ด้านกายภาพ

ผลระดับน้ำและอัตราการไหล ปี 2565

1. ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

          สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม และสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane

          รวมทั้ง สถานีน้ำท่าบนแม่น้ำที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน ประกอบด้วย สถานีน้ำท่าของกรมชลประทาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา และสถานีน้ำท่าของกรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานและแม่น้ำสาขา ที่นำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาในปี พ.ศ. 2565

2. วิธีการศึกษา

          ที่ปรึกษามีขั้นตอนการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปนี้

          1) ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านปริมาณการไหลของน้ำและระดับน้ำที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น รายงาน Weekly wet season situation report in the Lower Mekong River Basin รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: November 2020-May 2021 รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: January-July 2020 รายงาน Understanding the Mekong River’s hydrological conditions: A brief commentary note on the “Monitoring the Quantity of Water Flowing Through the Upper Mekong Basin Under Natural (Unimpeded) Conditions” study by Alan Basist and Claude Williams (2020) เป็นต้น

          2) รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วย :

                  – กรมทรัพยากรน้ำ : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม (ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา) และจากสถานีในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศไทยเพิ่มเติมจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)

                  – กรมชลประทาน : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากสถานีน้ำท่าจากสถานีน้ำท่าบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา

                  – สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง : โดยการจัดซื้อข้อมูลจากสถานีน้ำท่าและสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane  โดยข้อมูลที่ได้รับและใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ขอบเขตและระยะเวลาที่มีข้อมูลเดิมและเพิ่มเติมด้านปริมาณการไหลของน้ำและระดับน้ำของจากแหล่งที่มาต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการศึกษา ปี พ.ศ. 2565

พื้นที่และสถานีอุทกวิทยา

ข้อมูลอัตราการไหลของน้ำ

ข้อมูลระดับน้ำ

ข้อมูลเดิมก่อนหน้า ข้อมูลเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2565 ข้อมูลเดิมก่อนหน้า

ข้อมูลเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2565

แม่น้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทย
สถานีเชียงแสน – พ.ศ. 2528-พ.ศ. 25631/

 

– พ.ศ. 25643/

– 1 มกราคม – 1 กรกฎาคม 25653/ – พ.ศ. 2528-พ.ศ. 25631/

 

– พ.ศ. 25643/

– 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/,4/

 

 

สถานีเชียงคาน
สถานีหนองคาย
สถานีนครพนม
สถานีมุกดาหาร
สถานีบึงกาฬ
สถานีอำนาจเจริญ
สถานีโขงเจียม
แม่น้ำโขงสายประธานในเขต สปป.ลาว
สถานี Luang Prabang 1 มกราคม 2482

 

31 ธันวาคม 25613/

– 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/
สถานี Ban Pakhoung

 

 

ไม่พบข้อมูล – 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/
สถานี Vientiane KM4 1 มกราคม 2456 –
31 ธันวาคม 25493/
– 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/
สถานี Thakhek 1 มกราคม 2467 –
31 ธันวาคม 25493/
– 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/
สถานี Paksane ไม่พบข้อมูล – 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 25653/
แม่น้ำสาขาของประเทศไทยภายใต้ความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำ
สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง ปี พ.ศ. 2508-25611/ ปี พ.ศ. 2508-25631/
สถานีน้ำก่ำที่นาแก ปี พ.ศ. 2508-25611/ ปี พ.ศ. 2507-25631/
สถานีห้วยบางทรายที่สะพาน
บ้านหนองแอก
ปี พ.ศ. 2511-25611/ ปี พ.ศ. 2505-25631/
สถานีห้วยบางทรายที่บ้านนาคำน้อย ปี พ.ศ. 2528-25601/ ปี พ.ศ. 2528-25631/
สถานีห้วยบางทรายที่บ้านนาหลัก ปี พ.ศ. 2528-25611/ ปี พ.ศ. 2528-25631/
แม่น้ำสาขาของประเทศไทยภายใต้ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน
สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ – 1 เมษายน 2539 – 31 มีนาคม 25642/ – 1 เมษายน 2539 – 31 ตุลาคม25642/
สถานีบ้านวังเลา – 1 เมษายน 2540-31 มีนาคม 25642/

 

(มีข้อมูลบางช่วงที่ขาดหายไป ดังนี้

– 1 เมษายน 2540 – 31 ตุลาคม25642/

– 1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม

และ 1 ตุลาคม – 31 พฤศจิกายน 2551

– 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2552

– 2-31 มีนาคม และ 2-31 กรกฎาคม 2553

– 2-31 พฤษภาคม 2554

– 1-31 มีนาคม 2562

– 1-31 มีนาคม 2563)

– 1 เมษายน 2540-31 มีนาคม 25642/

 

(มีข้อมูลบางช่วงที่ขาดหายไป ดังนี้

– 1 เมษายน 2540 – 31 ตุลาคม25642/

– 1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม

และ 1 ตุลาคม – 31 พฤศจิกายน 2551

– 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2552

– 2-31 มีนาคม และ 2-31 กรกฎาคม 2553

– 2-31 พฤษภาคม 2554

– 1-31 มีนาคม 2562

– 1-31 มีนาคม 2563)

