ด้านกายภาพ

ผลระดับน้ำและอัตราการไหล ปี 2564

1. ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม และสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane

รวมทั้ง สถานีน้ำท่าบนแม่น้ำที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน ประกอบด้วย สถานีน้ำท่าของกรมชลประทาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา และสถานีน้ำท่าของกรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) แสดงดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 สถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานและแม่น้ำสาขา ที่นำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาในปี พ.ศ. 2564

2. วิธีการศึกษา

กลุ่มที่ปรึกษามีขั้นตอนการดำเนินงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อไปนี้

1) ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านปริมาณการไหลของน้ำและระดับน้ำที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น รายงาน Weekly wet season situation report in the Lower Mekong River Basin รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: November 2020-May 2021 รายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: January-July 2020 เป็นต้น

2) รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วย :

  • กรมทรัพยากรน้ำ : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีเชียงแสน สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม (ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา) และจากสถานีในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศไทยเพิ่มเติมจำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก และสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)
  • กรมชลประทาน : โดยประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลและระดับน้ำจากสถานีน้ำท่าจากสถานีน้ำท่าบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงในพื้นที่อาณาเขตของประเทศไทยที่อาจได้รับอิทธิพลจากปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายประธาน จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ และสถานีบ้านวังเลา
  • สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง : โดยการจัดซื้อข้อมูลจากสถานีน้ำท่าและสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานของ สปป.ลาว จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานี Luang Prabang และสถานี Paksane

3) คำนวณหาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูน้ำหลาก และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูน้ำหลาก และจากฤดูน้ำหลากไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงการไหลของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล และหาค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดของปริมาณการไหลและระดับน้ำรายเดือนของแต่ละช่วงเวลา แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดตามธรรมชาติของอุทกวิทยาของแม่น้ำโขงตามฤดูกาล

ฤดูกาล ช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ) ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ)
ฤดูแล้ง ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน
ฤดูน้ำหลาก เดือนมิถุนายน ต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน

ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009

4) เปรียบเทียบและปรับปรุงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหล และระดับน้ำเฉลี่ย โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็นช่วงเวลา เพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน โดย ณ สถานีเชียงแสน แบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ช่วงปี พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 2

สถานี Luang Prabang แบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561 ตัวอย่างดังรูปที่ 2 เนื่องจากข้อมูลหลังปี พ.ศ. 2561 เป็นข้อมูลที่มีความผิดพลาด ซึ่งได้รับผลกระทบของน้ำเท้อจากเขื่อนไซยะบุรี โดยข้อมูลจะสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้อีกครั้ง เมื่อมีการติดตั้งสถานีอุทกวิทยาเพื่อปรับแก้ค่าปริมาณการไหลและระดับน้ำ

สำหรับ ณ ตำแหน่งพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่สถานีเชียงคาน จนถึงสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)ซึ่งเป็นสถานีทั้งในแม่น้ำโขงสายประธานและในแม่น้ำสาขาแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่

  1. ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  2. ช่วงปีหลังมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนบน แต่ก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561
  3. ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานตอนล่าง เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี ตัวอย่างดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ปริมาณการไหลเฉลี่ยรายวันของแม่น้ำโขง เปรียบเทียบช่วงปีก่อนมีเขื่อน (1985-1991) และหลังมีเขื่อน (2014-2015) ในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ สถานีอุทกวิทยาเชียงแสน

ที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาผลกระทบและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนจากการพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน (2561)

5) ประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาของการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำเปรียบเทียบในช่วงเวลาการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

ระดับแนวโน้ม ระดับการเปลี่ยนแปลง
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก 0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย 21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง 41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง 61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมาก มากกว่า 80%

2. การทบทวนข้อมูลการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณการไหลและระดับน้ำ

ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจะพิจารณาตามช่วงของแม่น้ำโขงสายประธานที่ไหลผ่านประเทศไทย โดยแบ่งตามลักษณะการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง อัตราการไหลเฉลี่ย 7 วัน (7-days moving-averaged data series) ซึ่งเป็นการปรับปรุงการประเมินข้อมูลอนุกรมเวลาให้สามารถประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายวัน ของสถานีเชียงแสน สถานี Luang Prabang สถานีเชียงคาน สถานีหนองคาย สถานี Paksane สถานีนครพนม สถานีมุกดาหาร และสถานีโขงเจียม ซึ่งพบว่าช่วงระยะบนแม่น้ำโขงที่มีลักษณะอัตราการไหลแตกต่างกันสามารถแบ่งได้ 5 ช่วง ตามระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำ

