ด้านชีวภาพ

ด้านประมง ปี พ.ศ.2563

 

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบหลักการศึกษาผลกระทบด้านประมง ได้ทำการศึกษาข้อมูลด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และนิเวศวิทยาทางน้ำ ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงสูง ภายใต้โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยได้มีการทบทวนข้อมูลการศึกษาในปีที่ผ่านมา และได้ออกแบบ รวมทั้งกำหนดแนวทางการศึกษาเพื่อวิเคราะห์และประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนตามเกณฑ์การประเมินพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านการประมงและระบบนิเวศวิทยาทางน้ำในแต่ละประเด็น สำหรับรายละเอียดของวิธีการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แบ่งออกเป็น 9 วิธีการ มีดังต่อไปนี้

1) การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่งและเครื่องมือประมงท้องถิ่น
2) ความถี่ของความยาวและน้ำหนักของตัวอย่างสัตว์น้ำ
3) การประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา
4) การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น
5) การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา
6) การประเมินค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ
7) การประเมินค่าค่าผลผลิตทางการประมง (standing crop)
8) การศึกษาพลวัตประชากรของปลาตะเพียนเพื่อใช้เป็นดัชนีชีวภาพในพื้นที่เสี่ยงจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ
9) การศึกษาความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อใช้เป็นดัชนีชีวภาพในพื้นที่เสี่ยงจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ

การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่งและเครื่องมือประมงท้องถิ่น

การศึกษาในครั้งนี้ได้เลือกใช้อวนทับตลิ่ง (Beach seine) ที่มีขนาดความยาว 40 เมตร ขนาดตาอวน 2 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 เมตร ทำการตีอวนใน 3 ฤดูกาล โดยลงพื้นที่จังหวัดที่กำหนดเพื่อตีอวนพื้นที่จำนวน 3 ฤดูกาล คือ ฤดูน้ำกำลังขึ้น (กรกฎาคม – กันยายน 2563) ฤดูน้ำขึ้นสูงสุด (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563) และฤดูน้ำกำลังลง (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564) จำนวนช่วงฤดูละ 1 ครั้ง ใน 8 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ลำดับ                    วันที่จุดเก็บตัวอย่างประมงจังหวัดพิกัดลักษณะพื้นที่ของแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ (Habitat Type)
ZoneXY
1

5 ตุลาคม 2563

28 พฤศจิกายน 2563

1 กุมพาพันธ์ 2564

บ้านห้วยเกี๋ยง

ตำบลเวียง

อำเภอเชียงแสน

เชียงราย4720.310224100.092974ลำน้ำกว้าง มีหญ้าขึ้นริมฝั่ง มีโขดหินริมฝั่งดินเหนียวปนโคลน
2

7 ตุลาคม 2563

6 ธันวาคม 2563

27 มกราคม 2564

บ้านห้วยเหียม

ตำบลหาดคัมภีร์

อำเภอปากชม

เลย4818.211687102.073306พื้นที่เป็นหาดทรายส่วนใหญ่ทรายลักษณะละเอียด มีหญ้าตามดอน
3

30 กันยายน 2563

5 ธันวาคม 2563

26 มกราคม 2564

บ้านน้ำไพร

ตำบลสังคม

อำเภอสังคม

หนองคาย4818.074355102.265038พื้นที่เป็นดอน มีหาดทราย ทรายละเอียด มีหญ้าตามดอน
4

1 ตุลาคม 2563

14 พฤศจิกายน 2563

19 มกราคม 2564

บ้านบุ่งคล้า

ตำบลบุ่งคล้า

อำเภอบุ่งคล้า

บึงกาฬ4818.291760104.001311พื้นที่เป็นโคลนปนทรายมีหญ้าขึ้นริมฝั่ง มีร่องน้ำบางส่วน
5

22 กันยายน 2563

15 พฤศจิกายน 2563

20 มกราคม 2564

บ้านธาตุพนมเหนือ

ตำบลธาตุพนม

อำเภอธาตุพนม

นครพนม4816.044130104.729622พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหาดทราย ทรายละเอียด มีหญ้าขึ้นริมฝั่ง
6

23 กันยายน 2563

21 พฤศจิกายน 2563

22 มกราคม 2564

บ้านท่าไค้-นาแล

ตำบลนาสีนวน

อำเภอเมือง

มุกดาหาร4816.445392104.845704พื้นที่เป็นตลิ่งสูง มีโขดหิน มีหญ้าขึ้นตามริมตลิ่ง มีร่องน้ำลึก
7

