เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เครือข่ายความร่วมมือ ปี 2566

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา

ครั้งที่ 1 การประชุมการเริ่มงาน
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ณ โรงแรมรอยัลนาคาราและคอนเวนชั่นฮอล์ หนองคาย จังหวัดหนองคาย

  • สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
  • นำเสนอแผนงานการศึกษาโครงการ
    ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
  • รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ
ลำดับหน่วยงานจำนวน (ท่าน)
1ผู้ดำเนินการจัดทำโครงการ
– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ
คณะกรรมการกำกับด้านวิชาการ
6
– คณะที่ปรึกษา7
2หน่วยงานราชการในแต่ละจังหวัด
– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
– สำนักงานประมงจังหวัด
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
– สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
– สถานศึกษา
32
   
3เครือข่ายภาคประชาสังคม
– จังหวัดเชียงราย
5
– จังหวัดเลย5
– จังหวัดหนองคาย10
– จังหวัดบึงกาฬ3
– จังหวัดนครพนม6
– จังหวัดมุกดาหาร6
– จังหวัดอำนาจเจริญ5
รวม89

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุม

 

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นผู้ให้ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย
ข้อเสนอด้านการเผยแพร่ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยสู่ภาคประชาชนและระดับจังหวัด เพื่อรับฟังและสะท้อนความคิดเห็นจากชุมชนรวมกับฝ่ายวิชาการนำไปสู่การฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบจากแม่น้ำโขงสายประธาน
  • ปริมาณน้ำและความผันผวนของน้ำหลังการสร้างเขื่อนไซยะบุรีส่งผลกระทบในบริเวณอำเภอเชียงคานและจังหวัดหนองคายอย่างมาก เสนอให้มีมาตรการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาที่จังหวัดอุบลราชธานีในทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวหาด เกาะแก่ง ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
นายอิทธิพล คำสุขผลการศึกษาของโครงการนี้จะนำไปสู่ระดับชุมชนและจังหวัด เพื่อผ่านกลไก พรบ.น้ำ และขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และท้องถิ่น เพื่อให้ข้อมูลจากการศึกษาส่งผลกระทบในเชิงบวกสู่ประชาชน เกิดการกระตุ้นให้ภาคประชาชนในพื้นที่รับทราบว่ามีส่วนในการผลักดันการเสนอกำหนดนโยบายในมาตรการฟื้นฟูและบรรเทาผลกระทบ และทาง สทนช. จะนำความเห็นไปใช้ในการศึกษา ทั้งนี้ทาง สทนช. สามารถผลักดันผลการศึกษาผ่านทาง MRC และให้มีการประชุมถ่ายทอดผลการศึกษาในระดับจังหวัดต่อไป
  • จากการศึกษามาตลอด 9 ปี ผลกระทบที่เกิดจากการสร้างเขื่อนค่อนข้างชัดเจน เห็นควรนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปเสนอในระดับพื้นที่ ระดับตำบล เพื่อรับฟังและสะท้อนความคิดเห็นจากชุมชนรวมกับฝ่ายวิชาการ เพื่อนำไปสู่การเยียวยาผลกระทบ
  • ระดับน้ำที่ขึ้น-ลงอย่างผิดปกติ อาจมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่มากจากการสร้างเขื่อนจึงเสนอแนะให้หยุดการดำเนินการเขื่อน 5 ปี เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลระหว่างขณะเขื่อนดำเนินการและหยุดดำเนินการ และอาจกำหนดเรื่องนี้ใน TOR ของปีการศึกษาถัดไป
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
  • เสนอให้เผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาไปสู่ประชาชนในพื้นที่ (เครือข่ายผู้ใช้น้ำในพื้นที่) และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย เพื่อให้มีแผนการทำงานและเกิดกลไกการทำงานร่วมกัน
นายอภิชาติ หงษาวงษ์
  • การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2 ครั้ง สำหรับเครือข่ายทั้ง 8 จังหวัด อาจไม่เพียงพอ และควรเชิญหน่วยงานราชการมาเข้าร่วมด้วย นอกจากนี้ทาง สทนช. ควรมาประสานจัดประชุมในทุกจังหวัด (8 จังหวัด) เพื่อให้คนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการทำงานของเครือข่ายภาคประชาสังคม
นายอิทธิพล คำสุข

 

