เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เครือข่ายความร่วมมือ ปี 2565

 

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

          การศึกษาโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ นอกจากจะมุ่งเน้นการดำเนินการศึกษาทางด้านวิชาการแล้ว สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง    ภาคประชาชนและภาครัฐในการติดตามตรวจสอบฯ โดยยังคงเน้นการให้ความรู้ข้อมูลจากการศึกษาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความเห็น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบโจทย์คำถาม    การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การติดตามและเฝ้าระวัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่มีพื้นฐานจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการจึงได้ดำเนินการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลุ่มน้ำโขง      ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน มีรายการดังนี้

1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งที่ 1 (ช่วงเริ่มงาน)

       การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ช่วงเริ่มงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน  ที่ผ่านมา พร้อมนำเสนอแผนงานการศึกษาโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทน องค์กรลุ่มน้ำ กลุ่มองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้

                  1) รายละเอียดการจัดเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1

                  โครงการฯ ได้กำหนดจัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ช่วงเริ่มงาน เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันอังคาร ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. แบบการประชุม  วีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) มีรายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลได้แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่

                          – การรายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนฯ ปีที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2564) ประกอบด้วยข้อมูล ฐานข้อมูลจากการศึกษาของกรมทรัพยากรน้ำเพื่อประชาชน และรายละเอียดผลการศึกษาที่สำคัญและเป็นประโยชน์ ต่อประชาชน

                          – แผนงานการดำเนินงาน โครงการฯ ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564 ประกอบด้วยข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติม

                          – นำเสนอแนวทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย กิจกรรมการเก็บข้อมูลด้านประมง การศึกษาการให้บริการระบบนิเวศ การสำรวจตลิ่งริมฝั่ง และแนวทางการวิจัยชุมชนในพื้นที่เสี่ยง

                          – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับและนำเสนอแนวทางการทำงานระหว่างคณะที่ปรึกษาและภาคประชาสังคมในพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ รายละเอียดและสรุปการประชุม     แสดงดังภาพ 

รูปที่ 1 ภาพบรรยากาศการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาฯ ครั้งที่ 1

 

                  2) สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาครั้งที่ 1

                       ผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 74 ราย โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับด้านวิชาการ จำนวน 11 ราย หน่วยงานราชการจังหวัด จำนวน 9 ราย คณะที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุม จำนวน 11 ราย เครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าร่วมประชุม จำนวน 43 ราย รายละเอียดดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาครั้งที่ 1

ลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน (ราย)

1

ผู้ดำเนินการจัดทำโครงการ
– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับด้านวิชาการ

11

– คณะกรรมการดำเนินงาน

11

2

หน่วยงานราชการจังหวัด

9

3

เครือข่ายภาคประชาสังคม
– จังหวัดเชียงราย

6

– จังหวัดเลย

5

– จังหวัดหนองคาย

5

– จังหวัดบึงกาฬ

5

– จังหวัดนครพนม

5

– จังหวัดมุกดาหาร

6

– จังหวัดอำนาจเจริญ

6

– จังหวัดอุบลราชธานี

5

รวม

74

 

                  3) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

                            ภายหลังจากการนำเสนอขอบเขตการศึกษาของโครงการฯ แผนการดำเนินงาน และประเด็นการศึกษาที่เพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีประเด็นสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งหมด 4 ประเด็น แสดงดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ ผลการศึกษาฯ ครั้งที่ 1