ตารางแสดงปริมาณการไหลของ 8 สถานี ในปี พ.ศ. 2564 (แม่น้ำโขงสายประธาน)

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534)

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.3±0.9

1.1±0.1

2.1±0.9

1.1±0.1

1.0±0.04

2.2±1.6

Min

0.4

0.9

1.1

0.9

0.9

0.9

Max

3.7

1.3

5.0

1.3

1.1

5.4

ช่วง T1

เฉลี่ย

6.7±5.2

1.4±0.2

9.2±4.8

1.3±0.2

1.1±0.1

3.5±1.3

Min

0.9

1.0

1.7

1.1

0.9

1.1

Max

28.9

1.8

22.9

1.6

1.5

6.0

ฤดูน้ำหลาก

 

 

เฉลี่ย

63.9±64.4

2.4±0.9

68.3±44.5

2.9±0.9

1.8±1.3

4.4±1.1

Min

6.5

1.4

7.7

1.5

1.0

2.3

Max

230.4

4.4

145.0

4.2

6.6

7.1

ช่วง T2

เฉลี่ย

4.9±0.8

1.4±0.04

7.0±1.3

1.4±0.1

1.1±0.03

3.7±1.0

Min

3.7

1.3

5.1

1.3

1.1

2.2

Max

6.4

1.4

9.2

1.5

1.2

5.5

2/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

ตารางแสดงระดับน้ำของ 8 สถานี ในปี พ.ศ. 2564 (แม่น้ำโขงสายประธาน)

ปี พ.ศ. 2564

เชียงแสน (ม.)1/

Luang Prabang (ม.)2/

เชียงคาน (ม.)

หนองคาย (ม.)

Paksane (ม.)

นครพนม (ม.)

มุกดาหาร (ม.)

โขงเจียม (ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

2.3±0.3

4.5+0.9

4.4±0.7

1.6±0.5

2.1±0.9

1.5±0.5

1.9±0.3

2.3±0.3

Min

1.9

3.7

3.5

0.9

1.1

0.8

1.5

1.9

Max

3.1

6.8

5.9

2.9

3.9

2.6

2.8

3.2

ช่วง T1

เฉลี่ย

3.0±0.4

5.5+0.8

4.4±0.8

3.7±0.9

4.7±1.0

3.4±1.1

3.5±1.0

3.9±1.1

Min

2.3

4.1

3.5

2.7

3.7

2.4

2.6

3.0

Max

3.8

7.2

6.3

6.6

7.5

6.3

6.0

6.5

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

5.0±0.7

10.6+1.6

7.6±1.1

4.7±1.2

5.8±1.2

5.1±1.2

5.2±1.1

6.7±1.3

Min

3.9

7.4

5.6

2.7

4.0

3.0

3.2

4.4

Max

6.0

13.1

10.5

7.6

8.3

7.9

8.0

9.6

ช่วง T2

เฉลี่ย

3.5±0.3

7.6+0.5

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

ยังไม่ถึงระยะเวลา

หมายเหตุ: 1/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2564

2/ ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

ตารางแสดงปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำสาขาในเขตประเทศไทย
สถานีบ้านวังเลา

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2540-2561)

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

พ.ศ. 2564

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ3/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.6±0.6

 0.7±0.2

 0.2±0.1

 0.1±0.03

 0.1±0.1

 

Min

0.9

 0.5

 0.1

 0.0

 0.1

 

Max

4.0

 1.1

 0.3

 0.2

 0.3

ช่วง T1

เฉลี่ย

16.6±7.5

 1.7±0.4

 0.5±0.4

 0.8±0.8

ยังไม่มีข้อมูล

 

Min

2.6

 0.8

 0.1

 0.1

 

Max

29.6

 2.2

 1.6

 3.0

ฤดูน้ำ

เฉลี่ย

28.1±14.9

 3.0±0.9

 1.1±0.8

 1.1±0.9

หลาก

Min

7.5

 1.6

 0.2

 0.2

 

Max

58.3

 4.7

 2.4

 4.0

ช่วง T2

เฉลี่ย

5.4±1.6

 1.3±0.1

 0.2±0.04

 0.2±0.05

 

