ด้านกายภาพ

คุณภาพน้ำ ปี พ.ศ.2566

วิธีการศึกษา
การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน
ดัชนีที่ศึกษา
ดำเนินการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวนทั้งหมด 15 สถานี จำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ ฤดูน้ำมาก (ฤดูน้ำหลาก) และฤดูน้ำแล้ง (ฤดูน้ำน้อย) เพื่อวิเคราะห์ติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ และเพื่อประเมินความสัมพันธ์กับปริมาณตะกอนสะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้พิจารณาวิเคราะห์ดัชนีในการติดตามคุณภาพน้ำ ทั้งหมด 14 ดัชนี ตามการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการศึกษาของโครงการฯ และเพื่อให้ครอบคลุมดัชนีที่ใช้ในการคำนวณค่า WQI สำหรับการป้องกันสิ่งมีชีวิตในน้ำ สำหรับดัชนี ภาชนะบรรจุ วิธีการรักษาสภาพตัวอย่าง และวิธีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดิน

ลำดับ สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำ จังหวัด พิกัด หมายเหตุ
Zone X Y
1 อ.เชียงแสน บริเวณสถานีวัดระดับน้ำเชียงแสน* เชียงราย 47Q 613709 2242108 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำและเป็นจุดต้นน้ำจุดแรกบนแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทย
2 อ.เวียงแก่น บริเวณผาได เชียงราย 48Q 236538 1988608 จุดก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสปป.ลาว
3 อ.เชียงคาน 1 บริเวณผานางคอย เลย 47Q 776432 1977546 จุดแรกหลังจากที่แม่น้ำโขงไหลออกจากสปป.ลาวและเป็นจุดก่อนแม่น้ำเลยไหลลงแม่น้ำโขง
4 อ.เชียงคาน 2 บริเวณแม่น้ำเลย เลย 47Q 776744 1976746 จุดหลังจากที่แม่น้ำเลยไหลลงแม่น้ำโขง
5 อ.เชียงคาน 3 บริเวณสถานีวัดระดับน้ำเชียงคาน เลย 47Q 782006 1981128 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ
6 อ.ปากชม บริเวณบ้านห้วยเหียม เลย 48Q 190457 2016353 จุดก่อนเข้าจังหวัดหนองคาย มีแผนก่อสร้างเขื่อนปากชมในอนาคต
7 อ.เมืองหนองคาย บริเวณสถานีวัดระดับน้ำหนองคาย หนองคาย 48Q 261866 1979214 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ และ และเป็นจุดก่อนจุดที่ น้ำงึมไหลลงแม่น้ำโขง
8 อ.โพนพิสัยบริเวณน้ำงึม หนองคาย 48Q 300209 2006991 จุดหลังจากจุดที่น้ำงึมไหลลงแม่น้ำโขง (และอยู่ก่อนที่ น้ำเงียบไหลลงแม่น้ำโขง)
9 อ.เมืองบึงกาฬบริเวณน้ำเงียบ บึงกาฬ 48Q 353903 2034599 จุดหลังจากจุดที่น้ำเงียบไหลลงแม่น้ำโขง (และอยู่ก่อนที่แม่น้ำกะดิงไหลลงแม่น้ำโขง)
10 อ.บุ่งคล้าบริเวณบ้านบุ่งคล้าเหนือ บึงกาฬ 48Q 394287 2023608 จุดหลังจากจุดที่แม่น้ำกะดิงไหลลงแม่น้ำโขง
11 อ.เมืองนครพนมบริเวณสถานีวัดระดับน้ำนครพนม* นครพนม 48Q 476079 1926614 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ และเป็นจุดก่อนแม่น้ำสงครามไหลลงแม่น้ำโขง
12 อ.ธาตุพนมบริเวณบ้านคับพวง นครพนม 48Q 443508 1951724 จุดหลังจากที่แม่น้ำสงครามไหลลงแม่น้ำโขง
13 อ.เมืองมุกดาหาร บริเวณสถานีวัดระดับน้ำมุกดาหาร มุกดาหาร 48Q 471466 1833437 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ
14 อ.ชานุมานบริเวณบ้านศรีสมบูรณ์ อำนาจเจริญ 48Q 500969 1796169
15 อ.โขงเจียม บริเวณสถานีวัดระดับน้ำ โขงเจียม* อุบลราชธานี 48Q 553695 1693817 จุดบริเวณสถานีวัดระดับน้ำ

หมายเหตุ: * คือ สถานีเดียวกันกับจุดติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

