ด้านเศรษฐกิจ สังคม

ด้านเศรษฐกิจและสังคม ปี พ.ศ. 2563

การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม

การเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม ในปีงบประมาณ 2563 ให้ความสำคัญในการสำรวจด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเปราะบางต่อการสูญเสียระบบนิเวศของแม่น้ำโขง และการปรับตัวเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผลกระทบข้ามพรมแดน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการประกอบการสัมภาษณ์ และประเมินผลกระทบต่อความเปราะบาง และการปรับตัวด้านเศรษฐกิจสังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเสี่ยงในพื้นที่

วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมข้อมูลการศึกษาเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเปราะบาง และการปรับตัวในปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ

แนวทางและวิธีการศึกษา
1 แนวทางการศึกษา

การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความเปราะบางโดยรวบรวม จากเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และโครงการ และการทบทวนผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2562

การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

การสำรวจระดับหมู่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบเก็บข้อมูลหมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน

การสำรวจระดับครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม ทั้งจากการสำรวจหมู่บ้านและการสำรวจครัวเรือน ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมของหมู่บ้านและครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ด้านวิถีชีวิต การพึ่งพิงทรัพยากรจากแม่น้ำโขง อาชีพ ความเป็นอยู่ ความเปราะบางของหมู่บ้าน/ครัวเรือน การปรับตัวและข้อเสนอแนะ

2 พื้นที่ศึกษาและการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
พื้นที่ศึกษา

การศึกษาครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขงและจุดบรรจบของลำน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จำนวน 28 อำเภอ

กลุ่มตัวอย่าง

พื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2562 มีประชากรจำนวน 1,302,249 คน จำนวนบ้าน 407,151 หลังคาเรือน (สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2563) การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2563 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่มาก และอยู่อาศัยกระจัดกระจาย เมื่อแทนค่าสูตรคำนวณจึงใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 ครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด คำนึงถึงตัวแปรต้น คือ จังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดและเป็นตัวแทนในภาพรวมของทั้ง 8 จังหวัดได้ ดังนั้นจึงใช้เกณฑ์จำนวนครัวเรือนใน แต่ละจังหวัดที่กระจายในแต่ละอำเภอเป็นตัวระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัดมีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 30 ชุด จะถูกปรับขึ้นให้เป็น 30 ตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้

3 เครื่องมือในการสำรวจ

เครื่องมือในการสำรวจประกอบด้วย 1) แบบสอบถามผู้นำชุมชน และ 2) แบบสอบถามหัวหน้าครัวเรือน ซึ่งได้ถูกปรับปรุงจากเครื่องมือ SIMVA ในคู่มือ Guideline for Social Impact Monitoring and Vulnerability Assessment (SIMVA) 2561 ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาและบริบทของพื้นที่สำหรับการศึกษาในปีนี้ โดยเนื้อหาประกอบด้วย

  • 1) ข้อมูลด้านประชากรของผู้ให้สัมภาษณ์
  • 2) ข้อมูลด้านความเปราะบาง
  • 3) ข้อมูลด้านการพึ่งพิง
  • 4) ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
  • 5) การปรับตัวและการสนับสนุน

4 การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม โดยผู้เชี่ยวชาญและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความรับผิดชอบ ซึ่งสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ จำนวน (N) ความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามากที่สุด (Max) และค่าน้อยที่สุด (Min) และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของประเด็นความคิดเห็นที่สำคัญด้านผลกระทบและความเปราะบางในภาพรวม 8 จังหวัด ด้วยวิธีการทดสอบไคสแควร์ Chi-square (p  0.05) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

5 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย

  • 1) พัฒนาแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การศึกษาและบริบทของพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อเสนอแนะของกรรมการ การประเมินและทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้เวลา 5 เดือน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2563 – 31 ตุลาคม 2563
  • 2) พัฒนาระบบการกรอกข้อมูลแบบออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน ใช้เวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2563 – 31 ตุลาคม 2563
  • 3) จัดอบรมการใช้เครื่องมือกับตัวแทนเครือข่ายของแต่ละจังหวัด เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือและสามารถลงเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2563
  • 4) ตัวแทนเครือข่ายของแต่ละจังหวัดลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามพร้อมกับนักวิจัย โดยแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบแบบสอบถาม โดยมีตัวแทนเครือข่ายพร้อมทั้งนักวิจัยคอยให้ความช่วยเหลือในการตอบแบบสอบถาม ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2563
  • 5) แบบสอบถามของแต่ละจังหวัดจะถูกส่งมายังคณะนักวิจัย ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อดำเนินการกรอกข้อมูลลงในระบบออนไลน์ ข้อมูลส่วนใดที่ไม่สมบูรณ์จะถูกดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 2 เดือน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564
  • 6) การประเมินตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจและสังคม นักวิจัยประมวลและวิเคราะห์ผลเพื่อนำเสนอผลการศึกษา และจัดทำข้อเสนอแนะในด้านเศรษฐกิจและสังคม ใช้เวลา 1 เดือน ระหว่างวันที่ 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2564