Min

4.0

 1.2

 0.1

 0.1

 

Max

8.5

 1.5

 0.2

 0.2

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540-31 มีนาคม 2550

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2540-31 ธันวาคม 2561

3/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2564

ที่มา กรมชลประทาน, 2564

สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

7.1±3.4

 1.5±0.3

2.8±2.3

 1.5±0.2

 1.6±0.2

 1.6±0.04

Min

5.4

 1.3

1.2

 1.3

 1.3

 1.5

Max

19.0

 2.5

14.6

 2.3

 2.7

 1.7

ช่วง T1

เฉลี่ย

96.9±82.0

 4.3±2.5

95.9±83.3

 4.3±2.2

 3.7±2.4

 2.7±1.4

Min

5.5

 1.3

3.1

 1.5

 1.3

 1.5

Max

210.4

 7.7

251.7

 8.1

 8.8

 5.4

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

260.5±97.1

 8.7±2.0

400.2±142.1

 10.1±2.2

 6.2±3.9

 7.1±3.3

Min

76.3

 4.6

49.5

 3.8

 1.7

 2.9

Max

402.9

 11.5

552.8

 12.2

 12.4

 12.5

ช่วง T2

เฉลี่ย

36.4±13.0

 3.3±0.5

30.8±9.6

 3.1±0.4

 1.6±0.1

ยังไม่มีข้อมูล

Min

20.3

 2.5

15.7

 2.4

 1.5

Max

66.9

 4.3

46.8

 3.7

 1.9

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2529-2534

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 สิงหาคม 2563

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีน้ำก่ำที่นาแก

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534)

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561)

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ1/
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.89±3.78

 1.1±0.2

25.63±4.13

 3.4±0.1

 4.9±0.4

 4.7±0.4

Min

0.33

 0.9

16.92

 3.2

 4.0

 3.7

Max

16.45

 1.8

34.94

 3.8

 5.4

 5.3

ช่วง T1

เฉลี่ย

14.41±15.38

 1.6±0.6

37.90±17.44

 3.6±0.2

 4.4±0.2

 3.4±1.2

Min

0.48

 0.9

18.75

 3.3

 4.0

 2.0

Max

51.24

 2.9

72.93

 3.9

 4.8

 5.0

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

80.29±38.26

 3.6±0.9

92.18±29.21

 4.3±0.3

 5.2±0.5

 4.8±0.3

Min

25.37

 2.2

29.21

 3.7

 4.2

 3.6

Max

190.01

 5.0

139.16

 4.9

 6.4

 5.3

ช่วง T2

เฉลี่ย

18.25±3.89

 1.9±0.1

38.42±3.62

 3.7±0.04

 5.2±0.1

 4.8±0.1

Min

14.18

 1.7

32.44

 3.7

 5.0

 4.6

Max

24.77

 2.1

43.90

 3.8

 5.3

 5.0

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2535-2542 พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2561

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2539-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

พ.ศ. 2564

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ2/
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

0.4±0.1

 1.1±0.1

0.5±0.2

 1.4±0.2

0.2±0.2

 1.1±0.1

 1.0±0.01

Min

0.2

 0.9

0.1

 1.1

0.0

 0.9

 1.0

Max

0.6

 1.2

1.6

 1.7

0.5

 1.5

 1.0

ช่วง T1

เฉลี่ย

1.3±0.7

 1.3±0.2

1.7±1.3

 1.7±0.2

ยังไม่มีข้อมูล

 1.1±0.2

ยังไม่มีข้อมูล

Min

0.2

 0.9

0.3

 1.5

 0.8

Max

3.2

 1.7

8.5

 2.3

 1.4

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

6.0±2.9

 2.2±0.4

10.5±12.6

 2.2±0.4

 1.6±0.5

Min

1.1

 1.4

0.9

 1.6

 1.1

Max

15.1

 3.0

70.2

 3.6

 3.1

ช่วง T2

เฉลี่ย

1.0±0.3

 1.3±0.1

0.8±0.1

 1.5±0.3

 1.5±0.3

Min

0.6

 1.2

0.5

 1.2

 1.2

Max

1.6

 1.4

1.0

 2.2

 2.2

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2563

2/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2564

ที่มา กรมชลประทาน, 2564

สถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534)

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2561

พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2563

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล1/
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