25 กันยายน 2563

20 พฤศจิกายน 2563

23 มกราคม 2564

ปากแม่น้ำถม

ตำบลโคกก่ง

อำเภอชานุมาน

อำนาจเจริญ4816.118216105.038195ลำน้ำกว้าง มีแม่น้ำสาขา มีร่องน้ำลึกและโขดหินขนาดใหญ่ ตลิ่งชันสูง  มีหญ้าขึ้นริมฝั่งตลอดแนว
8

24 กันยายน 2563

19 พฤศจิกายน 2563

24 มกราคม 2564

บ้านนาตาล

ตำบลนาตาล

อำเภอนาตาล

อุบลราชธานี4815.907450105.341432ลำน้ำกว้าง เป็นแก่งและโขดหินขนาดใหญ่ มีพืชขึ้นตามริมตลิ่ง
บ้านห้วยเกี๋ยง ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
บ้านห้วยเหียม ตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย
บ้านน้ำไพร ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
บ้านบุ่งคล้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

บ้านธาตุพนมเหนือ ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
บ้านท่าไค้-นาแล ตำบลนาสีนวน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
ปากน้ำถม ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
หาดชมดาว บ้านนาตาล ตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี

การสํารวจตลาด (Market approach)

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อสํารวจตลาดในท้องถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ประกอบด้วยตลาดจำนวนทั้งหมด 40 แห่ง ใน 24 อำเภอที่ติดแม่น้ำโขง โดยมีตลาดที่พบชนิดปลาแม่น้ำโขงจำนวน 35 ตลาด และตลาดที่ไม่พบชนิดปลาแม่น้ำโขงจำนวน 5 ตลาด เนื่องจากวันนั้นไม่มีชาวประมงจับสัตว์น้ำและบางร้านไม่ได้นำปลามาขายที่ตลาด รูปตัวอย่างการสำรวจตลาด

ตลาดสินสมบูรณ์ จังหวัดเชียงรายตลาดสดเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย
ร้านขายปลาป้าสอนปลาน้ำโขง จังหวัดหนองคายตลาดสดชัยพร จังหวัดบึงกาฬ
ตลาดสดเทศบาลธาตุพนม จังหวัดนครพนมตลาดสดพรเพชร จังหวัดมุกดาหาร
ตลาดสดเทศบาลชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านด่าน (ตลาดสดโขงเจียม) จังหวัดอุบลราชธานี


คลิปวีดีโอการตีอวนทับตลิ่งจังหวัดอำนาจเจริญ

การเก็บบันทึกข้อมูลเครื่องมือประมง ผลผลิตประมง ในแต่ละพื้นที่โดยกลุ่มประมงท้องถิ่น

โดยวิธีการศึกษา ดำเนินการประสานงานผ่านทางแกนนําในแต่ละพื้นที่ เพื่อคัดเลือกตัวแทนชาวประมงท้องถิ่นในพื้นที่ อำเภอละ 1-2 คน จำนวน 16 อำเภอ โดยเป็นกลุ่มประมงอยู่ติดริมแม่น้ำโขง และ มีอาชีพทำการประมงในแม่น้ำโขงสายประธาน หรือลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง รูปตัวอย่างอยู่แผ่นถัดไป

บ้านสบคำ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงรายบ้านน้ำไพร ต.สังคม อ.สังคม จ.หนองคายบ้านโคกสารท่า ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ

ผลการศึกษา ความหลากชนิดและองค์ประกอบของผลจับของสัตว์น้ำ

จากการเก็บตัวอย่างประมงจำนวน 2 ครั้ง ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างในช่วงน้ำกำลังขึ้น (กันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2563) ช่วงน้ำขึ้นสูงสุด (พฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2563) สามารถสรุปได้ดังนี้ ชนิดปลาที่พบจากการสํารวจทั้ง 2 ครั้ง มีจำนวนรวม 144 ชนิด โดยพบว่าเป็นกลุ่มปลาขาว (White Fish) 27 ชนิด กลุ่มปลาเทา (Grey Fish) 24 ชนิด กลุ่มปลาดำ (Black fish) 15 ชนิด และยังไม่สามารถระบุกลุ่มการอพยพได้ 78 ชนิด โดยในแต่ละช่วงเวลาที่ทำการเก็บตัวอย่างพบจำนวนชนิดปลาในแต่ละสถานีสูงที่สุด-ต่ำที่สุด ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี สรุปดังนี้

– ช่วงน้ำกำลังขึ้น (กันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2563) พบจำนวนชนิดปลาสูงที่สุดที่อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจำนวน 35 ชนิด และพบจำนวนชนิดปลาต่ำที่สุดที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นจำนวน 10 ชนิด สามารถจัดจำแนกชนิดพันธุ์ปลาได้เป็น 23 วงศ์ 59 สกุล 86 ชนิด

