ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การบริการของระบบนิเวศ ปี 2562
บริการของระบบนิเวศ (Ecosystem service) คือ แนวคิดในการผสมผสานระหว่างประโยชน์ที่มนุษย์ได้รับจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศ และทำให้มนุษย์มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากรายงาน IUCN (2008) สรุปได้ว่าบริการของระบบนิเวศสามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ด้านการเป็นแหล่งผลิต (Provisioning) ด้านการควบคุม (Regulation) ด้านวัฒนธรรม (Cultural)และด้านการสนับสนุน (Supporting)
1. พื้นที่ศึกษา
พื้นที่ศึกษาที่เป็นตัวแทนการให้บริการระบบนิเวศด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้านดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษาเดิมที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง
2. ขั้นตอนการศึกษา
พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ศึกษาการบริการระบบนิเวศเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ศึกษาต้นแบบด้านการบริการระบบนิเวศ ก่อนที่จะขยายไปยังพื้นที่ที่มีความสำคัญอื่นๆ ต่อไปในอนาคต และพัฒนาเครื่องมือการศึกษาการให้บริการระบบนิเวศให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ดังนี้
- พื้นที่ซึ่งอยู่ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ใกล้กับการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน และคาดว่าเป็นพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงจากผลกระทบข้ามพรมแดน
- พื้นที่ซึ่งมีประชาชน ชุมชนหนาแน่นและพื่งพาการใช้ประโยชน์จากการให้บริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขงโดยตรงและมีนัยสำคัญ
- พื้นที่ที่มีความสำคัญด้านการบริการของระบบนิเวศที่ซ้ำกันหลายๆ ด้าน และเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับเขื่อนไซยะบุรีมากที่สุดก่อน
รูปที่ 1 แนวทางการศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศในปี พ.ศ. 2562
3. ผลการศึกษา
ตารางที่ 1 ผลการประเมินพื้นที่ศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศในปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ศึกษา | ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) | ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) | ด้านการสนับสนุน (Supporting) | ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) | พื้นที่ท้ายน้ำและอยู่ใกล้เขื่อนไซยะบุรี | |
พื้นที่ประมง | พื้นที่เกษตร | ท่องเที่ยวและวัฒนธรรม | แหล่งวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน | ระบบนิเวศที่สำคัญ | ||
อ.เชียงแสน จ.เชียงราย | – | – | – | ✓ | ✓ | – |
อ.เชียงของ จ.เชียงราย | – | – | – | ✓ | – | – |
อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย | – | – | – | – | ✓ | ✓ |
อ.เชียงคาน จ.เลย | ✓ | – | ✓ | – | ✓ | ✓ |
อ.ปากชม จ.เลย | – | – | – | – | ✓ | ✓ |
อ.สังคม จ.หนองคาย | ✓ | – | – | ✓ | – | – |
อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย | – | ✓ | – | – | – | – |
อ.อำเภอศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย | ✓ | – | – | – | ✓ | – |
อ.เมือง จ.หนองคาย | – | – | ✓ | – | – | – |
อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ | – | ✓ | – | – | ✓ | – |
อ.บ้านแพง จ.นครพนม | – | – | – | ✓ | – | – |
อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม | – | ✓ | – | – | – | – |
อ.ธาตุพนม จ.นครพนม | – | – | ✓ | ✓ | ✓ | – |
อ.เมือง จ.นครพนม | ✓ | ✓ | – | – | – | – |
อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร | – | – | – | ✓ | – | – |
อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี | – | – | – | ✓ | – | – |
อ.โพธิ์ไทรจ.อุบลราชธานี | ✓ | – | – | – | – | – |
อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี | ✓ | – | – | – | ✓ | – |
สรุปตัวแทนพื้นที่ศึกษาด้านการบริการระบบนิเวศ โดยทำการสำรวจด้านบริการระบบนิเวศในทุกๆ ด้านใน 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) อ.เชียงคาน จ.เลย 2) อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม และ 3) อ.สังคม จ.หนองคาย ทั้งนี้ ได้กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละพื้นที่ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 กลุ่มตัวอย่างการสัมภาษณ์ข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศ (Ecosystem Service) ปี พ.ศ. 2562
ลำดับ | พื้นที่ตัวแทน | จำนวนตัวอย่าง (n) | ||||
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล(จำนวน) | หมู่บ้าน(จำนวน) | การสุ่มตัวอย่าง(จำนวน) | การสัมภาษณ์เชิงลึก (จำนวน) | |
1 | เลย | เชียงคาน | 3 | 14 | 134 | 16 |
2 | หนองคาย | สังคม | 4 | 12 | 133 | 14 |
3 | นครพนม | ท่าอุเทน | 7 | 40 | 133 | 18 |
รวม | 3 | 3 | 14 | 66 | 400 | 48 |
หมายเหตุ : จำนวนตัวอย่างอาจเปลี่ยนแปลงตามกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาที่คัดเลือก
ประธานเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวัง การเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงจังหวัดเลย | เกษตรอำเภอเชียงคาน |
ผู้นำหมู่บ้าน | ผู้นำหมู่บ้าน |
การสัมภาษณ์เชิงลึก | |
การสัมภาษณ์ข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มครัวเรือน |