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น

การชี้แจงอธิบาย

          ข้อกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะฝั่งประเทศไทย เนื่องจากรายละเอียดการศึกษาโครงการนี้เกิดขึ้นและมีเจตนารมณ์ในการทำความเข้าใจและสร้างแนวนโยบาย ตลอดจนเตรียมการรับมือ-การปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นการดำเนินงานเฉพาะภายในราชอาณาจักร ขณะที่ในความเป็นจริงแล้วน่านน้ำโขงเป็นพรมแดนที่ตั้งอยู่ทั้งในอาณาเขตของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หากมาตรการ
ต่าง ๆ เกิดขึ้นเฉพาะฝั่งของประเทศไทย อาจไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และสิ่งที่พึงประสงค์ตามเจตนารมณ์ก็เป็นได้
          ผลของการศึกษาของโครงการนี้จะนำไปสู่การสร้างกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นการหารือร่วมกันระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง ผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ไปยังการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำโขง แม้ว่า ณ วันนี้ ผลการศึกษายังไม่ปรากฏข้อสิ้นสุดของ ผลการศึกษา แต่ทว่าข้อสังเกตต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถนำไปสู่การสร้างแนวนโยบายในการร่วมมือกันในการจัดการตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นและนำไปสู่ฉันทามติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงต่อไป
          ข้อเสนอด้านการศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (ปัจจุบันเทียบกับในอดีต) มีการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) อย่างไร สำหรับการลดลงถือเป็นการเกิดความสูญเสียเท่าใด          ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ ทางคณะผู้ดำเนินงานโครงการได้เพิ่มเติมการสำรวจ/เก็บข้อมูล ในด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนิเวศทางน้ำ ปัจจุบันมี กลุ่มประมงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใน 8 จังหวัด เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประมง และประเมินว่าผลกระทบที่ทำให้อาชีพประมงที่ลดลง ได้รับผลกระทบมาจากเหตุผลใด เพื่อให้ได้ข้อมูลประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำ (Catch Per Unit Effort) จากวิธีการทำประมงพื้นบ้าน และจากเครื่องมือทำการประมงที่หลากหลาย ตามท้องถิ่น ให้ครอบคลุมทั้ง 2 ช่วงตามระดับการขึ้น-ลง ของน้ำ ทั้งช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและช่วงน้ำแล้ง ตามแหล่งประมงที่มีความสำคัญ และทำการเก็บข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย ช่วงละ 1 เดือน
          ข้อเสนอแนะด้านความร่วมมือ-ความช่วยเหลือ ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากภาคประชาชนมีความเห็นว่ามีความต้องการที่จะร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดเป็นกลไกภาคประชาชนก็จะมีความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งภาคประชาชนยังสามารถเตรียมตัวต่อผลดีที่จะเกิดขึ้น เป็นการส่งเสริมด้านอาชีพ ชดเชยรายได้ เป็นต้น (การมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาของภาคประชาชน)          ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้ ทางคณะผู้ดำเนินงานโครงการ และนักวิชาการทุกท่าน มีความประสงค์ที่จะดำเนินการและศึกษาข้อมูลร่วมกับภาคประชาชน และศึกษาข้อมูลจากภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องการความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ และการประสานงานเพื่อลงพื้นที่ในการสำรวจ/เก็บข้อมูล อย่างไรก็ตาม ในการลงพื้นที่สำรวจ/เก็บข้อมูล จะมีนักวิชาการที่มีความรู้และเชี่ยวชาญลงพื้นที่ไปด้วยเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
          ข้อเสนอด้านการขยายเครือข่ายภาคประชาชนและการเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น          โครงการนี้ มีเจตนารมณ์ในการขยายการรับรู้ไปสู่ผู้ที่มี ส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา มีโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัด ลุ่มน้ำโขงซึ่งเป็นโครงการที่เผยแพร่-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ส่วนได้ส่วนเสียและประชาคมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงแล้วทำให้เกิดการขยายวงผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การสร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละท้องถิ่น การจัดกิจกรรมสาธิต การถอดชุดองค์ความรู้ภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้โครงการดังกล่าว  ยังดำเนินการต่อไปควบคู่ไปกับโครงการศึกษาผลกระทบของโครงการนี้

2. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)

         รายงานผลการศึกษาของโครงการ รวมถึงผลที่ได้รับของกิจกรรมนำร่องในระดับพื้นที่ของเครือข่ายประชาชน โดยมีกลุ่มป้าหมาย คือ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐระดับต่าง ๆ เครือข่ายภาคประชาสังคม และประชาชน จำนวน 1 ครั้ง จากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา จำนวน 5 คน จากตัวแทนจังหวัดละ    5 คน รวมเป็น 40 คน ที่ปรึกษาโครงการหรือคณะทำงาน 5 คน โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน) จะดำเนินงานอยู่ในช่วง 300-345 วัน