1.3±0.9

1.1±0.1

2.1±0.9

1.1±0.1

1.0±0.04

2.2±1.6

Min

0.4

0.9

1.1

0.9

0.9

0.9

Max

3.7

1.3

5.0

1.3

1.1

5.4

ช่วง T1

เฉลี่ย

6.7±5.2

1.4±0.2

9.2±4.8

1.3±0.2

1.1±0.1

3.5±1.3

Min

0.9

1.0

1.7

1.1

0.9

1.1

Max

28.9

1.8

22.9

1.6

1.5

6.0

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

63.9±64.4

2.4±0.9

68.3±44.5

2.9±0.9

1.8±1.3

4.4±1.1

Min

6.5

1.4

7.7

1.5

1.0

2.3

Max

230.4

4.4

145.0

4.2

6.6

7.1

ช่วง T2

เฉลี่ย

4.9±0.8

1.4±0.04

7.0±1.3

1.4±0.1

1.1±0.03

3.7±1.0

Min

3.7

1.3

5.1

1.3

1.1

2.2

Max

6.4

1.4

9.2

1.5

1.2

5.5

หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการคำนวณเป็นข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2535-2539 พ.ศ. 2541-2542 พ.ศ. 2546-2549 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2553-2556 และ พ.ศ. 2561

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

สถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)

ฤดูกาล

ช่วงปี พ.ศ. 2528-2534

ช่วงปี พ.ศ. 2535-2560

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ปริมาณการไหล
(ลบ.ม./วินาที)

ระดับน้ำ
(ม.)

