ด้านเศรษฐกิจ สังคม

การบริการของระบบนิเวศ ปี 2565

1. แนวทางและวิธีการศึกษา

          การศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการสำรวจเชิงปริมาณ (Quantitative survey) โดยใช้แบบสอบถาม ที่ปรับปรุงเครื่องมือ SIMVA ให้เข้ากับวัตถุประสงค์การวิจัยและบริบทของพื้นที่ ประกอบด้วย

           การสำรวจครัวเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลในระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน โดยผู้ให้ข้อมูลแบบสอบถามครัวเรือน คือ หัวหน้าครัวเรือน ในกรณีที่ไม่พบหัวหน้าครัวเรือนให้ใช้แบบสอบถามกับสมาชิกอื่นในครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลของครัวเรือนได้

          ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บและการสำรวจด้านเศรษฐกิจสังคม และบริการระบบนิเวศ การสำรวจครัวเรือน และข้อมูลจาก จปฐ. TPMAP และกชช. 2ค ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ ด้านวิถีชีวิต การพึ่งพิงทรัพยากรจากแม่น้ำโขง อาชีพ การปรับตัวและข้อเสนอแนะ และบริการระบบนิเวศ เพื่อนำมาจัดทำตัวชี้วัดที่สำคัญ (ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019) แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตัวบ่งชี้แสดงผลกระทบโครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

หมวด

ดัชนีตัวชี้วัด

แหล่งที่มา

ด้านสังคม1. ความมั่งคงด้านอาหารรายได้แบบสอบถาม
ครัวเรือนที่ทำนากชช.2ค
2. ความมั่งคงด้านน้ำครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาตลอดปีกชช.2ค
การใช้น้ำเพื่อการเกษตรกชช.2ค
3. การเข้าถึงไฟฟ้าครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้กชช.2ค
ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนกชช.2ค
4. ความมั่งคงทางเศรษฐกิจรายได้หลักโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนแบบสอบถาม
รายได้รองโดยเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนแบบสอบถาม
จำนวนสมาชิกในครัวเรือนแบบสอบถาม
ครัวเรือนท่านมีหนี้สินในระดับใดแบบสอบถาม
ครัวเรือนท่านมีการออมในระดับใดแบบสอบถาม
ด้านเศรษฐกิจ1. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเกษตรพื้นที่ทำเกษตรกรรมแบบสอบถาม
รายได้จากการเกษตรกรรมโดยเฉลี่ยต่อปีแบบสอบถาม
ปริมาณผลผลิตแบบสอบถาม
การเจริญเติบโตของพืชแบบสอบถาม
จำนวนเกษตรกรแบบสอบถาม
ขนาดพื้นที่การเกษตรแบบสอบถาม
การใช้ปุ๋ยสารเคมี สารกำจัดศัตรูพืชแบบสอบถาม
การใช้ปุ๋ยชีวภาพแบบสอบถาม
2. มูลค่าทางเศรษฐกิจการประมงจำนวนปลาและสัตว์น้ำที่จับได้ต่อปีแบบสอบถาม
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำโดยเฉลี่ยต่อปีแบบสอบถาม
จำนวนสัตว์น้ำแบบสอบถาม
จำนวนชาวประมงแบบสอบถาม
3. มูลค่าทางเศรษฐกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจำนวนปลา/สัตว์น้ำ ต่อปีแบบสอบถาม
รายได้จากการขายปลาและสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงโดยเฉลี่ยต่อปีแบบสอบถาม
จำนวนสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงแบบสอบถาม
จำนวนผู้่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบสอบถาม
ด้านสิ่งแวดล้อม1. คุณภาพดินมีปัญหาคุณภาพดินกชช.2ค
2. คุณภาพน้ำมีปัญหาคุณภาพน้ำกชช.2ค
3. คุณภาพอากาศมีปัญหาคุณภาพอากาศกชช.2ค
4. ภัยพิบัติมีปัญหาน้ำท่วม/ดินถล่ม/พายุกชช.2ค
มีปัญหาไฟป่า/หมอกควัน/ควันพิษกชช.2ค
มีปัญหาภัยแล้งกชช.2ค

