ด้านกายภาพ
ผลระดับน้ำและอัตราการไหล ปี 2562
1. วิธีการศึกษา และเกณฑ์การประเมินด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ
1.1. ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำ
1.2. รวบรวมข้อมูลอัตราการไหล และระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำ บนแม่น้ำโขงสายประธานทั้ง 6 สถานี ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ และใกล้ปากแม่น้ำสาขา ที่คัดเลือก จากสำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ
1.3. หาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูฝน และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูฝน และจากฤดูฝนไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการไหลของแม่น้ำโขง ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ระยะเวลาในแต่ละช่วงตามลักษณะการไหลของแม่น้ำโขง
ฤดูกาล | ช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ) | ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ) |
ฤดูแล้ง | ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม | เดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง |
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 | ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน | |
ฤดูน้ำหลาก | เดือนมิถุนายน | ต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน |
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 | ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน |
ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009
1.4. ประเมินและติดตามพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านระดับน้ำและอัตราการไหล
ระดับแนวโน้ม | ระดับการเปลี่ยนแปลงเดิม |
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก | 0-20% |
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย | 21-40% |
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง | 41-60% |
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง | 61-80% |
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมาก | มากกว่า 80% |
รูปที่ 1 ตำแหน่งสถานีวัดระดับน้ำ ในพื้นที่ศึกษา