ด้านกายภาพ
คุณภาพน้ำ ปี พ.ศ.2563
การศึกษาด้านคุณภาพน้ำ
1. แนวทางการศึกษา
- 1.1. ทบทวนข้อมูลการศึกษาด้านคุณภาพน้ำ
- 1.2. สำรวจพื้นที่ศึกษา จำนวน 8 จังหวัด
- 1.3. เตรียมอุปกรณ์เก็บตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างน้ำ จำนวน 15 สถานี แสดงดังรูปที่ 1
- 1.4. วิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในห้องปฏิบัติการ
รูปที่ 1 แผนที่จุดเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดินในแม่น้ำโขงสายประธาน ในเขตประเทศไทย
2. วิธีการศึกษา
2.1. การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน
ดำเนินการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน ครั้งที่ 1 ในช่วงวันที่ 22-30 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นตัวแทนในช่วงฤดูฝนและเป็นช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานขึ้นสูงสุด ครั้งที่ 2 ในช่วงวันที่ 22-27 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นช่วงฤดูแล้งที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานเริ่มลดลงตามสภาพธรรมชาติ ครั้งที่ 3 ในช่วงวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นช่วงฤดูแล้งที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานต่ำสุด โดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจำนวนทั้งหมด 15 สถานี เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพน้ำและประเมินความสัมพันธ์กับปริมาณตะกอนสะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้พิจารณาวิเคราะห์ดัชนีในการติดตามคุณภาพน้ำ ทั้งหมด 11 ดัชนี เพื่อให้ครอบคลุมดัชนีที่ใช้ในการคำนวณค่า WQI สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ
ตารางที่ 1 ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่าง และวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน
ดัชนี | หน่วย | ภาชนะบรรจุ | วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง | ระยะเวลาเก็บรักษา | วิธีการตรวจสอบ | ขีดจำกัดต่ำสุดของการวัด |
1. อุณหภูมิ | °C | – | ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม | 0.25 ชั่วโมง | Thermometer | – |
2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) | – | – | ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม | 0.25 ชั่วโมง | Electrometric Method | – |
3. ออกซิเจนละลาย | mg/L | – | ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม | 8 ชั่วโมง | Azide Modification Method | 0.5 |
4. การนำไฟฟ้า(Electrical Conductivity) | mS/m | – | ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม | 28 วัน | Electrical Conductivity Method | – |
5. ความขุ่น(Turbidity) | NTU | P | แช่เย็น | 48 ชั่วโมง | Nephelometric Method | 0.1 |
6. สารแขวนลอย(TSS) | mg/L | P | แช่เย็น | 7 วัน | Total Suspended Solids Dried at 103-105 °C | 5.0 |
7. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) | mg/L NH3-N | P, G | เติมกรด H2SO4 จน pH< 2, แช่เย็น | 28 วัน | Distillation Nesslerization Method | 0.2 |
8. ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2- -N) | mg/L NO2- -N | P | แช่เย็น | 48 ชั่วโมง | NED Colourimetric Method | 0.02 |
9. ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3–N) | mg/L | P | แช่เย็น | 48 ชั่วโมง | Cadmium Reduction | 0.02 |
10. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P) | mg/L P | P | เติมกรด H2SO4 จน pH< 2, แช่เย็น | 28 วัน | Persulphate Digestion and Ascorbic Acid Method | 0.01 |
หมายเหตุ: P หมายถึง Plastic (Polyethylene หรือ Equivalent). G หมายถึง Glass, G(A) หมายถึง Glass rinsed with 1+1 Nitric Acid
แช่เย็น หมายถึง แช่เย็น ที่อุณหภูมิ >0 องศาเซลเซียส < 6 องศาเซลเซียส
ที่มา Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA, WEF, 23rd Edition, 2017.
