้มีพื้นที่ในการตกสะสมของตะกอน ซึ่งตะกอนมีการตกสะสมบนพื้นท้องของลำน้ำ ตามแก่งหรือกลุ่มหิน และร่องและหลุมของพื้นหินในลำน้ำ โดยมีลักษณะเป็นตะกอนท้องน้ำ กลุ่มตะกอนแท่งยาว และเกาะ อ้างอิงจากรายงาน Large Rivers: Geomorphology and Management (The Mekong River: Morphology, Evolution, Management) โดย Avijit Gupta และปริมาณตะกอนในช่วงจังหวัดอุบลราชธานีจะมากกว่าจังหวัดอื่นที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงสายประธานในบริเวณต้นน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาในรายงาน IKMP Discharge and sediment monitoring program review, recommendations and data analysis, Part 1: Program review & recommendations ในปี พ.ศ. 2554 พบว่า 3 สถานีบริเวณต้นน้ำ ได้แก่ เชียงแสน หลวงพระบาง เชียงคาน มีปริมาณตะกอน 13 ถึง 26 ล้านตัน/ปี และบริเวณท้ายน้ำ พบปริมาณตะกอนสูง โดยพบที่สถานีมุกดาหาร (107 ล้านตัน/ปี) และสถานีโขงเจียม (166 ล้านตัน/ปี)

          นอกจากนี้ จากการทบทวนรายงาน Preliminary Results of the Rapid Assessment on transboundary impacts caused by rapid water fluctuation for the Proposed Sanakham Hydropower Project (Sediment Transport and River Geomorphology) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณตะกอนพัดพามีผลต่อลักษณะธรณีสัณฐานของท้องน้ำ โดยท้องน้ำของทั้งฝั่งประเทศไทยและฝั่ง สปป.ลาว บริเวณเชียงคาน
ในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 มีความลึกมากกว่าในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีสาเหตุจากการตัดตะกอนบริเวณต้นน้ำ การดูดทราย และการเปลี่ยนแปลงด้านอุทกวิทยา

          อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่คาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของพื้นที่ตลิ่ง ได้แก่ สภาพทางธรณีสัณฐานของลำน้ำ ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นท้องและตลิ่งของลำน้ำ การลดลงของ
ปริมาณตะกอน ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพการไหลของน้ำ ความผันผวนของระดับน้ำ กิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (การดูดทราย) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตารางที่ 1 พื้นที่ของแต่ละจังหวัดจำแนกตามช่วงทางธรณีวิทยาของแม่น้ำโขงสายประธาน
จังหวัด ส่วนที่ พื้นท้อง
ของลำน้ำ
ตลิ่ง
ของลำน้ำ
ความลาดเอียงเฉลี่ย ความยาว (กม.) ความกว้าง (ม.) ความลึกของ
การไหลต่ำ (เมตร)
การเปลี่ยนแปลง
ตามฤดูกาล (เมตร)
พื้นที่ตลิ่งลดลง
(ตร.กม.)
3/
พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้น

(ตร.กม.) 3/

เชียงราย 1 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 20 ซม./กม. 53 0.57 1.15
2 1/ หิน 20 ซม./กม. 22
3 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 20 ซม./กม. 24
สปป.ลาว

(เขตประเทศไทย ถึงหลวงพระบาง)

4 1/ หิน 20 ซม./กม. 258
5 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 10-15
ซม./กม.
44
สปป.ลาว

(หลวงพระบาง ถึงเขตประเทศไทย)

6 1/ หิน 20 ซม./กม. 115
7 1/ หิน 20 ซม./กม. 31
8 1/ หิน 20 ซม./กม. 54
9 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 10-15
ซม./กม.
37
10 1/ หิน 20 ซม./กม. 26
เลย 11 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 20 ซม./กม. 19 1.69 0.39
12 1/ หิน 20 ซม./กม. 76
หนองคาย 13 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (บาง) 20 ซม./กม. 22 1.32 1.37
14 1/ หิน 20 ซม./กม. 9
15 1/ ตะกอนดิน กรวด และทราย (หนา) 10 ซม./กม. 148
บึงกาฬ 16 (2a) 2/ ตะกอนดิน กรวด และทราย ตะกอนดิน กรวด และทราย 0.0001 100 800-1,300 ~3 13 1.58 0.42
นครพนม 17

(2b) 2/

ตะกอนดิน กรวด และทราย ตะกอนดิน กรวด และทราย 0.00006 400 2,000 <5 12-14 1.35 0.24
มุกดาหาร 0.19 0.32
อำนาจเจริญ 18

(3 )2/

หิน ตะกอนดิน กรวด และทราย อยู่บนพื้นหิน 0.0002 200 400-2,000 ไม่มีค่าที่แน่นอน 20 0.001 0.38
อุบลราชธานี 0.03 3.75

 

หมายเหตุ: พื้นท้องน้ำเป็นหิน (bedrock river)
  พื้นท้องน้ำเป็นตะกอนดิน กรวด และทราย (alluvial river)
ที่มา: 1/ รายงาน Mekong Learning from Rhone : An Exchange Visit Report โดย MRC และ CNR (พ.ศ. 2561)
  2/ รายงาน Large Rivers: Geomorphology and Management (The Mekong River: Morphology, Evolution, Management) โดย Avijit Gupta (พ.ศ. 2550)
  3/  ผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สรุปภาพรวมการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่งแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย

       การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่ง มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของพื้นที่ในแต่ละจังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขงสายประธาน แต่โดยสรุปในภาพรวมการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศแล้ว เมื่อรวมขนาดของพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งทั้งหมดของ  8 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกันระหว่างปี พ.ศ. 2561-2564  ขนาดของพื้นที่ตลิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมีทั้งลดลงและเพิ่มขึ้นนั้น พบว่า มีการสูญเสียของพื้นที่ตลิ่งมากกว่าได้เพิ่มขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 โดยสูญเสียพื้นที่ตลิ่งมากที่สุด 36.58 ตารางกิโลเมตรในปี พ.ศ. 2563 ในขณะที่ได้พื้นที่ตลิ่งเพิ่มน้อยที่สุด 1.92 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2563 แต่ในปี พ.ศ. 2564 มีการได้พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าการสูญเสียพื้นที่ตลิ่ง ซึ่งได้พื้นที่ตลิ่งเพิ่มขึ้นมา 8.02 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่สูญเสียพื้นที่ตลิ่ง 6.74 ตารางกิโลเมตร แสดงดังรูปที่ 4-7 สภาพที่พบนี้ คาดการณ์สาเหตุได้หลายปัจจัย ทั้งสภาพทางธรณีสัณฐานของลำน้ำ ลักษณะทางธรณีสัณฐานของพื้นท้องและตลิ่งของลำน้ำ การลดลงของปริมาณตะกอน ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพการไหลของน้ำและความผันผวนของระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน กิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่งแม่น้ำโขงสายประธาน

รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่งแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2564