เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เครือข่ายความร่วมมือ ปี 2564

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ (ช่วงเริ่มงาน)

          การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมนำเสนอแผนงานการศึกษาโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเครือข่ายความร่วมมือ ผู้แทน องค์กรลุ่มน้ำ กลุ่มองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานดังนี้

          1) รายละเอียดการจัดเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1

          โครงการฯ ได้จัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ช่วงเริ่มงาน เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในวันศุกร์ ที่ 31 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30 – 17.00 น. แบบการประชุมวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) สำหรับรายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลได้แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่

                  – การรายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนฯ ปีที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2563) ประกอบด้วยข้อมูล ฐานข้อมูลจากการศึกษาของกรมทรัพยากรน้ำเพื่อประชาชน และรายละเอียดผลการศึกษาที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

                  – แผนงานการดำเนินงาน โครงการฯ ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2563 ประกอบด้วยข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติม

                  – นำเสนอแนวทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย กิจกรรมการเก็บข้อมูลด้านประมง การศึกษาการให้บริการระบบนิเวศ การสำรวจตลิ่งริมฝั่ง และแนวทางการวิจัยชุมชนในพื้นที่เสี่ยง

                  – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับและนำเสนอแนวทางการทำงานระหว่างคณะ ที่ปรึกษาและภาคประชาสังคมในพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ รายละเอียดและสรุปการประชุม ดังรูป

รูปที่ 1 ภาพบรรยากาศการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาฯ ครั้งที่ 1

 

          2) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

          ภายหลังจากการนำเสนอขอบเขตการศึกษาของโครงการฯ แผนการดำเนินงาน และประเด็นการศึกษาที่เพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีประเด็นสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งหมด 4 ประเด็น แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่ 1 

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น

การชี้แจงอธิบาย

ข้อกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะฝั่งประเทศไทย เนื่องจากรายละเอียดการศึกษาโครงการนี้เกิดขึ้นและมีเจตนารมณ์ในการทำความเข้าใจและสร้างแนวนโยบาย ตลอดจนเตรียมการรับมือ-การปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นการดำเนินงานเฉพาะภายในราชอาณาจักร ขณะที่ในความเป็นจริงแล้วน่านน้ำโขงเป็นพรมแดนที่ตั้งอยู่ทั้งในอาณาเขตของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หากมาตรการต่าง ๆ เกิดขึ้นเฉพาะฝั่งของประเทศไทย อาจไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และสิ่งที่พึงประสงค์ตามเจตนารมณ์ก็เป็นได้ผลของการศึกษาของโครงการนี้จะนำไปสู่การสร้างกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นการหารือร่วมกันระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง ผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ไปยังการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำโขง แม้ว่า ณ วันนี้ ผลการศึกษายังไม่ปรากฏข้อสิ้นสุดของผลการศึกษา แต่ทว่าข้อสังเกตต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถนำไปสู้การสร้างแนวนโยบายในการร่วมมือกันในการจัดการตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นและนำไปสู่ฉันทามติและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงต่อไป
ข้อเสนอด้านการศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (ปัจจุบันเทียบกับในอดีต) มีการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) อย่างไร สำหรับการลดลงถือเป็นการเกิดความสูญเสียเท่าใดในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ ทางคณะ
ผู้ดำเนินงานโครงการได้เพิ่มเติมการสำรวจ/เก็บข้อมูลในด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนิเวศทางน้ำ ปัจจุบันมี กลุ่มประมงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใน
8 จังหวัด เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประมง และประเมินว่าผลกระทบที่ทำให้อาชีพประมง
ที่ลดลง ได้รับผลกระทบมาจากเหตุผลใด เพื่อให้ได้ข้อมูลประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำ (Catch Per Unit Effort) จากวิธีการทำประมงพื้นบ้าน และจากเครื่องมือทำการประมง
ที่หลากหลาย ตามท้องถิ่น ให้ครอบคลุมทั้ง 3 ช่วง
ตามระดับการขึ้น-ลง ของน้ำทั้ง ช่วงน้ำลงต่ำสุด ช่วงน้ำเริ่มขึ้น และช่วงน้ำขึ้นสูงสุด ตามแหล่งประมงที่มีความสำคัญ และทำการเก็บข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย ช่วงละ 1 เดือน
ข้อเสนอแนะด้านความร่วมมือ-ความช่วยเหลือ ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากภาคประชาชนมีความเห็นว่ามีความต้องการที่จะร่วมมืออย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดเป็นกลไก
ภาคประชาชนก็จะมีความรู้เพิ่มเติม อีกทั้งภาคประชาชน
ยังสามารถเตรียมตัวต่อผลดีที่จะเกิดขึ้น เป็นการส่งเสริมด้านอาชีพ ชดเชยรายได้ เป็นต้น (การมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาของภาคประชาชน)
ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ ทางคณะ
ผู้ดำเนินงานโครงการ และนักวิชาการทุกท่าน มีความประสงค์ที่จะดำเนินการและศึกษาข้อมูลร่วมกับ
ภาคประชาชน และศึกษาข้อมูลจากภาคประชาชนให้
มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องการความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ และการประสานงานเพื่อลงพื้นที่ในการสำรวจ/เก็บข้อมูล อย่างไรก็ตาม ในการลงพื้นที่สำรวจ/เก็บข้อมูล จะมีนักวิชาการที่มีความรู้และเชี่ยวชาญลงพื้นที่ไปด้วย
เพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอด้านการขยายเครือข่ายภาคประชาชนและการเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโครงการนี้ มีเจตนารมณ์ในการขยายการรับรู้ไปสู่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมาได้มีโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากจัดตั้งขึ้นมาในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2558 ซึ่งโครงการดังกล่าวนอกจากจะเป็นการเผยแพร่-แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ส่วนได้ส่วนเสียและประชาคมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงแล้ว ยังเกิดการขยายวง
ผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การสร้างความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละท้องถิ่น การถอดชุดองค์ความรู้ภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่มี
ความเข้มแข็ง (อำเภอโพธ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้โครงการดังกล่าวยังดำเนินการต่อไปควบคู่ไปกับโครงการศึกษาผลกระทบของโครงการนี้

