ด้านเศรษฐกิจ สังคม

การบริการของระบบนิเวศ ปี 2563

การศึกษาผลกระทบด้านการให้บริการระบบนิเวศ

การศึกษาด้านการให้บริการระบบนิเวศในปี 2563 เป็นการศึกษาที่ดำเนินการเก็บข้อมูลความคิดเห็นของประชากรที่ใช้บริการระบบนิเวศแม่น้ำโขง 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตอาหารหรือ เป็นแหล่งอาหาร (Provisioning) ด้านวัฒนธรรม (Cultural) ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating) และด้านการสนับสนุน (Supporting) และได้รับผลกระทบจาการกเปลี่ยนแปลงสภาพของแม่น้ำโขงต่อการให้บริการระบบนิเวศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของต่อการให้บริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขงในพื้นที่มีแนวโน้มความเสี่ยงด้านการให้บริการระบบนิเวศและใช้เป็นข้อมูลประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน บริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับเขื่อนไซยะบุรีมากที่สุด ได้แก่ 1) อ.เชียงคาน จ.เลย 2) อ.สังคม จ.หนองคาย 3) อ.ท่าอุเทน จ. นครพนม โดยมีลักษณะการให้บริการระบบนิเวศที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ พื้นที่ อ.เชียงคาน จ.เลย และ อ.ท่าอุเทน จ. นครพนม มีการลักษณะการให้บริการระบบนิเวศโดยเน้นเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งอาหารทั้งพื้นที่เกษตรและประมง ด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม และด้านการควบคุม สภาพแวดล้อม ส่วน อ.สังคม จ.หนองคาย มีการลักษณะการให้บริการระบบนิเวศโดยเน้นเฉพาะ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแหล่งอาหารที่เป็นพื้นที่ประมง และ ด้านการสนับสนุน ซึ่งการศึกษาผลกระทบการให้บริการระบบนิเวศในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 3 พื้นที่เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นก่อนการดำเนินการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี ดังนั้นในปี 2563 นี้จะทำการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายเดียวกับการศึกษาปี 2561 เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบการให้บริการระบบนิเวศก่อนเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรีและหลังการดำเนินการเปิดใช้งานเขื่อนไซยะบุรี อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 ถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบการศึกษาผลกระทบการให้บริการระบบนิเวศและสามารถนำมาขยายผลไปยังการศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไป

การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศ ในปี 2563 ดำเนินการโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นเป็นรายบุคคลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (ปรับปรุงจากเครื่องมือ แบบสอบถาม Social Impact Monitoring and Vulnerability Assessment (SIMVA) 2561) จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3 พื้นที่ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายประเภทกลุ่มประธาน/กรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้นำชุมชนและหน่วยงานราชการ รวมทั้งหมด 44 ตัวอย่าง และกลุ่มเป้าหมายประเภทกลุ่มครัวเรือน รวมทั้งหมด 370 ตัวอย่าง ข้อมูลความคิดเห็นของประชากรนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ผลโดยสถิติที่ใช้เป็นสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ จำนวน (n) ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) การประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลผลกระทบการบริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขง ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตอาหารหรือ เป็นแหล่งอาหาร (Provisioning) ด้านวัฒนธรรม (Cultural) ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating) และด้านการสนับสนุน (Supporting)


ภาพการเก็บข้อมูลในพื้นที่ อ.เชียงคาน จ.เลย

ภาพการเก็บข้อมูลในพื้นที่ อ.สังคม จ.หนองคาย


ภาพการเก็บข้อมูลในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

ผลการศึกษา
ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนต่อผลกระทบการบริการระบบนิเวศแม่น้ำโขง อ.เชียงคาน จ.เลย

ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนต่อผลกระทบการบริการระบบนิเวศแม่น้ำโขง อ.สังคม จ.หนองคาย


ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนต่อผลกระทบการบริการระบบนิเวศแม่น้ำโขง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

Scroll to Top