– ช่วงน้ำขึ้นสูงสุด (พฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2563) พบจำนวนชนิดปลาสูงที่สุดที่อำเภออำเภอ ธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นจำนวน 36 ชนิด และพบจำนวนชนิดปลาต่ำที่สุดที่อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจำนวน 9 ชนิด สามารถจัดจำแนกชนิดพันธุ์ปลาได้เป็น 29 วงศ์ 79 สกุล 121 ชนิด

สำหรับสถานภาพความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ตามเกณฑ์การประเมินของ IUCN Redlist พบว่า อยู่ในขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered: CR) จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ปลาไน (Cyprinus carpio) ปลาเทพา (Pangasius sanitwongsei) และปลาบึก (Pangasianodon gigas) และอยู่ในขั้นใกล้สูญพันธุ์ (Endangerd: EN) จำนวน 1 ชนิด ได้แก่ ปลายี่สกทอง (Probarbus jullieni)

ตารางจำนวนชนิดปลาแต่ละกลุ่มจากการสํารวจที่ดําเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2563

 จำนวนชนิดปลาจากการศึกษาในโครงการฯ ปีพ.ศ. 2563
ครั้งที่ 1ครั้งที่ 2ครั้งที่ 3รวม
ช่วงน้ำกำลังขึ้น   (ก.ย.- ต.ค. 2563)ช่วงน้ำขึ้นสูงสุด (พ.ย.- ธ.ค. 2563)ช่วงน้ำกำลังลง (ม.ค. – ก.พ. 2564)3 ครั้ง
ชนิดปลาที่พบทั้งหมด86121  
ประเภทการอพยพ (Guild)    
กลุ่มปลาขาว (White Fish)2226  
กลุ่มปลาเทา (Grey Fish)1719  
กลุ่มปลาดำ (Black Fish)813  
ยังไม่สามารถระบุได้ *3962  
สถานภาพตาม IUCN redlist    
ขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered: CR)13  
ใกล้สูญพันธุ์ (Endangerd: EN)1  
เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU)37  
เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened: NT)54  
มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern: LC)5970  
ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD)47  
ยังไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE)46  
ม่มีในฐานข้อมูล**1022  
จำนวนปลาต่างถิ่น (รวมจากการเพาะเลี้ยง)24  

ผลการประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index)

พบว่าในช่วงน้ำช่วงน้ำกำลังขึ้น บ้านบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ เป็นจุดที่มีค่าดัชนีความหลากหลายของปลาสูงที่สุด และบริเวณบ้านน้ำไพร อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นจุดที่มีค่าดัชนีความหลากหลายที่ต่ำที่สุด ช่วงน้ำขึ้นสูงสุด บ้านธาตุพนมเหนือ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นจุดที่มีค่าดัชนีความหลากหลายของปลาสูงที่สุด และบริเวณปากแม่น้ำถม อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจุดที่มีค่าดัชนีความหลากหลายที่ต่ำที่สุด

การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ

พบว่า บริเวณบ้านธาตุพนมเหนือ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม มีปริมาณความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยในช่วงน้ำกำลังขึ้น บริเวณบ้านธาตุพนมเหนือ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณความอุดมสมบูรณ์สูงที่สุด คิดเป็น 5.36 กิโลกรัม/ไร่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณบ้าน ธาตุพนมเหนือ ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม และบริเวณบ้านบุ่งคล้า ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงที่สุด คิดเป็น 11.42 และ 5.68 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ

การประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ

พบว่าในช่วงน้ำกำลังขึ้น จุดที่มีค่าความชุกชุมสูงที่สุด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คือ บริเวณบ้าน ท่าไค้-นาแล อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด จุดที่มีค่าความชุกชุมสูงที่สุด คือ บริเวณบ้านบุ่งคล้า อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ

จากการศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ของสัตว์น้ำ ในช่วงน้ำกำลังขึ้น ระหว่างวันที่ 22 กันยายน – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 และในช่วงน้ำกำลังลง ระหว่างวันที่ 19 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จากการศึกษาครั้งนี้ พบปลามีไข่จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ปลากาดำ ปลาเผาะ ปลายี่สกเทศและปลาปากเปลี่ยน โดยไข่ที่พบอยู่ในระยะที่มีการพัฒนารังไข่เต็มที่ (F)

Labeo chrysophekadianPangasius conchophilusLabeo rohitaScaphognathops bandanensis

การศึกษาพลวัตประชากรของปลาตะเพียนเพื่อใช้เป็นดัชนีชีวภาพในพื้นที่เสี่ยงจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ

