ด้านชีวภาพ
ด้านประมง ปี พ.ศ.2562
การศึกษาด้านประมง
1. วิธีการศึกษาและวัตถุประสงค์
การดำเนินศึกษาด้านประมงในพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงภายใต้โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานในปี พ.ศ. 2562 ได้ออกแบบและกำหนดวิธีการศึกษาและเก็บสำรวจข้อมูลออกเป็น 4 วิธี ได้แก่
1.1. การสำรวจตลาด (Market approach)
- วิธีการศึกษา
- อ้างอิงตามวิธีในเอกสาร Rapid Fishery Assessment by Market Survey (RFAMS) An Improved Rapid Assessment Approach to Characterizing Fish Landing in Developing Countries (White et al. 2014)เพื่อดูชนิดและปริมาณปลาที่จับมาจากการประมงในแม่น้ำและพื้นที่ศึกษา
- วัตถุประสงค์
- 1) เพื่อสำรวจชนิด (Species) ของสัตว์น้ำที่วางขายในตลาดในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นชนิดสัตว์น้ำที่จับมาจากแม่น้ำโขง และลำน้ำสาขาเป็นหลัก
2) เพื่อศึกษาชนิดของสัตว์น้ำที่เป็นที่นิยมในการนำมาบริโภคของชุมชนในพื้นที่
3) เพื่อศึกษาขนาดของสัตว์น้ำ และรวมทั้งศึกษาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ (ถ้ามี)
1.2. การเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ จากกลุ่มประมงที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขงสายประธาน (Fish Landing Approach)
- วิธีการศึกษา
- ลงพื้นที่เพื่อสำรวจกลุ่มประมงใน 28 อำเภอ ที่ติดแม่น้ำโขงสายประธาน ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยการสอบถามชาวประมง เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การทำประมง จำนวนชาวประมง จำนวนเรือที่ใช้ในการทำประมง เครื่องมือประมงที่ใช้ ชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำที่จับได้
- วัตถุประสงค์
- 1) เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำ ที่ถูกจับได้โดยเครื่องมือประมงประเภทต่าง ๆ จากแม่น้ำโขงสายประธานและลำน้ำสาขา ในแต่ละช่วงฤดูกาล
2) เพื่อเปรียบเทียบชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำที่ได้ กับการสำรวจตลาดในท้องถิ่น
3) เพื่อสำรวจจำนวนกลุ่มชาวประมงในท้องถิ่นที่รวมตัวกัน ประกอบอาชีพประมง ในบริเวณแม่น้ำโขงสายประธานและลำน้ำสาขา
4) เพื่อสำรวจจำนวนชาวประมง และจำนวนเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมง และเครื่องมือประมงที่นิยมใช้ในการจับสัตว์น้ำ ของกลุ่มประมงในแต่ละพื้นที่
5) เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบอาชีพประมง วิธีการศึกษา
1.3. การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (Seinning Net)
- วิธีการศึกษา
- พิจารณาความเหมาะสมของเครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ ตามสภาพแวดล้อม และลักษณะของแหล่งน้ำ รวมถึงขนาดชนิดสัตว์น้ำที่ต้องการศึกษา ซึ่งเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (Beach Seine) เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสม มากที่สุด โดยโครงการฯ ใช้ อวนที่มีความยาว 25 เมตร ขนาดตาอวน 0.5 เซนติเมตร ความลึกประมาณ 3.5 เมตร และกำหนดให้เก็บตัวอย่างพื้นที่ละ 3-5 ครั้ง (แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละฤดูกาล)
- วัตถุประสงค์
- 1) เพื่อศึกษาชนิดและองค์ประกอบของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่สำรวจพบในแต่ละฤดูกาล
2) เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำ
3) เพื่อหาค่าความชุกชุมของสัตว์น้ำที่ได้จากการใช้เครื่องมือประมง (อวนทับตลิ่ง) ในหน่วยต่อพื้นที่
4) เพื่อหาค่าผลผลิตของสัตว์น้ำที่ได้จากการใช้เครื่องมือประมง (อวนทับตลิ่ง) ในหน่วยน้ำหนักต่อพื้นที่
5) เพื่อศึกษาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำบางชนิด ที่จับได้โดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง
6) เพื่อสำรวจแหล่งวางไข่ และแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำ (หากพบลูกปลาขนาดเล็ก บ่งชี้ได้ว่า บริเวณดังกล่าวอาจเป็นแหล่งวางไข่ หรือเลี้ยงตัวอ่อนของปลาชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการอพยพระยะสั้น)
รูปที่ 1 แผนที่จุดเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน สำหรับโครงการฯ ปี พ.ศ. 2562
1.4. การเก็บบันทึกข้อมูลเครื่องมือประมง และผลผลิตประมง ในแต่ละพื้นที่โดยกลุ่มประมงท้องถิ่น
วิธีการศึกษา
ดำเนินการประสานงานผ่านทางแกนนำในแต่ละพื้นที่ เพื่อคัดเลือกตัวแทนชาวประมงท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอละ 1 คน จำนวน 28 อำเภอ โดยต้องเป็นกลุ่มประมงอยู่ติดริมแม่น้ำโขง และมีอาชีพทำการประมงในแม่น้ำโขงสายประธาน หรือลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เท่านั้น เพื่อทำการบันทึก เครื่องมือประมงที่ใช้ ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้ ขนาดสัตว์น้ำที่จับได้ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ เวลาที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำ โดยการเก็บข้อมูลในช่วงแรก จะทำการเก็บเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เพื่อให้ครอบคลุมช่วงเวลาตามระดับการขึ้น-ลง ของระดับน้ำ ได้แก่ ช่วงน้ำเริ่มขึ้น และช่วงน้ำลง
วัตถุประสงค์
- 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลของชนิดพันธุ์ปลา หรือสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ ที่จับได้จากกลุ่มประมงท้องถิ่นในพื้นที่
2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของเครื่องมือแต่ละประเภทที่ใช้ในแม่น้ำโขงต่อหน่วยลงแรงประมง หรือ CPUE และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือในการทำประมงของแต่ละพื้นที่
3) เพื่อรวบรวมข้อมูลการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา จากการบันทึกของชาวประมง ในแต่ละอำเภอ
จากรายละเอียดการเก็บและสำรวจข้อมูลทั้ง 4 วิธี โครงการฯ ได้สรุปวิธีและความถี่ในการเก็บข้อมูลด้านประมงในแต่ละอำเภอดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สรุปวิธีการศึกษาในแต่ละพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ศึกษา | ความถี่ในการเก็บตัวอย่าง1/ | การสำรวจตลาด | สำรวจกลุ่มประมงที่พบบริเวณแม่น้ำโขงสายประธาน | การเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง | การเก็บบันทึกโดยกลุ่มประมงท้องถิ่น2/ | |
จ. เชียงราย | อ.เชียงแสน | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
อ.เชียงของ | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.เวียงแก่น | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
จ.เลย | อ.เชียงคาน | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
อ.ปากชม | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
จ.หนองคาย | อ.ท่าบ่อ | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ |
อ.เมือง | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ | |
อ.รัตนวาปี | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ | |
อ.โพนพิสัย | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.ศรีเชียงใหม่ | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.สังคม | 1 ครั้ง | – | ✓ | – | ✓ | |
จ.บึงกาฬ | อ.บึงโขงหลง | 1 ครั้ง | – | ✓ | – | ✓ |
อ.บุ่งคล้า | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.ปากคาด | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ | |
อ.เมืองบึงกาฬ | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
จ.นครพนม | อ.บ้านแพง | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ |
อ.ท่าอุเทน(บริเวณปากแม่น้ำสงคราม) | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.เมืองนครพนม | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ | |
อ.ธาตุพนม | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
จ.มุกดาหาร | อ.หว้านใหญ่ | 1 ครั้ง | – | ✓ | – | ✓ |