2.2. การวิเคราะห์ข้อมูล
- เปรียบเทียบข้อมูลคุณภาพน้ำจากการเก็บตัวอย่างน้ำกับ มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537)
- ดำเนินการประเมินดัชนีคุณภาพน้ำ (Water Quality Index; WQI) ตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ คำนวณตามสมการ
โดย pi คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์
มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0
n คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น
M คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้นและหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตาม - ดำเนินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตามเกณฑ์ แสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำสำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำค่าคะแนน ระดับคุณภาพน้ำ 9.5 ≤ WQI ≤ 10.0 A: คุณภาพดีมาก 8.0 ≤ WQI ≤ 9.5 B: คุณภาพดี 6.5 ≤ WQI ≤ 8.0 C: คุณภาพปานกลาง 4.5 ≤ WQI ≤ 6.5 D : คุณภาพไม่ดี WQI ‹ 4.0 E: คุณภาพไม่ดีมาก ที่มา MRC Technical Paper No.60, 2016
2.3. การรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
รวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำจากสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำบนแม่น้ำโขงสายประธาน 3 สถานี (สถานีเชียงแสน นครพนม
โขงเจียม) ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ ปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา จากสำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ เพื่อประเมินแนวโน้มความแตกต่างของปริมาณสารอาหาร และความขุ่นของน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ผลการศึกษา
3.1. ผลการศึกษาในระยะเวลาศึกษาปี พ.ศ. 2563
โดยภาพรวม ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกดัชนี มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
3.2. ผลการเปรียบเทียบแนวโน้มผลการศึกษาจากครั้งที่ผ่านมา
3.2.1. คุณสมบัติทางกายภาพ
ลำดับ | สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ | จังหวัด | คุณสมบัติทางกายภาพ | |||||
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) | การนำไฟฟ้า (ไมโครซีเมนส์/ซม.) | สารแขวนลอย (มิลลิกรัม/ลิตร) | ||||||
ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | |||
1 | อ.เชียงแสน4/ | เชียงราย | 26 | 19 | 263 | 255 | 112 | 22.7 |
2 | อ.เวียงแก่น3/ | เชียงราย | 27 | 21 | 214 | 234 | 192 | 25.5 |
3 | อ.เชียงคาน3/ | เลย | 27 | 22 | 176 | 209 | 134 | 5.1 |
4 | อ.เชียงคาน24/ | เลย | 27 | 22 | 196 | 208 | 291 | 5.8 |
5 | อ.เชียงคาน34/ | เลย | 28 | 24 | 188 | 213 | 144 | 5.2 |
6 | อ.ปากชม3/ | เลย | 28 | 26 | 266 | 214 | 154 | <5.0 |
7 | อ.เมืองหนองคาย4/ | หนองคาย | 28 | 23 | 262 | 226 | 133 | 10.5 |
8 | อ.โพนพิสัย4/ | หนองคาย | 30 | 25 | 292 | 209 | 147 | 19 |
9 | อ.เมืองบึงกาฬ4/ | บึงกาฬ | 29 | 23 | 186 | 192 | 249 | 12 |
10 | อ.บุ่งคล้า3/ | บึงกาฬ | 29 | 24 | 170 | 190 | 66.7 | <5.0 |
11 | อ.เมืองนครพนม4/ | นครพนม | 29 | 25 | 216 | 185 | 169 | 5.9 |
12 | อ.ธาตุพนม3/ | นครพนม | 30 | 26 | 330 | 182 | 208 | 5.8 |
13 | อ.เมืองมุกดาหาร4/ | มุกดาหาร | 29 | 24 | 206 | 182 | 183 | 5.4 |
14 | อ.ชานุมาน3/ | อำนาจเจริญ | 30 | 26 | 238 | 186 | 179 | 12.5 |
15 | อ.โขงเจียม4/ | อุบลราชธานี | 29 | 26 | 201 | 182 | 81.6 | <5.0 |
ค่ามาตรฐาน | 1/ | ธ | – | – | ||||
2/ | – | 1,500 | – |
หมายเหตุ :
1/ มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