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นผู้ให้ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย
2) ข้อเสนอการศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ (ปัจจุบันเทียบกับในอดีต) มีการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) อย่างไร สำหรับการลดลงถือเป็นการเกิดความสูญเสียเท่าใด และมีการมาตรการในการชดเชยอย่างไร
  • ปริมาณน้ำและความผันผวนของน้ำหลังการสร้างเขื่อนไซยะบุรีส่งผลกระทบในบริเวณอำเภอเชียงคานและจังหวัดหนองคายอย่างมาก เสนอให้มีมาตรการเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาที่จังหวัดอุบลราชธานีในทุกปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวหาด เกาะแก่ง ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
นายอิทธิพล คำสุขในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ทางคณะผู้ดำเนินงานได้มีการสำรวจและเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง เพื่อประเมินแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของทรัพยากรธรรมขาติในพื้นที่ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของระบบนิเวศแม่น้ำโขงทั้งระบบ เพื่อประกอบการกำหนดมาตรการแก้ไขบรรเทาผลกระทบพื้นที่เสี่ยง จากความร่วมมือของทางภาครัฐและประชาชนริมแม่น้ำโขงสายประธาน
  • จากการศึกษาที่พบว่าปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าแล้ง ส่งผลกระทบต่อร้านค้าในพื้นที่ท่องเที่ยวหาด เกาะแก่ง (ด้านเศรษฐกิจสังคม) เสนอแนะให้ศึกษาว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นเท่าไร และจะชดเชยเพื่อเยียวยาอย่างไร
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นผู้ให้ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย
3)ข้อเสนอด้านการศึกษาสาเหตุของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงสายประธานให้ครบทุกมิติ ทั้งจากการสร้างเขื่อนและการกระทำของมนุษย์
  • เสนอให้ศึกษาระบบนิเวศที่เหมาะสมกับปลาในแม่น้ำโขง ในการอยู่อาศัย วางไข่ หรือแหล่งอนุบาลตัวอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบุว่าปลาแต่ละชนิดเหมาะสมกับระบบนิเวศแบบใด ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุชัดเจน
นายวีระ วงศ์สุวรรณ

โครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน แต่จากการศึกษาพบว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำโขง มิใช่เกิดจากการสร้างเขื่อนเพียงอย่างเดียว อันเกิดจากบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทางที่ปรึกษาจะรวบรวมและทบทวนข้อมูลทุติยภูมิให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงสายประธานต่อไป

 

  • ปริมาณปลาในปี พ.ศ. 2561-2563 ลดลง 20% และในปี พ.ศ. 2563-2565 ลดลงมากถึง 80% ซึ่งมีสาเหตุมาจากเรื่องปริมาณน้ำขึ้น-ลงที่ผิดปกติ ส่งผลให้ปลาปรับตัวไม่ได้ จึงกระจายไปตามแหล่งอื่น ๆ นอกจากนี้ มีวิธีการจับสัตว์น้ำที่ผิดธรรมชาติ ได้แก่ การระเบิดปลา การใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันสูง ของทั้งทาง สปป.ลาว และประเทศไทย ซึ่งเหตุผลทั้งหมดนี้ล้วนทำลายระบบนิเวศของสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง
นายทศพร อนุศรชัยศิริ
  • ในช่วงสงกรานต์เป็นช่วงที่มีการผลิตไฟฟ้าค่อนข้างสูงตามความต้องการใช้ไฟฟ้า ทำให้มีการระบายน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเพณีสงกรานต์ของคนลุ่มน้ำโขง บ่งชี้ถึงการได้รับประโยชน์ของบริษัทและการเสียประโยชน์ของประชาชนอย่างชัดเจน แต่ไม่ทราบว่าเสียหายเท่าไร
นายนิพนธ์ มุลเมืองแสน
  • ผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การไหลของน้ำ ปริมาณปลา ระบบนิเวศ และการพังของตลิ่ง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสร้างเขื่อนเพียงอย่างเดียว โดยอาจเป็นเรื่องวัฏจักรตามธรรมชาติ ดังนั้น ควรศึกษาให้ครบทุกมิติ โดยด้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ด้านประมง ความผันผวนของน้ำ และเกษตรริมฝั่ง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจมาจากฝีมือมนุษย์ด้วย ส่วนในเรื่องของปลา ตามธรรมชาติแล้วปลาจะเดินทางจากบริเวณที่มีน้ำน้อยไปยังน้ำเยอะ ซึ่งเขื่อนกั้นทางสัญจรของปลา ดังนั้น เขื่อนต้องดำเนินการก่อสร้างให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าเขื่อนไซยะบุรีที่บริเวณใต้เขื่อนมีลิฟต์ปลา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเขื่อนไซยะบุรีจะแจ้งว่ามีการรักษาระดับน้ำให้คงที่ แต่โดยเท็จจริงแล้วอาจจะไม่สามารถควบคุมได้ 100%
    เสนอให้ผู้นำหมู่บ้านสำรวจครัวเรือนด้านเศรษฐกิจสังคมของหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำโขง เพื่อให้สะท้อนข้อมูลที่แท้จริง และเกิดการประสานงานระหว่างภาครัฐและชุมชน
นายสุภาพ มูลทากรม
  • จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในช่วงมีการผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ระบายจากเขื่อนจะไหลค่อนข้างเร็ว ทำให้ปลาที่อยู่บริเวณนั้นไม่สามารถปรับตัวได้ โดยอาจหลบเข้าไปในลำน้ำสาขาเพื่อพักอาศัย
นายชาญชัย อังคณา
  • ในด้านคุณภาพน้ำตลอดลำน้ำโขง อาจมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยสารอันตรายอุบัติใหม่ ซึ่งสามารถปนเปื้อนต่อสิ่งมีชีวิตได้ และทางผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัดนครพนม เสนอให้ทาง สทนช. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเชิงนโยบาย เรื่องงบประมาณในการติดตามตรวจสอบสารอันตรายอุบัติใหม่