อ.เมืองมุกดาหาร | 1 ครั้ง | ✓ | – | – | ✓ | |
อ.ดอนตาล | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
จ.อำนาจเจริญ | อ.ชานุมาน | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
จ.อุบลราชธานี | อ.เขมราฐ | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | – | ✓ |
อ.นาตาล | 1 ครั้ง | – | ✓ | – | ✓ | |
อ.โพธิ์ไทร | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
อ.ศรีเมืองใหม่ | 1 ครั้ง | – | – | – | ✓ | |
อ.โขงเจียม (บริเวณแม่น้ำมูล) | 1 ครั้ง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
หมายเหตุ: 1/ กำหนดช่วงระยะเวลาการสำรวจที่ระดับน้ำเริ่มขึ้น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
2/ บันทึกข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2562
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
2.1. หลังจากเก็บตัวอย่างปลาในแต่ละพื้นที่ โครงการฯ จะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้ วัดความยาว และชั่งน้ำหนักปลาโดยความยาวของปลาจะวัดเป็นความยาวมาตรฐาน (Standard Length, SL) โดยวัดจากปลายสุดทางด้านหัว
ไปจนถึงคอดหาง แสดงดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 การวัดความยาวและชั่งน้ำหนักปลา |
2.2. จำแนกวิเคราะห์ชนิดปลาที่พบใช้เอกสารคู่มือปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและเอกสารด้านอนุกรมวิธานอื่นๆ เช่น Rainboth, Vidthayanon& Mai, 2012; Rainboth, 1996; Kottelat, 2001.
2.3. การประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index) จะใช้สูตรการคำนวณของ Shannon and Weaver (1963) ดังนี้
2.4. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ โดยใช้หน่วยน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้ คิดต่อพื้นที่ที่จับสัตว์น้ำ โดยรายงานเป็น หน่วย กิโลกรัมต่อไร่
2.5. การประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ โดยใช้จำนวนสัตว์น้ำ (ตัว) ที่จับได้ คิดต่อพื้นที่จับสัตว์น้ำ โดยรายงานเป็นตัวต่อไร่
2.6. การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น พื้นที่ หรือค่า CPUE โดยคำนวณจากสูตร
2.7. การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา
2.7.1. การประเมินระยะเจริญพันธุ์ในแต่ละฤดู ของปลาชนิดที่สำคัญที่เก็บได้ทั้งจากการสำรวจการจับโดยตรงในภาคสนามและจากตลาด-การขึ้นปลาโดยเลือกประเมินชนิดที่สำคัญทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ รวมถึงชนิดที่มีการย้ายถิ่น (อิงจากชนิดในรายงานของ MRC Fisheries Programme) ในการประเมินระยะเจริญพันธุ์ปลาประยุกต์จากแนวทางของ Nikolsky (1963) โดยผ่าดูระยะของรังไข่-อัณฑะของปลาในภาคสนาม และจะพิจารณาแบ่งระยะเจริญพันธุ์ออกเป็น 4 ระยะ โดยใช้กล้องสำหรับระยะเจริญพันธุ์ แบ่งได้ดังนี้
- V: Virgin เป็นระยะที่ยังไม่มีการพัฒนารังไข่-อัณฑะ
- E: Early-mid developing เป็นระยะที่พัฒนารังไข่-อัณฑะ ไปราวๆ ในครึ่งระยะ
- F: Full develop เป็นระยะที่พัฒนารังไข่-อัณฑะเต็มที่
- S: Spent เป็นระยะที่เพิ่งมีการวางไข่ และน้ำเชื้อแล้ว
Virgin เป็นระยะที่ยังไม่มีการพัฒนารังไข่-หรืออัณฑะ | Early-mid developing เป็นระยะที่มีการพัฒนาของรังไข่ หรืออัณฑะไปราวๆ ครึ่งระยะ |
Full develop เป็นระยะที่มีการพัฒนารังไข่-หรืออัณฑะเต็มที่ | Spent เป็นระยะที่เพิ่งมีการปล่อยหรือวางไข่ |
รูปแสดงการพัฒนาของรังไข่ในระยะต่างๆ แสดงดังรูปที่ 3
2.7.2. การประเมินค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ของปลา ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศจะทำให้รู้ได้ว่าปลาที่เจริญพันธุ์ แต่ละชนิดจะมีช่วงฤดูผสมพันธุ์วางไข่ในช่วงใดของปี โดยนำตัวอย่างปลาที่เก็บตัวอย่างได้นำมาทำความสะอาด ชั่งน้ำหนักบันทึกผลการผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดออกแล้วตัดเนื้อเยื่อ ต่างๆ ออกให้เหลือแต่อวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้นแล้วนำมาชังน้ำหนัก และนำมาหาค่าดัชนีความสมบูรณ์ของอวัยวะสืบพันธุ์ตามวิธีของ Benfey and Sutterlin (1984) โดยใช้สูตร
