ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การบริการของระบบนิเวศ ปี 2565
1. แนวทางและวิธีการศึกษา
การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถาม ที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย
การสำรวจครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้
ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม และบริการระบบนิเวศ การสำรวจครัวเรือน และข้อมูลจาก จปฐ. TPMAP และกชช. 2ค ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ด้านวิถีชีวิต การพึ่งพิงทรัพยากรจากแม่น้ำโขง อาชีพ การปรับตัวและข้อเสนอแนะ และบริการระบบนิเวศ เพื่อนำมาจัดทำตัวชี้วัดที่สำคัญ (ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019) แสดงดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ตัวบ่งชี้แสดงผลกระทบโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
หมวด | ดัชนี | ตัวชี้วัด | แหล่งที่มา |
ด้านสังคม | 1. ความมั่งคงด้านอาหาร | รายได้ | แบบสอบถาม |
ครัวเรือนที่ทำนา | กชช.2ค | ||
2. ความมั่งคงด้านน้ำ | ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาตลอดปี | กชช.2ค | |
การใช้น้ำเพื่อการเกษตร | กชช.2ค | ||
3. การเข้าถึงไฟฟ้า | ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ | กชช.2ค | |
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน | กชช.2ค | ||
4. ความมั่งคงทางเศรษฐกิจ | รายได้หลักโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน | แบบสอบถาม | |
รายได้รองโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือน | แบบสอบถาม | ||
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน | แบบสอบถาม | ||
ครัวเรือนท่านมีหนี้สินในระดับใด | แบบสอบถาม | ||
ครัวเรือนท่านมีการออมในระดับใด | แบบสอบถาม | ||
ด้านเศรษฐกิจ | 1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตร | พื้นที่ทำเกษตรกรรม | แบบสอบถาม |
รายได้จากการเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยต่อปี | แบบสอบถาม | ||
ปริมาณผลผลิต | แบบสอบถาม | ||
การเจริญเติบโตของพืช | แบบสอบถาม | ||
จำนวนเกษตรกร | แบบสอบถาม | ||
ขนาดพื้นที่การเกษตร | แบบสอบถาม | ||
การใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช | แบบสอบถาม | ||
การใช้ปุ๋ยชีวภาพ | แบบสอบถาม | ||
2. มูลค่าทางเศรษฐกิจการประมง | จำนวนปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปี | แบบสอบถาม | |
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยต่อปี | แบบสอบถาม | ||
จำนวนสัตว์น้ำ | แบบสอบถาม | ||
จำนวนชาวประมง | แบบสอบถาม | ||
3. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | จำนวนปลา/สัตว์น้ำ ต่อปี | แบบสอบถาม | |
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อปี | แบบสอบถาม | ||
จำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยง | แบบสอบถาม | ||
จำนวนผู้่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | แบบสอบถาม | ||
ด้านสิ่งแวดล้อม | 1. คุณภาพดิน | มีปัญหาคุณภาพดิน | กชช.2ค |
2. คุณภาพน้ำ | มีปัญหาคุณภาพน้ำ | กชช.2ค | |
3. คุณภาพอากาศ | มีปัญหาคุณภาพอากาศ | กชช.2ค | |
4. ภัยพิบัติ | มีปัญหาน้ำท่วม/ดินถล่ม/พายุ | กชช.2ค | |
มีปัญหาไฟป่า/หมอกควัน/ควันพิษ | กชช.2ค | ||
มีปัญหาภัยแล้ง | กชช.2ค |
ที่มา : ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019)
2. พื้นที่ศึกษา
การศึกษาครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขงและจุดบรรจบของลำน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
3. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างรูปแบบเดียวกันกับโครงการศึกษาผลกระทบฯ ปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำมาเปรียบเทียบและเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มตัวอย่าง
พื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2565 มีประชากรเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 จำนวน 1,294,317 คน จำนวนบ้าน 418,144 หลังคาเรือน (สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2565) รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 7-2
การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่ และอยู่อาศัยกระจัดกระจาย
จำนวนครัวเรือนที่ต้องการศึกษามีทั้งหมด 418,144 ครัวเรือน กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ .05 โดยการคำนึงถึงความพร้อมด้านเวลา แรงงาน และงบประมาณที่ทำวิจัย เมื่อแทนค่าในสูตรสำหรับกรณีที่ครัวเรือนมีจำนวนแน่นอน จะได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
N = 418,144
e = .05
แทนค่าสูตร
n = N / (1 + Ne2)
= 418,144/ (1 + 418,144 (0.05)2)
= 399.62
ฉะนั้น จะใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 ครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด คำนึงถึงตัวแปรต้น คือ จังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดและเป็นตัวแทนในภาพรวมของทั้ง 8 จังหวัดได้ ดังนั้น จึงใช้เกณฑ์จำนวนครัวเรือนในแต่ละจังหวัดที่กระจายในแต่ละอำเภอเป็นตัวระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัด มีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 30 ชุด จะถูกปรับขึ้นให้เป็น 30 ตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ รายละเอียดการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง | |||||
ลำดับ | จังหวัด | อำเภอ | จำนวนประชากร | จำนวนบ้าน (หลังคาเรือน) | จำนวนกลุ่มตัวอย่างครัวเรือน |
1 | เชียงราย | อ.เชียงแสน | 49,181 | 21,673 | 20 |
อ.เชียงของ | 25,184 | 10,607 | 10 | ||
อ.เวียงแก่น | 37,281 | 13,418 | 12 | ||
รวม | 111,646 | 45,698 | 42 | ||
2 | เลย | อ.เชียงคาน | 38,195 | 14,168 | 18 |
อ.ปากชม | 33,643 | 11,343 | 12 | ||
รวม | 71,838 | 25,511 | 30 | ||
3 | หนองคาย | อ.ท่าบ่อ | 61,250 | 18,735 | 17 |
อ.เมือง | 75,000 | 24,580 | 23 | ||
อ.รัตนวาปี | 38,057 | 13,118 | 12 | ||
อ.โพนพิสัย | 95,641 | 31,934 | 30 | ||
อ.ศรีเชียงใหม่ | 23,478 | 7,449 | 7 | ||
อ.สังคม | 22,318 | 7,274 | 6 | ||
รวม | 315,744 | 103,090 | 95 | ||
4 | บึงกาฬ | อ.บึงโขงหลง | 27,943 | 8,992 | 8 |
อ.บุ่งคล้า | 14,054 | 4,265 | 4 | ||
อ.ปากคาด | 28,209 | 9,691 | 9 | ||
อ.เมือง | 58,664 | 18,867 | 18 | ||
รวม | 128,870 | 41,815 | 39 | ||
5 | นครพนม | อ.บ้านแพง | 26,588 | 8,193 | 7 |
อ.ท่าอุเทน | 54,770 | 15,925 | 15 | ||
อ.เมือง | 117,946 | 36,560 | 34 | ||
อ.ธาตุพนม | 72,008 | 22,165 | 21 | ||
รวม | 271,312 | 82,843 | 77 | ||
6 | มุกดาหาร | อ.หว้านใหญ่ | 19,845 | 6,354 | 6 |
อ.เมือง | 80,009 | 27,054 | 25 | ||
อ.ดอนตาล | 38,880 | 11,726 | 11 | ||
รวม | 138,734 | 45,134 | 42 | ||
7 | อำนาจเจริญ | อ.ชานุมาน | 38,772 | 11,726 | 30 |
รวม | 38,772 | 11,726 | 30 | ||
8 | อุบลราชธานี | อ.เขมราฐ | 31,724 | 9,139 | 8 |
อ.นาตาล | 38,415 | 11,428 | 10 | ||
อ.โพธิ์ไทร | 44,524 | 12,033 | 11 | ||
อ.ศรีเมืองใหม่ | 66,903 | 19,482 | 18 | ||
อ.โขงเจียม | 35,835 | 10,245 | 9 | ||
รวม | 217,401 | 62,327 | 56 | ||
