หลักการและแนวทาง

หลักการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563

 1.  การศึกษาผลกระทบด้านอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำ

          1) ดำเนินการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลระดับน้ำและอัตราการไหลของน้ำ ของพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านระดับน้ำและอัตราการไหลที่คาดการณ์จากการศึกษาปีก่อนหน้า โดยได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิของสถานีวัดระดับน้ำหลักของสำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ และทบทวนข้อมูลการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          2) คำนวณหาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูน้ำหลาก และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของอัตราการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูน้ำหลาก และจากฤดูน้ำหลากไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล และหาค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของอัตราการไหลและระดับน้ำรายเดือนของแต่ละช่วงเวลา แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามธรรมชาติของอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล

ฤดูกาลช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ)ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ)
ฤดูแล้งปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคมเดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
ฤดูน้ำหลากเดือนมิถุนายนต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน

ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009

          3) เปรียบเทียบและปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหล และระดับน้ำเฉลี่ย โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงเวลา ณ ตำแหน่งพื้นที่ต่าง ๆ จากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของแม่น้ำโขงสายประธานในอาณาเขตประเทศไทย เพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน ได้แก่

  • ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  • ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประมาณตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขง สายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  • ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 อัตราการไหลเฉลี่ยรายวันของแม่น้ำโขง เปรียบเทียบช่วงปีก่อนมีเขื่อน (1985-1991) และหลังมีเขื่อน (2014-2015) ในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ สถานีอุทกวิทยา เชียงแสน

ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน (2561)

          4) ประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาของการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำเปรียบเทียบในช่วงเวลาการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

ระดับแนวโน้มระดับการเปลี่ยนแปลง
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมากมากกว่า 80%

2. การศึกษาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอน

          ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งริมแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย โดยเลือกใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) จากภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการศึกษา ร่วมกับการประมวลผลและจัดทำแผนที่ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสัณฐานของตลิ่งริมน้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทยทั้ง 8 จังหวัด เลือกช่วงเวลาในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรายปี ระหว่างช่วงฤดูแล้งในอดีตและในปีปัจจุบันเพื่อประเมินผลกระทบจากการกัดเซาะของกระแสน้ำโขงต่อพื้นที่ริมตลิ่งบริเวณริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าว มีคุณลักษณะของพื้นที่ระวางกว้าง 183 กิโลเมตรยาว 170 กิโลเมตร และมีความละเอียดของจุดภาพที่ 30×30 เมตร มาทำการวิเคราะห์ประเมินตำแหน่ง พิกัดและขนาดของพื้นที่ริมตลิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ชุดข้อมูลอนุกรมเวลาของภาพถ่ายปีต่าง ๆ เปรียบเทียบกัน(Time Series) โดยมีรายละเอียดดังนี้

          1) การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

  1. ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านสัณฐานตลิ่งริมน้ำโขง ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และเอกสารงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อมูลพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ เช่น ขอบเขตจังหวัด/อำเภอ/ตำบล ในพื้นที่ศึกษา
  3. ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ในพื้นที่ศึกษาและช่วงเวลาเหมาะสม

          2) การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม

  1. วิเคราะห์ภาพถ่ายข้อมูลดาวเทียมในแต่ละปี เพิ่มเติมจากการศึกษาก่อนหน้าและปรับปรุงจนถึงภาพถ่ายปี พ.ศ. 2563
  2. ข้อมูลดาวเทียม Landsat Level 1A ที่มีการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (Radiometric Correction) และ การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction) ซึ่งจะใช้ข้อมูลดาวเทียมในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานมาเป็นเส้นฐานหลัก (Baseline) ของตลิ่งแม่น้ำโขง เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีที่เป็นข้อมูลปีปัจจุบันที่สุด

ตารางที่ 3 ข้อมูลดาวเทียมต่างๆ และช่วงปีและเดือนที่นำภาพมาใช้ในการศึกษานี้

ดาวเทียมปี พ.ศ. ที่นำภาพมาใช้ช่วงเดือนหมายเหตุ
Landsat 5พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2544มกราคม – เมษายน
Landsat 7พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546มกราคม – เมษายน
Landsat 5พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2554มกราคม – เมษายนLandsat 7 Sensor เสียหาย
พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2556มกราคม – เมษายนไม่มีข้อมูล
Landsat 8พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2563มกราคม – เมษายน