GSI = (นํ้าหนักอวัยวะเพศปลา x 100)/นํ้าหนักตัวปลา
จากวิธีการเก็บสำรวจข้อมูล และข้อมูลด้านประมงที่โครงการฯ จะดำเนินการวิเคราะห์ทั้งหมด สามารถสรุปความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นในการวิเคราะห์ข้อมูล และวิธีการเก็บข้อมูลสรุปดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สรุปวิธีการวิเคราะห์ และข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูล | ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจาก | |||
การสำรวจตลาด(Market approach) | กลุ่มประมงท้องถิ่น บริเวณท่าขึ้นปลา(Fish Landing Approach) | เก็บตัวอย่างด้วยอวนทับตลิ่ง (Seining Net) | ข้อมูลผลผลิตประมงในแต่ละพื้นที่ | |
การศึกษาจำนวนชนิดของสัตว์น้ำ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
การประเมินดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Fishes Species Diversity Index) | – | – | ✓ | – |
การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ | – | – | ✓ | – |
กาประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ | – | – | ✓ | – |
การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมง (Catch per Unit of Effort) | – | – | ✓ | ✓ |
การศึกษาอวัยวะสืบพันธ์ของปลา – การศึกษาระยะพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาในแต่ละฤดูกาล – การศึกษาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา โดยใช้ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) | ✓ | ✓ | ✓ | – |
2.8. การประเมินพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง
รวบรวมข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ฤดูกาล ในปี พ.ศ. 2563 มาทำการประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อมูลที่จะใช้ในการวิเคราะห์ตามเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ แสดงดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อประเมินการพิจารณาพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง
เกณฑ์การประเมิน | ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ |
การขาดความเชื่อมต่อ แยกส่วน และขัดขวางการอพยพย้ายถิ่น (Connectivity, Fragmentation and Migratory System) | – ชนิดปลาที่เป็นปลาอพยพในระยะไกล (Long Migratory) และระยะสั้น (Short Migratory) |
การถ่วงเวลาการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์น้ำ (Delay in Migration) | – ระยะเวลาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา ของปลาชนิดเดียวกัน เปรียบเทียบกันในแต่ละปี – ระยะเวลาที่สำรวจพบลูกปลาของปลาอพยพชนิดต่างๆ |
– การเข้าถึงและมีอยู่ของแหล่งที่อยู่อาศัย (Accessibility and Availability of Habitats) | – การยังพบชนิดปลาที่อพยพในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ อย่างปกติ ตัวอย่าง เช่น ในช่วงฤดูน้ำเริ่มลง ชาวประมง จะจับได้ ปลาหมู ปลารากกล้วย และปลาชะอี ปริมาณมากหรือการพบปลาเดือนมกราคมของทุกปี ในอนาคต ในช่วงฤดูกาลเดียวกันหากไม่พบปลาชนิดดังกล่าว อาจบ่งชี้ได้ว่า ผลกระทบจากเขื่อนในแม่น้ำโขงสายประธานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ต่อระบบนิเวศทำให้ปลาที่สำคัญชนิดดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยได้ ตามฤดูกาลที่ควรจะเป็น |
การเปลี่ยนแปลงความหลากหลายและความอุดมชนิดพันธุ์ (Species Diversity and Abundance) | – เปรียบเทียบชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่พบตามช่วงฤดูกาล ทั้งจาก การสำรวจตลาดท้องถิ่น กลุ่มประมงท้องถิ่น การสำรวจโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง และการเก็บข้อมูลสัตว์น้ำโดยตัวแทนชาวประมงในแต่ละพื้นที่ กับข้อมูลการศึกษาในอดีต – เปรียบเทียบโดยใช้ค่าดัชนีความหลากพันธุ์ของสัตว์น้ำ เปรียบเทียบกับข้อมูลการศึกษาในปีก่อนๆ |