หมายเหตุ : 1/ ข้อมูลจากกรมทรัพยากรน้ำ
  2/ ข้อมูลจากกรมชลประทาน
  3/ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566)

 

4/ ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

          3) คำนวณหาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูน้ำหลาก และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูน้ำหลาก และจากฤดูน้ำหลากไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล และหาค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของปริมาณการไหลและระดับน้ำรายเดือนของแต่ละช่วงเวลา แสดงดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามธรรมชาติของอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล

ฤดูกาล ช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ) ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ)
ฤดูแล้ง ปลายเดือนพฤศจิกายน
ถึงต้นเดือนธันวาคม
เดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
ฤดูน้ำหลาก เดือนมิถุนายน ต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน

ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009

         4) เปรียบเทียบและปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล และระดับน้ำเฉลี่ย โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็นช่วงเวลา เพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน โดย ณ สถานีเชียงแสนและสถานี Luang Prabang แบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่

                  – ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534 และ 

                   – ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ช่วงปี พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี

          สำหรับ ณ ตำแหน่งพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สถานีเชียงคาน จนถึงสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) ซึ่งเป็นสถานีทั้งในแม่น้ำโขงสายประธานและในแม่น้ำสาขาแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น3 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  3. ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ปริมาณการไหลเฉลี่ยรายวันของแม่น้ำโขง เปรียบเทียบช่วงปีก่อนมีเขื่อน (1985-1991) และหลังมีเขื่อน (2014-2015) ในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ สถานีอุทกวิทยาเชียงแสน
ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน (2561)

           5) ประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาของการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานดังตารางที่ 3 
 

ตารางที่ 3 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำเปรียบเทียบในช่วงเวลาการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

ระดับแนวโน้ม

ระดับการเปลี่ยนแปลง

ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก 0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย 21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง 41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง 61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมาก มากกว่า 80%

 

3. ผลการศึกษาปริมาณการไหลและระดับน้ำ

          ผลการรวบรวมข้อมูลล่าสุดเพื่อปรับปรุงและประเมินใหม่เพิ่มเติมในการศึกษานี้ ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษาก่อนหน้า ด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำจากสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ในเขตประเทศไทย จำนวน 6 สถานี และในเขต สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี รวมทั้งสถานีน้ำท่าในแม่น้ำสาขา   ในเขตประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ระหว่างปี พ.ศ. 2528 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยแบ่งชุดข้อมูลรายวันจำนวน 365 วัน ออกเป็น 4 ช่วง คือ

  • ฤดูน้ำแล้ง (Dry season) : 1 มกราคม – 30 เมษายน และ 1 – 31 ธันวาคมของทุกปี
  • ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 : 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน ของทุกปี
  • ฤดูน้ำหลาก (Flood season) : 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม ของทุกปี
  • ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 : 1-30 พฤศจิกายน ของทุกปี

         นอกจากนี้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะพิจารณาตามช่วงของแม่น้ำโขงสายประธานที่ไหลผ่านประเทศไทย โดยแบ่งตามระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง โดยจากรูปที่  ถึง รูปที่ 16 เป็นข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน เปรียบเทียบกับปริมาณการไหลเฉลี่ย 7 วัน (7-days moving-averaged data series) ระดับน้ำเฉลี่ย 7 วัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงการประเมินข้อมูลอนุกรมเวลาให้สามารถประเมินและติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นของแต่ละสถานี โดยพิจารณาระดับน้ำในแต่ละช่วงระยะเวลาเพื่อนำไปใช้   ในการวิเคราะห์ข้อมูลและปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการไหลและระดับน้ำของแต่ละช่วงพื้นที่ต่อไป โดยในรูปที่ 3 ถึง รูปที่ 16 จะแบ่งการแสดงข้อมูลเป็นช่วงเวลา ดังนี้

รูปที่ 3 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีวัดเชียงแสน
(ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว

รูปที่ 4 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานี Luang Prabang
(ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว)

รูปที่ ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีเชียงคาน
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว ถึงสถานีหนองคาย)

รูปที่ 6 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีบ้านวังเลา
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว ถึงสถานีหนองคาย)ซึ่งอยู่ใกล้เคียงสถานีหนองคาย

รูปที่ ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีหนองคาย
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว ถึงสถานีหนองคาย)

รูปที่ ระดับน้ำรายวัน และระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานี Paksane (ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)

รูปที่ 9 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง

(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)ซึ่งอยู่ใกล้เคียงสถานีนครพนม

รูปที่ 10 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีนครพนม
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)

รูปที่ 11 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีน้ำก่ำที่นาแก
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)

รูปที่ 12 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)

รูปที่ 13 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)ซึ่งอยู่ใกล้เคียงสถานีมุกดาหาร

รูปที่ 14 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีมุกดาหาร
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย ถึงสถานีมุกดาหาร)

