ด้านเศรษฐกิจ สังคม

ด้านเศรษฐกิจและสังคม ปี พ.ศ. 2562

ผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม

          จากการทบทวนข้อมูลการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2561 พบว่า  มีการอ้างอิงเครื่องมือ SIMVA โดยในปี พ.ศ. 2557 – 2558 ใช้การประชุมกลุ่มย่อยเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ในขณะที่ปี พ.ศ. 2559 – 2561 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย (250 ชุด) เลย (251 ชุด) หนองคาย (250 ชุด) และบึงกาฬ (249 ชุด) รวม 1,000 ชุด ในปี พ.ศ. 2560 เก็บข้อมูลในพื้นที่ 8 จังหวัด จังหวัดละ 125 ชุด รวม 1,000 ชุด และในปี พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูล 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย (196 ครัวเรือน) เลย (98 ครัวเรือน) หนองคาย (70 ครัวเรือน) บึงกาฬ (56 ครัวเรือน) นครพนม (126 ครัวเรือน) มุกดาหาร (14 ครัวเรือน) อำนาจเจริญ (14 ครัวเรือน) และอุบลราชธานี (42 ครัวเรือน) รวม 616 ครัวเรือน ข้อจำกัดของการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา คือรูปแบบการเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้ จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และการประมวลผลการศึกษาที่รวดเร็วสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานวิจัย

          ดังนั้นในปี 2562 ได้เลือกใช้แนวทางการศึกษาที่อ้างอิงเครื่องมือ SIMVA เช่นเดียวกับการศึกษาในปี พ.ศ. 2557 – 2561 ที่ได้ดำเนินการมา เพื่อให้ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2562 มีความต่อเนื่องจากการศึกษาใน 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีการวางแผนเก็บข้อมูลครอบคลุมทั้ง 8 จังหวัด เพื่อให้เป็นตัวแทนครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบและสอดคล้องกับการวิเคราะห์ที่มีการแยกวิเคราะห์แต่ละจังหวัด สำหรับจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละจังหวัดกำหนดให้เก็บแบบสอบถามครัวเรือนจำนวน จังหวัดละ 100 ชุด รวม 800 ชุด เพื่อให้ผลการศึกษาสะท้อนสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละจังหวัดและสามารถนำข้อมูลของแต่ละจังหวัดมาเปรียบเทียบได้ และมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เลือกเทคโนโลยี Google Form เข้ามาใช้ในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่สามารถนำเสนอต่อภาคีเครือข่ายและภาคประชาชน ได้รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของภาคีเครือข่าย

1. ประชากรและพื้นที่ริมแม่น้ำโขง

          พื้นที่พรมแดนริมแม่น้ำโขงของประเทศไทย แบ่งตามเขตการปกครองระดับอำเภอครอบคลุม 28 อำเภอ มีพื้นที่รวม 9,552,217 ไร่ ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2561 มีประชากรแจงนับได้รวม 1,325,961 คน   มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 414,973 ครัวเรือน มีประชากรโดยเฉลี่ย 3.2 คนต่อครัวเรือน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำนวนประชากรรายอำเภอ พบว่าเขตการปกครองอำเภอเมืองนครพนมเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุด โดยมีประชากร 118,342 คน รองลงมาได้แก่ อำเภอโพนพิสัย มีจำนวน 96,149 คน อำเภอศรีเมืองใหม่             มีประชากร 93,732 คน ส่วนอำเภอบุ่งคล้ามีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุด มีประชากร 14,000 คน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปีของประชากรระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2561 พบว่า อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากรของแต่ละพื้นที่มีการเติบโตไม่สูงมากนักอยู่ในช่วงร้อยละ -0.08 ถึง +0.04 รายละเอียดแต่ละพื้นที่พิจารณาได้จากตารางที่ 1 และรูปที่ 1

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่รายอำเภอพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ปี พ.ศ. 2561