 

2. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)

            โครงการนี้จะมีการจัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ในช่วงสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานผลการศึกษา และระบบนำเสนอข้อมูล การเข้าถึง การใช้ประโยชน์รวมทั้งมาตรการลดและการบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และแผนการปรับตัวของประชาชนในพื้นที่เสี่ยง และข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการดำเนินโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

          1) รายละเอียดการจัดเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2

             โครงการฯ ได้จัดการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการ และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากร่างรายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในวันอังคารที่ 25 มกราคม 2565 เวลา 08.30-15.30 น. (วีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) โดยมีรายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินการดังนี้

                    – ผลการศึกษาทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคม

                    – ผลการวิเคราะห์ สรุปพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

                    – สรุปการกำหนดมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และการปรับตัว

                    – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งนี้ ข้อเสนอของผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้จะดำเนินการให้เกิดการสร้างข้อเสนอแนะการศึกษาและการสร้างแนวนโยบายทั้งในภาพรวมลุ่มน้ำโขงของประเทศไทยและในรายกลุ่มพื้นที่หรือจังหวัดที่มีลักษณะหรือสภาพการณ์
ที่สอดคล้องกัน เนื่องจากว่า ในการศึกษาในปีงบประมาณที่ผ่าน ๆ มา คณะทำงานสังเกตเห็นว่า แต่ละกลุ่มพื้นที่หรือจังหวัดมีลักษณะ บทบาท และการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ดังนั้น ในการกำหนดแนวนโยบายและมาตรการในปีงบประมาณนี้ จึงต้องการเสนอแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มพื้นที่และพื้นที่สำคัญลงไปทั้งในเชิงภาพรวมและรายละเอียดแต่ละบริบทของพื้นที่นั้น ๆ อีกด้วย

          กลุ่มเป้าหมายในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลุ่มน้ำโขงทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขงในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย แกนนำและเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมจากโครงการสร้างความเข็มแข็งกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้เป็นส่วนสำคัญ และผู้มีส่วนร่วมต่าง ๆ ของพื้นที่ที่ทำการศึกษา ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี และครอบคลุมพื้นที่ 15 กิโลเมตร จากริมฝั่งแม่น้ำโขง

รูปที่ 2 ภาพบรรยากาศการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาฯ ครั้งที่ 2

 

          2) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

          ภายหลังจากการนำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานผลการศึกษา ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีประเด็นสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งหมด 4 ประเด็น แสดงดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่ 2

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น

การชี้แจงอธิบาย

ข้อเสนอแนะด้านอัตราการไหล ระดับน้ำ และคุณภาพน้ำ

-มีการกล่าวอ้างข้อมูลที่หลวงพระบางทาง สปป.ลาว โดยข้อเท็จจริง สปป.ลาว ก็มีการรับรู้รับทราบข้อมูล ปัจจุบันก็มีสถานีเพิ่มเติม เรามีข้อมูลที่จะติดตามในส่วนนี้ แต่ทางทีมที่ปรึกษายังขาดการเจรจารับทราบของข้อมูลกับทาง สปป.ลาว โดยตรง ซึ่งควรเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลเดิมของทางหลวงพระบางและใช้ในการวิเคราะห์ต่อเนื่องได้ โดยใช้ข้อมูลร่วมขนานกับ MRC หรือ MRCs

-ควรเพิ่มสถานีเก็บตัวอย่างด้านอุทกวิทยา และสอบถามว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะได้ข้อมูลจากสถานีเพื่อนบ้านโดยเฉพาะข้อมูลการปิด-เปิดเขื่อน