          1) แผนการมีส่วนร่วม

                    พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยมีขอบเขตการศึกษากลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมที่อาศัย           ในชุมชนริมแม่น้ำโขงที่มีพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงกับลำน้ำโขงหรือลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่มีพื้นที่ที่มีความเสี่ยง ความเปราะบาง ต่อการได้รับผลกระทบรวม 8 จังหวัด

                    1.1) วัตถุประสงค์ เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ

                    1.2) วิธีการดำเนินการ จัดประชุมนำเสนอผลการศึกษา 1 เวที

                    1.3) กลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐระดับต่าง ๆ ที่ปรึกษาโครงการหรือคณะทำงาน หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัด ริมน้ำโขง ประมาณ 40 คน

                    1.4) สถานที่ดำเนินการ รูปแบบระบบวิดิทัศน์ทางไกล

                    1.5) ระยะดำเนินการ อยู่ในช่วง 300-345 วัน

                    1.6) สื่อที่ใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย เอกสารสรุปข้อมูลโครงการ Power Point ประกอบการบรรยาย เป็นต้น

                    1.7) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ก่อให้เกิดการสรุปบทเรียนในโครงการ แนวทางการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและการขยายผลทางข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

          2) รายละเอียดการจัดเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2

                    โครงการฯ ได้กำหนดจัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ช่วงสรุปผลการดำเนินงานเพื่อรายงานผลการศึกษาของโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. แบบการประชุม วีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) รายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินการดังนี้

                    – ผลการศึกษาทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคม

                    – ผลการวิเคราะห์ สรุปพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

                    – สรุปการกำหนดมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และการปรับตัว

                    – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ ข้อเสนอของผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นี้จะดำเนินการให้เกิดการสร้างข้อเสนอแนะการศึกษาและการสร้างแนวนโยบายทั้งในภาพรวมลุ่มน้ำโขงของประเทศไทยและในรายกลุ่มพื้นที่หรือจังหวัดที่มีลักษณะหรือสภาพการณ์ที่สอดคล้องกัน เนื่องจากว่า ในการศึกษาในปีงบประมาณที่ผ่าน ๆ มา ที่ปรึกษาสังเกตเห็นว่า แต่ละกลุ่มพื้นที่หรือจังหวัดมีลักษณะ บทบาท และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แตกต่างกัน ดังนั้น ในการกำหนดแนวนโยบายและมาตรการในปีงบประมาณนี้ จึงต้องการเสนอแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มพื้นที่และพื้นที่สำคัญลงไปทั้งในเชิงภาพรวมและรายละเอียดแต่ละบริบทของพื้นที่นั้น ๆ อีกด้วย

                    กลุ่มเป้าหมายในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลุ่มน้ำโขง ทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย แกนนำและเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมจากโครงการสร้างความเข็มแข็งกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้เป็นส่วนสำคัญ และผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี และครอบคลุมพื้นที่ 15 กิโลเมตร จากริมฝั่งแม่น้ำโขง

          3) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

          ภายหลังจากการนำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีประเด็นสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้

ตารางที่ 3 ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่ 2         

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย

-ควรเพิ่มงบประมาณให้กับกรมประมงเพื่อเป็นการส่งเสริม     ในเรื่องของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

-ควรมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยแม่น้ำโขง และควรมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูผลกระทบหลังจากที่โครงการนี้ดำเนินการเสร็จสิ้น

-เสนอแนะว่าทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติควรประสานงานจัดตั้งสถานีสูบน้ำร่วมกับกรมชลประทานเพื่อการเกษตรริมฝั่ง

-ควรมีการจัดตั้งกองทุนเกี่ยวกับแม่น้ำโขงเพื่อความมั่นคงของแม่น้ำโขง และในเรื่องของคุณภาพน้ำ ชี้แจงว่าอาจเกิดจากขยะของมนุษย์มากกว่าผลกระทบจากเขื่อน

– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จะนำข้อเสนอไปพิจารณาประกอบการดำเนินโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน และโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงต่อไป และ/หรือประสานงานตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติอยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับ การจัดตั้งกองทุนแม่น้ำโขง เพื่อให้กองทุนเป็นไปตาม วัตถุประสงค์ ความจำเป็น และความต้องการของประเทศ

– โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบ สิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในน้ำโขงสายประธาน มีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 15 ปี แบ่งเป็น       3 ระยะ คือ พ.ศ. 2557-2561, พ.ศ. 2562- 2566 และ พ.ศ. 2567-2571 ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว ซึ่งระยะที่ 3 นอกจากจะเป็นการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานแล้ว ยังประกอบด้วยกิจกรรมศึกษาและส่งเสริมประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวและติดตามเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

-ที่ปรึกษาควรมีการสรุปผลการศึกษาและอภิปรายให้มีความชัดเจนว่ามีการเกิดผลกระทบอย่างไร และประเด็นใดบ้าง

-ณ ขณะนี้ ที่ปรึกษาอาจจะยังมีการศึกษาที่ไม่ตรงตามเป้าหมายหรือสาเหตุ ควรมุ่งเน้นที่สาเหตุเพื่อให้มีการจัดทำแผน

-ควรมีการจัดการประชุมเฉพาะเครือข่ายฯ เพื่อการออกแบบแผนและนโยบายในการจัดการแก้ไขผลกระทบต่อไป

ที่ปรึกษาได้สรุปไว้อย่างชัดเจนในรายงานและการนำเสนออย่างครบถ้วนแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรมีการพิจารณาศึกษาในประเด็นที่สำคัญและจำเป็นในแต่ละปี ให้สอดคล้องกับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าและ  มีประสิทธิภาพ

-ที่ปรึกษายังขาดความชัดเจนในเรื่องของผลกระทบ ขอให้ที่ปรึกษาศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

-ขอให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำบ่อบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงสู่แม่น้ำโขง

-ควรมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยแม่น้ำโขงหรือธนาคารปลาในพื้นที่ทุกๆ อำเภอที่ติดกับแม่น้ำโขงของประเทศไทย

-ถ้าหากมีการส่งเสริมอาชีพ ควรมีการส่งเสริมในเรื่องของการตลาดเพิ่มเติม

การศึกษาผลกระทบฯ จะต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละปีจนถึงปี พ.ศ. 2571

-ข้อมูลทางด้านประมงประชาชนในพื้นที่จะนำไปใช้ได้อย่างไร ขอให้ที่ปรึกษาศึกษาเพิ่มเติมว่าปลาแม่น้ำโขงชนิดใดที่จะสามารถเลี้ยงในบ่อดินได้

-ที่ปรึกษาควรมีการศึกษาเรื่องวิจัยชุมชนด้านการเปลี่ยนแปลงของบริบทชุมชน รายได้ รวมถึงวิถีชีวิต

-มีศึกษาไว้แล้วบางส่วน สามารถนำข้อมูลในรายงานประกอบการศึกษาทดลองในทางปฏิบัติร่วมกับกรมประมงในพื้นที่ได้เลย

 

-ขอให้ทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประสานงานร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยช่วยจัดทำแผนการซ้อมเตือนภัยเกี่ยวกับการแจ้งเตือนแม่น้ำโขง เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของการเตือนภัย

-ในเรื่องของการฟื้นฟูระบบนิเวศยังขาดการบริหารและจัดการที่ดี ขาดกิจกรรมนำร่องในเรื่องต่างๆ ควรทำความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานราชการ

-ควรสนับสนุนการเพิ่มทางเลือกการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่เพียงแค่ปลาแม่น้ำโขง เช่น กุ้ง

-ควรมีการศึกษาในเรื่องของสภาพภูมิอากาศเพิ่มเติมในรายงาน

-เสนอแนะว่ากิจกรรมอนุรักษ์วังปลาและการเพาะพันธุ์ปลาควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และควรมีกิจกรรมร่วมของเครือข่าย เช่น กิจกรรมทางอาชีพ

-ควรมีการส่งเสริมการเพาะพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขง ที่เป็นปลาจากแม่น้ำโขงจริงๆ และมีราคาสูง ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่

-ที่ปรึกษาควรมีการเสนอแนะว่าพื้นที่ใดมีคุณภาพน้ำแบบใดควรจะมีการเลี้ยงปลาชนิดใด

 

รูปที่ 2 ภาพบรรยากาศการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาฯ ครั้งที่ 2

Scroll to Top