พื้นที่ประชากรครัวเรือนประชากรต่อครัวเรือนพื้นที่ (ไร่)ความหนาแน่นประชากร (คนต่อไร่)
จังหวัดเชียงราย1,292,130538,8522.40  
อ. เชียงแสน48,51620,7572.34284,3390.17
อ. เชียงของ25,49510,1332.52476,4420.05
อ. เวียงแก่น35,54912,3792.87287,9600.12
รวม109,56043,2692.531,048,7410.10
จังหวัดเลย642,773219,9352.92  
อ. เชียงคาน38,16913,3552.86528,3720.07
อ. ปากชม33,51410,7993.10605,7520.06
รวม71,68324,1542.971,134,1240.06
จังหวัดหนองคาย522,103172,9823.02  
อ. ท่าบ่อ61,40917,7843.45223,9170.27
อ. โพนพิสัย96,14930,3093.17514,3820.19
อ. เมืองหนองคาย74,98423,1353.24305,5730.25
อ. รัตนวาปี38,73912,5093.10184,4220.21
อ. ศรีเชียงใหม่23,9077,1303.3595,6550.25
อ. สังคม21,9906,8993.19287,3540.08
รวม317,17897,7663.241,611,3030.20
จังหวัดบึงกาฬ423,940133,0623.19  
อ. บึงโขงหลง27,7918,5213.26215,0350.13
อ. บุ่งคล้า14,0004,0593.45169,7310.08
อ.ปากคาด28,5199,2043.10176,1870.16
อ. เมืองบึงกาฬ66,54921,9123.04560,9420.12
รวม136,85943,6963.131,121,8950.12
จังหวัดนครพนม718,786223,9573.21  
อ. ท่าอุเทน54,65815,2713.58350,0770.16
อ. ธาตุพนม72,75321,3433.41213,5030.34
อ. บ้านแพง26,5647,7343.43189,7790.14
อ. เมืองนครพนม118,34234,6303.42488,6510.24
รวม272,31778,9783.451,242,0100.22
จังหวัดมุกดาหาร352,282114,0143.09  
อ. ดอนตาล38,73411,1443.48311,1320.12
อ. เมืองมุกดาหาร79,05725,7643.07754,0260.10
อ. หว้านใหญ่19,6735,8933.3467,6950.29
รวม137,46442,8013.211,132,8530.12
จังหวัดอำนาจเจริญ378,621115,8103.27  
อ. ชานุมาน38,43011,2693.41366,7620.10
รวม38,43011,2693.41366,7620.10

ที่มา : สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง (2561)  และกรมพัฒนาที่ดิน (2561)

รูปที่ 1 จำนวนประชากรรายอำเภอ พื้นที่ริมแม่น้ำโขงของประเทศไทย

ที่มา : สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง (2561)  และกรมพัฒนาที่ดิน (2561)

 

2. ประชากรวัยแรงงาน

          เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของประชากรของพื้นที่ศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2561 มีประชากร    วัยทำงานทั้งหมด 873,064 คน คิดเป็นร้อยละ 65.84 ของประชากรทั้งหมด โดยพบสัดส่วนประชากรวัยแรงงานมากที่สุดในอำเภอเมืองหนองคาย ร้อยละ 69.66 รองลงมาได้แก่ อำเภอดอนตาล ร้อยละ 69.25 อำเภอท่าบ่อ ร้อยละ 69.19 อำเภอเมืองมุกดาหาร ร้อยละ 69.10 ตามลำดับ และอำเภอศรีเมืองใหม่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.21 รายละเอียดตามตารางที่ 2 และรูปที่ 2

 ตารางที่ 2 จำนวนและสัดส่วนประชากรวัยแรงงานของพื้นที่อำเภอริมแม่น้ำโขง

พื้นที่ประชากร (คน)ประชากรวัยแรงงาน (คน)

สัดส่วน (ร้อยละ)