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตประมง (Fisheries Yield per Unit area change) | – เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ ในหน่วยน้ำหนักต่อพื้นที่ เปรียบเทียบกับข้อมูลการศึกษาในอดีต – ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตประมง จากการทำแบบบันทึกประมงโดยตัวแทนกลุ่มประมงในพื้นที่ – ศึกษาผลผลิตประมง โดยการใช้ค่า CPUE ของเครื่องมือประมงแต่ละประเภท และแต่ละพื้นที่ |
การเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อาหารของปลา (Change of Fish Food Cycle) | – ชนิดปลาที่เป็นปลาอพยพในระยะไกล (Long Migratory) และระยะสั้น (Short Migratory) – ระยะเวลาการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลา ของปลาชนิดเดียวกัน เปรียบเทียบกันในแต่ละปี – ระยะเวลาที่สำรวจพบลูกปลาของปลาอพยพชนิดต่างๆ – การยังพบชนิดปลาที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของระบบนิเวศ (คุณภาพน้ำ การไหลตามฤดูกาล สภาพพื้นท้องน้ำและชายฝั่ง) ที่ดี เช่น ปลาหมู ปลารากกล้วย ปลายี่สกไทยและปลาชะอี |
การสูญหายของแหล่งที่อยู่ปลา และสัตว์ พืชอื่นๆ (Loss of auna and Flora Habitats) | – ความหลากหลากหลายของชนิดพันธุ์ จากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ เพื่อศึกษาแหล่งวางไข่ และแหล่งอนุบาลตัวอ่อน – ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะแหล่งที่อยู่อาศัยทางกายภาพ และการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ – ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ ที่ไม่ตรงกับสภาพธรรมชาติที่เคยเป็นในอดีต อาจส่งให้สัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดั้งเดิม หากไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ อาจส่งผลต่อการสูญหายของชนิดนั้น ๆ ในบริเวณที่พบในอดีต |
3. ผลการศึกษา
3.1. ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่พบ
การวิเคราะห์ชนิดพันธุ์ปลาที่พบในเขตประเทศไทยภายใต้โครงการฯ นี้ จะพิจารณาและแบ่งชนิดพันธุ์ปลาออกเป็น
4 ประเภท คือ (1) พันธุ์ปลาที่กินได้ และมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (2) พันธุ์ปลาอพยพย้ายถิ่น (3) พันธุ์ปลาที่อยู่ในสถานะเสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ และ (4) พันธุ์ปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจท้องถิ่น จากการเก็บตัวอย่างที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ในช่วงน้ำเริ่มขึ้น เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 สามารถสรุปจำนวนชนิดของปลาแต่ละกลุ่มเบื้องต้นได้ดังนี้
- ชนิดปลาที่พบทั้งหมด มีจำนวน 132 ชนิด
- ประเภทการอพยพ
– กลุ่มปลาขาว (White Fish) มีจำนวน 26 ชนิด
– กลุ่มปลาเทา (Grey Fish) มีจำนวน 23 ชนิด
– กลุ่มปลาดำ (Black Fish) มีจำนวน 13 ชนิด
– ยังไม่สามารถระบุชนิดพันธุ์ได้ เนื่องจากอยู่นอกเหนือรายการตามเอกสาร MRC Technical No.8 มีจำนวน 70 ชนิด - สถานภาพตาม IUCN redlist
– ขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered: CR) มีจำนวน 2 ชนิด
– ใกล้สูญพันธุ์ (Endangerd: EN) มีจำนวน 2 ชนิด
– เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable: VU) มีจำนวน 9 ชนิด
– เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened: NT) มีจำนวน 6 ชนิด
– มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern: LC) มีจำนวน 96 ชนิด
– ข้อมูลไม่เพียงพอ (Data Deficient: DD) มีจำนวน 10 ชนิด
– ยังไม่ได้รับการประเมิน (Not Evaluated: NE) มีจำนวน 4 ชนิด
– ไม่มีในฐานข้อมูล จาก www.fishbase.de มีจำนวน 3 ชนิด
– จำนวนปลาต่างถิ่น (รวมจากการเพาะเลี้ยง) มีจำนวน 5 ชนิด - จำนวนปลาที่กินได้ และหรือมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีจำนวน 99 ชนิด