-ควรนำเสนออัตราการไหลของน้ำควบคู่กับระดับน้ำ

ในการดำเนินงานศึกษาในปี พ.ศ. 2564 มีข้อจำกัดของข้อมูล ดังนี้

– ไม่มีข้อมูลอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำของ
แม่น้ำสาขาที่อยู่ในพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้การวิเคราะห์และประเมินการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำมีข้อจำกัดในการสรุปผล เนื่องจากผลกระทบด้านอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำมีสาเหตุ
มาจากทั้งแม่น้ำโขงสายประธานและแม่น้ำสาขา                 ในการศึกษาต่อไปควรพิจารณาขอความร่วมมือด้านข้อมูลจากประเทศเพื่อนบ้านมาประกอบการวิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนแปลงด้วย

ข้อเสนอแนะด้านประมง

– การสรุปข้อมูลจากปี 2559- ปัจจุบัน การแบ่งช่วงยังมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งต้องสอดคล้องกับทางอุทกวิทยา

-ควรศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากร ธรรมชาติในพื้นที่ (ปัจจุบันเทียบกับในอดีต) มีการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) อย่างไร สำหรับการลดลงถือเป็นการเกิดความสูญเสียเท่าใด

-ควรศึกษาโครงสร้างของสัตว์น้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ควรนำผลการศึกษาส่วนใดส่วนหนึ่งมาหาความสัมพันธ์กับอุทกวิทยา ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ส่วนเรื่องแนวโน้มความเสี่ยงควรแยกข้อมูลจริงๆ กับการหาข้อมูลมาประกอบ ซึ่งจะต้องหาข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เรื่องของผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ควรนำผลการศึกษาที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายความสอดคล้อง และควรหาการวิเคราะห์ที่ชัดเจนโดยนำข้อมูลของ MRC มาอ้างอิง

-ควรเพิ่มพื้นที่เก็บตัวอย่างที่อำเภอเชียงคาน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด และยังขาดการเก็บในช่วงของฤดูแล้ง

-ควรเพิ่มการศึกษาปลาต่างถิ่น และควรศึกษาเพิ่มเติมในแม่น้ำสาขาในระยะไม่เกิน 15 กิโลเมตร โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ

ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ ทางคณะ
ผู้ดำเนินงานโครงการได้เพิ่มเติมการสำรวจ/เก็บข้อมูลในด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนิเวศทางน้ำ ปัจจุบันมีกลุ่มประมงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ใน 8 จังหวัด เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประมง และประเมินว่าผลกระทบที่ทำให้อาชีพประมง
ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การหาความสัมพันธ์ของสัตว์น้ำและอุทกวิทยาอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งจะแสดงผลการศึกษาในเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป

ข้อเสนอแนะด้านเศรษฐกิจและสังคม และการบริการของระบบนิเวศ ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง เพื่อประเมินความเปราะบางของชุมชน

– ในด้านการศึกษาด้านการให้บริการระบบนิเวศซึ่งเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นการศึกษาเริ่มแรก โดยจะเหมือนกับโครงการนำร่อง คือการคัดเลือกพื้นที่ ควรมีการ Work shop เพื่อคัดเลือกพื้นที่ โดยผลการศึกษาชี้ชัดว่าพื้นที่จังหวัดเลยและนครพนมเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ในส่วนของตัวชี้วัดควรแยกตัวชี้วัดระหว่างเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานและเขื่อนในแม่น้ำสาขาเนื่องจากจะมีความแตกต่างของรายละเอียด

ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้

– ที่ปรึกษารับข้อเสนอแนะและจะนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์และอธิบายในเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป

– การออกแบบเครื่องมือเก็บข้อมูลไม่สามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลผลกระทบการบริการระบบนิเวศได้อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบที่แท้จริงรวมทั้งระดับของผลกระทบจากการบริการระบบนิเวศด้านต่างๆ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะด้านการประเมินตัวชี้วัดและแผนป้องกันแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม

– ควรจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาให้ตรงตามความต้องการของพื้นที่ ซึ่งควรให้ความสำคัญในเรื่องของช่วงเวลาของการเกิดผลกระทบ บริเวณที่เกิดผลกระทบ (ต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ) และระยะเวลานานที่เกิดผลกระทบ (ชั่วคราว หรือถาวร) รวมทั้งพิจารณารับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไข ติดตามและปรับตัวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากหน่วยงานรับผิดชอบ ระดับส่วนกลางและท้องถิ่น รวมทั้งกับภาคประชาชน

โครงการนี้ มีเจตนารมณ์ในการขยายการรับรู้ไปสู่ผู้ที่มี
ส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขงอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในปีการศึกษาในปี พ.ศ. 2564 นี้ ยังไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานรับผิดชอบ ระดับส่วนกลางและท้องถิ่น รวมทั้งกับภาคประชาชนต่อร่างแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไข ติดตามและปรับตัวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมดังนั้น จึงควรมีการเผยแพร่-แลกเปลี่ยน
องค์ความรู้ระหว่างผู้ส่วนได้ส่วนเสียและประชาคมในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงแล้ว ยังเกิดการขยายวงผู้ที่เกี่ยวข้องให้รับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การสร้างความร่วมมือกับองค์กร
ทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละท้องถิ่น

 

Scroll to Top