จังหวัดเชียงราย1,292,130  
อ. เชียงแสน48,51629,22760.24
อ. เชียงของ25,49516,48164.64
อ. เวียงแก่น35,54920,87858.73
รวม109,56066,58660.78
จังหวัดเลย642,773  
อ. เชียงคาน38,16925,17565.96
อ. ปากชม33,51422,22566.32
รวม71,68347,40066.12
จังหวัดหนองคาย522,103  
อ. ท่าบ่อ61,40942,49169.19
อ. โพนพิสัย96,14965,94068.58
อ. เมืองหนองคาย74,98452,23569.66
อ. รัตนวาปี38,73925,90466.87
อ. ศรีเชียงใหม่23,90715,90166.51
อ. สังคม21,99015,03368.36
รวม317,178217,50468.57
จังหวัดบึงกาฬ423,940  
อ. บึงโขงหลง27,79118,81867.71
อ. บุ่งคล้า14,0009,29266.37
อ.ปากคาด28,51919,07366.88
อ. เมืองบึงกาฬ66,54945,15667.85
รวม136,85992,33967.47
จังหวัดนครพนม718,786  
อ. ท่าอุเทน54,65836,69667.14
อ. ธาตุพนม72,75350,11068.88
อ. บ้านแพง26,56417,57466.16
อ. เมืองนครพนม118,34281,04368.48
รวม272,317185,42368.09
จังหวัดมุกดาหาร352,282  
อ. ดอนตาล38,73426,82269.25
อ. เมืองมุกดาหาร79,05754,62869.10
อ. หว้านใหญ่19,67313,56068.93
รวม137,46495,01069.12
จังหวัดอำนาจเจริญ378,621  
อ. ชานุมาน38,43025,88967.37
รวม38,43025,88967.37
จังหวัดอุบลราชธานี1,874,548  
อ. เขมราฐ31,47320,74065.90
อ. โขงเจียม35,23922,82264.76
อ. นาตาล38,12924,96465.47
อ. โพธิ์ไทร43,89729,19966.52
อ. ศรีเมืองใหม่93,73245,18848.21
รวม242,470142,91358.94
รวมทั้งหมด1,325,961873,06465.84

ที่มา : สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง (2561)

หมายเหตุ : ประชากรวัยแรงงาน หมายถึง ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี

รูปที่ 2 สัดส่วนประชากรวัยแรงงานของพื้นที่อำเภอริมแม่น้ำโขง

ที่มา : วิเคราะห์ข้อมูลจาก สำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง (2561)

หมายเหตุ : ประชากรวัยแรงงาน หมายถึง ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15 – 60 ปี ประชากรวัยพึ่งพา หมายถึง ประชากรวัยแรกเกิด – 14 ปี และตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป

          ด้านการจ้างงานทั้งหมดของพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2561 พิจารณาเป็นรายครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนทั้งหมดในพื้นที่ศึกษามีทั้งหมด 414,973  ครัวเรือน (ประชากรต่อครัวเรือนเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 คน) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีจำนวน 228,525 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 56.07 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยพื้นที่ที่มีครัวเรือนเกษตรกรมากที่สุดอยู่ที่อำเภอเมืองนครพนม จำนวน 17,057 ครัวเรือน (ร้อยละ 49.25) รองลงมาได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร จำนวน 16,892 ครัวเรือน (ร้อยละ 65.65) อำเภอศรีเมืองใหม่ จำนวน 13,655 ครัวเรือน (ร้อยละ 41.59) และ อำเภอเมืองบึงกาฬ มีจำนวน 13,247 ครัวเรือน (ร้อยละ 60.46) ตามลำดับ รายละเอียดสามารถพิจารณาได้จากตารางที่ 2-38

3. เศรษฐกิจการเกษตรริมแม่น้ำโขง

          จากพื้นที่ทั้ง 28 อำเภอ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง มีพื้นที่รวม 9,552,217 ไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ จำนวน 4,410,689 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.17 ของพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 85.53 รองลงมา ได้แก่ อำเภอปากคาด จังหวัดบึงหาฬ ร้อยละ 83.24 อำเภอเมืองบึงกาฬ ร้อยละ 77.95 ตามลำดับ ทั้งนี้ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในสัดส่วนต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 8.76 การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินและแหล่งน้ำ แสดงถึงความสำคัญของการเพาะปลูกอันมีผลต่อความสามารถทางเศรษฐกิจของการกสิกรรมของพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ได้ดังตารางที่ 2-38

