Menu
ด้านกายภาพ
หลักการแบ่งระดับโอกาสและระดับความรุนแรง
พื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง (Potential risk area) คือ พื้นที่ที่ได้รับการประเมินจากการศึกษาว่ามีระดับความเสี่ยงใดจากน้อยมาก น้อย ปานกลาง สูง และสูงมากในประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนแต่ละประเด็น
โครงการฯ ได้กำหนดความหมายที่ใช้ในการพิจารณาระดับความรุนแรง และโอกาสที่เกิดขึ้น เป็นระดับต่างๆ อธิบายได้ดังนี้
หลักเกณฑ์พิจารณาระดับความรุนแรง
- ระดับหายนะ (Catastrophic) : ความรุนแรงสูงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแบบฉับพลัน ไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า ความเสียหายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพเดิมกลับมาได้เลย หรือต้องใช้เวลายาวนาน จึงจะฟื้นกลับมาได้
- ระดับวิกฤติ (Critical) : ความรุนแรงสูงก่อให้เกิดความเสียหาย แบบครั้งคราว อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า แต่ไม่ชัดเจน ความเสียหายมากแต่ยังสามารถฟื้นฟูกลับได้โดยส่วนใหญ่ หรือสามารถรับสถานการณ์ปรับตัวได้บ้าง
- ระดับตื่นตัว(marginal) : ความรุนแรงทำให้เกิดการตื่นตัว เนื่องจากไม่เคยประสบมาก่อน ไม่อาจคาดการณ์ว่าจะเกิดหรือไม่ ความเสียหายไม่แน่นอน บางครั้งก็มาก บางครั้งก็เพียงเล็กน้อย
- ไม่มีนัยสำคัญ (negligible) : ความรุนแรงน้อย ไม่เห็นนัยสำคัญ รับทราบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้น แยกไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดจากธรรมชาติหรือจากสิ่งที่มารบกวนจากมนุษย์
หลักเกณฑ์พิจารณาโอกาส
- เกิดขึ้นบ่อย (frequent) : เกิดขึ้นเป็นประจำถี่ต่อเนื่อง ตามช่วงเวลา เช่นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และไม่เป็นไปตามธรรมชาติและตามประวัติสถิติในรอบปีที่ผ่านมาก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์
- บางโอกาส (occasional) : เกิดขึ้นไม่ประจำ ไม่ถี่ ไม่ต่อเนื่อง ไม่มีช่วงเวลาแน่นอน อาจเป็นไปตามธรรมชาติหรือไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่สามารถทราบได้แน่ชัด
- นานๆครั้ง (remote) : เกิดขึ้นเพียงเกินกว่าปีละครั้ง หรือหลายปีครั้ง เป็นไปตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
- แทบไม่มีโอกาสเกิด (improbable) : แทบไม่เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นก็มีโอกาสเกิดน้อยมาก
- ไม่เกิดอย่างเด็ดขาด (Eliminated) : ไม่เกิดอย่างเด็ดขาด เป็นไปไม่ได้เลย