ดร.รัชนี นามมาตย์  และนายอภิชาติ หงษาวงษ์

 

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นผู้ให้ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย

4) ข้อเสนอต่อแผนการลงพื้นที่ภาคสนามและการเก็บแบบสอบถามด้านเศรษฐกิจ-สังคม

 

  • เสนอแนะว่าในการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม SIMVA ศัพท์และประโยคที่ใช้มีความเป็นวิชาการมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ตอบไม่เข้าใจคำถาม ดังนั้น หากมีภาษาอังกฤษควรมีคำอธิบายภาษาไทยไว้ด้วย 
นายวีระ วงศ์สุวรรณ

ที่ปรึกษารับทราบข้อเสนอแนะ และจะนำไปปรับปรุงแบบสอบถามต่อไป

 

  • เสนอแนะเกี่ยวกับการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างปลาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยเสนอให้ที่ปรึกษาเลื่อนการเก็บตัวอย่างปลา ครั้งที่ 1 ไปในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เนื่องจากช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เป็นช่วงที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานค่อนข้างสูง ซึ่งจะไม่สะดวกในการเก็บตัวอย่างปลาและเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของปลา ดังนั้น การเก็บตัวอย่างปลาครั้งที่ 2 จึงต้องเลื่อนไปในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 ตามลำดับ 
ผู้แทนเครือข่าย 8 จังหวัด

ที่ปรึกษารับทราบข้อเสนอแนะ และเลื่อนการเก็บตัวอย่างปลาครั้งที่ 1 เป็นระหว่างวันที่ 7-17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

 

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2 การสรุปผลการศึกษา
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ณ โรงแรมเดอะริเวอร์ นครพนม จังหวัดนครพนม

  • สรุปผลการศึกษาของโครงการ ในปีงบประมาณ
    พ.ศ. 2566
  • การหารือและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแผนปฏิบัติการการป้องกันแก้ไข ติดตาม และปรับตัวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ระยะ 5 ปีที่ 3 (พ.ศ. 2567-2571)

ผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 75 ท่าน โดยมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับด้านวิชาการ จำนวน 9 ท่าน หน่วยงานราชการระดับจังหวัดและสถาบันการศึกษา จำนวน 13 ท่าน คณะที่ปรึกษาเข้าร่วมประชุม จำนวน 7 ท่าน และเครือข่ายภาคประชาสังคมเข้าร่วมประชุม จำนวน 50 ท่าน ดังนี้

ลำดับหน่วยงานจำนวน (ท่าน)
1ผู้ดำเนินการจัดทำโครงการ
– สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ

คณะกรรมการกำกับด้านวิชาการ
9
– คณะที่ปรึกษา7
2หน่วยงานราชการในแต่ละจังหวัด
– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
– สำนักงานประมงจังหวัด
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
– สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด
– สถานศึกษา
9
   