ผลการศึกษา

ตารางที่ 7-2 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูล

ลำดับจังหวัดอำเภอจำนวนกลุ่มตัวอย่างตามแผนจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บ (วันที่ 19 ก.พ. 64)
ครัวเรือนหมู่บ้านครัวเรือนชุมชน
1เชียงรายอ.เชียงแสน212212
อ.เชียงของ101101
อ.เวียงแก่น121121
รวม434434
2เลยอ.เชียงคาน19211 
อ.ปากชม111112
รวม303222
3หนองคายอ.ท่าบ่อ182172
อ.เมือง232232
อ.รัตนวาปี121121
อ.โพนพิสัย303293
อ.ศรีเชียงใหม่716 
อ.สังคม717 
รวม9810948
4บึงกาฬอ.บึงโขงหลง8182
อ.บุ่งคล้า404 
อ.ปากคาด915 
อ.เมือง222273
รวม444445
5นครพนมอ.บ้านแพง8191
อ.ท่าอุเทน152212
อ.เมือง343103
อ.ธาตุพนม2120 
รวม798406
6มุกดาหารอ.หว้านใหญ่616 
อ.เมือง263272
อ.ดอนตาล111111
รวม434443
7อำนาจเจริญอ.ชานุมาน303313
รวม303313
8อุบลราชธานีอ.เขมราฐ91101
อ.นาตาล111101
อ.โพธิ์ไทร111192
อ.ศรีเมืองใหม่192101
อ.โขงเจียม101101
รวม596596
รวมทั้งหมด4244337737

1 ข้อมูลระดับชุมชน (The Village Profile)

รูปที่ 7-1 ลักษณะทางภูมิประเทศของหมู่บ้าน

รูปที่ 7-2 ประเภทของหมู่บ้าน

2 ประชากร (Population)

 เชียงรายเลยหนองคายบึงกาฬนครพนมมุกดาหารอำนาจเจริญอุบลราชธานีรวม
2.5 จำนวนประชากรในหมู่บ้านโดยเฉลี่ย (คน)84010391025468700635537783765
2.10 จำนวนหลังคาเรือนในหมู่บ้านโดยเฉลี่ย (หลังคาเรือน)269273308162139179156190210
2.6 การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา         
1) ลดลง235
2) เท่าเดิม325
3) เพิ่มขึ้น4262313425

รูปที่ 7-3 การเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา

3 แหล่งรายได้หลัก (Main livelihood activities in the sampling villages)

4 โครงสร้างพื้นฐานของระบบบริหารจัดการน้ำ (Water related infrastructure)


รูปที่ 7-5 โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำ
การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและการปรับตัว

รูปที่ 7-6 จำนวนหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

ข้อมูลระดับครัวเรือน (The Household Profile)
การหาเลี้ยงชีพของครัวเรือน (Household livelihood activities)
2.2.1 แหล่งรายได้หลัก (The most activity for livelihood)

รูปที่ 7-7 แหล่งรายได้หลัก (ร้อยละ)

2.2.2 แหล่งรายได้รอง (The second most activity for livelihood)


รูปที่ 7-8 แหล่งรายได้รอง (ร้อยละ)

ข้อมูลด้านอาชีพ
การเกษตรกรรมบนฝั่ง

ครัวเรือนส่วนใหญ่ทำการเกษตรบนฝั่ง (ร้อยละ 63) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรบนฝั่งสูงที่สุด (ร้อยละ 94) ในขณะที่จังหวัดเชียงรายมีสัดส่วนต่ำที่สุด (ร้อยละ 37) เกษตรกรมีที่ดินสำหรับเกษตรบนฝั่งเฉลี่ย 9.56 ไร่ โดยจังหวัดบึงกาฬมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 23.62 ไร่ ในขณะที่จังหวัดหนองคายมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 2.59 ไร่ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในการทำเกษตรกรรมริมฝั่งคือ 56,875 บาท/ปี โดยจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือบึงกาฬ (173,095 บาท/ปี) ซึ่งสอดคล้องกับการมีที่ดินทำการเกษตรกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยจากการเกษตรบนฝั่งต่ำสุดคืออุบลราชธานี (17,345 บาท/ปี)

ชนิดของพืชที่มีการเพาะปลูกบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว (ร้อยละ 75) พริก (ร้อยละ 65) มะเขือ (ร้อยละ 59) ผักชี (ร้อยละ 56) และ ต้นหอม (ร้อยละ 52)