จากการศึกษามีการเก็บตัวอย่างปลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2564 โดยมีการเก็บรวบรวมได้ทั้งหมด 634 ตัว มีการผ่าท้องเพื่อดูรังไข่ พบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวปลาตะเพียนปากหนวดเพศเมียยังไม่มีการเจริญของรังไข่ เนื่องจากช่วงระยะเวลาการเก็บตัวอย่างในช่วงแรกไม่ใช่ช่วงเวลาการวางไข่
ของปลา ทั้งนี้ทางทีมปรึกษายังคงต้องเก็บข้อมูลของปลาตะเพียนปากหนวดไปจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ 2564 จึงจะรายงานผลที่สมบูรณ์ได้

การศึกษาความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อใช้เป็นดัชนีชีวภาพในพื้นที่เสี่ยงจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ

ภาพตัวอย่างการเก็บแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์

องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืชจากตัวอย่างที่เก็บจากแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ในรายงานครั้งนี้ รายงานการศึกษาในช่วง 2 ฤดูกาล คือ ช่วงฤดูน้ำกำลังขึ้น (กันยายน – ตุลาคม 2563) ฤดูน้ำขึ้นสูงสุด (พฤศจิกายน – ธันวาคม2563) ส่วนฤดูน้ำกำลังลง (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564) อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ผล โดยผลในภาพรวมจากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 8 จังหวัด จากการศึกษาองค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) รวมทั้งใน 2 ฤดูกาล พบแพลงก์ตอนพืชจำนวนทั้งสิ้น 5 ไฟลัม (Phylum) 49 ชนิด (species)

องค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์จากตัวอย่างที่เก็บจากแม่น้ำโขง 8 จังหวัด โดยผลในภาพรวมจากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ 8 จังหวัด จากการศึกษาองค์ประกอบชนิดของแพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton) รวมทั้งใน 2 ฤดูกาล พบแพลงก์ตอนสัตว์จำนวนทั้งสิ้น 3 ไฟลัม (Phylum) 8 ชนิด (species)

สรุปพื้นที่ที่มีระดับความสำคัญสูงด้านการประมงและนิเวศวิทยาทางน้ำ
โดยการศึกษาข้อมูลแหล่งความสำคัญด้านประมงและนิเวศวิทยาทางน้ำแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1) บริเวณแหล่งจับคู่ผสมพันธุ์หรือเลี้ยงตัวอ่อน
2) บริเวณที่มีการประกอบอาชีพประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปริมาณมาก
3) จำนวนชนิดของปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ระดับความสำคัญสูงหมายถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งความสำคัญ (ที่กล่าวด้านบน) ครบทั้ง 3 ด้าน
ระดับความสำคัญปานกลางหมายถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งความสำคัญ 2 ด้าน
ระดับความสำคัญน้อยหมายถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งความสำคัญ 1 ด้าน หรือพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งความสำคัญด้านใดเลย

ผลการทบทวนพื้นที่ที่มีระดับความสำคัญสูง ด้านประมง และนิเวศวิทยา ปีพ.ศ. 2563

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบความสำคัญระดับแนวโน้มความเสี่ยง
ด้านที่ 1ด้านที่ 2ด้านที่ 3
เชียงรายเชียงแสน  
เชียงของ   
เวียงแก่น    
เลยเชียงคาน  
ปากชม 
หนองคายสังคม 
ศรีเชียงใหม่   
ท่าบ่อ   
เมืองหนองคาย  
โพนพิสัย    
รัตนวาปี    
บึงกาฬปากคาด    
เมืองบึงกาฬ  
บุ่งคล้า 
บึงโขงหลง    
นครพนมบ้านแพง   
ท่าอุเทน  
เมืองนครพนม  
ธาตุพนม 
มุกดาหารหว้านใหญ่  
เมืองมุกดาหาร  
ดอนตาล  
อำนาจเจริญชานุมาน  
เขมราฐ 
นาตาล 
อุบลราชธานีโพธิ์ไทร  
ศรีเมืองใหม่    
โขงเจียม 
 ระดับความสำคัญสูง
 ระดับความสำคัญปานกลาง
 ระดับความสำคัญน้อย

สรุปได้ดังนี้
พื้นที่ที่มีระดับความสำคัญสูง พบทั้งหมด 7 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอปากชม จังหวัดเลย อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อำเภอเขมราฐ อำเภอนาตาล และอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งความสำคัญด้านประมงและนิเวศวิทยาทางน้ำครบทั้ง 3 ด้าน ข้างต้น

อยู่ระหว่างการปรับปรุงและพัฒนาข้อมูล

Scroll to Top