3เครือข่ายภาคประชาสังคม
– จังหวัดเชียงราย
6
– จังหวัดเลย6
– จังหวัดหนองคาย6
– จังหวัดบึงกาฬ6
– จังหวัดนครพนม6
– จังหวัดมุกดาหาร6
– จังหวัดอำนาจเจริญ6
– จังหวัดอุบลราชธานี6
รวม75

ข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุม

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
1) ข้อเสนอแนะด้านการศึกษาผลกระทบเพิ่มเติมและการเผยแพร่ผลการศึกษาของโครงการฯ
  • ปัจุบันผลการศึกษาวิจัยทางวิชาการยังไม่ถูกนำมาเผยแพร่ หรือใช้ในการดำเนินการต่อ
นายสุริยา โคตะมี ในรายงานการศึกษามีระบุรายละเอียดชนิดปลาต่าง ๆ รวมทั้งปลาต่างถิ่น ทั้งนี้ สำหรับปรากฎการณ์น้ำโขงสีครามและการทำลายระบบนิเวศของปลาต่างถิ่นนั้น ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป
  • ควรมีการส่งมอบรายงานฉบับสมบูรณ์ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566 ให้แต่ละจังหวัด
นายวีระ วงศ์สุวรรณ
  • การศึกษาในเรื่องประมง พบว่า สำรวจพบปลาขาวค่อนข้างมาก ซึ่งหลังปี พ.ศ. 2562 ในช่วงน้ำใส พบปลาขาวค่อนข้างมากที่ตลาดสด โดยอยากทราบว่าปลาขาว 113 ชนิดที่อพยพในระยะทางไกลมีชื่อว่าอะไรบ้าง ปลาเทาที่พบมีชื่อว่าอะไรบ้าง ปลาต่างถิ่นมีอะไรบ้าง และที่ไม่ได้จัดชนิดมีอะไรบ้าง เพื่อประชาชนจะได้มีองค์ความรู้ในเรื่องปลา
นายวีระ วงศ์สุวรรณ
  • ต้องการทราบว่าปรากฎการณ์น้ำโขงสีครามเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริง โดยหากระดับน้ำในแม่น้ำโขงต่ำ น้ำใต้ดินจะซึมเข้ามา ทำให้น้ำใสหรือไม่
นายวีระ วงศ์สุวรรณ
  • ต้องการทราบว่าปลาสเตอร์เจียนจะทำลายระบบนิเวศหรือไม่ โดยพบว่ามีการเพาะเลี้ยงที่ทางภาคเหนือ รวมทั้งปลาเทศบาลที่พบมากในแหล่งน้ำ ห้วย คลอง ซึ่งริมแม่น้ำโขงสายประธานก็พบ โดยติดตาข่ายติดมองของประชาชนนั้น จะทำลายระบบนิเวศหรือไม่
นายวีระ วงศ์สุวรรณ
  • TOR ของโครงการควรมีการปรับปรุงเพื่อให้เอื้อต่อการเยียวยา พัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
  • ผู้ที่จะดำเนินโครงการในพื้นที่ (นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด) ต้องรับทราบผลการศึกษา เพราะหากเสนอให้เพียงประชาชนรับทราบ ประชาชนจะไม่สนใจเท่าที่ควร
นายนริศ อาจหาญ
 
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
2) ข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและกิจกรรมในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
  • ควรเพิ่มเติมงบประมาณในการสร้างการมีส่วนร่วมควบคู่ไปกับการศึกษาด้านวิชาการ
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์ โครงการฯ มีการประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษาเพียง 2 ครั้ง (การเริ่มงานและสรุปผลการศึกษา) ซึ่งไม่ได้จัดในพื้นที่ทุกจังหวัด ทั้งนี้ ทางโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้จัดสรรงบประมาณเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมในแต่ละจังหวัดได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานต่อไป