จังหวัดเชียงรายนิยมปลูกข้าว มะเขือ พริก และข้าวโพด (ร้อยละ 100) จังหวัดเลยนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 76) จังหวัดหนองคายนิยมปลูกพริก (ร้อยละ 100) จังหวัดบึงกาฬนิยมปลูกยางพารา (ร้อยละ 97) จังหวัดนครพนมนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 100) จังหวัดมุกดาหารนิยมปลูกข้าว (ร้อยละ 100) จังหวัดอำนาจเจริญนิยมปลูกข้าวและยางพารา (ร้อยละ 100) และจังหวัดอุบลราชธานีนิยมปลูกถั่ว (ร้อยละ 72)

ในด้านแหล่งน้ำหลักเพื่อทำการเกษตร พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้การสูบน้ำจากแม่น้ำโขง (ร้อยละ 52) จังหวัดที่มีการพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรบนฝั่งสูงสุดคือจังหวัดหนองคาย (ร้อยละ 100) รองลงมาคือจังหวัดมุกดาหาร (ร้อยละ 97) และจังหวัดนครพนม (ร้อยละ 80) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของทั้ง 3 จังหวัดหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

การประมง

ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ มีจำนวนร้อยละ 52 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 93 ในขณะที่มีครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีจำนวน ร้อยละ 14 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 85

พันธุ์ปลาที่จับได้ส่วนใหญ่คือปลาขาว (ร้อยละ 100) ปลาแข้ (ร้อยละ 96) ปลาเนื้ออ่อน (ร้อยละ 94) ปลาตะเพียน (ร้อยละ 92) และปลาเพี้ย (ร้อยละ 92) โดยปลาบึกมีครัวเรือนที่จับได้เพียงร้อยละ 23 แหล่งน้ำสำหรับการประมงจับสัตว์น้ำส่วนใหญ่คือแม่น้ำโขง (ร้อยละ 98)

การปศุสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์

ครัวเรือนที่มีประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์หรือเลี้ยงสัตว์มีจำนวนร้อยละ 31 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้มีการปรับตัวได้ร้อย 85

ชนิดของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่คือไก่ (ร้อยละ 76) รองลงมาคือโค (ร้อยละ 53) รูปแบบของการปศุสัตว์ส่วนใหญ่คือการเลี้ยงภายในเขตบ้าน (ร้อยละ 91) โดยใช้แหล่งน้ำจากประปาในการทำปศุสัตว์ (ร้อยละ 84) ในขณะที่น้ำจากแม่น้ำใช้เพียงร้อยละ 36 ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงจึงไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำปศุสัตว์

การท่องเที่ยวหรือบริการ

ครัวเรือนที่มีการประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวหรือบริการมีจำนวนร้อยละ 11 ของครัวเรือนทั้งหมด โดยครัวเรือนเหล่านี้สามารถปรับตัวได้ร้อยละ 84

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปี พ.ศ. 2563

จากข้อมูลจะพบว่ากลุ่มอาชีพที่ครัวเรือนส่วนใหญ่คืออาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 63) รองลงมาคืออาชีพการประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 52) อาชีพการเกษตรริมฝั่งโขง (ร้อยละ 32) โดยทั้ง 3 อาชีพนี้มีครัวเรือนที่มีการปรับตัวสูงสุดคือการประมงหาปลาและจับสัตว์น้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 93) รองลงมาคือการเกษตรริมฝั่ง (ร้อยละ 85) และการเกษตรกรรมบนฝั่ง (ร้อยละ 73)

ผลกระทบทางธรรมชาติที่ครัวเรือนประสบปัญหาสูงสุดคือภัยแล้ง (ร้อยละ 62) และเป็นปัญหาที่ครัวเรือนมีการปรับสูงเช่นกัน (ร้อยละ 84)


รูปที่ 7-10 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพ (ร้อยละของครัวเรือนทั้งหมด)


รูปที่ 7-11 ครัวเรือนที่มีการปรับตัวตามอาชีพ (ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ)

รูปที่ 7-12 ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ (ร้อยละของครัวเรือนทั้งหมด)


รูปที่ 7-13 ครัวเรือนที่มีการปรับตัว (ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ)

         คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านโดยการสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 41 คน และแบบสอบถามหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 427 คน ซึ่งสามารถสรุปผลการสำรวจเกี่ยวกับการเกษตรในพื้นที่ได้ดังนี้

1. การเกษตรกรรมบนฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมบนฝั่ง มีจำนวน 278 ครัวเรือน (ร้อยละ 65) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ มีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 94) ในขณะที่จังหวัดเชียงรายมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) และจังหวัดนครพนม จำนวน  36 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) ชนิดของพืชที่มีการเพาะปลูกบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว จำนวน 177 ครัวเรือน (ร้อยละ 64) พริก จำนวน 144 ครัวเรือน (ร้อยละ 52) มะเขือ จำนวน 133 ครัวเรือน (ร้อยละ 48) ผักชี จำนวน 118 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) และต้นหอม จำนวน 112 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด พึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 102 ครัวเรือน (ร้อยละ 37) โดยจังหวัดหนองคาย มีการพึ่งพาแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตร บนฝั่งสูงสุด จำนวน 36 ครัวเรือน  (ร้อยละ 82) รองลงมา คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 28 ครัวเรือน  (ร้อยละ 68) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดหนองคายหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

                  – ด้านปริมาณผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด   ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนฝั่งส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 147 ครัวเรือน (ร้อยละ 53) โดยจังหวัดที่สัดส่วนของครัวเรือนมีผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่งลดลงสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน  27 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืชจากการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 123 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงสุด คือ จังหวัดเลย จำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง จำนวน 173 ครัวเรือน (ร้อยละ 62) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหารายได้จากการขายผลผลิตสูงสุด คือ จังหวัดเลยจำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า หัวหน้าครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดเห็นว่าจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 166 ครัวเรือน (ร้อยละ 60) ในด้านพื้นที่ทำการเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีพื้นที่สำหรับการทำเกษตรกรรมบนฝั่งจำนวนเท่าเดิม จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการเป็นเกษตรอินทรีย์ พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ยังมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 128 ครัวเรือน (ร้อยละ 46) โดยครัวเรือนส่วนใหญ่มีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชลดลง จำนวน 110 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนที่ทำการเกษตรบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัว จำนวน 247 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุดคือจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดเชียงราย จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรบนฝั่ง ได้แก่ การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 79) รองลงมา คือ การเฝ้าระวังการปล่อยน้ำจากเขื่อน จำนวน 189 ครัวเรือน (ร้อยละ 77) และการป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 191 ครัวเรือน (ร้อยละ 77)

2. การเกษตรกรรมริมฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมริมฝั่งมีจำนวน 170 ครัวเรือน (ร้อยละ 40) โดยจังหวัดอุบลราชธานีมีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 34 ครัวเรือน (ร้อยละ 58) ในขณะที่จังหวัดบึงกาฬมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 27)

          ชนิดของพืชที่ครัวเรือนเพาะปลูกริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ พริก จำนวน 121 ครัวเรือน (ร้อยละ 71) มะเขือ จำนวน 101 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) ต้นหอม จำนวน 97 ครัวเรือน (ร้อยละ 57) ผักชี จำนวน 96 ครัวเรือน (ร้อยละ 56) และมะเขือเทศ จำนวน 92 ครัวเรือน (ร้อยละ 54)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดพึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อทำการเกษตรริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 113 ครัวเรือน (ร้อยละ 66) จังหวัดที่มีสัดส่วนการพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรริมฝั่งสูงสุด คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดมุกดาหารหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

          การเปลี่ยนแปลงของการทำเกษตรริมฝั่งในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด    ส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 76 ครัวเรือน (ร้อยละ 45) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ  มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าผลผลิตลดลงสูงที่สุด จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่ามีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 71 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดบึงกาฬ มีสัดส่วนครัวเรือนที่เห็นว่าการเติบโตของพืชลดลงสูงที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิต ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าครัวเรือนของตนเองมีรายได้จากการขายผลผลิตลดลง จำนวน 86 ครัวเรือน (ร้อยละ 51) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงที่สุดคือ จังหวัดเลย จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกร ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าในหมู่บ้านตนเองนั้นมีจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 100 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าจำนวนเกษตรกรลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิต

                  – ด้านพื้นที่เกษตรกรรม ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองมีพื้นที่เกษตรกรรมเท่าเดิม จำนวน 104 ครัวเรือน (ร้อยละ 61) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่มีพื้นที่เกษตรกรรมลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิตและจำนวนเกษตรกร

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 84 ครัวเรือน (ร้อยละ 49) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพลดลงสูงที่สุด จำนวน 7 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและ สารกำจัดศัตรูพืชเท่าเดิม จำนวน 72 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นสูงที่สุด จำนวน 9 ครัวเรือน (ร้อยละ 60)

                  – ด้านการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด ที่ทำการเกษตรริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัวจำนวน 152 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุด คือ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 15 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดบึงกาฬ จำนวน  12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง ได้แก่  การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 124 ครัวเรือน (ร้อยละ 82)

 

Scroll to Top