          ในภาพรวมพื้นที่อำเภอริมแม่น้ำโขง พืชเศรษฐกิจสำคัญที่มีการเพาะปลูกมากที่สุดได้แก่ ที่นาสำหรับปลูกข้าวมีพื้นที่  1,404,708 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.59 รองลงมา ได้แก่ ยางพารา 895,009 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.41 อ้อย 227,262 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.21 ตามลำดับ ทั้งนี้ แต่ละพื้นที่มีกิจกรรมการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจริมแม่น้ำโขงที่แตกต่างกัน สามารถพิจารณาข้อมูลทั้งหมดได้จากรูปที่ 3

รูปที่ 3 สัดส่วนการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจการเกษตรพื้นที่อำเภอริมแม่น้ำโขง

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2561)

 

 

         คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลระดับครัวเรือนและระดับหมู่บ้านโดยการสัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 41 คน และแบบสอบถามหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 427 คน ซึ่งสามารถสรุปผลการสำรวจเกี่ยวกับการเกษตรในพื้นที่ได้ดังนี้

1. การเกษตรกรรมบนฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมบนฝั่ง มีจำนวน 278 ครัวเรือน (ร้อยละ 65) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ มีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 94) ในขณะที่จังหวัดเชียงรายมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) และจังหวัดนครพนม จำนวน  36 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) ชนิดของพืชที่มีการเพาะปลูกบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว จำนวน 177 ครัวเรือน (ร้อยละ 64) พริก จำนวน 144 ครัวเรือน (ร้อยละ 52) มะเขือ จำนวน 133 ครัวเรือน (ร้อยละ 48) ผักชี จำนวน 118 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) และต้นหอม จำนวน 112 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด พึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรกรรมบนฝั่งสูงที่สุด จำนวน 102 ครัวเรือน (ร้อยละ 37) โดยจังหวัดหนองคาย มีการพึ่งพาแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตร บนฝั่งสูงสุด จำนวน 36 ครัวเรือน  (ร้อยละ 82) รองลงมา คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 28 ครัวเรือน  (ร้อยละ 68) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดหนองคายหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

                  – ด้านปริมาณผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด   ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนฝั่งส่วนใหญ่มีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 147 ครัวเรือน (ร้อยละ 53) โดยจังหวัดที่สัดส่วนของครัวเรือนมีผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่งลดลงสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน  27 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืชจากการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 123 ครัวเรือน (ร้อยละ 44) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงสุด คือ จังหวัดเลย จำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง จำนวน 173 ครัวเรือน (ร้อยละ 62) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหารายได้จากการขายผลผลิตสูงสุด คือ จังหวัดเลยจำนวน 24 ครัวเรือน (ร้อยละ 96)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า หัวหน้าครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดเห็นว่าจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 166 ครัวเรือน (ร้อยละ 60) ในด้านพื้นที่ทำการเกษตรกรรมบนฝั่ง พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่มีพื้นที่สำหรับการทำเกษตรกรรมบนฝั่งจำนวนเท่าเดิม จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการเป็นเกษตรอินทรีย์ พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ยังมีการใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 128 ครัวเรือน (ร้อยละ 46) โดยครัวเรือนส่วนใหญ่มีแนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชลดลง จำนวน 110 ครัวเรือน (ร้อยละ 40)

          ครัวเรือนที่ทำการเกษตรบนฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัว จำนวน 247 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุดคือจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 29 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดเชียงราย จำนวน 19 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรบนฝั่ง ได้แก่ การลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร จำนวน 195 ครัวเรือน (ร้อยละ 79) รองลงมา คือ การเฝ้าระวังการปล่อยน้ำจากเขื่อน จำนวน 189 ครัวเรือน (ร้อยละ 77) และการป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 191 ครัวเรือน (ร้อยละ 77)

2. การเกษตรกรรมริมฝั่ง

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดที่ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมริมฝั่งมีจำนวน 170 ครัวเรือน (ร้อยละ 40) โดยจังหวัดอุบลราชธานีมีสัดส่วนครัวเรือนที่ทำเกษตรกรรมริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 34 ครัวเรือน (ร้อยละ 58) ในขณะที่จังหวัดบึงกาฬมีสัดส่วนต่ำที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 27)