ที่มา : ปรับปรุงจาก MEKONG RIVER COMMISSION (2019)

2. พื้นที่ศึกษา

          การศึกษาครอบคลุมพื้นที่เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรจากริมฝั่งแม่น้ำโขงและจุดบรรจบของลำน้ำสาขา ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

3. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

          การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างรูปแบบเดียวกันกับโครงการศึกษาผลกระทบฯ ปี พ.ศ. 2564 เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำมาเปรียบเทียบและเห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

                   กลุ่มตัวอย่าง

               พื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ. 2565 มีประชากรเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 จำนวน 1,294,317 คน จำนวนบ้าน 418,144 หลังคาเรือน (สำนักงานบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, 2565) รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 7-2

              การสำรวจเก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจสังคมในปี พ.ศ. 2565 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน      (Multi Stage Random Sampling) เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่ และอยู่อาศัยกระจัดกระจาย

             จำนวนครัวเรือนที่ต้องการศึกษามีทั้งหมด 418,144 ครัวเรือน กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ .05 โดยการคำนึงถึงความพร้อมด้านเวลา แรงงาน และงบประมาณที่ทำวิจัย เมื่อแทนค่าในสูตรสำหรับกรณีที่ครัวเรือนมีจำนวนแน่นอน จะได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้

                                  N          =          418,144

                                  e          =          .05

                  แทนค่าสูตร

                                  n          =          N / (1 + Ne2)

                                             =          418,144/ (1 + 418,144 (0.05)2)

                                             =          399.62

          ฉะนั้น จะใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 400 ครัวเรือน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแต่ละจังหวัด คำนึงถึงตัวแปรต้น คือ จังหวัด จำนวน 8 จังหวัด ที่สามารถเป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดและเป็นตัวแทนในภาพรวมของทั้ง 8 จังหวัดได้ ดังนั้น จึงใช้เกณฑ์จำนวนครัวเรือนในแต่ละจังหวัดที่กระจายในแต่ละอำเภอเป็นตัวระบุจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละพื้นที่ โดยจังหวัด มีกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 30 ชุด จะถูกปรับขึ้นให้เป็น 30 ตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับได้ รายละเอียดการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

ลำดับ

จังหวัดอำเภอจำนวนประชากรจำนวนบ้าน (หลังคาเรือน)

จำนวนกลุ่มตัวอย่างครัวเรือน

1เชียงรายอ.เชียงแสน49,18121,67320
อ.เชียงของ25,18410,60710
อ.เวียงแก่น37,28113,41812
รวม111,64645,69842
2เลยอ.เชียงคาน38,19514,16818
อ.ปากชม33,64311,34312
รวม71,83825,51130
3หนองคายอ.ท่าบ่อ61,25018,73517
อ.เมือง75,00024,58023
อ.รัตนวาปี38,05713,11812
อ.โพนพิสัย95,64131,93430
อ.ศรีเชียงใหม่23,4787,4497
อ.สังคม22,3187,2746
รวม315,744103,09095
4บึงกาฬอ.บึงโขงหลง27,9438,9928
อ.บุ่งคล้า14,0544,2654
อ.ปากคาด28,2099,6919
อ.เมือง58,66418,86718
รวม128,87041,81539
5นครพนมอ.บ้านแพง26,5888,1937
อ.ท่าอุเทน54,77015,92515
อ.เมือง117,94636,56034
อ.ธาตุพนม72,00822,16521
รวม271,31282,84377
6มุกดาหารอ.หว้านใหญ่19,8456,3546
อ.เมือง80,00927,05425
อ.ดอนตาล38,88011,72611
รวม138,73445,13442
7อำนาจเจริญอ.ชานุมาน38,77211,72630
รวม38,77211,72630
8อุบลราชธานีอ.เขมราฐ31,7249,1398
อ.นาตาล38,41511,42810
อ.โพธิ์ไทร44,52412,03311
อ.ศรีเมืองใหม่66,90319,48218
อ.โขงเจียม35,83510,2459
รวม217,40162,32756
รวมทั้งหมด1,294,317418,144411

          การประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการระบบนิเวศของพื้นที่ จะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

                    1) ด้านการผลิตอาหารหรือเป็นแหล่งอาหาร (Provisioning)

                    2) ด้านวัฒนธรรม (Cultural)

                    3) ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating) และ

                    4) ด้านการสนับสนุน (Supporting)

                    โดยหัวข้อที่จะประเมินเบื้องต้นในแต่ละด้าน ดังตารางที่ 3 (อ้างอิงจากรายงาน โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561)

          การประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการให้บริการระบบนิเวศของแม่น้ำโขงประกอบด้วยประเด็นการสอบถามดังต่อไปนี้

  1. ด้านการผลิตอาหารหรือเป็นแหล่งอาหาร (Provisioning)

                  1.1 แหล่งอาหาร

                  1.2 แหล่งน้ำใช้

                  1.3 อาหารจากสัตว์น้ำ

                  1.4 อาหารจากพืชที่เพาะปลูกขึ้น

                  1.5 พืชที่ขึ้นเองในธรรมชาติ

  1. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต (Cultural and Livelihood)

                  2.1 พื้นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ

                  2.2 การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

                  2.3 การจัดงานเทศกาล / ประเพณี

                  2.4 รีสอร์ท/โฮมสเตย์

  1. ด้านการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Regulating)

                  3.1 การควบคุมของเสียและสารพิษในพื้นที่

                  3.2 การกัดเซาะและการสะสมตะกอน

                  3.3 ความแห้งแล้ง

                  3.4 น้ำท่วม

  1. ด้านการสนับสนุน (Supporting)

                  4.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                  4.2 การรักษาระบบนิเวศ

 4. ผลการศึกษา

          ข้อมูลความคิดเห็นผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning) การให้บริการระบบนิเวศด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural) การให้บริการระบบนิเวศด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating) การให้บริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุน (Supporting) อยู่ในระดับมากทั้งหมด ดังรายละเอียดข้อมูลความคิดเห็นผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง ดังนี้

ตารางที่ 3 ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง

ผลกระทบด้านบริการระบบนิเวศของการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง

ค่าเฉลี่ยS.D.

ระดับความคิดเห็น

1. การให้บริการระบบนิเวศด้านแหล่งอาหาร (Provisioning)

        1) แหล่งน้ำใช้

       2) อาหารจากสัตว์น้ำ

       3) อาหารจากพืชที่เพาะปลูกขึ้น

       4) อาหารจากพืชที่ขึ้นเองในธรรมชาติ

4.07

4.15

4.15

4.03

3.94

0.68

0.79

0.74

0.81

0.97

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

2. การให้บริการระบบนิเวศด้านคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural)

       1) พื้นที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ

       2) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

       3) การจัดงานเทศกาล / ประเพณี

       4) รีสอร์ท/โฮมสเตย์/ที่พักต่าง ๆ

       5) คุณค่าทางจิตใจและความเชื่อ

       6) การศึกษาวิจัย/เรียนรู้ในพื้นที่

4.04

4.23

4.18

4.19

3.72

4.07

3.86

0.66

0.78

0.82

0.72

0.92

0.84

0.81

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

3. การให้บริการระบบนิเวศด้านการควบคุมสภาพแวดล้อม (Regulating)

       1) การควบคุมของเสียและสารพิษในพื้นที่

       2) การกัดเซาะและการสะสมตะกอน

       3) ความแห้งแล้ง

       4) น้ำท่วม

3.82

4.00

3.87

3.85

3.56

0.73

0.87

0.80

0.84

1.02

มาก

มาก

มาก

มาก

มาก

4. การให้บริการระบบนิเวศด้านการสนับสนุน (Supporting)

       1) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

       2) การทำให้เกิดวัฎจักรของอาหาร

       3) การเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์วัยอ่อน

4.02

4.20

4.21

4.19

0.61

0.85

0.83

0.88

มาก

มาก

มาก

มาก

Scroll to Top