รวมทั้งหมด | 1,294,317 | 418,144 | 411 |
การประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการระบบนิเวศของพื้นที่ จะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1) ด้านการผลิตอาหารหรือเป็นแหล่งอาหาร (Provisioning)
2) ด้านวัฒนธรรม (Cultural)
3) ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating) และ
4) ด้านการสนับสนุน (Supporting)
โดยหัวข้อที่จะประเมินเบื้องต้นในแต่ละด้าน ดังตารางที่ 3 (อ้างอิงจากรายงาน โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561)
การประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขงประกอบด้วยประเด็นการสอบถามดังต่อไปนี้
- ด้านการผลิตอาหารหรือเป็นแหล่งอาหาร (Provisioning)
1.1 แหล่งอาหาร
1.2 แหล่งน้ำใช้
1.3 อาหารจากสัตว์น้ำ
1.4 อาหารจากพืชที่เพาะปลูกขึ้น
1.5 พืชที่ขึ้นเองในธรรมชาติ
- ด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต (Cultural and Livelihood)
2.1 พื้นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
2.2 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
2.3 การจัดงานเทศกาล / ประเพณี
2.4 รีสอร์ท/โฮมสเตย์
- ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating)
3.1 การควบคุมของเสียและสารพิษในพื้นที่
3.2 การกัดเซาะและการสะสมตะกอน
3.3 ความแห้งแล้ง
3.4 น้ำท่วม
- ด้านการสนับสนุน (Supporting)
4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
4.2 การรักษาระบบนิเวศ
4. ผลการศึกษา
ข้อมูลความคิดเห็นผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) การให้บริการระบบนิเวศด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) การให้บริการระบบนิเวศด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) การให้บริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุน (Supporting) อยู่ในระดับมากทั้งหมด ดังรายละเอียดข้อมูลความคิดเห็นผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ดังนี้
ตารางที่ 3 ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง
ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง | ค่าเฉลี่ย | S.D. | ระดับความคิดเห็น |
1. การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) 1) แหล่งน้ำใช้ 2) อาหารจากสัตว์น้ำ 3) อาหารจากพืชที่เพาะปลูกขึ้น 4) อาหารจากพืชที่ขึ้นเองในธรรมชาติ | 4.07 4.15 4.15 4.03 3.94 | 0.68 0.79 0.74 0.81 0.97 | มาก มาก มาก มาก มาก |
2. การให้บริการระบบนิเวศด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) 1) พื้นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 2) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 3) การจัดงานเทศกาล / ประเพณี 4) รีสอร์ท/โฮมสเตย์/ที่พักต่าง ๆ 5) คุณค่าทางจิตใจและความเชื่อ 6) การศึกษาวิจัย/เรียนรู้ในพื้นที่ | 4.04 4.23 4.18 4.19 3.72 4.07 3.86 | 0.66 0.78 0.82 0.72 0.92 0.84 0.81 | มาก มาก มาก มาก มาก มาก มาก |
3. การให้บริการระบบนิเวศด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) 1) การควบคุมของเสียและสารพิษในพื้นที่ 2) การกัดเซาะและการสะสมตะกอน 3) ความแห้งแล้ง 4) น้ำท่วม | 3.82 4.00 3.87 3.85 3.56 | 0.73 0.87 0.80 0.84 1.02 | มาก มาก มาก มาก มาก |
4. การให้บริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุน (Supporting) 1) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน 2) การทำให้เกิดวัฎจักรของอาหาร 3) การเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์วัยอ่อน | 4.02 4.20 4.21 4.19 | 0.61 0.85 0.83 0.88 | มาก มาก มาก มาก |