นางสาวศุภมาศ

ปุณประเสริฐ

  • ต้องการให้หน่วยงานให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยต้องมีงบประมาณให้กับประชาชนในการเดินทางมาเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการต่าง ๆ
นายสุภาพ มูลทากรม
  • ควรสนับสนุนกิจกรรมของภาคประชาชน เช่น ปอยหลวงแม่โขง เป็นต้น เพื่อเป็นเวทีให้เครือข่ายและบุคคลต่าง ๆ ได้มาแสดงความคิดเห็น และนำเรื่องราวงานศึกษาทางวิชาการต่าง ๆ มาเผยแพร่ในงานมีการค้าขายอาหารที่ทำจากผลผลิตประมงของแม่น้ำโขง โดยจะขอให้ทาง สทนช. ช่วยประสานงานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
นายบุญนาค จองธรรม
  • เปิดโอกาสให้ทางเครือข่าย ทสม. ลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งได้รับรองจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งประสานไปทางจังหวัดเพื่อให้เครือข่าย ทสม. ลุ่มแม่น้ำโขงสามารถขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
นายบุญนาค จองธรรม
  • ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อทราบข้อมูลในพื้นที่ ทราบถึงผลกระทบ รวมทั้งควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อเข้ามาดำเนินงานต่อจากรุ่นปัจจุบัน
นายสุริยา โคตะมี
  • ต้องจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในพื้นที่ท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ทราบถึงผลกระทบ ศักยภาพของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งเสนอและออกแบบแผนงานในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐไม่ต้องเสียดายงบประมาณ เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่จะช่วยให้เกิดความยั่งยืน
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
3) ข้อเสนอแนะด้านการสนับสนุนดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูแม่น้ำโขงสายประธาน พัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนริมแม่น้ำโขงสายประธาน (ประมง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว)
    ประมงและเกษตรกรรม
  • ต้องการทราบความรู้เกี่ยวกับเพาะพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง และอยากให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนงบประมาณจัดทำโครงการสถานีเพาะพันธุ์ปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเพื่ออนุรักษ์ปลาแม่น้ำโขง น
นางสาวศุภมาศ ปุณประเสริฐ ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานต่อไป
  • สทนช. ต้องบรรจุโครงการเพาะพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงที่กำลังสูญพันธุ์ไว้ในแผน โดยเน้นนโยบายเพาะพันธุ์ปลาที่สามารถทานได้ และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำและจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะช่วยสร้างอาชีพและเยียวยาประชาชนริมแม่น้ำโขง
นายทศพร อนุศรชัยศิริ
  • ควรสนับสนุนการเพาะพันธุ์ปลา การก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่มุ่งสู่การปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย 8 จังหวัด ซึ่งจะทำให้กลุ่มอาชีพประมงและเกษตรริมฝั่ง รวมทั้งกลุ่มเปราะบางได้รับการเยียวยา และอยู่ดีกินดีขึ้น
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
  • รายได้ของประชาชนในพื้นที่ที่ลดน้อยลง การประกอบอาชีพประมงที่ลดลง อาจมีปัจจัยมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทั้งนี้ รายได้ลดลง แต่รายจ่ายเท่าเดิม อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานของรัฐยังไม่มีการดำเนินการเพื่อเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม และโครงการที่เสนอไปก็ยังไม่ได้ดำเนินการ เช่น ยังไม่มีการพัฒนาศักยภาพของประชาชน (โครงการวังปลา) ยังไม่มีการสนับสนุนเพื่อให้ประชาชนปรับตัวในการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
นายสุริยา โคตะมี
  • ควรปรับเปลี่ยนจากการเลี้ยงปลาแล้วปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำเป็นการขุดร่องน้ำที่มีอยู่แล้ว (ป่าบุ่งป่าทาม) และทำให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ปลาเข้ามาอยู่อาศัย
นายอภิชาติ หงษาวงษ์
  • ต้องการให้มีโครงการเพาะพันธุ์ประมงในทั้ง 8 จังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่บ้านท่าไคร้-นาแล ซึ่งมีพื้นที่ประมงยาวต่อเนื่อง 3-4 กิโลเมตร โดยอุดมไปด้วยปลาเศรษฐกิจ
นายพรรนา ราชิวงศ์
    การท่องเที่ยว
  • ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ริมแม่น้ำโขงสายประธาน