รูปที่ 15 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีโขงเจียม
(ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีมุกดาหาร ถึงสถานีโขงเจียม)

รูปที่ 16 ปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวัน และปริมาณการไหลและระดับน้ำเฉลี่ย 7 วันของสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)
ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีโขงเจียม

4. พื้นที่ที่มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำ

          การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลในแต่ละสถานี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงฤดู ได้แก่ ฤดูน้ำแล้ง (เดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม) และฤดูน้ำหลาก (เดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม) โดยพื้นที่จังหวัดเชียงราย ใช้ข้อมูลปริมาณการไหลของสถานีเชียงแสนในการพิจารณาจากความแตกต่างของปริมาณการไหลรายวันในช่วงปี พ.ศ. 2535-2564 (หลังเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบนเปิดดำเนินการ) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2528-2534 ซึ่งถือเป็นตัวแทนในช่วงปีที่เปิดดำเนินการของเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ส่วนจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้พิจารณาจากความแตกต่างของปริมาณการไหลและระดับน้ำรายวันในช่วงปี พ.ศ. 2562-2565 (หลังเขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ) โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2535-2561 ซึ่งถือเป็นตัวแทนในช่วงปีที่เปิดดำเนินการของเขื่อนไซยะบุรี

          4.1 การเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหล

          พบว่าแต่ละสถานีในช่วงฤดูแล้งมีความกว้างของระดับชั้นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลปริมาณการไหลอยู่ในช่วงตั้งแต่ 7 ถึง 83% และในช่วงฤดูน้ำหลากมีความกว้างของระดับชั้นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลปริมาณการไหลอยู่ในช่วงตั้งแต่ -63 ถึง -6% เมื่อพิจารณาค่าสัมบูรณ์ของร้อยละของการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล จะเห็นว่าช่วงการเปลี่ยนแปลงช่วงฤดูน้ำหลากมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลงไม่เกิน 63% ขณะที่ช่วงฤดูแล้งมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นถึง 83% ดังนั้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหล สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลรายเดือนช่วงฤดูแล้ง ได้ดังรูปที่ 17 และการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลรายเดือนช่วงฤดูน้ำหลาก

 รูปที่ 17 ข้อมูลการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลรายเดือนช่วงฤดูแล้ง

รูปที่ 18 ข้อมูลการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลรายเดือนช่วงฤดูน้ำหลาก

  4.2 การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ

พบว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำของแต่ละสถานีในช่วงฤดูแล้งมีความกว้างของระดับชั้นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลระดับน้ำอยู่ในช่วงตั้งแต่ -16 ถึง 71% และในช่วงฤดูน้ำหลากมีความกว้างของระดับชั้นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลระดับน้ำอยู่ในช่วงตั้งแต่ -54 ถึง 0.19%เมื่อพิจารณาค่าสัมบูรณ์ของร้อยละของการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ จะเห็นว่าช่วงการเปลี่ยนแปลงช่วงฤดูน้ำหลากมีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลงไม่เกิน 54% ขณะที่ช่วงฤดูแล้งมีร้อยละการเปลี่ยนแปลงลดลงไม่เกิน 16% และเพิ่มขึ้นถึง 71% ดังนั้น เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำ สามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำรายเดือนช่วงฤดูแล้งได้ดังรูปที่ 19 และ การเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำรายเดือนช่วงฤดูน้ำหลาก ได้ดังรูปที่ 20

รูปที่ 19 ข้อมูลการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำรายเดือนช่วงฤดูแล้ง

รูปที่ 20 ข้อมูลการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำรายเดือนช่วงฤดูน้ำหลาก

            หลังจากได้ข้อมูลการประเมินพื้นที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงแล้ว ได้มีการประเมินระดับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำของพื้นที่ศึกษาทั้ง 8 จังหวัด โดยจะพิจารณาจากระยะห่างของพื้นที่ศึกษากับสถานีวัดระดับน้ำและได้คัดเลือกสถานีวัดระดับน้ำอ้างอิงที่ใกล้ที่สุดของแต่ละอำเภอ และได้ทำการทบทวนตารางระดับแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหล และระดับน้ำของพื้นที่ในอำเภอที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขงตลอดทั้ง 8 จังหวัด เป็นจำนวนรวม 28 อำเภอเดิม ตามข้อมูลผลการศึกษาใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (มกราคม-ตุลาคม) ดังตารางที่ (ปริมาณการไหล) และตารางที่ 5 (ระดับน้ำ) และพบว่าช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายนจะเป็นช่วงที่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำมากที่สุด

ตารางที่ 4 ผลการประเมินพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการไหลรายเดือนของพื้นที่ในอำเภอที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง (มกราคม-ตุลาคม 2565)  

 ตารางที่ 5 ผลการประเมินพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงด้านระดับน้ำรายเดือนของพื้นที่ในอำเภอที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง (มกราคม-ตุลาคม 2565)

Scroll to Top