- จำนวนปลาอพยพ ระยะสั้น ในลำน้ำโขงและลำน้ำสาขา มีจำนวน 27 ชนิด
3.2. การประเมินค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index)
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่งใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปลา โดยใช้สูตรการคำนวณของ Shannon and Weaver พบว่าค่าดัชนีความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ในแต่ละช่วงมีค่าใกล้เคียงกัน แต่มี 2 พื้นที่ในช่วงน้ำเริ่มขึ้นที่มีค่าดัชนีความหลากหลายน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ คือ บริเวณแก่งคุ้ดคู้ อำเภอเชียงคาน และปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน โดยพบว่ามีค่าเท่ากับ 0.99 และ 0.58 ตามลำดับ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 ค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของปลา (Fishes Species Diversity Index) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ | จังหวัด | ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562) |
บ้านสบกก อ.เชียงแสน | เชียงราย | 2.08* |
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ | 1.66* | |
แก่งผาได อ.เวียงแก่น | 1.99** | |
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน | เลย | 0.99** |
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม | 1.84** | |
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย | หนองคาย | 2.22** |
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ | 1.93** | |
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า | บึงกาฬ | 2.26* |
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ | 1.98* | |
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน | นครพนม | 0.58** |
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม | 1.63** | |
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล | มุกดาหาร | 2.44** |
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน | อำนาจเจริญ | 1.31** |
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร | อุบลราชธานี | 1.85** |
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม | 2.49** |
หมายเหตุ: *พื้นที่ในการเก็บตัวอย่างคิดเป็น 300 ตารางเมตร (ลากอวน 3 ครั้ง)
**พื้นที่ในการเก็บตัวอย่างคิดเป็น 400 ตารางเมตร (ลากอวน 4 ครั้ง)
3.3. การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง ใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ พบว่าในช่วงน้ำเริ่มขึ้น ค่าความอุดมสมบูรณ์บริเวณตอนกลางตั้งแต่บ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ ถึง บริเวณปากแม่น้ำสงคราม อำเภอท่าอุเทนมีปริมาณความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยบริเวณบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และบ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงที่สุด คิดเป็น 23.06 และ 10.93 กิโลกรัม/ไร่ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 ค่าความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ (กิโลกรัม/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ | จังหวัด | ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562) |
บ้านสบกก อ.เชียงแสน | เชียงราย | 0.65 |
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ | 5.36 | |
แก่งผาได อ.เวียงแก่น | 1.39 | |
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน | เลย | 0.69 |
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม | 4.46 | |
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย | หนองคาย | 5.47 |
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ | 23.06 | |
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า | บึงกาฬ | 8.19 |