นายสุภาพ มูลทากรม
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
4)ข้อเสนอแนะด้านการบูรณาการผลการศึกษาผลกระทบในแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด กลไกการดำเนินงาน เพื่อดำเนินการฟื้นฟูและเยียวยาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขงสายประธานอย่างเป็นรูปธรรม
  • ควรพิจารณาดำเนินงานโครงการที่ถูกนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์ ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานต่อไป
  • ต้องการให้มีการดำเนินการแก้ไขผลกระทบที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเรื่องน้ำสำคัญมาก ดังนั้น สทนช. ควรเริ่มดำเนินแก้ไขผลกระทบโดยเร็ว เพื่อจัดการน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยอาจจะสร้างเขื่อนกั้นในลำน้ำสาขา ซึ่งอาจจะห่างจากแม่น้ำโขงสายประธาน 500 เมตร เพื่อป้องกันการดำเนินการตามกระบวนการ PNPCA
นายพรรนา ราชิวงศ์
  • ต้องมีการชดเชย เยียวยากลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อน รวมทั้งต้องมีการให้งบประมาณเพื่อพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณีในชุมชนริมแม่น้ำโขงด้วย
นายสุภาพ มูลทากรม
  • ส่งเสริมในเรื่องน้ำต้นทุน
นายบุญนาค จอมธรรม
  • ต้องการให้นำผลการศึกษาไปพิจารณาบูรณาการจัดทำแผนระดับจังหวัด ซึ่ง สทนช. ควรร่วมบูรณาการจัดทำแผนระดับจังหวัด และผลักดันให้มีการดำเนินการโครงการภายใต้แผน (การเพาะพันธุ์ปลา) และนำเสนอผลจากการดำเนินโครงการให้จังหวัดได้ทราบ
นายอภิชาติ หงษาวงษ์
  • ระบบโครงสร้างมีความซ้ำซ้อน โครงการของแต่ละหน่วยงานมีความซ้ำซ้อนกัน และไม่มีการบูรณาการกัน การดำเนินงานอยู่ในรูปแบบคู่ขนาน จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรมีการปรับโครงสร้างให้เกิดการดำเนินโครงการแก้ไขผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรม
นายพิฐิพัสจ์ พวงพันธ์
  • ต้องการให้มีการจัดตั้งกองทุน (40 ล้านบาท) เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการคล่องตัว ทั้งนี้ ที่มาของงบประมาณอาจมาจากหลายแหล่ง
นายพรรนา ราชิวงศ์
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
5)ข้อเสนอแนะด้านการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำข้อตกลงในด้านการทำประมง
  • ควรพิจารณาดำเนินงานโครงการที่ถูกนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม
  ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานต่อไป
  • แผนการร่วมมือกับประเทศสมาชิก ควรมีการบูรณากับ สปป.ลาว ในเรื่องประมง เพราะประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์ปลา แต่ฝั่ง สปป.ลาว ใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายในการจับปลา
นายพรรนา ราชิวงศ์
  • ควรให้มีข้อตกลงหยุดจับปลาในช่วงที่ปลาวางไข่ และเรื่องการใช้เครื่องมือประมง โดยสำนักงานประมงจังหวัดจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง
นายพรรนา ราชิวงศ์
ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็น ผู้ให้ข้อคิดเห็น การชี้แจงอธิบาย
6)ข้อเสนอแนะต่อแผนปฏิบัติการการป้องกันแก้ไข ติดตาม และปรับตัวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ระยะ 5 ปีที่ 3 (พ.ศ. 2567-2571)
  • การรณรงค์การปล่อยน้ำเสียและการใช้สารเคมีในภาคเกษตร ควรเพิ่มเติมให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมรับผิดชอบดูแลคุณภาพน้ำด้วย เพราะบางพื้นที่อยู่ในการดูแลของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
นายพรรนา ราชิวงศ์ ที่ปรึกษาจะรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมไปปรับแผนปฏิบัติการการป้องกันแก้ไข ติดตาม และปรับตัวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ระยะ 5 ปีที่ 3 (พ.ศ. 2567-2571) และเสนอให้ทาง สทนช. พิจารณาสำหรับการดำเนินงานต่อไป
  • การเตือนภัย โดยระบบเตือนภัย หน่วยงานภาครัฐต้องเป็นผู้ดูแลและเอาใจใส่ในผลกระทบต่อประชาชน
นายทศพร อนุศรชัยศิริ
  • ควรมีการสร้างเสริมพัฒนาทักษะ การรับรู้ข้อมูลของประชาชน เพื่อให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง ไม่ใช่แค่บางกลุ่ม
นายทศพร อนุศรชัยศิริ
ควรมีแผนรณรงค์การปล่อยน้ำเสียและสารเคมี กลุ่มการเกษตรที่เป็นพืชล้มลุกและพืชยืนต้น (ยางพารา) มีการใช้สารเคมี ทำให้สารเคมีตกค้างในดิน ซึ่งจะถูกชะล้างลงแม่น้ำโขง นายทศพร อนุศรชัยศิริ
  • หน่วยงานภาครัฐควรมีการสนับสนุนด้านการทำประมง เช่น ขุดบ่อปลา ขุดน้ำบาดาล เป็นต้น
นายทศพร อนุศรชัยศิริ
Scroll to Top