ด้านชีวภาพ

ด้านประมง ปี พ.ศ.2566

สำรวจและเก็บข้อมูลปฐมภูมิในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด เพื่อการบ่งชี้ ยืนยันพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อผลผลิตประมง วงจรชีวิต การผสมพันธุ์ การวางไข่ การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ การอพยพย้ายถิ่น การหลงฤดู และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการเก็บแหล่งอาหารของปลาในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง

จุดเก็บตัวอย่างปลา และแพลงก์ตอนในภาคสนามใน 8 จังหวัด

การศึกษาการอพยพ (Migration) และการแพร่กระจาย (Distribution) ของปลาในแม่น้ำโขงทั้ง
8 จังหวัด เพื่อติดตามผลกระทบว่าโครงการได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดการขาดความเชื่อมต่อ หรือขัดขวางเส้นทางการอพยพของปลาในแม่น้ำโขงหรือไม่ โดยการศึกษาจะใช้วิธีการประมวลผลจากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทั้งหมด ตั้งแต่การจับปลาด้วยอวนทับตลิ่ง การสำรวจตลาด และการบันทึกข้อมูลของชาวประมงที่สถานีเชียงคาน และสถานีท่าอุเทน ซึ่งในเบื้องต้น ได้กำหนดชนิดปลาที่จะทำการติดตามชนิดปลาที่จะศึกษาไว้ 2 กลุ่ม (อ้างอิงจากชนิดในรายงานของ MRC Fisheries Program) ดังนี้ กลุ่มที่อยู่ในสถานะคุกคาม จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ ปลาหมากผาง (Tenualosa thibeaudaui) และปลายี่สกไทย (Probarbus jullieni) และปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ปลากาดำ (Labeo chrysophekadian) ปลาตะกาก หรือปลาโจกเขียว (Cosmochilus hardmandi) และ ปลาปากหนวด (Hypsibarbus malcomi)

โดยจะนำข้อมูลที่ได้ดำเนินการศึกษาและบันทึกในฐานข้อมูลผลการศึกษาของโครงการ
มาติดตามกลุ่มปลาที่พบในแต่ละช่วงเวลา และเปรียบเทียบกับข้อมูลในรายงาน Fish migration triggers in the Lower Mekong Basin and other tropical freshwater systems (MRC Technical Paper No.14) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2549

พื้นที่เป้าหมาย วิธีการเก็บตัวอย่าง และช่วงเวลาฤดูกาลในการศึกษา

  1. การจับปลาด้วยอวนทับตลิ่ง (Beach seine)
  2. การสำรวจตลาด (Market approach)
  3. การบันทึกการจับปลาประจำวันของชาวประมง

ผลการศึกษาด้านประมง

องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในแม่น้ำโขงทั้ง 8 จังหวัด จะเห็นว่ายังมีชนิดและปริมาณที่หลากหลาย โดยพบกลุ่มไดอะตอม (Diatom) และสาหร่ายสีเขียว (Green Algae) เป็นชนิดเด่น สามารถใช้เป็นดัชนีชีวภาพที่สำคัญ และบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำได้ 

ชนิดและความหลากหลายประชาคมของปลาเต็มวัย พบปลาจำนวนทั้งสิ้น 29 วงศ์ 132 ชนิด เป็นปลาพื้นถิ่น จำนวน 127 ชนิด และปลาต่างถิ่นหรือปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยง จำนวน 5 ชนิด โดยพบกลุ่มปลาขาวมีจำนวน 58 ชนิด กลุ่มปลาเทามีจำนวน 51 ชนิด และกลุ่มปลาดำมีจำนวน 23 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบปลาทั้ง 3 กลุ่มระหว่างปี พ.ศ. 2559-2565 พบว่าจำนวนชนิดของปลาขาว ปลาเทา และปลาดำที่พบไม่มีความแตกต่างกัน โดยจากการศึกษาชนิดของปลาทั้งหมดที่ได้จากข้อมูลอวนทับตลิ่ง การรวบรวมจากตลาด ชาวประมงและข้อมูลการสัมภาษณ์ชาวประมง ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2567 พบชนิดปลาทั้งสิ้น 257 ชนิด แบ่งเป็นจำนวนชนิดปลาที่พบเฉพาะก่อนเปิดใช้เขื่อนหรือก่อนสร้างเขื่อน (พ.ศ. 2559-2562) จำนวน 32 ชนิด ชนิดปลาที่พบเฉพาะหลังเปิดใช้เขื่อนหรือหลังสร้างเขื่อน (พ.ศ. 2563-2566) จำนวน 33 ชนิด และชนิดปลาที่พบตลอดการศึกษา จำนวน 192 ชนิด ซึ่งยังพบการแพร่กระจายองค์ประกอบของปลา และโอกาสในการพบที่หลากหลายแตกต่างกันตามช่วงฤดูกาลและพื้นที่ที่ทำการศึกษา ส่วนค่าดัชนีทางนิเวศวิทยา พบว่า ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ ดัชนีความเท่าเทียม ดัชนีความมากชนิดของปลา ความอุดมสมบูรณ์ของปลา และความชุกชุมของปลามีความแตกต่างกันตามช่วงฤดูกาลและพื้นที่ที่ทำการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความหลากชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำและสามารถบ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำโขง

ในช่วงฤดูกาล พ.ย. 66 และฤดูกาล พ.ค. 67 มีลักษณะเส้นกราฟน้ำหนัก (Biomass) อยู่ใกล้เส้นกราฟความชุกชม (Abundance) โดยค่า W statistic มีค่าเป็นลบทั้งสองช่วงฤดูกาล โดยมีค่า W statistic เท่ากับ -0.233 และ -0.186 ตามลำดับ แต่ค่าในช่วงพฤษภาคม 2567 มีค่าใกล้เคียง 1 มากกว่า แสดงว่าปลาที่พบมีขนาดใหญ่กว่าช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566