ดัชนี หน่วย ภาชนะบรรจุ วิธีการเก็บรักษาตัวอย่าง ระยะเวลาเก็บรักษา วิธีการตรวจสอบ ขีดจำกัดต่ำสุดของการวััด
1.อุณหภูมิ °C ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 0.25 ชั่วโมง Thermometer  –
2.ความเป็นกรด-ด่าง(pH) ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 0.25 ชั่วโมง Electrometric Method
3.ออกซิเจนละลาย (DO) mg/L ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 8 ชั่วโมง Azide Modification Method  0.5
4.บีโอดี (BOD) mg/L P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Azide Modification Method  1.0
5.การนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) µS/cm ตรวจวัดทันทีในภาคสนาม 28 วัน Electrical Conductivity Method  –
6.ความขุ่น (Turbidity) NTU P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Nephelometric Method  0.1
7.สารแขวนลอย (TSS) mg/L P แช่เย็น 7 วัน Total Suspended Solids Dried at 103-105 °C 5.0
8.แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) mg/L NH3-N P,G เติมกรด H2SO4จน pH< 2, แช่เย็น 28 วัน Distillation Nesslerization Method  0.2
9.ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2-N) mg/L NO2–N P แช่เย็น 48 ชั่วโมง NED Colourimetric Method  0.02
10.ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3-N) mg/L NO3–N P แช่เย็น 48 ชั่วโมง Cadmium Reduction Method  0.02
11.ฟอสเฟต mg/LPO43- G(A) แช่เย็น 48 ชั่วโมง Ascorbic Acid Method  0.03
12.ฟอสฟอรัสทั้งหมด (T-P) mg/L P P เติมกรด H2SO4จน pH< 2, แช่เย็น 28 วัน Persulphate Digestion and Ascorbic Acid Method  0.01
13.โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด (TCB) MPN/100 mL G(Sterile) เติม 10% Na2S2O3 0.1 มล. ต่อ 100 มล., แช่เย็น 24 ชั่วโมง Multiple-Tube Fermentation Technique  <1.8
14.ฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB) MPN/100 mL G(Sterile) เติม 10% Na2S2O3 0.1 มล. ต่อ 100 มล., แช่เย็น 24 ชั่วโมง Multiple-Tube Fermentation Technique  <1.8

ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินของโครงการ

หมายเหตุ : P หมายถึง Plastic (Polyethylene หรือ Equivalent). G หมายถึง Glass, G(A) หมายถึง Glass rinsed with 1+1 Nitric Acid แช่เย็น หมายถึง แช่เย็น ที่อุณหภูมิ >0 องศาเซลเซียส < 6 องศาเซลเซียส

ที่มา : Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA, WEF, 23rd Edition, 2017.

การวิเคราะห์ข้อมูล

การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำตามเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงสำหรับการประเมินคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ (Water Quality Index for Aquatic life; WQIal) โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQIal ประกอบด้วย DO, pH, NH3, Conductivity, NO3- และ total-P สามารถคำนวณได้ดังสมการ

โดย   pi   คือ ค่าคะแนนของตัวอย่างน้ำในวันที่ i โดยหากค่าของแต่ละพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จะถือว่ามีค่าถ่วงน้ำหนัก หากไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะถือว่าค่าคะแนนเป็น 0

n   คือ จำนวนตัวอย่างที่เก็บในปีนั้น

M   คือ ค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของคะแนนจากการวัดได้ในปีนั้น

และหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพน้ำตามตารางด้านล่างนี้

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

การประเมินดัชนีคุณภาพน้ำตามเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษสำหรับการประเมินดัชนีคุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (Water Quality Index; WQI) โดยดัชนีที่นำมาใช้ประเมินค่า WQI ประกอบด้วย DO, BOD, TCB, FCB และ NH3-N สามารถคำนวณได้ดังสมการ

ค่า WQI (คะแนนรวม) = ค่าเฉลี่ยของคะแนนทั้ง 5 ดัชนี – ค่าการปรับความถูกต้องของคะแนน
และหลังจากนั้นจะทำการประเมินการจัดระดับชั้นดัชนีคุณภาพตามตารางด้านล่างนี้

 

การติดตามสถานการณ์โขงสีครามระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567

 

การติดตามสถานการณ์โขงสีครามระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567

 

สีของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีปูนในช่วงหลังฤดูน้ำหลาก (ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 – น้ำเริ่มลด) ในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน และน้ำเริ่มใสมากขึ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม โดยสีของน้ำในแม่น้ำโขงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคราม

สรุปผลการศึกษา

คุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับดี โดยอยู่ในระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยถึงน้อยมาก

คุณสมบัติทางเคมีนั้น ปริมาณออกซิเจนละลายในช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 – น้ำกำลังขึ้นและช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 – น้ำกำลังลงในทุกจุดมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) และมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
และค่าบีโอดีส่วนใหญ่มีค่ามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เนื่องมาจากการไหลของน้ำค่อนข้างเอื่อย จึงทำให้กักเก็บออกซิเจนได้น้อยกว่าการไหลที่เชี่ยว รวมทั้งเศษซากอินทรีย์ในน้ำที่ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย จึงเป็นส่งผลปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำลดลง และทำให้ค่าบีโอดีสูงขึ้น

คุณสมบัติทางชีววิทยา ส่วนใหญ่มีปริมาณ TCB และ FCB ไม่เกินค่ามาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าปริมาณ TCB และ FCB ในช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 – ช่วงน้ำกำลังลด ซึ่งช่วงน้ำมากจะมีปริมาณ TCB และ FCB สูงกว่าในช่วงฤดูน้ำน้อย ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณตะกอนที่ลดลงในช่วงฤดูน้ำน้อยอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โขงสีคราม ในช่วงหลังเดือนธันวาคมของทุกปี

Scroll to Top