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ | 9.21 | |
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน | นครพนม | 3.71 |
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม | 7.69 | |
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล | มุกดาหาร | 1.53 |
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน | อำนาจเจริญ | 3.23 |
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร | อุบลราชธานี | 10.93 |
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม | 8.38 |
3.4. การประเมินความชุกชุมของสัตว์น้ำ
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำโดยเครื่องมืออวนทับตลิ่ง ใน 15 พื้นที่ เพื่อศึกษาปริมาณความชุกชุมของสัตว์น้ำ พบว่าในช่วงน้ำเริ่มขึ้น บริเวณบ้านหอคำ อำเภอเมืองบึงกาฬ, บ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร และบ้านบุ้งคล้าเหนือ อำเภอบุ้งคล้า มีค่าความชุกชุมสูงที่สุด คิดเป็น 4,850, 4,335 และ 2,544 ตัวต่อไร่ ตามลำดับ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6
ตารางที่ 6 ค่าความชุกชุมของสัตว์น้ำ (ตัว/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ | จังหวัด | ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562) |
บ้านสบกก อ.เชียงแสน | เชียงราย | 256 |
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ | 1,447 | |
แก่งผาได อ.เวียงแก่น | 345 | |
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน | เลย | 486 |
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม | 632 | |
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย | หนองคาย | 1,558 |
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ | 1,220 | |
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า | บึงกาฬ | 2,544 |
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ | 4,850 | |
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน | นครพนม | 1,940 |
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม | 1,763 | |
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล | มุกดาหาร | 400 |
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน | อำนาจเจริญ | 396 |
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร | อุบลราชธานี | 4,335 |
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม | 742 |
3.5. การประเมินประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น
จากการเก็บข้อมูลจากตัวแทนกลุ่มประมงท้องถิ่น ทั้ง 28 อำเภอ พบว่า มีการใช้เครื่องมือทั้งหมด 7 ประเภท คือ ตาข่าย (มอง) ยอ แห ไซ เบ็ด ลอบ และช้อน ส่วนใหญ่มีการใช้ตาข่าย (มอง) เป็นเครื่องมือหลักในการทำประมง ทั้งนี้การดำเนินการ
เพื่อศึกษาค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมือประมงพื้นถิ่น (CPUE) พบว่าเครื่องมือมีความหลากหลายและแตกต่างกัน
ในแต่ละพื้นที่
ขณะที่ค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของอวนทับตลิ่ง ทั้ง 15 พื้นที่ จะคำนวณจากอัตราของน้ำหนักของปลาที่จับได้ในแต่ละสถานี (กิโลกรัม) ต่อพื้นที่ที่ใช้ในการลากอวน (ไร่) (CPUA) ซึ่งมีค่าเท่ากับค่าความอุดมสมบูรณ์ในแต่ละสถานี พบว่าบริเวณ
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ (ตอนกลางของแม่น้ำโขง) เป็นพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำด้วยอวนทับตลิ่งที่สูงที่สุด คิดเป็น 24.97 กิโลกรัม/ไร่ รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ค่าประสิทธิภาพการจับสัตว์น้ำของเครื่องมืออวนทับตลิ่ง (CPUA) (กิโลกรัม/ไร่) จากการสำรวจที่ดำเนินงานภายใต้โครงการฯ ปี พ.ศ. 2562
พื้นที่ | จังหวัด | ช่วงน้ำเริ่มขึ้น (พ.ค. 2562) |
บ้านสบกก อ.เชียงแสน | เชียงราย | 0.65 |
บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ | 5.36 | |
แก่งผาได อ.เวียงแก่น | 1.39 | |