ฤดูแล้ง

เฉลี่ย

 156±152

 2.0±0.8

 151±107

 2.4±0.6

Min

 66

 1.3

 81

 1.9

Max

 600

 4.1

 509

 4.4

ช่วง T1

เฉลี่ย

 400±302

 3.5±1.7

 284±177

 3.6±1.2

Min

 79

 1.4

 94

 2.0

Max

 937

 6.4

 764

 6.0

ฤดูน้ำหลาก

เฉลี่ย

 1,604±535

 8.7±1.7

 1,657±520

 9.3±1.8

Min

 676

 6.1

 674

 5.7

Max

 2,490

 11.5

 2,379

 11.3

ช่วง T2

เฉลี่ย

 836±169

 4.9±0.6

 635±54

 5.2±0.4

Min

 625

 4.2

 521

 4.5

Max

 1,170

 5.9

 723

 5.6

ที่มา กรมทรัพยากรน้ำ, 2564

จากผลการศึกษาด้านปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำโขง สามารถสรุปได้ดังนี้
1) สภาพการไหลของแม่น้ำโขงสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่ (1) ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ สปป.ลาว (2) ช่วงเขตพื้นที่ของแม่น้ำโขงจากพรมแดนของประเทศไทยเข้าสู่ สปป.ลาว ก่อนเขื่อนไซยะบุรี (3) ช่วงตั้งแต่สถานี Luang Prabang ลงมาถึงสถานีเชียงคาน จนถึงสถานีหนองคาย (4) ช่วงตั้งแต่สถานี Paksane ลงมาถึงสถานีนครพนม จนถึงสถานีมุกดาหาร และ(5) ช่วงตั้งแต่สถานีมุกดาหาร จนถึงสถานีโขงเจียม รวมทั้งสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล)
2) ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ สปป.ลาว ปริมาณการไหลและระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยสภาพการไหลที่ไม่เป็นไปตามลักษณะการไหลโดยธรรมชาติของแม่น้ำโขงในบริเวณสถานีเชียงแสนมีสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและสภาพการไหลของน้ำโขงตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ก็มีความผันผวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีระยะทางที่ห่างจากเขื่อน Lancang cascade ของประเทศจีน ประมาณ 330 กิโลเมตร
3) ช่วงเขตพื้นที่ของแม่น้ำโขงจากพรมแดนของประเทศไทยเข้าสู่ สปป.ลาว ก่อนเขื่อนไซยะบุรี ปริมาณการไหลและระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฤดูกาลได้รับอิทธิพลมาจากปริมาณน้ำฝนจากพื้นที่รับน้ำระหว่างสถานีเชียงแสน ถึงสถานี Luang Prabang ทางฝั่ง สปป.ลาว และปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขา รวมทั้งอิทธิพลจากการบริหารจัดการเขื่อนในแม่น้ำสาขา
4) ช่วงตั้งแต่สถานี Luang Prabang ลงมาถึงสถานีเชียงคาน จนถึงสถานีหนองคาย และช่วงตั้งแต่สถานี Paksane ลงมาถึงสถานีนครพนม จนถึงสถานีมุกดาหาร และช่วงตั้งแต่สถานีมุกดาหาร จนถึงสถานีโขงเจียม ปริมาณการไหลและระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยสภาพที่พบนี้คาดการณ์ว่าเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ก็เป็นได้ ประกอบด้วยการดำเนินการของเขื่อนแรกในแม่น้ำโขงสายประธานใน สปป.ลาว หรือการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำสาขา หรือการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ ยังไม่สามารถสรุปว่ามาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเป็นหลักดังกล่าว นอกจากนี้ มีข้อมูลสนับสนุนจากรายงาน Situation report on Hydrological Conditions in the Lower Mekong River Basin: November 2020-May 2021 ซึ่งได้รายงานว่าในช่วงฤดูแล้งปี พ.ศ 2563-2564 ระดับน้ำในแม่น้ำโขงของทุกสถานีวัดระดับน้ำสูงกว่าระดับน้ำเฉลี่ย โดยทั้ง 2 ช่วงนี้ได้รับผลกระทบจากแม่น้ำสาขา และการดำเนินงานของเขื่อนในแม่น้ำสาขา ในส่วนของระดับน้ำที่ผันผวนในช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมริมฝั่งแม่น้ำโดยความผันผวนของระดับน้ำที่เกิดขึ้นทำให้เห็นได้ชัดว่าเกิดจากการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบริเวณต้นน้ำที่กักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนและปล่อยในฤดูแล้งเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยมีระดับที่ผันผวนมากในเดือนธันวาคมและมกราคมซึ่งแปรผันตรงกับความต้องการพลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในการศึกษานี้ยังไม่มีข้อมูลการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในแม่น้ำสาขาของ สปป.ลาว มาประกอบการวิเคราะห์สาเหตุร่วมของการเปลี่ยนแปลง
5) แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงสายประธานฝั่งประเทศไทย ได้แก่ สถานีบ้านวังเลา สถานีห้วยชะโนดที่บ้านดอนสวรรค์ สถานีน้ำสงครามที่บ้านท่ากกแดง สถานีน้ำก่ำที่นาแก และสถานีห้วยบางทรายที่สะพานบ้านหนองแอก ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแต่ละสถานีในช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 (ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ) ลดลงจากในช่วงปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก รวมทั้งช่วงของการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลหายไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริเวณภูมิภาคนี้ โดยปริมาณน้ำฝนในพื้นที่รับน้ำสองฝั่งของแต่ละแม่น้ำสาขาลดลง เป็นผลให้ปริมาณน้ำท่าในแต่ละแม่น้ำสาขาลดน้อยลงและไหลลงสู่แม่น้ำโขงสายประธานน้อยลง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความผันผวนของปริมาณการไหลและระดับน้ำที่ลดลง รวมทั้งปริมาณการไหลและระดับน้ำที่สูงที่สุดลดลงจากในช่วงปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ หากพิจารณาช่วงเดือนที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำสูงของปี พบว่า ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแต่ละแม่น้ำสาขาจะสูงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานที่อยู่ใกล้เคียงสูง โดยเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในภูมิภาคในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับสถานีน้ำมูลที่ปากมูล (บ้านปากมูล) ปริมาณการไหลและระดับน้ำในช่วงปี พ.ศ. 2535-2560 (ช่วงปีก่อนที่เขื่อนไซยะบุรีจะเปิดดำเนินการ) และในช่วงนี้เป็นช่วงหลังจากที่เขื่อนปากมูลเปิดดำเนินการ (พ.ศ. 2537) มีความผันผวนน้อยกว่าในช่วงปี พ.ศ. 2528-2534แต่ในช่วงเดือนมกราคมและธันวาคม มีปริมาณการไหลและระดับน้ำมีความผันผวนค่อนข้างมากซึ่งแปรผันตรงกับความต้องการพลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อน นอกจากนี้ หากพิจารณาช่วงเดือนที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำสูงของปี พบว่า ปริมาณการไหลและระดับน้ำของแม่น้ำมูลจะสูงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งสอดคล้องกับช่วงที่ปริมาณการไหลและระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำในแม่น้ำโขงสายประธานที่อยู่ใกล้เคียงสูง โดยเป็นไปตามปริมาณน้ำฝนที่ตกในภูมิภาคในช่วงฤดูฝน
6) จากผลการเปรียบเทียบปริมาณน้ำและระยะเวลาที่มวลน้ำเดินทางในแต่ละสถานี พบว่า ปริมาณน้ำในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2564 มีค่าน้อยกว่าปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2563 แต่จุดสูงสุดของระดับน้ำและปริมาณการไหลที่เกิดในช่วงเดือนมกราคม 2564 นั้น พบเร็วขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2563 และระยะเวลาการเดินทางของปริมาณน้ำในแต่ละสถานีเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากปัจจัยร่วมดังที่อธิบายข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ระยะเวลาการเดินทางของมวลน้ำจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลรายชั่วโมง เพื่อให้สามารถประเมินเวลาได้ละเอียดยิ่งขึ้น
2.2 การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงจากสถานีวัดระดับน้ำเชียงแสนถึงสถานีวัดระดับน้ำโขงเจียม