การประมง และการว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
2/ มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
3/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
4/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่เพิ่มเติมสถานีใหม่ ในปี พ.ศ. 2563
ธ* หมายถึง อุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
ธ หมายถึง เป็นไปตามธรรมชาติ
* มีค่าไม่อยู่ในมาตรฐานฯ
ครั้งที่ 1 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 22-30 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นตัวแทนช่วงฤดูฝน หรือช่วงน้ำขึ้นสูงสุด
ครั้งที่ 2 ช่วงการเก็บตัวอย่างนที่ 22-27 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นตัวแทนช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงน้ำเริ่มลด
ครั้งที่ 3 ช่วงการเก็บตัวอย่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นตัวแทนช่วงฤดูแล้ง หรือช่วงน้ำลงต่ำสุด
3.2.2. คุณสมบัติด้านเคมี
ลำดับ | สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ | จังหวัด | คุณสมบัติด้านเคมี | |||||||
ความเป็นกรดและด่าง | ออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร) | สารอาหารไนเตรท-ไนโตรเจน (มิลลิกรัม/ลิตร) | สารฟอสฟอรัสทั้งหมด (มิลลิกรัม/ลิตร) | |||||||
ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | ก.ย. 2563 (น้ำขึ้นสูงสุด) | ธ.ค. 2563 (น้ำเริ่มลด) | |||
1 | อ.เชียงแสน4/ | เชียงราย | 7.8 | 8.5 | 7.7 | 6.7 | <0.02 | 0.6 | 0.14 | 0.02 |
2 | อ.เวียงแก่น3/ | เชียงราย | 7.8 | 8.4 | 8.1 | 6.8 | <0.02 | 0.43 | 0.12 | 0.03 |
3 | อ.เชียงคาน3/ | เลย | 7.8 | 8.3 | 8.3 | 7.1 | 0.05 | 0.25 | 0.1 | 0.03 |
4 | อ.เชียงคาน24/ | เลย | 7.3 | 8.3 | 6.4 | 7 | 0.04 | 0.17 | 0.12 | 0.02 |
5 | อ.เชียงคาน34/ | เลย | 7.7 | 8.3 | 8.2 | 7 | <0.02 | 0.28 | 0.07 | <0.01 |
6 | อ.ปากชม3/ | เลย | 7.7 | 8.4 | 8 | 6.9 | 0.04 | 0.27 | 0.09 | <0.01 |
7 | อ.เมืองหนองคาย4/ | หนองคาย | 7.6 | 8.5 | 7.8 | 7.3 | 0.04 | 0.39 | 0.11 | <0.01 |
8 | อ.โพนพิสัย4/ | หนองคาย | 7.4 | 8.5 | 7.2 | 7.2 | 0.05 | 0.3 | 0.11 | 0.01 |
9 | อ.เมืองบึงกาฬ4/ | บึงกาฬ | 7.4 | 8.4 | 7.2 | 7.5 | <0.02 | 0.25 | 0.06 | <0.01 |
10 | อ.บุ่งคล้า3/ | บึงกาฬ | 7.5 | 8.5 | 7.5 | 7.5 | 0.05 | 0.17 | 0.08 | <0.01 |
11 | อ.เมืองนครพนม4/ | นครพนม | 7.3 | 8.3 | 6.7 | 7.1 | 0.05 | 0.21 | 0.13 | 0.02 |
12 | อ.ธาตุพนม3/ | นครพนม | 7.4 | 8.2 | 7.1 | 7.1 | 0.03 | 0.19 | 0.07 | 0.02 |
13 | อ.เมืองมุกดาหาร4/ | มุกดาหาร | 7.4 | 8.3 | 5.9 | 6.3 | <0.02 | 0.14 | 0.06 | 0.01 |
14 | อ.ชานุมาน3/ | อำนาจเจริญ | 7.2 | 8.3 | 7 | 7.1 | 0.05 | 0.15 | 0.08 | 0.01 |
15 | อ.โขงเจียม4/ | อุบลราชธานี | 7.3 | 8.4 | 6.9 | 7.4 | <0.02 | 0.15 | 0.06 | <0.01 |
ค่ามาตรฐาน | 1/ | 5-9 | >6.0 | ≤5.0 | – | |||||
2/ | 6-9 | >5 | – | ≤0.13 |
หมายเหตุ :
1/ มาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภท และสามารถเป็นประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อนการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
การประมง และการว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
2/ มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
3/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561
4/ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำที่เพิ่มเติมสถานีใหม่ ในปี พ.ศ. 2563
ธ* หมายถึง อุณหภูมิของน้ำจะต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
ธ หมายถึง เป็นไปตามธรรมชาติ
* มีค่าไม่อยู่ในมาตรฐานฯ