รูปที่ 2 บรรยากาศการสำรวจข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศในพื้นที่จังหวัดเลย
3.1. การวิเคราะห์เชิงพื้นที่
สมมุติฐานจากการประเมินเบื้องต้นที่กำหนดให้อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นพื้นที่ตัวแทนความเสี่ยงด้านการสนับสนุน (Supporting) มีความคลาดเคลื่อน เพราะเนื่องจากผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่าค่าร้อยละความสำคัญระดับสูงของการบริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุนต่ำกว่าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม แต่ก็ต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย และหากพิจารณาร้อยละความสำคัญระดับสูงร่วมกับระดับกลาง (12.8% + 78.9%) ของอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ก็จะพบว่ามีค่าสูงกว่าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม จึงนับว่าผลการศึกษามีความสอดคล้องกับสมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา และการกำหนดพื้นที่ตัวแทน ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบสมมติฐานการคัดเลือกพื้นที่ศึกษาแต่ละด้านกับความคิดเห็นของประชาชนในแต่ละพื้นที่
การบริการระบบนิเวศ (Ecosystem Services) | อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย | อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย | อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม | ความสอดคล้องระหว่างสมมติฐานและผลการศึกษา | |||
สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา | ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ) | สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา | ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ) | สมมติฐานการประเมินพื้นที่ศึกษา | ความสำคัญระดับสูง(ร้อยละ) | ||
ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : ด้านประมง | ✓ | 3.7 | ✓ | 8.3 | ✓ | 23.3 | ไม่สอดคล้องต่อผลการศึกษาเดิม |
ด้านแหล่งอาหาร Provisioning) : ด้านเกษตรกรรมและพื้นที่เพาะปลูก | – | 18.7 | – | 21.1 | ✓ | 20.3 | สอดคล้อง |
ด้านคุณค่าของวัฒนธรรม (Cultural) | ✓ | 18.6 | – | 15.1 | – | 11.3 | สอดคล้อง |
ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) | ✓ | 13.5 | – | 14.3 | ✓ | 13.5 | สอดคล้อง |
ด้านการสนับสนุน (Supporting) | – | 15.0 | ✓ | 12.8 | – | 11.3 | ไม่สอดคล้องต่อผลการศึกษาเดิม |
ประเด็นความสำคัญที่มีความสำคัญระดับสูง และระดับกลางส่วนใหญ่เป็นไปตามสมมติฐานที่เคยมีการศึกษาในประเด็นต่างๆ ไว้ก่อนหน้านี้ หรืออยู่ในระดับสูงถึงปานกลางในบางประเด็น แต่จากผลการศึกษาในบางพื้นที่ พบว่า ประชาชนยังให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านความเป็นอยู่ การทำมาหากินในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : เกษตรกรรมและพื้นที่เพาะปลูก มากกว่าอีก 3 ด้านที่เหลือ คือ ด้านคุณค่าของวัฒนธรรม (Cultural) ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) และด้านการสนับสนุน (Supporting) จึงทำให้เกิดความไม่สอดคล้องในบางประเด็น ทั้งนี้การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) : ด้านประมง ประชาชนอำเภอเชียงคาน และอำเภอสังคมยังให้ความคิดเห็นคิดเห็นต่อความสำคัญในด้านนี้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับทรัพยากรประมงที่มีอยู่ในพื้นที่ ดังนั้นในการศึกษาครั้งต่อไปอาจเพิ่มข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์และบริการระบบนิเวศด้านประมงให้มากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.2. การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านภัยคุกคาม
ภัยคุกคามแต่ละด้าน | ลำดับประเด็นภัยคุกคามตามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ | อำเภอที่มีภัยคุกคามมากที่สุด |
1. ด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) | ||
1.1. ภัยคุกคามต่อการทำประมง (แหล่งน้ำธรรมชาติ) | 1. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล 2. การเปลี่ยนแปลงของความเร็วของกระแสน้ำ 3. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง | อำเภอเชียงคาน |
1.2. ภัยคุกคามต่อการทำประมง (เพาะเลี้ยง) | 1. คุณภาพน้ำ 2. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล 3. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง | อำเภอเชียงคาน |
1.3. ภัยคุกคามต่อการทำเกษตรและพื้นที่เพาะปลูก (เกษตรบนฝั่ง) | 1. น้ำท่วม 2. ภัยแล้ง 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | อำเภอสังคม |
1.4. ภัยคุกคามต่อการทำเกษตรและพื้นที่เพาะปลูก (เกษตรริมฝั่งโขง) | 1. การปล่อยน้ำจากเขื่อน 2. น้ำท่วม 3. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ | อำเภอสังคม |
2. ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) | 1. การฉวยโอกาสแสวงหาผลกำไร 2. การบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน 3. ปัญหาอาชญากรรม ฉกชิง วิ่งราว | อำเภอเชียงคาน |
3. ด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) | 1. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง 2. การเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหล 3. กิจกรรมการดูดทราย | อำเภอท่าอุเทน |
4. ด้านการสนับสนุน (Supporting) | 1. การปล่อยน้ำทิ้ง ของเสีย และสิ่งปฏิกูลของแม่น้ำโขง 2. คุณภาพน้ำ 3. การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ | อำเภอเชียงคาน |