ข้อมูลทางกายภาพของหน้าตัดการไหล และความลาดชันของแม่น้ำในบริเวณแต่ละสถานีได้มีการรายงานไว้ในเว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามสถานการณ์ของแม่น้ำโขงในปี พ.ศ. 2562 ปี พ.ศ. 2563 และปี พ.ศ. 2564 หลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ โดยภาพหน้าตัดการไหลที่สถานีวัดระดับน้ำทั้ง 8 สถานีบนแม่น้ำโขงสายประธานแสดงดังนี้

2.3 การเปรียบเทียบสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงปี พ.ศ. 2564

เมื่อพิจารณาปริมาณการไหลในฤดูแล้งในปี พ.ศ. 2564 (มกราคม – เมษายน 2564) โดยเลือกใช้ข้อมูลปริมาณการไหลระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2564 เป็นตัวแทนของข้อมูล ซึ่งในระหว่างนั้นเขื่อนไซยะบุรีได้เปิดดำเนินการครบทุกหน่วยผลิตแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 พบว่าระยะเวลาการเดินทางของน้ำจากสถานีเชียงแสนไปยังสถานีเชียงคานใช้เวลา 5 วัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2563 แต่ยาวนานกว่าในช่วงเดียวกันของปี พ.ศ. 2562 (3 วัน (หัวข้อ 3.4.1)) และเดินทางต่อไปจนถึงสถานีมุกดาหาร ใช้เวลาสะสมรวม 8-9 วัน และปริมาณน้ำจะเดินทางถึงสถานีโขงเจียมซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายใช้เวลาสะสมรวม ≥8 วัน (หากประเมินจากระดับน้ำและปริมาณการไหลเฉลี่ยคาดว่าใช้เวลาสะสมรวมประมาณ 10 วัน) ดังนี้

รูปแสดงการเปรียบเทียบปริมาณการไหลเฉลี่ยฤดูแล้งระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน 2564

ระยะทาง

353 กม.

293 กม.

167 กม.

150 กม.

183 กม.

89 กม.

308 กม.

เวลาเดินทาง

2 วัน

3 วัน

2 วัน

2 วัน

1 วัน

เวลาสะสม 0 ———————-> 2 วัน ————————> 4-5 วัน ———————————————————> 6-7 วัน ——————————————————–>8-9 วัน ————>10 วัน

รูปแสดงสถานการณ์ของแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2564

เมื่อพิจารณาปริมาณการไหลในฤดูน้ำหลากในปี พ.ศ. 2564 (มิถุนายน – สิงหาคม 2564) โดยเลือกใช้ข้อมูลปริมาณการไหลระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2564 เป็นตัวแทนของข้อมูล พบว่าระยะเวลาการเดินทางของน้ำจากสถานีเชียงแสนไปยังสถานีโขงเจียมซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายใช้เวลาสะสมรวม 8-9 วัน

รูปแสดงการเปรียบเทียบปริมาณการไหลเฉลี่ยฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564

รูปแสดงการเปรียบเทียบปริมาณการไหลเฉลี่ยฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564

ระยะทาง

353 กม.

293 กม.

167 กม.

150 กม.

183 กม.

89 กม.

308 กม.

เวลาเดินทาง

3 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

1 วัน

เวลาสะสม 0 ———————–> 3 วัน ————————> 4 วัน —————————> 5 วัน ————————-> 6 วัน ——————————————————->7 วัน ———–>  9 วัน

รูปแสดงสถานการณ์ของแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2564

Scroll to Top