เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งที่ 2/2561

การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครั้งที่ 2
1. วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานผลการศึกษา การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ มาตรการลดและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนและแผนการปรับตัว รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบาย และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และการดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป

2. กลุ่มเป้าหมาย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในลุ่มน้ำโขงทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 15 กิโลเมตร จากริมฝั่งแม่น้ำโขง

3. สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม

ดำเนินการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-15.30 น. ณ ห้องบอลรูมเอ โรงแรมลายทอง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 100 ราย รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 1 และบรรยากาศการประชุมแสดงดังรูปที่ 1

ลำดับ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน (ราย)
1 ผู้ดำเนินการจัดทำโครงการ 14
 – กรมทรัพยากรน้ำ 8
 – บริษัทโครงการฯ 6
2 หน่วยงานราชการ 5
 – ส่วนกลาง 2
 – ส่วนภูมิภาค 3
3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 2
4 เครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง 78
จังหวัดเชียงราย 10
จังหวัดเลย 10
จังหวัดหนองคาย 8
จังหวัดบึงกาฬ 10
จังหวัดนครพนม 9
จังหวัดมุกดาหาร 10
จังหวัดอำนาจเจริญ 8
จังหวัดอุบลราชธานี 13
5 ผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม 1
รวม 100
   
 บรรยากาศการลงทะเบียน  บรรยากาศภาพรวมของการประชุม
   
 กล่าวรายงานโดย ดร. ภาณุ มนุญวรวงศ์
ผู้อำนวยการส่วนติดตามและประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน
 กล่าวเปิดโดย นายโสภณ สุวรรณรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุบลราชธานี
   
   
 บรรยากาศการแสดงความคิดเห็น
 รูปที่ 1 บรรยากาศการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2

4. ผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ประเด็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะรายจังหวัด

จังหวัด ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
1. เชียงราย – ในการศึกษาเรื่องตะกอนแขวนลอย ซึ่งพบว่าปริมาณตะกอนมีแนวโน้มลดลง แต่ในสภาพความจริง ปริมาณตะกอนมีแนวโน้มที่ค่อนข้างเพิ่มขึ้น
– มีความกังวลว่า หากมีการสร้างเขื่อนเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดสันดอนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การพังทลายของตลิ่งเพิ่มขึ้นด้วย
– เห็นว่ามาตรการของภาครัฐ ในการสร้างเขื่อนกันตลิ่ง ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ควรพิจารณา
หาแนวทางอื่น ๆ เพิ่มเติม
– ควรยกระดับเรื่องสวัสดิการความปลอดภัยของเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น ควรมีประกันภัยด้าน
ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ในการเดินทางมาร่วมประชุม การเพิ่มสวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาร่วมประชุม เป็นต้น
2. เลย – ในการศึกษาเรื่องเศรษฐกิจและสังคม เรื่องผลกระทบภัยแล้ง และน้ำท่วม มีความเห็นว่าผลกระทบเกิดจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ไม่ใช่ผลกระทบจากแม่น้ำโขง
– เห็นว่าประเทศลาวมีการดูดทรายมากกว่าประเทศไทย แต่มีการพังทลายน้อยกว่าประเทศไทย อาจเป็นสาเหตุที่ปริมาณตะกอนลดลง
– ควรศึกษาข้อมูลลุ่มน้ำสาขาอื่น ๆ และการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติม เนื่องจากเกรงว่าการก่อสร้างประตูระบายน้ำศรีสองรักจะไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมได้
– ในภาพรวมทั้งประเทศ ยังขาดเรื่องการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบทั้งประเทศ
– ควรมีการบูรณาการข้อมูลการก่อสร้างเขื่อนและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ร่วมกันระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
– การศึกษาปีงบประมาณต่อไป ควรพิจารณาการกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน และงบประมาณสำหรับการศึกษาใหม่ ควรให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน
– ผลการศึกษา ควรมีการจัดทำรายงานแยกเป็นรายจังหวัดเพิ่มเติม และเผยแพร่ข้อมูลกลับสู่ภาคประชาชนเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับกลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาจังหวัดในอนาคต
– ควรมีการจัดทำระบบบัญชีในเครื่องข่ายของแกนนำแต่ละพื้นที่
– ต้องการให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการปรับปรุงและยกระดับเรื่องสวัสดิการความปลอดภัยของเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น ควรมีประกันภัยด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ในการเดินทางมาร่วมประชุม การเพิ่มสวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาร่วมประชุม เป็นต้น
3. หนองคาย – ควรพิจารณาเรื่องการกัดเซาะและการทับถมพื้นที่ แยกแต่ละช่วง เป็นรายจังหวัด พิจารณาว่าช่วงใดที่มีการกัดเซาะ/ทับถม สูงสุด แล้วเสนอให้มีการสร้างเขื่อนกันตลิ่งเฉพาะในบริเวณที่มีการกัดเซาะสูงสุด
– การปฏิบัติการเรื่องการกักเก็บน้ำจากเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนจิ่งหง มีผลต่อระดับน้ำบริเวณช่วงท้ายน้ำตั้งแต่จังหวัดหนองคายลงไป ส่งผลต่อเรื่องความเชื่อดั้งเดิมของประชาชนภายในพื้นที่ และในเวลาไม่นานก็มีการระบายน้ำ ทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปลากระชัง ทำให้ปลาปรับตัวไม่ทันและน็อคน้ำ อีกทั้งยังมีตะกอนที่ถูกพัดพามาเพิ่มเติม
– ศึกษาเรื่องการสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่ปากน้ำที่เคยมีการสร้างประตูระบายน้ำกั้นระหว่างลำน้ำสาขาและแม่น้ำโขง เช่น ห้วยโมง ห้วยหลวง
– ควรให้ภาคประชาชนได้มีส่วนในการดูแลเรื่องการเปิดปิด/การระบายน้ำ (ปัจจุบันกรมเจ้าท่าเป็นผู้รับผิดชอบ)
4. บึงกาฬ – ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับลุ่มน้ำสาขาอื่นๆ ในพื้นที่ศึกษาเพิ่มเติม เช่น บึงโขงหลง กุดทิง เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือไว้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานรัฐ ว่าการสร้างประตูระบายน้ำมีผลกระทบกับภาคประชาชนอย่างไร
– ควรมีการยกระดับเรื่องสวัสดิการความปลอดภัยของเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น ควรมีประกันภัยด้านความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ในการเดินทางมาร่วมประชุม การเพิ่มสวัสดิการค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาร่วมประชุม เป็นต้น
5. นครพนม – ควรหาแนวทางการส่งต่อหรือเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปยังภาคีเครือข่าย หรือเชื่อมต่อกับยุทธศาสตร์จังหวัด ควรเชื่อมโยงให้เป็นรูปธรรม ให้คณะทำงานเครือข่ายเป็นส่วนหนึ่งในแผนการดำเนินงานระดับจังหวัด
– ควรให้หน่วยงานราชการระดับจังหวัด รวม 8 จังหวัด รับรู้ผลการการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เพื่อได้จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป ช่วยเหลือชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
– ควรศึกษาและเชื่อมโยงข้อมูลลำน้ำสาขากับแม่น้ำโขง เช่น ลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม เป็นต้น
