เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เครือข่ายความร่วมมือ ปี 2563

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่ผลการศึกษา
จุดประสงค์

  • – นำเสนอผลการดำเนินการศึกษา
  • – เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐในการติดตามตรวจสอบฯ
  • – การให้ความรู้ข้อมูลจากการศึกษาที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และให้ประชาชนได้มีเวทีแสดงความเห็น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ การออกแบบโจทย์คำถาม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การติดตามและเฝ้าระวัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
  • – นำไปสู่การพัฒนาแนวทางการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังนํ้าในแม่นํ้าโขงสายประธาน
  1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 (ช่วงเริ่มงาน)
  2. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)
  3. การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการพัฒนา/การใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 1 (ช่วงเริ่มงาน)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงรายละเอียดโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน กรมทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
1) การรายงานผลการศึกษาโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนฯ ปีที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2562)
2) แผนงานการดำเนินงาน โครงการฯ ต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วยข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นที่เสนอปรับปรุงเพิ่มเติม
3) นำเสนอแนวทางการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย กิจกรรมการเก็บข้อมูลด้านประมง การศึกษาการให้บริการระบบนิเวศ การสำรวจตลิ่งริมฝั่ง และแนวทางการวิจัยชุมชนในพื้นที่เสี่ยง
4) รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับและนำเสนอแนวทางการทำงานระหว่างคณะที่ปรึกษาและภาคประชาสังคมในพื้นที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ประเด็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากการประชุมครั้งที่ 1

ประเด็นข้อเสนอ-ข้อคิดเห็นการชี้แจงอธิบาย
ข้อกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเฉพาะฝั่งประเทศไทยผลของการศึกษาของโครงการนี้จะนำไปสู่การสร้างกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่เป็นการหารือร่วมกันระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขง ผ่านคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ไปยังการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความก้าวหน้าด้านการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำโขง
ข้อเสนอด้านการศึกษาเรื่องปริมาณ/ความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ในการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นี้ ทางคณะผู้ดำเนินงานโครงการได้เพิ่มเติมการสำรวจ/เก็บข้อมูลในด้านประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนิเวศทางน้ำ ปัจจุบันมี กลุ่มประมงต่าง ๆ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใน 8 จังหวัด เพื่อประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านการประมง
ข้อเสนอแนะด้านความร่วมมือ-ความช่วยเหลือ ข้อมูลต่างๆผู้ดำเนินงานโครงการ และนักวิชาการทุกท่าน มีความประสงค์ที่จะดำเนินการและศึกษาข้อมูลร่วมกับภาคประชาชน และศึกษาข้อมูลจากภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังต้องการความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆ และการประสานงานเพื่อลงพื้นที่ในการสำรวจ/เก็บข้อมูล
อเสนอด้านการขยายเครือข่ายภาคประชาชนและการเผยแพร่ข้อมูลในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำโขงเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสถานการณ์โครงการนี้ มีเจตนารมณ์ในการขยายการรับรู้ไปสู่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์และสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำโขงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมาได้มีโครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงขึ้นมาอีกครั้ง

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 (ช่วงสรุปผลการดำเนินงาน)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น. จังหวัดนครพนม
รายละเอียดเนื้อหาการนำเสนอข้อมูลผลการศึกษาและการดำเนินการดังนี้

  • – ผลการศึกษาทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเศรษฐกิจสังคม
  • – ผลการวิเคราะห์ สรุปพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน
  • – สรุปการกำหนดมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และการปรับตัว
  • – รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับผลการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  • – การดำเนินงานในปีงบประมาณต่อไป และสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2) กลุ่มเป้าหมายการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแม่น้ำโขง ในพื้นที่ดำเนินการทั้ง 8 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย แกนนำและเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนร่วมจากโครงการสร้างความเข็มแข็งกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ พื้นที่จังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการพัฒนา/การใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน

จุดประสงค์
การดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้งานระบบฐานข้อมูล และการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนให้แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน มีประเด็นการดำเนินการดังนี้
1) เกณฑ์การประเมิน
2) ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์
3) สมมติฐานพื้นฐาน
4) ขั้นตอนการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนสะสม
5) การแบ่งระดับความรุนแรง และการแบ่งระดับโอกาส
6) การกำหนดเกณฑ์การประเมินระดับแนวโน้มความเสี่ยงในแต่ละด้าน

 

         คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านโดยการสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 41 คน และแบบสอบถามหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 427 คน ซึ่งสามารถสรุปผลการสำรวจเกี่ยวกับการเกษตรในพื้นที่ได้ดังนี้

1. การเกษตรกรรมบนฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมบนฝั่ง มีจำนวน 278 ครัวเรือน (ร้อยละ 65) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ มีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 94) ในขณะที่จังหวัดเชียงรายมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) และจังหวัดนครพนม จำนวน  36 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) ชนิดของพืชที่มีการเพาะปลูกบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว จำนวน 177 ครัวเรือน (ร้อยละ 64) พริก จำนวน 144 ครัวเรือน (ร้อยละ 52) มะเขือ จำนวน 133 ครัวเรือน (ร้อยละ 48) ผักชี จำนวน 118 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) และต้นหอม จำนวน 112 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด พึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 102 ครัวเรือน (ร้อยละ 37) โดยจังหวัดหนองคาย มีการพึ่งพาแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตร บนฝั่งสูงสุด จำนวน 36 ครัวเรือน  (ร้อยละ 82) รองลงมา คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 28 ครัวเรือน  (ร้อยละ 68) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดหนองคายหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

                  – ด้านปริมาณผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด   ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนฝั่งส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 147 ครัวเรือน (ร้อยละ 53) โดยจังหวัดที่สัดส่วนของครัวเรือนมีผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่งลดลงสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน  27 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืชจากการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 123 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงสุด คือ จังหวัดเลย จำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง จำนวน 173 ครัวเรือน (ร้อยละ 62) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหารายได้จากการขายผลผลิตสูงสุด คือ จังหวัดเลยจำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า หัวหน้าครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดเห็นว่าจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 166 ครัวเรือน (ร้อยละ 60) ในด้านพื้นที่ทำการเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีพื้นที่สำหรับการทำเกษตรกรรมบนฝั่งจำนวนเท่าเดิม จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการเป็นเกษตรอินทรีย์ พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ยังมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 128 ครัวเรือน (ร้อยละ 46) โดยครัวเรือนส่วนใหญ่มีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชลดลง จำนวน 110 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนที่ทำการเกษตรบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัว จำนวน 247 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุดคือจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดเชียงราย จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรบนฝั่ง ได้แก่ การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 79) รองลงมา คือ การเฝ้าระวังการปล่อยน้ำจากเขื่อน จำนวน 189 ครัวเรือน (ร้อยละ 77) และการป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 191 ครัวเรือน (ร้อยละ 77)

2. การเกษตรกรรมริมฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมริมฝั่งมีจำนวน 170 ครัวเรือน (ร้อยละ 40) โดยจังหวัดอุบลราชธานีมีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 34 ครัวเรือน (ร้อยละ 58) ในขณะที่จังหวัดบึงกาฬมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 27)

          ชนิดของพืชที่ครัวเรือนเพาะปลูกริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ พริก จำนวน 121 ครัวเรือน (ร้อยละ 71) มะเขือ จำนวน 101 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) ต้นหอม จำนวน 97 ครัวเรือน (ร้อยละ 57) ผักชี จำนวน 96 ครัวเรือน (ร้อยละ 56) และมะเขือเทศ จำนวน 92 ครัวเรือน (ร้อยละ 54)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดพึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อทำการเกษตรริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 113 ครัวเรือน (ร้อยละ 66) จังหวัดที่มีสัดส่วนการพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรริมฝั่งสูงสุด คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดมุกดาหารหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

          การเปลี่ยนแปลงของการทำเกษตรริมฝั่งในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด    ส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 76 ครัวเรือน (ร้อยละ 45) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ  มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าผลผลิตลดลงสูงที่สุด จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่ามีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 71 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดบึงกาฬ มีสัดส่วนครัวเรือนที่เห็นว่าการเติบโตของพืชลดลงสูงที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิต ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าครัวเรือนของตนเองมีรายได้จากการขายผลผลิตลดลง จำนวน 86 ครัวเรือน (ร้อยละ 51) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงที่สุดคือ จังหวัดเลย จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกร ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าในหมู่บ้านตนเองนั้นมีจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 100 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าจำนวนเกษตรกรลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิต

                  – ด้านพื้นที่เกษตรกรรม ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองมีพื้นที่เกษตรกรรมเท่าเดิม จำนวน 104 ครัวเรือน (ร้อยละ 61) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่มีพื้นที่เกษตรกรรมลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิตและจำนวนเกษตรกร

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 84 ครัวเรือน (ร้อยละ 49) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพลดลงสูงที่สุด จำนวน 7 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและ สารกำจัดศัตรูพืชเท่าเดิม จำนวน 72 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นสูงที่สุด จำนวน 9 ครัวเรือน (ร้อยละ 60)

                  – ด้านการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด ที่ทำการเกษตรริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัวจำนวน 152 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุด คือ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 15 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดบึงกาฬ จำนวน  12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง ได้แก่  การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 124 ครัวเรือน (ร้อยละ 82)

 

Scroll to Top