          3. การจำแนกด้วยดัชนีผลต่างความชื้น (The Normalize Difference Water Index : NDWI) เป็นการนำภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีมาแยกระหว่างพื้นดินกับพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยการคำนวณ ค่าการสะท้อนแสงในรูปตัวเลข (Digital Number) มีค่าอยู่ที่ -1 ถึง 1 ในที่นี้ คือ การเข้าสัดส่วนซึ่งกันและกันแล้วให้ผลลัพธ์ในการจำแนกในบริเวณที่เป็นน้ำ และพื้นที่ที่ไม่ใช่น้ำได้อย่างชัดเจน ด้วยสมการ

  เมื่อ      Green = ช่วงคลื่นสีเขียว

                        NIR     = ช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้

          4. จำแนกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมจุดภาพ(Supervised Classification) แบบความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood)

          3) ช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่ง

          กลุ่มที่ปรึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงด้วยเทคนิค Overlays Analysis จากข้อมูลแนวเส้นแม่น้ำโขงที่ได้ จากการใช้สมการ Normalize Difference Water Index : NDWI ภายใต้แนวคิดที่จะอ้างอิงแนวแม่น้ำโขงเส้นหลัก ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ที่เป็นทางการของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด และปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงรายปีจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลตามช่วงเวลาของการดำเนินการการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประมาณตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  3. ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของสปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2562-2563)

          ภายหลังจากดำเนินการหาการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขงเรียบร้อยแล้ว กลุ่มที่ปรึกษาได้นำผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาวิเคราะห์ปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขงให้เป็นปัจจุบัน และปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์ประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด

3. การศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพน้ำ

การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน และการรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รายละเอียดแต่ละวิธีแสดงดังนี้   1) การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน

  1. อุณหภูมิน้ำ (Temperature)
  2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
  3. ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen)
  4. การนำไฟฟ้า (Conductivity)
  5. ความขุ่น (Turbidity)
  6. สารแขวนลอย (TSS)
  7. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N)
  8. ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2 -N)
  9. ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N)
  10. ฟอสเฟต
  11. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P)

2) การวิเคราะห์ข้อมูล

  • นำข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2
  • การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำ ตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Water Quality Index for Aquatic life; WQIal) [1] โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQIal ประกอบด้วย DO, pH, NH3, Conductivity, NO3 และ total-P สามารถคำนวณได้ดังสมการ และหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตามตารางที่ 4

                                                                                โดย    pi    คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0

                                                                                           n     คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น M    คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้น ตารางที่ 4 การจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำสำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ

 ค่าคะแนนระดับคุณภาพน้ำ
9.5 ≤ WQI ≤ 10.0A: คุณภาพดีมาก
8.0 ≤ WQI ≤ 9.5B: คุณภาพดี
6.5 ≤ WQI ≤ 8.0C: คุณภาพปานกลาง
4.5 ≤ WQI ≤ 6.5D: คุณภาพไม่ดี
WQI ‹ 4.0E: คุณภาพไม่ดีมาก

ที่มา : MRC Technical Paper No.60, 2016

4. การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม

          รวบรวมข้อมูลการศึกษาเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเปราะบาง และการปรับตัวในปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ แนวทางในการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

          1) การสำรวจระดับหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบเก็บข้อมูลหมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน และ 2) การสำรวจระดับครัวเรือน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

5. การศึกษาผลกระทบด้านการให้บริการระบบนิเวศ

          การศึกษาผลกระทบของการให้บริการระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงในช่วงก่อน (ปี พ.ศ. 2558-2561) และหลังการดำเนินการเปิดใช้งานเขื่อน ไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2563 การศึกษานี้ดำเนินการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง เดือนมกราคม 2564 จากผู้ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้ประโยชน์ของระบบนิเวศแม่น้ำโขง ซึ่งกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มประชากรที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงซึ่งมีชุมชนหนาแน่น มีการพึ่งพาการใช้ประโยชน์จากการให้บริการระบบนิเวศแม่น้ำโขงมีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงจากผลกระทบข้ามพรมแดน และอยู่ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทยใกล้กับการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งประกอบด้วย 3 พื้นที่ ได้แก่

1) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

2) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

3) อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

          การศึกษาได้ดำเนินการสุ่มสัมภาษณ์แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้นำชุมชนและประชากรระดับครัวเรือน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (ปรับปรุงจากเครื่องมือ แบบสอบถาม Social Impact Monitoring and Vulnerability Assessment (SIMVA) 2561

 

6. การประเมินตัวชี้วัดและแผนป้องกันแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม

          ดำเนินการโดยพิจารณาจากชุดข้อมูลต่าง ๆ จากการศึกษาติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ของโครงการศึกษาฯ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ว่าควรนำมาใช้กำหนดเป็นตัวชี้วัดอะไร โดยประเมินว่า สามารถใช้บ่งชี้ สถานการณ์ ผลกระทบ และการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจและสังคมของแม่น้ำโขงโดยเฉพาะในอาณาเขตของประเทศไทย และมีความเหมาะสมที่สมควรใช้ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องในการติดตามประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน ตามขอบเขตการดำเนินงาน TOR ได้พิจารณาประเมินตัวชี้วัดว่า มีความสอดคล้องกับกรอบงานตัวชี้วัดสำหรับลุ่มน้ำโขงที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อให้การกำหนดตัวชี้วัดของการติดตามตรวจสอบผลกระทบข้ามพรมแดนดังกล่าว มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม กำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยในกรอบงานตัวชี้วัดของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กำหนดไว้ 3 ระดับ แสดงดังรูปที่ 2 ได้แก่

1) ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ (Strategic Indicators)

2) ตัวชี้วัดการประเมิน (Assessment Indicators)

3) ดัชนีในการติดตาม (Monitoring Parameters)

รูปที่ 2 กรอบงานตัวชี้วัดของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 3 ระดับ

ที่มา : รายงาน Mekong River Basin Indicator Framework for informing the management of the Mekong River Basin 2019

7. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

             การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา ในพื้นที่ศึกษา โดยประกอบด้วยผู้แทนจาก 8 จังหวัดในพื้นที่ศึกษา เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐในการติดตามตรวจสอบฯ โดยยังคงเน้นการให้ความรู้ข้อมูลจากการศึกษาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความเห็น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบโจทย์คำถาม   การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การติดตามและเฝ้าระวัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่มีพื้นฐานจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รูปที่ 1 อัตราการไหลเฉลี่ยรายวันของแม่น้ำโขง เปรียบเทียบช่วงปีก่อนมีเขื่อน (1985-1991) และหลังมีเขื่อน (2014-2015) ในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ สถานีอุทกวิทยา เชียงแสน

ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน
จากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน (2561)

          4) ประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่
ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาของการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้า
พลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำเปรียบเทียบในช่วงเวลาการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

ระดับแนวโน้มระดับการเปลี่ยนแปลง
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมากมากกว่า 80%

2. การศึกษาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งและการพัดพาตะกอน

          ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลิ่งริมแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย โดยเลือกใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) จากภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการศึกษา ร่วมกับการประมวลผลและจัดทำแผนที่ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสัณฐานของตลิ่งริมน้ำโขงสายประธานในเขตประเทศไทยทั้ง 8 จังหวัด เลือกช่วงเวลาในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงรายปี ระหว่างช่วงฤดูแล้งในอดีตและในปีปัจจุบันเพื่อประเมินผลกระทบจากการกัดเซาะของกระแสน้ำโขงต่อพื้นที่ริมตลิ่งบริเวณริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าว มีคุณลักษณะของพื้นที่ระวางกว้าง 183 กิโลเมตรยาว 170 กิโลเมตร และมีความละเอียดของจุดภาพที่ 30×30 เมตร มาทำการวิเคราะห์ประเมินตำแหน่ง พิกัดและขนาดของพื้นที่ริมตลิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ชุดข้อมูลอนุกรมเวลาของภาพถ่ายปีต่าง ๆ เปรียบเทียบกัน(Time Series) โดยมีรายละเอียดดังนี้

          1) การรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

  1. ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านสัณฐานตลิ่งริมน้ำโขง ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และเอกสารงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. ข้อมูลพื้นฐานทางภูมิศาสตร์ เช่น ขอบเขตจังหวัด/อำเภอ/ตำบล ในพื้นที่ศึกษา
  3. ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat ในพื้นที่ศึกษาและช่วงเวลาเหมาะสม

