เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เครือข่ายความร่วมมือ ปี 2562
การศึกษาข้อมูลโครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อสนับสนุนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน
โครงการฯ ได้จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและประชาสังคมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 8 จังหวัด ซึ่งแม่น้ำโขงไหลผ่าน ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี มุ่งเน้นให้ภาคประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนเพื่อให้ได้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่น โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำให้เกิดความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมในการสนับสนุนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เพื่อการพัฒนาแหล่งพลังงานควบคู่ไปกับการรักษาสมดุลนิเวศวิทยา
1. การจัดตั้งคณะทำงานภาคประชาสังคม
จัดตั้งคณะทำงานภาคประชาสังคมระดับจังหวัด โครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสนับสนุนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน และมีการแต่งตั้งคณะทำงานหรือผู้ประสานงานภาคประชาสังคมของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาหลักเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ศึกษา ให้คำปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมของโครงการ ประสานงานให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุนการศึกษาของโครงการ และพัฒนากลไกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง
2. การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ระดับจังหวัด
การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ระดับจังหวัด เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 8 จังหวัด เพื่อติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขง โดยการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ระดับจังหวัด
3. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ดำเนินการโดยทบทวนเอกสารแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สิงหาคม 2549) รวมทั้งเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้มีเกี่ยวข้องประกอบด้วย
1) กลุ่มที่ 1 เครือข่ายภาคประชาสังคมที่อาศัยอยู่ในชุมชนติดริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด
2) กลุ่มที่ 2 ชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในแม่น้ำโขง 8 จังหวัด
3) กลุ่มที่ 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) กลุ่มที่ 4 หน่วยงานราชการในระดับต่าง ๆ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น)
5) กลุ่มที่ 5 สถาบันการศึกษา ผู้นำทางศาสนา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ปราชญ์ชุมชน และผู้นำทางศาสนา เป็นต้น
6) กลุ่มที่ 6 สื่อมวลชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสารโครงการ
โครงการสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม เพื่อสนับสนุนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน โดยทำการคัดเลือกและจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 8 จังหวัด ริมแม่น้ำโขง จังหวัดละ 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 คน (ตารางที่ 1) ดังนี้
1. คณะทำงานภาคประชาสังคม
จัดตั้งคณะทำงานภาคประชาสังคมระดับจังหวัดหรือผู้ประสานงานภาคประชาสังคมของแต่ละจังหวัด โดยมีบทบาททำหน้าที่ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การพิจารณาพื้นที่ศึกษา ให้คำปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมของโครงการ ประสานงานให้เกิดความร่วมมือในการสนับสนุนการศึกษาของโครงการ และพัฒนากลไกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ประธานเครือข่ายแต่ละจังหวัด จำนวน 1 คน
2. เครือข่ายภาคประชาสังคมระดับพื้นที่
เครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงระดับจังหวัด เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 8 จังหวัด เพื่อติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงมาจากการจัดตั้ง เครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ระดับจังหวัด จำนวน 9 คน
ตารางที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง
จังหวัด | องค์ประกอบของกลุ่มเป้าหมาย | จำนวน (คน) | |
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุม | ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย | ||
เชียงราย | 1) กรรมการเครือข่าย ทสม. เชียงราย 2) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 | 10 |
เลย | 1) กรรมการเครือข่าย ทสม. 2) คณะทำงานลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขง 3) ประธานเครือข่ายจังหวัดเลย 4) ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มการค้าชุมชน 5) ผู้นำชุมชน 6) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 3 | 10 |
บึงกาฬ | 1) ประธานเครือข่ายจังหวัดบึงกาฬ 2) ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬ 3) ปราชญ์ชาวบ้าน 4) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 | 10 |
หนองคาย | 1) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสม.) 2) ประธานเครือข่ายจังหวัดหนองคาย 3) เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด 4) หอการค้าจังหวัดหนองคาย 5) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย (ทสจ.) 6) สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน 7) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 | 10 |
นครพนม | 1) เครือข่ายจังหวัดนครพนม 2) ตัวแทนชาวบ้านลุ่มน้ำสงคราม 3) ผู้นำชุมชน 4) สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครพนม 5) สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน 6) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 | 10 |
มุกดาหาร | 1) ประธานเครือข่ายจังหวัดมุกดาหาร 2) ประมงจังหวัดมุกดาหาร 3) ประธานสภาองค์กรชุมชน 4) ผู้นำชุมชน | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 4 | 10 |
อำนาจเจริญ | 1) ประธานเครือข่ายจังหวัดอำนาจเจริญ 2) เครือข่ายจังหวัดอำนาจเจริญ 3) ประมงจังหวัด | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 | 10 |
อุบลราชธานี | 1) ประธานเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานี 2) เครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานี 3) ประมงจังหวัด 4) ผู้นำชุมชน | กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 | 10 |