– เรื่องการศึกษาพันธุ์ปลา ควรศึกษาเรื่องสภาพภูมินิเวศว่า เหตุใดปลาจึงชุกชุมในช่วงนั้นๆ เหตุใดจึงมีการเจริญเติบโตได้ดี เหตุใดจึงมีการอพยพในช่วงนั้นๆ อุณหภูมิที่เหมาะสมของน้ำสำหรับการเจริญเติบโตของปลา
– ควรทำการศึกษามากกว่าปีละ 2 ครั้ง เพิ่มตัวอย่างการสุ่มเก็บข้อมูลให้มากขึ้น เช่น สุ่มนับจำนวนปลา ชนิดปลา หรือสุ่มผู้ประกอบอาชีพ ชนิดอาชีพ ประเภทอาชีพ ให้ครอบคลุมหลายมิติ เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ดี ตรงตามความต้องการของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
– ควรสร้างเครือข่ายภาคประชาชนรุ่นใหม่ ให้มาศึกษาเรียนรู้กับคณะผู้วิจัย การศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน
6. มุกดาหาร – ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลให้ประชากรปลาในแม่น้ำโขงลดลง
– แต่ละพื้นที่ต้องช่วยกันให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ เป็นการร่วมมือกันเฝ้าระวัง
– ควรดูแลเรื่องการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั้งน้ำที่ใช้เพื่อการอุปโภค และบริโภค
– ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร
7. อำนาจเจริญ – เห็นว่ามวลน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามฤดูกาล ทำให้ชาวประมงหรือการท่องเที่ยวไม่สามารถควบคุมเรื่องจำนวนประชากรสัตว์น้ำที่ลดลงได้
– พื้นที่ทำการเกษตรลดลง เนื่องจากมวลน้ำที่ท่วมพื้นที่เกษตรริมฝั่งเพิ่มขึ้น
– ควรมีการส่งเสริมอาชีพ เพิ่มพื้นที่ในการอนุบาลสัตว์น้ำ เพื่อลดความเสี่ยงรายได้ไม่แน่นอน และความมั่นคงในการดำรงชีวิต
– ควรสร้างเครือข่ายภาคประชาชนรุ่นใหม่ ให้มาศึกษาเรียนรู้กับคณะผู้วิจัย การศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน
8. อุบลราชธานี – ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในพื้นที่ช่วงท้ายน้ำ (ช่วงจังหวัดนครพนม-อุบลราชธานี) เนื่องจากมีข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับเส้นทางการอพยพของปลาในแม่น้ำโขง เนื่องมาจากการระเบิดเกาะ แก่ง จากการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุให้เส้นทางการอพยพของปลาเปลี่ยนไป จึงกังวลว่าในอนาคต ปลาบางชนิดอาจสูญหายไป
– ในการศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่าง ควรเพิ่มจำนวนตัวอย่างให้มากขึ้น จังหวัด เช่น สุ่มนับจำนวนปลา ชนิดปลา หรือสุ่มผู้ประกอบอาชีพ ชนิดอาชีพ ประเภทอาชีพ ให้ครอบคลุมหลายมิติ ให้ศึกษาได้ครอบคลุมทั้ง 28 อำเภอ ใน 8 เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่ดี ตรงตามความต้องการของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
– ควรมีการจัดเวทีการถอดบทเรียนเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาต่อไป
– ในการกำหนดขอบเขตการศึกษาปีต่อไป ควรให้ภาคประชาชนในแต่ละพื้นที่ มีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตการดำเนินงานด้วย เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อพื้นที่มากที่สุด
– ควรพิจารณาการกำหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาเพิ่มเติมจาก 15 กิโลเมตร ริมฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น
– ควรสนับสนุนการเสริมสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่ให้มากขึ้น ให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
– ควรจัดทำข้อเสนอทั้งหมดให้เป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดมาตรการเพื่อยกระดับการทำงาน ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลและคณะทำงานของลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด
ภาพรวม – ผลการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ
ในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของกรมทรัพยากรน้ำ เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับ
ภาคประชาชน ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในหลาย ๆ ด้าน ต้องการให้ภาครัฐดำเนินโครงการเช่นนี้ต่อไป
– ควรจัดทำแผนการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนรับรู้ จากการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
– การสนับสนุนเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากขึ้น เพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง
– รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอในการการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน เพราะสภาพการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็ว จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ และเครื่องมือด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ให้ทันต่อสถานการณ์มากขึ้น
– ควรมีเครื่องมือ แจ้งเตือน ระวังภัย ผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน แก่ชุมชนเครือข่าย
ลุ่มแม่น้ำโขง
– ควรมีกฎระเบียบของหน่วยงานรัฐ ให้ดำเนินงานแบบบูรณาการ ให้รวดเร็วมากขึ้น (One Stop Service) ในการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน จากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน
– พันธุ์ปลาหายากใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง รัฐควรสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ หรือ หน่วยงานรัฐ (กรมประมง) นำไปวิจัยศึกษา ขยายพันธุ์ให้มากขึ้น และนำกลับมาปล่อยในแม่น้ำโขงเช่นเดิม