          2) การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม

  1. วิเคราะห์ภาพถ่ายข้อมูลดาวเทียมในแต่ละปี เพิ่มเติมจากการศึกษาก่อนหน้าและปรับปรุงจนถึงภาพถ่ายปี พ.ศ. 2563
  2. ข้อมูลดาวเทียม Landsat Level 1A ที่มีการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (Radiometric Correction) และ การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (Geometric Correction) ซึ่งจะใช้ข้อมูลดาวเทียมในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานมาเป็นเส้นฐานหลัก (Baseline) ของตลิ่งแม่น้ำโขง เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีที่เป็นข้อมูลปีปัจจุบันที่สุด

ตารางที่ 3 ข้อมูลดาวเทียมต่างๆ และช่วงปีและเดือนที่นำภาพมาใช้ในการศึกษานี้

ดาวเทียมปี พ.ศ. ที่นำภาพมาใช้ช่วงเดือนหมายเหตุ
Landsat 5พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2544มกราคม – เมษายน
Landsat 7พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546มกราคม – เมษายน
Landsat 5พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2554มกราคม – เมษายนLandsat 7 Sensor เสียหาย
พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2556มกราคม – เมษายนไม่มีข้อมูล
Landsat 8พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2563มกราคม – เมษายน

          3. การจำแนกด้วยดัชนีผลต่างความชื้น (The Normalize Difference Water Index : NDWI) เป็นการนำภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปีมาแยกระหว่างพื้นดินกับพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยการคำนวณ
ค่าการสะท้อนแสงในรูปตัวเลข (Digital Number) มีค่าอยู่ที่ -1 ถึง 1 ในที่นี้ คือ การเข้าสัดส่วนซึ่งกันและกันแล้วให้ผลลัพธ์ในการจำแนกในบริเวณที่เป็นน้ำ และพื้นที่ที่ไม่ใช่น้ำได้อย่างชัดเจน ด้วยสมการ

  เมื่อ      Green = ช่วงคลื่นสีเขียว

                        NIR     = ช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้

          4. จำแนกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการจำแนกประเภทข้อมูลแบบควบคุมจุดภาพ(Supervised Classification) แบบความน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood)

          3) ช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตลิ่ง

          กลุ่มที่ปรึกษาได้ดำเนินการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงด้วยเทคนิค Overlays Analysis จากข้อมูลแนวเส้นแม่น้ำโขงที่ได้ จากการใช้สมการ Normalize Difference Water Index : NDWI ภายใต้แนวคิดที่จะอ้างอิงแนวแม่น้ำโขงเส้นหลัก ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเพิ่มเติมให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ที่เป็นทางการของกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด และปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงรายปีจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลตามช่วงเวลาของการดำเนินการการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประมาณตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  3. ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของสปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2562-2563)

          ภายหลังจากดำเนินการหาการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขงเรียบร้อยแล้ว กลุ่มที่ปรึกษาได้นำผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาวิเคราะห์ปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของริมตลิ่งแม่น้ำโขงให้เป็นปัจจุบัน และปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์ประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงของตลิ่ง ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด

3. การศึกษาผลกระทบด้านคุณภาพน้ำ

การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน และการรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำผิวดินของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รายละเอียดแต่ละวิธีแสดงดังนี้

  1) การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน

  1. อุณหภูมิน้ำ (Temperature)
  2. ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
  3. ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen)
  4. การนำไฟฟ้า (Conductivity)
  5. ความขุ่น (Turbidity)
  6. สารแขวนลอย (TSS)
  7. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N)
  8. ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2 -N)
  9. ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N)
  10. ฟอสเฟต
  11. ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P)

2) การวิเคราะห์ข้อมูล

  • นำข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 16 ง ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 สำหรับคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2
  • การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำ ตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Water Quality Index for Aquatic life; WQIal[1] โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQIal ประกอบด้วย DO, pH, NH3, Conductivity, NO3 และ total-P สามารถคำนวณได้ดังสมการ และหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตามตารางที่ 4

    โดย    pi    คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0

                                                                                           n     คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น

M    คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้น

ตารางที่ 4 การจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำสำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ

 ค่าคะแนนระดับคุณภาพน้ำ
9.5 ≤ WQI ≤ 10.0A: คุณภาพดีมาก
8.0 ≤ WQI ≤ 9.5B: คุณภาพดี
6.5 ≤ WQI ≤ 8.0C: คุณภาพปานกลาง
4.5 ≤ WQI ≤ 6.5D: คุณภาพไม่ดี
WQI ‹ 4.0E: คุณภาพไม่ดีมาก

ที่มา : MRC Technical Paper No.60, 2016

4. การศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม

          รวบรวมข้อมูลการศึกษาเศรษฐกิจ สังคม ด้านวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเปราะบาง และการปรับตัวในปัจจุบันที่อยู่ในพื้นที่ศึกษา และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ แนวทางในการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิเป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

          1) การสำรวจระดับหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบเก็บข้อมูลหมู่บ้าน คือ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้าน และ

2) การสำรวจระดับครัวเรือน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

5. การศึกษาผลกระทบด้านการให้บริการระบบนิเวศ

          การศึกษาผลกระทบของการให้บริการระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงในช่วงก่อน (ปี พ.ศ. 2558-2561) และหลังการดำเนินการเปิดใช้งานเขื่อน ไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2562 ถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2563 การศึกษานี้ดำเนินการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง เดือนมกราคม 2564 จากผู้ได้รับผลกระทบหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการใช้ประโยชน์ของระบบนิเวศแม่น้ำโขง ซึ่งกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มประชากรที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำโขงซึ่งมีชุมชนหนาแน่น มีการพึ่งพาการใช้ประโยชน์จากการให้บริการระบบนิเวศแม่น้ำโขงมีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงจากผลกระทบข้ามพรมแดน และอยู่ในส่วนของแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทยใกล้กับการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งประกอบด้วย 3 พื้นที่ ได้แก่

1) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

2) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

3) อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

          การศึกษาได้ดำเนินการสุ่มสัมภาษณ์แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้นำชุมชนและประชากรระดับครัวเรือน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (ปรับปรุงจากเครื่องมือ แบบสอบถาม Social Impact Monitoring and Vulnerability Assessment (SIMVA) 2561

 

6. การประเมินตัวชี้วัดและแผนป้องกันแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม

          ดำเนินการโดยพิจารณาจากชุดข้อมูลต่าง ๆ จากการศึกษาติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ของโครงการศึกษาฯ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ว่าควรนำมาใช้กำหนดเป็นตัวชี้วัดอะไร โดยประเมินว่า สามารถใช้บ่งชี้ สถานการณ์ ผลกระทบ และการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลง ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจและสังคมของแม่น้ำโขงโดยเฉพาะในอาณาเขตของประเทศไทย และมีความเหมาะสมที่สมควรใช้ในระยะยาวอย่างต่อเนื่องในการติดตามประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน ตามขอบเขตการดำเนินงาน TOR ได้พิจารณาประเมินตัวชี้วัดว่า มีความสอดคล้องกับกรอบงานตัวชี้วัดสำหรับลุ่มน้ำโขงที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อให้การกำหนดตัวชี้วัดของการติดตามตรวจสอบผลกระทบข้ามพรมแดนดังกล่าว มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการลุ่มน้ำของประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ตั้งแต่ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม กำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยในกรอบงานตัวชี้วัดของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กำหนดไว้ 3 ระดับ แสดงดังรูปที่ 2 ได้แก่

1) ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ (Strategic Indicators)

2) ตัวชี้วัดการประเมิน (Assessment Indicators)

3) ดัชนีในการติดตาม (Monitoring Parameters)

รูปที่ 2 กรอบงานตัวชี้วัดของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 3 ระดับ

ที่มา : รายงาน Mekong River Basin Indicator Framework for informing the management of the Mekong River Basin 2019

7. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

             การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา ในพื้นที่ศึกษา โดยประกอบด้วยผู้แทนจาก 8 จังหวัดในพื้นที่ศึกษา เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐในการติดตามตรวจสอบฯ โดยยังคงเน้นการให้ความรู้ข้อมูลจากการศึกษาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความเห็น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบโจทย์คำถาม   การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การติดตามและเฝ้าระวัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่มีพื้นฐานจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Scroll to Top