แก่งคุดคู้ อ.เชียงคาน | เลย | 0.69 |
บ้านห้วยเหียม อ.ปากชม | 4.46 | |
บ้านจุมพล อ.โพนพิสัย | หนองคาย | 5.47 |
บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ | 23.06 | |
บ้านบุ่งคล้าเหนือ อ.บุ่งคล้า | บึงกาฬ | 8.19 |
บ้านหอคำ อ.เมืองบึงกาฬ | 9.21 | |
ปากแม่น้ำสงคราม อ.ท่าอุเทน | นครพนม | 3.71 |
บ้านคับพวง อ.ธาตุพนม | 7.69 | |
บ้านดอนตาล อ.ดอนตาล | มุกดาหาร | 1.53 |
บ้านศรีสมบูรณ์ อ.ชานุมาน | อำนาจเจริญ | 3.23 |
บ้านสำโรง อ.โพธิ์ไทร | อุบลราชธานี | 10.93 |
ปากแม่น้ำมูล อ.โขงเจียม | 8.38 |
3.6. การศึกษาอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ
จากการศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ของสัตว์น้ำ พบว่าชนิดของสัตว์น้ำมีความหลากหลายของชนิด และขนาดค่อนข้างแตกต่างกันมาก ซึ่งทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลกันได้ ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศต่อไปในอนาคต
ตารางที่ 8 การศึกษาค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ (Gonadosomatic index; GSI) ช่วงน้ำเริ่มขึ้น ระหว่างวันที่ 14-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
พื้นที่ | ชนิดปลา | จำนวนปลาที่พบทั้งหมดในจุดที่ศึกษา (ตัว) | น้ำหนักตัวปลา(กรัม) | น้ำหนัก ของไข่, น้ำเชื้อ (กรัม) | ระยะเจริญพันธุ์ | ค่า GSI* | ค่า GSI เฉลี่ยสูงสุด | ภาพประกอบ |
ปากแม่น้ำมูล | ตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) | 2 | 780 | 17.42 | E | 2.23 | 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม)1/ | |
ปากแม่น้ำมูล | กาดำ (Labeo chrysophekadian) | 15 | 2,800 | 6 (น้ำเชื้อ) | – | 0.21 | 1.68 ± 0.32% (เดือนกรกฎาคม)1/ | |
ปากแม่น้ำมูล | กาแดง (Epalzeorhynchos frenatus) | 1 | 69.3 | 15.35 | S | 22.15 | – 3/ | |
กองทุนปลาบ้านผาชัน | เผาะ (Pangasius conchophilu) | 1 | 700 | 37 | F | 5.29 | 4.82 ± 1.25% (เดือนสิงหาคม) 1/ | |
กองทุนปลาบ้านผาชัน | เผาะ (Pangasius conchophilu) | 1 | 800 | น้ำเชื้อไหล | – | – | 1.98 ± 0.68% (เดือนสิงหาคม) 1/ | |
ตลาดสดพรเพชร | กาดำ (Labeo chrysophekadian) | 2 | 3,080 | 41.3 | F | 1.34 | 10.04 ± 0.76% (เดือนกรกฎาคม) 1/ | |
ตลาดสดเทศบาลนครพนม | กาดำ (Labeo chrysophekadian) | 4 | 3,000 | 411.4 | S | 13.71 | 10.04 ± 0.76% (เดือนกรกฎาคม) 1/ | |
ตลาดสดบึงกาฬ | เค้าขาว (Wallago attu) | 2 | 7,000 | 980 | S | 14.00 | – 3/ | |
บ้านหอคำ | รากกล้วยด่าง (Acantopsis rungthipae) | 194 | 23.5 | 1.2 | S | 5.11 | – 3/ | |
ตลาดสดวัดธาตุ | ยาง (Pangasius bocourti) | 2 | 10,000 | 700 | F | 7.00 | 2.11 ± 3.78% (เดือนมีนาคม-กัยายน)2/ | |
บ้านจุมพล | สร้อยลูกกล้วย (Labiobarbus siamensis) | 2 | 34.8 | 6.1 | F | 17.53 | – 3/ | |
บ้านหม้อ | ตะเพียนขาว (Barbonymys gonionotus) | 10 | 1,830 | 236.6 | S | 12.93 | 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม) 1/ | |
2,100 | 257 | F | 12.24 | 11.03 ± 1.42% (เดือนกรกฎาคม)1/ | ||||
บ้านหม้อ | กะทุงเหว (Xenentodon cf. canciloides) | 6 | 47.2 | 1.80 | F | 3.81 | – 3/ | |
1 | 655 | 1.80 (น้ำเชื้อ) | – | 0.27 | – 3/ | |||
บ้านห้วยเหียม | สร้อย (Gymnostomus lobatus) | 15 | 24.3 | 1.90 | S | 7.28 | – 3/ | |
บ้านผาได | กะทุงเหว (Xenentodon cf. canciloides) | 2 | 43.8 | 1.8 | F | 4.11 | – 3/ |
หมายเหตุ V= Virgin, E=Early-mid Development, F=Full Development, S=Spent
* ในการศึกษาจะสุ่มเลือกปลาชนิดละ 1 ตัวมาศึกษาระยะเจริญพันธุ์
1/ รายงานการศึกษาดรรชนีความสมบูรณ์เพศของปลาบางชนิดในแม่น้ำโขง (ธงชัย จำปาศรี และคณะ, 2545)
2/ รายงานการศึกษาการเลี้ยงปลา Pangasius bocourti เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดิน (ณัฐพงศ์ วรรณพัฒน์ และคณะ, 2545)
3/ ยังไม่พบข้อมูลอ้างอิง