ด้านกายภาพ

ผลระดับน้ำและอัตราการไหล ปี 2563

วิธีการศึกษา และเกณฑ์การประเมินด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ
1.1. ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาด้านอัตราการไหลของน้ำและระดับน้ำ
1.2. รวบรวมข้อมูลอัตราการไหล และระดับน้ำของสถานีวัดระดับน้ำ บนแม่น้ำโขงสายประธานทั้ง 6 สถานี ปีล่าสุดที่มีข้อมูลต่อเนื่องจากโครงการฯ และใกล้ปากแม่น้ำสาขา ที่คัดเลือก จากสำนักวิจัยพัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ
1.3. หาค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง ค่าเฉลี่ยในฤดูฝน และช่วงระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของการไหลของน้ำจากฤดูแล้งไปเป็นฤดูฝน และจากฤดูฝนไปเป็นฤดูแล้ง (Transition season) ตามลักษณะการไหลของแม่น้ำโขง ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ระยะเวลาในแต่ละช่วงตามลักษณะการไหลของแม่น้ำโขง

ฤดูกาล ช่วงเริ่มต้น (ตามธรรมชาติ) ช่วงสิ้นสุด (ตามธรรมชาติ)
ฤดูแล้ง ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม เดือนพฤษภาคม สำหรับลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
เปลี่ยนแปลงฤดูกาล 1 ประมาณ 2-3 สัปดาห์ระหว่างเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน
ฤดูน้ำหลาก เดือนมิถุนายน ต้นเดือนพฤศจิกายนในพื้นที่ที่อยู่ตอนบน
ช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล 2 ประมาณ 1-2 สัปดาห์ระหว่างกลางเดือนพฤศจิกายน

ที่มา : ตารางระยะเวลาอ้างอิงจากตารางที่ 5 Characteristics of bio-hydrological seasons ในรายงาน The Flow of Mekong, 2009
1.4. เปรียบเทียบและอัพเดทข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหล และระดับน้ำเฉลี่ย โดยแบ่งช่วงเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังกล่าว ณ ตำแหน่งพื้นที่ต่างๆ จากต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของแม่น้ำโขงสายประธานในอาณาเขตประเทศไทย เพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของเขื่อนไฟฟ้าในแม่น้ำโขงสายประธาน ได้แก่

  • ช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ช่วงปี พ.ศ. 2528–2534
  • ช่วงปีก่อนที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ ช่วงปี พ.ศ. 2535–2561
  • ช่วงปีหลังจากที่เขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน เขื่อนแรกของ สปป.ลาว (เขื่อนไซยะบุรี) เปิดดำเนินการ พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน หรือข้อมูลปีปัจจุบันล่าสุดที่มี

1.5. ประเมินและติดตามพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านอัตราการไหลและระดับน้ำ ว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การกำหนดพื้นที่ที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงที่กำหนดไว้ในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 เกณฑ์การประเมินพื้นที่มีแนวโน้มได้รับความเสี่ยงด้านระดับน้ำและอัตราการไหล

ระดับแนวโน้ม ระดับการเปลี่ยนแปลงเดิม
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อยมาก 0-20%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงน้อย 21-40%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงปานกลาง 41-60%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูง 61-80%
ระดับแนวโน้มเสี่ยงสูงมาก มากกว่า 80%

2. การทบทวนข้อมูลการศึกษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1 ผลการศึกษาด้านระดับน้ำและอัตราการไหล

ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจะพิจารณาตามช่วงของแม่น้ำโขงสายประธานที่ไหลผ่านประเทศไทย โดยแบ่งตามลักษณะการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง อัตราการไหลเฉลี่ย 7 วัน (7-days moving-averaged data series) ตามรูปที่ 1 ซึ่งเป็นการปรับปรุงการประเมินข้อมูลอนุกรมเวลาให้สามารถประเมินและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายวัน ของสถานีเชียงแสน เชียงคาน หนองคาย นครพนม มุกดาหารและโขงเจียม ซึ่งพบว่าช่วงระยะบนแม่น้ำโขงที่มีลักษณะอัตราการไหลแตกต่างกันสามารถแบ่งได้ 4 ช่วงตามระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำ

ตารางอัตราการไหล 6 สถานี พ.ศ. 2563

ปี 2563 เชียงแสน(ลบ.ม./วินาที) เชียงคาน(ลบ.ม./วินาที) หนองคาย(ลบ.ม./วินาที) นครพนม(ลบ.ม.วินาที) มุกดาหาร(ลบ.ม./วินาที) โขงเจียม(ลบ.ม./วินาที)
ฤดูแล้ง เฉลี่ย 1,219±258 1,506±289 1,364±344 2,186±490 2,790±487 2,853±742
min 844 1,092 992 1,570 2,132 2,137
max 1,853 2,457 2,330 3,397 3,967 5,699
ช่วง T1 เฉลี่ย 1,401±306 1,767±294 1,745±432 3,229±1,073 3,821±1,031 3,574±879
min 940 1,184 1,329 2,094 2,644 2,544
max 1,986 2,461 2,932 6,055 6,544 5,898
ฤดูน้ำหลาก เฉลี่ย 2,246±573 2,246±573 4,417±1,894 9,434±4,369 10,078±4,220 11,630±4,863
min 1,347 1,347 2,167 4,296 4,978 4,626
max 4,015 4,015 10,460 20,552 20,938 20,252
ช่วง T2 เฉลี่ย 1,579±167 1,579±167 2,307±218 3,884±431  4,847±671 8,150±2,148
min 1,335 1,335 1,983 3,239 4,097 5,917
max 1,886 1,886 2,740 4,508 6,023 12,880


ที่มา คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย, 2564 (http://www.tnmc-is.org/)

1) ช่วงสถานีเชียงแสนถึงเขตพื้นที่ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่สปป.ลาว

สถานีเชียงแสน เป็นสถานีแรกบนแม่น้ำโขงสายประธานของประเทศไทย เป็นสถานีที่ใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำจากการดำเนินงานของเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานก่อนที่จะไหลเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งในปีพ.ศ. 2563 มีอัตราการไหลเฉลี่ยในฤดูแล้งลดลงเล็กน้อย และอัตราการไหลเฉลี่ยในฤดูน้ำหลากมีแนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นตามที่มีรายงานสถานการณ์การระบายน้ำของเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนในฤดูฝนของปี 2563 พบว่ามีการระบายน้ำโขงออกมาน้อยมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยการระบายน้ำประมาณ 967 ลบ.ม.ต่อวินาที (ระหว่าง 1 มิถุนายน ถึง 9 ธันวาคม 2563) เป็นผลปริมาณการไหลของน้ำที่สถานีเชียงแสน มีระดับต่ำต่อเนื่องต่อจากปีพ.ศ. 2562 และเนื่องจากเป็นปีแล้ง ดังนั้นจะเห็นว่าอัตราการไหลที่เพิ่มจากค่าเฉลี่ยในฤดูแล้ง และลักษณะช่วงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลที่หายไป รวมถึงสภาพการไหลที่ไม่เป็นไปตามลักษณะการไหลโดยธรรมชาติ (เปรียบเทียบกับช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน) ของแม่น้ำโขงในบริเวณนี้จึงมีสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและสภาพการไหลตั้งแต่ก่อนไหลเข้าสู่ประเทศไทย ขณะที่อัตราการไหลที่ลดลงจากค่าเฉลี่ยในฤดูฝนเกิดจากทั้งการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนตั้งแต่ก่อนไหลเข้าสู่ประเทศไทย และปริมาณฝนที่ตกน้อยลงในภูมิภาค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

2) ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว ถึงสถานีหนองคาย

ในบริเวณพื้นที่ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจาก สปป.ลาว ถึงสถานีหนองคาย อยู่ในเขตของจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย โดยมีสถานีวัดระดับน้ำที่ใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ 2 สถานี คือ สถานีเชียงคาน และสถานีหนองคาย จะเห็นว่าอัตราการไหลไม่เป็นไปตามลักษณะการไหลโดยธรรมชาติ (เปรียบเทียบกับช่วงปีก่อนที่จะมีการพัฒนาเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน) ของแม่น้ำโขงในบริเวณนี้มีสาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและสภาพการไหลตั้งแต่ก่อนไหลเข้าสู่ประเทศไทย ขณะที่อัตราการไหลที่ลดลงจากค่าเฉลี่ยในฤดูฝนเกิดจากทั้งการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนตั้งแต่ก่อนไหลเข้าสู่ประเทศไทย และปริมาณฝนที่ตกน้อยลงในภูมิภาค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

3) ช่วงหลังสถานีหนองคายถึงสถานีมุกดาหาร

ในบริเวณพื้นที่ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีหนองคาย อยู่ในเขตของจังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร โดยมีสถานีวัดระดับน้ำที่ใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ 2 สถานี คือ สถานีนครพนม และสถานีมุกดาหาร เมื่อพิจารณาในภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลในแม่น้ำโขงสายประธานในช่วงหลังสถานีหนองคายจนถึงสถานีมุกดาหาร คาดว่ามีสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานใน สปป.ลาว และการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเป็นหลัก อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานการดำเนินการของเขื่อนในแม่น้ำสาขาของ สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ

4) ช่วงหลังสถานีมุกดาหารถึงสถานีโขงเจียม

ในบริเวณพื้นที่ช่วงที่แม่น้ำโขงจะไหลออกจากสถานีมุกดาหาร อยู่ในเขตของจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสถานีวัดระดับน้ำที่ใช้ในการเฝ้าระวังและติดตามการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ 1 สถานี คือ สถานีโขงเจียม มีสภาพการไหลของน้ำมีลักษณะใกล้เคียงกับสถานีวัดระดับน้ำนครพนมและมุกดาหารเป็นอย่างมากทั้งในฤดูน้ำแล้งและช่วงต้นถึงกลางของฤดูน้ำหลาก กล่าวคือ ในช่วงฤดูแล้งโดยเฉพาะเดือนมกราคมถึงมีนาคมนั้นมีอัตราการไหลต่ำกว่าในปี พ.ศ. 2562 มาก ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการปริมาณฝนทีน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับจากปี พ.ศ. 2562 ตามรายงาน CURRENT LOW-FLOW CONDITIONS OF THE LOWER MEKONG BASIN (LMB) และการที่เขื่อนแรกใน สปป.ลาว มีการกักเก็บน้ำตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 และเริ่มมีอัตราการไหลเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายนเช่นเดียวกันกับช่วงหลังสถานีหนองคายถึงสถานีมุกดาหาร เนื่องมาจากฝนที่เริ่มตกลงมาในช่วงเวลาดังกล่าว หากแต่ในช่วงปลายของฤดูน้ำหลากพบว่ามีอัตราการไหลที่สูงกลับขึ้นมากอีกครั้ง ซึ่งมาจากในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2563 มีพายุดีเปรสชันพัดผ่านพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของ สปป.ลาว (โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเซบังเฮียง) และภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหลากอย่างรุนแรงในลุ่มน้ำเซบังเฮียงใน สปป.ลาว และไหลลงแม่น้ำโขงด้านตรงข้ามอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำเซบังเฮียงทางฝั่ง สปป. ลาว และแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานีของประเทศไทย ต่างก็เป็นแม่น้ำสาขาที่ส่งผลต่อสภาพการไหลของสถานีโขงเจียม เมื่อพิจารณาในภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหลในแม่น้ำโขงสายประธานในช่วงหลังมุกดาหารจนถึงสถานีโขงเจียม คาดว่ามีสาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานใน สปป.ลาว และการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจากแม่น้ำสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเป็นหลัก อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานการดำเนินการของเขื่อนในแม่น้ำสาขาของ สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ

2.2 การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงจากสถานีวัดระดับน้ำเชียงแสนถึงสถานีวัดระดับน้ำโขงเจียม

ข้อมูลทางกายภาพของหน้าตัดการไหล และความลาดชันของแม่น้ำในบริเวณแต่ละสถานีได้มีการรายงานไว้ในเว็บไซต์ของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อติดตามสถานการณ์ของแม่น้ำโขงในปีพ.ศ. 2562 และปีพ.ศ. 2563 หลังจากที่เขื่อนไซยะบุรีเปิดดำเนินการ

 

2.3 สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงปีพ.ศ. 2563

ในปีพ.ศ. 2563 สามารถทำการเปรียบเทียบสถานการณ์ได้เฉพาะฤดูแล้ง เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูลช่วงฤดูน้ำหลากของสถานีเชียงแสน ถึงสถานีมุกดาหาร ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2563 และสถานีโขงเจียม ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2563 เมื่อพิจารณาอัตราการไหลในฤดูแล้งในปีพ.ศ. 2563 (มกราคม – เมษายน 2562) โดยเลือกใช้ข้อมูลอัตราการไหลระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม 2563 เป็นตัวแทนของข้อมูล ซึ่งในระหว่างนั้นเขื่อนไซยะบุรีได้เปิดดำเนินการครบทุกหน่วยผลิตแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 พบว่าระยะเวลาการเดินทางของน้ำจากสถานีเชียงแสนไปยังสถานีมุกดาหาร ใช้เวลาสะสมรวม 8-9 วัน และปริมาณน้ำจะเดินทางถึงสถานีโขงเจียมซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายใช้เวลาสะสมรวม ≥8 วัน (หากประเมินจากอัตราการไหลเฉลี่ยคาดว่าใช้เวลาสะสมรวมประมาณ 10 วัน)

รูปที่ …. สถานการณ์ของแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 1-15 มกราคม พ.ศ. 2563

Scroll to Top