          ชนิดของพืชที่ครัวเรือนเพาะปลูกริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดสูงสุด 5 ชนิด ได้แก่ พริก จำนวน 121 ครัวเรือน (ร้อยละ 71) มะเขือ จำนวน 101 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) ต้นหอม จำนวน 97 ครัวเรือน (ร้อยละ 57) ผักชี จำนวน 96 ครัวเรือน (ร้อยละ 56) และมะเขือเทศ จำนวน 92 ครัวเรือน (ร้อยละ 54)

          ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดพึ่งพาแหล่งน้ำจากการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อทำการเกษตรริมฝั่งสูงที่สุด จำนวน 113 ครัวเรือน (ร้อยละ 66) จังหวัดที่มีสัดส่วนการพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำโขงเพื่อการเกษตรริมฝั่งสูงสุด คือ จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93) ซึ่งแสดงให้เห็นความเสี่ยงของจังหวัดมุกดาหารหากแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

          การเปลี่ยนแปลงของการทำเกษตรริมฝั่งในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด    ส่วนใหญ่เห็นว่าตนเองมีปริมาณผลผลิตลดลง จำนวน 76 ครัวเรือน (ร้อยละ 45) โดยจังหวัดอำนาจเจริญ  มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าผลผลิตลดลงสูงที่สุด จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 93)

                  – ด้านการเจริญเติบโตของพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่ามีการเจริญเติบโตของพืชลดลง จำนวน 71 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดบึงกาฬ มีสัดส่วนครัวเรือนที่เห็นว่าการเติบโตของพืชลดลงสูงที่สุด จำนวน 12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100)

                  – ด้านรายได้จากการขายผลผลิต ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าครัวเรือนของตนเองมีรายได้จากการขายผลผลิตลดลง จำนวน 86 ครัวเรือน (ร้อยละ 51) โดยจังหวัดที่มีความรุนแรงของปัญหานี้สูงที่สุดคือ จังหวัดเลย จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80)

                  – ด้านจำนวนเกษตรกร ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่เห็นว่าในหมู่บ้านตนเองนั้นมีจำนวนเกษตรกรเท่าเดิม จำนวน 100 ครัวเรือน (ร้อยละ 59) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่เห็นว่าจำนวนเกษตรกรลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิต

                  – ด้านพื้นที่เกษตรกรรม ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองมีพื้นที่เกษตรกรรมเท่าเดิม จำนวน 104 ครัวเรือน (ร้อยละ 61) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่มีพื้นที่เกษตรกรรมลดลงสูงที่สุด จำนวน 8 ครัวเรือน (ร้อยละ 80) ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นรายได้จากการขายผลผลิตและจำนวนเกษตรกร

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่าเดิม จำนวน 84 ครัวเรือน (ร้อยละ 49) โดยจังหวัดเลยมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยชีวภาพลดลงสูงที่สุด จำนวน 7 ครัวเรือน (ร้อยละ 70)

                  – ด้านการใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัดส่วนใหญ่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและ สารกำจัดศัตรูพืชเท่าเดิม จำนวน 72 ครัวเรือน (ร้อยละ 42) โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีสัดส่วนของครัวเรือนที่ระบุว่าตนเองใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นสูงที่สุด จำนวน 9 ครัวเรือน (ร้อยละ 60)

                  – ด้านการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง พบว่า ครัวเรือนทั้ง 8 จังหวัด ที่ทำการเกษตรริมฝั่งทั้ง 8 จังหวัดมีการปรับตัวจำนวน 152 ครัวเรือน (ร้อยละ 89) โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนการปรับตัวสูงที่สุด คือ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 15 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) และจังหวัดบึงกาฬ จำนวน  12 ครัวเรือน (ร้อยละ 100) โดยวิธีการปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเกษตรกรรมริมฝั่ง ได้แก่  การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและสารพิษลงในแม่น้ำ จำนวน 124 ครัวเรือน (ร้อยละ 82)

 

Scroll to Top