สำหรับอพยพและย้ายถิ่นของกลุ่มปลาขาว ที่มีความสำคัญทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ปลาหมากผาง ปลายี่สกไทย ปลาเพี้ย หรือปลากาดำ ปลาตะกาก หรือปลาโจกเขียว และปลาปากหนวด ในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัด พบว่าก่อนและหลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี ยังพบการกระจายของปลาทั้ง 5 ชนิด ทั้ง 8 จังหวัด แต่อาจจะมีการความชุกชุมหรือจำนวนตัวที่พบในแต่ละครั้งแตกต่างกัน

ก่อนการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 8.7±4.1 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 5.9±9.9 กรัม

พบมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงน้ำเริ่มขึ้น (T1) โดยจุดที่พบปลาหมากผางชุกชุมมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ คือบริเวณจังหวัดนครพนม  
หลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 9.5±4.8 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 13.7±19.8 กรัม

พบกระจายในหลายจังหวัดมากขึ้นในฤดูน้ำหลากตั้งแต่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และอุบลราชธานี นอกจากนี้ ในปี 2566 ยังพบบริเวณจังหวัดเลย และหนองคายมากขึ้นในเดือนพฤศจิกายน และมีนาคม ตามลำดับ

ก่อนการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 10.8±5.3 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 10.5±11.7 กรัม

พบมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงน้ำเริ่มขึ้น (T1) โดยจุดที่พบปลายี่สกไทยชุกชุมมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ คือบริเวณจังหวัดนครพนม และอุบลราชธานี 

หลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 12.5±14.2 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 28.7±31.9 กรัม
พบน้อยลงระหว่างปี 2563-2564 นอกจากนี้ ในปี 2566 ยังพบว่าเริ่มมีการสำรวจพบปลายี่สกไทย บริเวณจังหวัดมุกดาหาร และอุบลราชธานีเพิ่มขึ้นมากในเดือนกุมภาพันธ์ (ใกล้เคียงกับ
ช่วงเวลาที่มีกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลายี่สกไทย ตามแผนฟื้นฟูปลายี่สกไทย ของกรมประมง)

ก่อนการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 10.7±4.2 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 19.3±24.7 กรัม

พบมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงน้ำเริ่มขึ้น (T1) โดยจุดที่พบปลากาดำบ่อยที่สุดคือบริเวณ
จังหวัดบึงกาฬ

หลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 9.9±2.7 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 14.4±10.3 กรัม

ไม่ปรากฎปลากาดำในช่วงเวลาที่มีการเก็บตัวอย่างในระหว่างปี 2563-2565 และเริ่มมีการสำรวจพบปลากาดำอีกครั้งในปี 2566 ช่วง

ก่อนการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 11.8±5.1 เซนติเมตร (ไม่มีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักในช่วงเวลาการศึกษาดังกล่าว) พบมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงน้ำเริ่มขึ้น (T1) โดยจุดที่พบปลาตะกากบ่อยที่สุดคือบริเวณจังหวัดหนองคาย

หลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี

มีขนาดความยาวเฉลี่ย 12.3±6.5 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 36.7±46.8 กรัม
พบบ่อยที่สุดคือบริเวณจังหวัดนครพนม และมุกดาหาร

ก่อนการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 7.3±3.8 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 14.3±27.6 กรัม พบมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงน้ำเริ่มขึ้น (T1) โดยจุดที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณจังหวัดหนองคาย

หลังการดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี
มีขนาดความยาวเฉลี่ย 10.9±6.3 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 38.7±43.3 กรัม พบบ่อยที่สุดคือบริเวณจังหวัดนครพนม และมุกดาหาร

ส่วนการการศึกษาค่าดัชนีทางชีววิทยา จากการสำรวจชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาปากหนวด (Hypsibarbus malcomi) ในแม่น้ำโขง จำนวน 65 ตัว ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 บริเวณอำเภอเชียงคาน และอำเภอท่าอุเทน พบปลาเพศเมียที่มีไข่ จำนวน 19 ตัว และปลาเพศผู้ที่มีการพัฒนาของอัณฑะ จำนวน 13 ตัว คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนปลาทั้งหมด ซึ่งยังเป็นสภาวะปกติ เพราะปลาปากหนวดส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์วางไข่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม โดยทั่วไปในธรรมชาติปลาจะมีการสืบพันธุ์วางไข่ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ของทุกปี

ทั้งนี้ ความเสี่ยงของพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านประมงและนิเวศวิทยาทางน้ำ โดยประเมินจากการมีพื้นที่บริเวณที่เป็นแหล่งจับคู่ผสมพันธุ์ของปลา บริเวณที่มีการประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และบริเวณที่มีการทำการประมงที่พบชนิดปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ พบว่าพื้นที่ที่มีระดับความสำคัญสูง คือ มีความสำคัญของ 3 ปัจจัย ครบทั้ง 3 ด้าน มีจำนวน 13 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงคานและอำเภอปากชม จังหวัดเลย อำเภอศรีเชียงใหม่และอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ อำเภอธาตุพนมและอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอนาตาล และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ หากได้รับผลกระทบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบจะส่งผลต่อระบบนิเวศทางการประมง ความมั่นคงทางอาหาร การประกอบอาชีพทางการประมง และเศรษฐกิจของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง

Scroll to Top